เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ
เซียร์เกย์ วาซีเลวิช รัคมานีนอฟ (รัสเซีย: Сергей Васильевич Рахманинов; 1 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 20 มีนาคม] 1873[a][b] – 28 มีนาคม ค.ศ. 1943) เป็นคีตกวี, นักเปียโน และ วาทยากร ชาวรัสเซีย เขาถูกจัดให้เป็นนักเปียโนที่มีชั้นเชิงและมีอิทธิพลมากที่สุดในยุคของเขา และเป็นผู้นำดนตรีคลาสสิกแบบโรแมนติกในยุโรป บทเพลงของรัคมานีนอฟนั้นมีแรงขับมหาศาล และต้องอาศัยเทคนิคชั้นสูงในการบรรเลง โดยเฉพาะ Piano Concerto No.2, Op. 18
เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | เซียร์เกย์ วาซีเลวิช รัคมานีนอฟ |
เกิด | 1 เมษายน ค.ศ. 1873 เซมโยโนโว, จักรวรรดิรัสเซีย |
เสียชีวิต | 28 มีนาคม ค.ศ. 1943 (69 ปี) เบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา |
แนวเพลง | คลาสสิก |
อาชีพ | คีตกวี นักเปียโน วาทยากร |
เครื่องดนตรี | เปียโน |
ช่วงปี | ค.ศ. 1892–1943 |
ประวัติ
แก้วัยเด็ก
แก้เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ เกิดเมื่อ 1 เมษายน 1873 ในตำบลเซมโยโนโว (ปัจจุบันชื่อเซมโยนอฟ) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซีย[2] ตระกูลรัคมานีนอฟนั้นเป็นตระกูลชนชั้นสูงเก่า บิดาของเขาคือ วาซีลี รัคมานีนอฟ เป็นนักเปียโนและทหาร ส่วนมารดาของเขาคือ ลิวบอฟ บุตาโกวา ทั้งสองมีบุตรชายและบุตรสาวอย่างละ 3 คน[3] เมื่อเซียร์เกย์อายุได้สี่ขวบ มารดาของเขาได้เป็นคนสอนเปียโนพื้นฐานให้แก่เขา[4] ต่อมาในปี 1882 เมื่อเขาอายุได้ 9 ขวบ ทวดของเขา (ปู่ของมารดา) ได้ไปจ้างครูสอนเปียโนชื่อ แอนนา จากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมาเพื่อฝึกสอนเซียร์เกย์ หลังจากฝึกสอนไปราว 2–3 ปี ครอบครัวรัคมานีนอฟต้องประสบกับปัญหาทางการเงิน จนต้องนำที่ดินและบ้านออกขายทอดตลาด[5][6] จากที่ดินและอาคารห้าแห่ง เหลืออยู่เพียงแห่งเดียว และทั้งครอบครัวก็ตัดสินใจย้ายไปอาศัยอยู่ในห้องเช่าที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก[7]
ส่วนแอนนานั้น ก็ได้กลับไปยังบ้านของเธอ และได้จัดการให้เซียร์เกย์ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนดนตรีเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เซียร์เกย์ได้เริ่มเรียนที่นี่ในปี 1883 เมื่ออายุ 10 ขวบ ในปีเดียวกันนั้น น้องสาวของเขาเสียชีวิตจากโรคคอตีบ และบิดาของเขาก็กลายเป็นพวกว่างงานและออกจากบ้านไปยังมอสโก[3] คุณยายของเซียร์เกย์นั้น มีความตั้งใจอย่างมากที่จะส่งเสริมบรรดาหลานๆให้ได้รับการเลี้ยงดูและเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เธอมักจะพาเซียร์เกย์ไปร่วมกิจกรรมของคริสตจักรออร์โธดอกซ์อยู่เสมอๆ อาทิ การภาวนาหรือการลั่นระฆังโบสถ์ของเมือง ซึ่งการที่ศาสนพิธีส่วนใหญ่มีบทเพลงประกอบ ทำให้เซียร์เกย์ ได้ซึมซับอิทธิพลทางดนตรีเหล่านี้ อีกประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อดนตรีที่สำคัญคือการที่พี่สาวของเขา เยเลนา มีส่วนร่วมในโรงละครบอลชอย เธอพึ่งเข้ามาได้ไม่นานและกำลังอยู่ระหว่างรับการฝึกสอน เธอก็เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 18 ปีจากโรคโลหิตจาง เพื่อที่จะทำใจจากการสูญเสียสมาชิกครอบครัว คุณยายจึงพาเซียร์เกย์ไปพักผ่อนที่ไร่ที่เงียบสงบในแถบแม่น้ำวอลคอฟ ซึงทำให้เซียร์เกย์ชอบการพายเรือ[3] ซึ่งการที่เขาถูกตามใจโดยคุณยายของเขา ทำให้เซียร์เกย์กลายเป็นเด็กขี้เกียจและไม่ผ่านระดับชั้นการศึกษาทั่วไป[8]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สื่อ
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ ในขณะที่หอสมุดรัฐสภาสหรัฐบันทึกวันเกิดรัคมานีนอฟเป็นวันที่ 1 เมษายน[1] วันเกิดบนป้ายสุสานสลักเป็น 2 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 21 มีนาคม] 1873 และตัวเขาเองก็ฉลองวันเกิดในวันที่ 2 เมษายน
- ↑ รัสเซียใช้ระบบปฏิทินแบบเก่าในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และข้อมูลที่ใ้ในบทความบางครั้งรายงานเป็นแบบเก่า วันที่ในบทความนำมาจากข้อมูลแบบคำต่อคำและเป็นแบบเดียวกันกับข้อมูลที่นำมา
อ้างอิง
แก้- ↑ "Name Authority File for Rachmaninoff, Sergei, 1873–1943". U.S. Library of Congress. 21 November 1980. สืบค้นเมื่อ 2 April 2016.
