สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด

(เปลี่ยนทางจาก Pulmonary embolism)

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด (อังกฤษ: pulmonary embolism, PE) คือภาวะที่มีการอุดตันของหลอดเลือดแดงปอดจากสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดที่หลุดลอยมาจากส่วนอื่นของร่างกาย[6] ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอกโดยเฉพาะตอนหายใจเข้า และอาจไอเป็นเลือดได้[1] นอกจากนี้อาจมีอาการของการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกของอวัยวะอื่น เช่น ที่ขา โดยอาจมีขาบวม แดง และเจ็บขาได้[1] อาจตรวจพบความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำ หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว และอาจมีไข้ต่ำๆ[11] ในกรณีที่เป็นรุนแรงอาจทำให้หมดสติ ความดันเลือดต่ำ หรือเสียชีวิตกะทันหันได้[2]

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด
(Pulmonary embolism)
ภาพวาดแสดงให้เห็นลิ่มเลือดที่หลุดมาจากส่วนอื่นของร่างกาย มาทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดแดงปอด ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดแดงของปอดซ้ายส่วนล่าง
สาขาวิชาโลหิตวิทยา, หทัยวิทยา, วิทยาปอด
อาการหายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก, ไอเป็นเลือด[1]
ภาวะแทรกซ้อนหมดสติ, ช็อก, เสียชีวิต[2]
การตั้งต้นอายุมาก[3]
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง, การนอนติดเตียง, การสูบบุหรี่, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคทางพันธุกรรมบางชนิด, ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน, การตั้งครรภ์, โรคอ้วน, ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด[3]
วิธีวินิจฉัยวินิจฉัยจากอาการ, ดี-ไดเมอร์, การตรวจซีทีสแกนพร้อมฉีดสีหลอดเลือดปอด, การตรวจสแกนดัชนีการหายใจและการไหลเวียนเลือดที่ปอด[4]
การรักษายาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น เฮพาริน, วาร์ฟาริน, DOAC)[5], การสลายลิ่มเลือด
ความชุก~450,000 รายต่อปี (สหรัฐ), 430,000 (ยุโรป)[6][7][8]
การเสียชีวิต>10–12,000 รายต่อปี (สหรัฐ),[9] >30–40,000 รายต่อปี (ยุโรป)[10]

ภาวะนี้มักเกิดจากการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขาแล้วหลุดมาอุดหลอดเลือดปอด ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดได้แก่การเป็นมะเร็ง การนอนกับเตียงนานๆ การสูบบุหรี่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพันธุกรรมบางชนิด ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน การตั้งครรภ์ โรคอ้วน และการผ่าตัดบางประเภท[3] ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดการอุดตันของหลอดเลือดจากสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดชนิดอื่นที่ไม่ใช่ลิ่มเลือด เช่น ฟองอากาศ ไขมัน หรือน้ำคร่ำ[12][13] การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการ อาการแสดง ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ[4] ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยความเสี่ยงต่ำอาจใช้การตรวจเลือดดูระดับของดี-ไดเมอร์ในการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นภาวะนี้ได้[4] หากไม่เช่นนั้นแล้วอาจต้องใช้การตรวจอย่างอื่นในการยืนยันการวินิจฉัย เช่น การตรวจซีทีสแกนพร้อมฉีดสีหลอดเลือดปอด การตรวจสแกนดัชนีการหายใจและการไหลเวียนเลือดที่ปอด หรือการตรวจอุลตร้าซาวด์ที่ขา เป็นต้น[4] ภาวะนี้เมื่อพบร่วมกับภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT) จะเรียกรวมกันว่าภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดดำ (VTE)[14]

การลดโอกาสเกิดสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอดทำได้โดยผู้ป่วยหลังผ่าตัดควรพยายามขยับเคลื่อนไหวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะได้ ขยับกล้ามเนื้อขาส่วนล่างหากต้องนั่งนานๆ และใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหลังการผ่าตัดบางชนิด[15] การรักษาส่วนใหญ่เป็นการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น เฮพาริน วาร์ฟาริน หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบออกฤทธิ์โดยตรง (DOAC)[5] โดยอาจต้องใช้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน[5] ผู้ป่วยบางรายจำเป็นจะต้องได้รับการสลายลิ่มเลือด อาจเป็นการสลายลิ่มเลือดด้วยยาเช่นการให้ทีพีเอทางหลอดเลือดดำหรือทางสายสวน และบางครั้งอาจต้องผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก[16] หากไม่สามารถใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้อาจต้องใช้วิธีวางแผ่นตะแกรงในหลอดเลือดดำเวนาคาวาแทนเป็นการชั่วคราว[16]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "What Are the Signs and Symptoms of Pulmonary Embolism?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
  2. 2.0 2.1 Goldhaber SZ (2005). "Pulmonary thromboembolism". ใน Kasper DL, Braunwald E, Fauci AS, และคณะ (บ.ก.). Harrison's Principles of Internal Medicine (16th ed.). New York, NY: McGraw-Hill. pp. 1561–65. ISBN 978-0-07-139140-5.
  3. 3.0 3.1 3.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NIH2011Risk
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "How Is Pulmonary Embolism Diagnosed?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
  5. 5.0 5.1 5.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Chest2016
  6. 6.0 6.1 "What Is Pulmonary Embolism?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Epi2005
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ras2014
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Barco_2020_US
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Barco_2020_EU
  11. Tintinalli JE (2010). Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide (Emergency Medicine (Tintinalli)) (7 ed.). New York: McGraw-Hill Companies. p. 432. ISBN 978-0-07-148480-0.
  12. "What Causes Pulmonary Embolism?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
  13. Pantaleo G, Luigi N, Federica T, Paola S, Margherita N, Tahir M (2014). "Amniotic fluid embolism: review". Current Pharmaceutical Biotechnology. 14 (14): 1163–7. doi:10.2174/1389201015666140430161404. PMID 24804726.
  14. "Other Names for Pulmonary Embolism". July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
  15. "How Can Pulmonary Embolism Be Prevented?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
  16. 16.0 16.1 "How Is Pulmonary Embolism Treated?". NHLBI. July 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก