กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2489) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 2 สมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 ธันวาคม พ.ศ. 2489 (77 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสเพ็ญพรรณ เสียมภักดี

ประวัติ แก้

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2489 เป็นบุตรของนายสง เสียมภักดี อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสียมภักดี[1] และนางฟองจันทร์ เสียมภักดี มีพี่น้อง 7 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักปกครองระดับสูง (นปส.) จากสถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี สมรสกับนางเพ็ญพรรณ มีบุตร 2 คน

การทำงาน แก้

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี เป็นอดีตข้าราชการ ในกระทรวงมหาดไทย ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการคือ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่[2]

ต่อมาได้ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน[3] พร้อมกับนางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ และ ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และได้รับการเลือกตั้ง ต่อมา พ.ศ. 2554 ได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย[4][5]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากต้องการพักผ่อน[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

กฤษดาภรณ์ เสียมภักดี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคพลังประชาชน
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
 
ภาพรถหาเสียง ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พ.ศ. ๒๕๑๒ข่าวเหตุการณ์หลังจากไฟไหม้ตลาดต้นลำใยและตลาดวโรรสในอดีต[ลิงก์เสีย]
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย
  3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23
  4. "นายกฤษดาภรณ์ เสียมภักดี - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-05. สืบค้นเมื่อ 2011-12-29.
  5. เด็ก "เติ้ง" กวนใจพท.วืดยึดเหนือตอนบน
  6. พท.วางตัวว่าผู้สมัคร ส.ส.เชียงใหม่ 9 เขต เผยเขต 3 บ้านเกิด ‘แม้ว-ปู’ ตระกูลชินวัตรไม่ส่งตัวแทน
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๓, ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๙
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๖๕, ๓๐ มกราคม ๒๕๔๒

แหล่งข้อมูลอื่น แก้