รัฐกลันตัน
กลันตัน[8] หรือ เกอลันตัน[8] (มลายู: Kelantan, کلنتن; มลายูปัตตานี: كلنتن, กือลาแต) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ที่สวยงาม") เมืองหลวงและเมืองของเจ้าผู้ครองประจำรัฐคือโกตาบารู
รัฐกลันตัน Negeri Kelantan | |
---|---|
เนอเกอรีเกอลันตันดารุลนาอิม Negeri Kelantan Darul Naim | |
การถอดเสียงต่าง ๆ | |
• มลายู | Kelantan (รูมี) کلنتن (ยาวี) |
• มลายูปัตตานี | كلنتن (ยาวี), กือลาแต (ไทย) |
คำขวัญ: เบอร์เซอระฮ์ เกอปาดา ตูฮัน เกราจาอัน เกอลันตัน ("อาณาจักรกลันตันยอมจำนนต่อพระเจ้า") | |
เพลง: เซอลามัตซุลตัน | |
พิกัด: 5°15′N 102°0′E / 5.250°N 102.000°E | |
เมืองหลวง | โกตาบารู |
เมืองเจ้าผู้ครอง | โกตาบารู |
การปกครอง | |
• ประเภท | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา |
• สุลต่าน | สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 |
• มุขมนตรี | อะฮ์มัด ยักกบ (พรรคอิสลามมาเลเซีย) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 17,100 ตร.กม. (6,600 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2018)[2] | |
• ทั้งหมด | 2,001,000 คน |
• ความหนาแน่น | 120 คน/ตร.กม. (300 คน/ตร.ไมล์) |
ดัชนีรัฐ | |
• ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2010) | 0.723 (สูง) (อันดับที่ 13) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย) |
รหัสไปรษณีย์ | 15xxx ถึง 18xxx |
รหัสโทรศัพท์ | 09 |
รหัส ISO 3166 | MY-03 |
ทะเบียนพาหนะ | D |
ปาตานีปกครอง[3] | ค.ศ. 1603 |
สยามปกครอง[3] | พฤศจิกายน ค.ศ. 1786 |
รัฐสุลต่านกลันตัน[4] | ค.ศ. 1800 |
สหราชอาณาจักรปกครอง[4] | ค.ศ. 1909 |
ญี่ปุ่นยึดครอง[4] | 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 |
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายา[5] | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 |
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา[6] | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 |
ก่อตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย[7] | 16 กันยายน ค.ศ. 1963 |
เว็บไซต์ | www |
รัฐกลันตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย ทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐตรังกานูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเประทางทิศตะวันตก และรัฐปะหังทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดทะเลจีนใต้
จากการที่พรรคอิสลามมาเลเซีย (Parti Islam Se-Malaysia) มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐนี้มานานหลายปี จึงทำให้กลันตันเป็นรัฐที่มีความเป็นอนุรักษนิยมทางสังคมมากที่สุดในประเทศ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวมลายูร้อยละ 95 ชาวไทยร้อยละ 3 ชาวจีนร้อยละ 1.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1
อ้างอิง
แก้- ↑ "Laporan Kiraan Permulaan 2010". Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
- ↑ "Population by States and Ethnic Group". Department of Information, Ministry of Communications and Multimedia, Malaysia. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ 3.0 3.1 http://studentsrepo.um.edu.my/835/5/BAB_2.pdf
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Ismail, Hafawati (2015). KUIH DAN MANISAN KELANTAN: Langkah Demi Langkah. ISBN 9789678605694.
- ↑ "Federation of Malaya is inaugurated – Singapore History". eresources.nlb.gov.sg.
- ↑ "Official Portal of Malaysia National Archives". Arkib.gov.my. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-08-18.
- ↑ "Portal Rasmi Arkib Negara Malaysia". www.arkib.gov.my.
- ↑ 8.0 8.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.