- ↑ Randel, Don M. (1999). The Harvard Concise Dictionary of Music and Musicians. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press (Belknap). ISBN 0-674-00978-9.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Harrison, Max (2006). Rachmaninoff: Life, Works, Recordings. London: Continuum. ISBN 0-8264-9312-2.
- ↑ Shelokhonov, Steve (2007). "Biography for Sergei Rachmaninoff". IMDb. สืบค้นเมื่อ 2007-12-14.
- ↑ Accardi, Julie Ciamporcero (2008). "Rach Bio". Rachmaninoff. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-21. สืบค้นเมื่อ 2008-09-13.
- ↑ Greene, David Mason (1985). Greene's Biographical Encyclopedia of Composers. Reproducing Piano Roll Foundation. p. 1004. ISBN 978-0-385-14278-6.
- ↑ von Riesemann, Oscar (1934). Rachmaninoff's Recollections. New York: Macmillan. ISBN 0-8369-5232-4. OCLC 38439894.
- ↑ Rimsky-Korsakov, Nikolai (1989). My Musical Life. tr. J. A. Joffe. London: Faber. pp. 94–5. ISBN 0-571-14245-1.
บรรณานุกรม
แก้- Bertensson, Sergei; Leyda, Jay (2001). Sergei Rachmaninoff – A Lifetime in Music (Paperback ed.). New York University Press. ISBN 978-0-253-21421-8.
- Cannata, David Butler (1999). Rachmaninoff and The Symphony. Studien Verlag. ISBN 978-3-706-51240-4.
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1922). Encyclopædia Britannica (12th ed.). London & New York: The Encyclopædia Britannica Company. .
- Cunningham, Robert E. (2001). Sergei Rachmaninoff: A Bio-bibliography. Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-313-30907-6.
- Greene, David Mason (1985). Greene's Biographical Encyclopedia of Composers. Reproducing Piano Roll Foundation. ISBN 978-0-385-14278-6.
- Harrison, Max (2006). Rachmaninoff: Life, Works, Recordings. Bloomsbury Publishing. ISBN 978-0-826-49312-5.
- Lyle, Watson (1939). Rachmaninoff: A Biography. W. Reeves Bookseller Limited. ISBN 978-0-404-13003-9.
- Martyn, Barrie (1990). Rachmaninoff: Composer, Pianist, Conductor. London: Scolar Press. ISBN 978-0-859-67809-4.
- Norris, Geoffrey; Sadie, Stanley, บ.ก. (1980). The New Grove Dictionary of Music and Musicians. MacMillan. ISBN 978-0-333-23111-1.
- Plaskin, Glenn (1983). Horowitz: A Biography. New York: William Morrow and Company. ISBN 978-0-688-01616-6.
- Norris, Geoffrey (2001). Rachmaninoff. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-198-16488-3.
- O'Connell, Charles (1941) [1935]. The Victor Book of the Symphony (Revised ed.). New York: Simon and Schuster.
- Riesemann, Oskar von (1934). Rachmaninoff's Recollections, Told to Oskar von Riesemann. Macmillan. ISBN 978-0-836-95232-2.[ลิงก์เสีย]
- Rimsky-Korsakov, Nikolai (1989). My Musical Life. Faber and Faber. ISBN 978-0-571-14245-3.
- Robinson, Harlow (2007). Russians in Hollywood, Hollywood's Russians: Biography of an Image. Lebanon: University Press of New England. ISBN 978-1-555-53686-2.
- Rubinstein, Arthur (1980). My Many Years. New York: Knopf. ISBN 0-394-42253-8.
- Schonberg, Harold C. (1987). The Great Pianists (2nd ed.). New York: Simon & Schuster. ISBN 978-0-393-03857-6.
- Schonberg, Harold C. (1988). The Virtuosi: Classical Music's Great Performers From Paganini to Pavarotti. Vintage. ISBN 978-0-394-75532-8.
- Schonberg, Harold C. (1997). The Lives of the Great Composers (3rd ed.). New York: W. W. Norton. ISBN 978-0-349-10972-5.
- Scott, Michael (2011). Rachmaninoff. The History Press. ISBN 978-0-7524-7242-3.
- Seroff, Victor Ilyitch (1950). Rachmaninoff: A Biography. Simon & Schuster. ISBN 978-0-836-98034-9.
- Sylvester, Richard D. (2014). Rachmaninoff's Complete Songs: A Companion with Texts and Translations. Indiana University Press. ISBN 978-0-2530-1259-3.
- Threlfall, Robert; Norris, G. (1982). A Catalogue of the Compositions of Rachmaninoff. London: Scolar Press. ISBN 978-0-859-67617-5.
- Wehrmeyer, Andreas (2004). Rakhmaninov. Haus Publishing. ISBN 978-1-904341-50-5.
อ่านเพิ่ม
แก้- Norris, Geoffrey (2002). The Oxford Companion to Music. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-866212-9. OCLC 59376677.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แม่แบบ:Musicbrainz artist
- เซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ ที่ออลมิวสิก
- Serge Rachmaninoff's Performance Diary
- แม่แบบ:BBC composer page
- Serge Rachmaninoff Foundation and the Rachmaninoff Network
- Analysis of Rachmaninoff's Works for Piano and Orchestra
- Complete list of Rachmaninoff's performances as a conductor ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 27 ตุลาคม 2009)
- Faculty of Culture and Arts of Derzhavin Tambov State University เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sergei Rachmaninoff recordings at the Discography of American Historical Recordings.
- 2008 radio program on the composer's place in Russian history (ในภาษารัสเซีย)
- Sergei Rachmaninoff archive, 1872-1992 at the Library of Congress