สิ่งหลุดอุดหลอดเลือด

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolus, /ˈɛmbələs/;[1] พหูพจน์ emboli; จากภาษากรีก: ἔμβολος "ลิ่ม", "ปลั๊ก") เป็นมวลที่เดินทางผ่านกระแสเลือดและสามารถอุดตันกลุ่มเส้นเลือดฝอย (สร้างให้เกิดเส้นเลือดใหญ่อุดตัน) ในตำแหน่งที่ไกลจากจุดกำเนิดได้[2] สิ่งนี้มีหลายชนิด เช่น ลิ่มเลือด คราบคอเลสเตอรอล ก้อนไขมัน ฟองอากาศ หรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือด
embolus
เซลล์เนื้องอกหลุดอุดหลอดเลือดแดงสู่ปอด
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10I74, I82, O88, T79.0-T79.1
ICD-9444.9
DiseasesDB18165
MeSHD004617
ภาพวาดสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดจากลิ่มเลือดที่หลุดออกมา

ในทางตรงกันข้าม การอุดกั้นที่พัฒนาขึ้นเฉพาะที่ไม่ได้เกิดจากการไหลเวียน แต่เกิดจากการบาดเจ็บของหลอดเลือด หรือพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อบุผิวและการอักเสบของหลอดเลือด เช่น ตะกรันท่อเลือดแดง (atheromata) และลิ่มเลือดในหลอดเลือด (thrombi) อย่างไรก็ตาม หากลิ่มเลือดแตกตัวจากแหล่งกำเนิดก็จะกลายเป็นสิ่งอุดหลอดเลือด และหากไม่สลายตัวในระหว่างการขนส่งอาจทำให้เกิดภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism)[3]

คำว่า embolus ถูกใช้ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) โดยรูดอล์ฟ เฟียร์ชอว์ (Rudolf Virchow)[4]

การแบ่งประเภทตามสารที่เป็นสาเหตุ แก้

ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด นั้นลิ่มเลือด (ก้อนเลือด) จากหลอดเลือดจะหลุดออกอย่างสมบูรณ์ หรือบางส่วนจากบริเวณของการเกิดลิ่ม (ก้อน) การไหลเวียนของเลือดจะนำพาลิ่มที่เคลื่อนไหวอย่างอิสระ (embolus)[5] (ผ่านหลอดเลือด) ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สามารถปิดกั้นลูเมน (โพรงของหลอดเลือด) และทำให้เกิดการกีดขวางในหลอดเลือดหรือเกิดการอุดตัน ก้อนเลือด (thrombus) จะติดอยู่เสมอกับผนังหลอดเลือดและไม่เคยเคลื่อนไหวอย่างอิสระในระบบไหลเวียนโลหิต นี่คือความแตกต่างที่สำคัญสำหรับนักพยาธิวิทยาเพื่อหาสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด ไม่ว่าจะเป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตันหรือเกิดลิ่มเลือดหลังการเสียชีวิต การกีดขวางหลอดเลือดจะนำไปสู่ปัญหาทางพยาธิสภาพต่าง ๆ เช่น ภาวะเลือดไหลช้าและการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemia) อย่างไรก็ตามไม่เพียงแต่ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด จะทำให้เกิดการอุดตันของการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือด แต่เส้นเลือดอุดตันชนิดอื่น ๆ ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาแบบเดียวกัน

ภาวะไขมันหลุดอุดหลอดเลือด มักเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อไขมันภายนอก (จากแหล่งที่อยู่ภายในสิ่งมีชีวิต) หลุดเข้าไปในการไหลเวียนของเลือด สาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะไขมันหลุดอุดหลอดเลือดเกิดเนื่องจากการแตกหักของกระดูกท่อนยาว (เช่น กระดูกต้นขา) ซึ่งจะนำไปสู่การรั่วไหลของเนื้อเยื่อไขมันภายในไขกระดูกเข้าสู่เส้นเลือดที่ฉีกขาด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากภายนอก (จากแหล่งกำเนิดภายนอก) เช่น การฉีดอิมัลชันเข้าทางหลอดเลือดดำ

ในทางกลับกันภาวะฟองอากาศหลุดอุดหลอดเลือด มักเกิดจากปัจจัยภายนอกเสมอ อาจเกิดจากการแตกของถุงลมในปอดและอากาศที่หายใจเข้าสามารถรั่วเข้าไปในหลอดเลือดได้ สาเหตุที่พบบ่อยอื่น ๆ เพิ่มเติมได้แก่ การรั่วของหลอดเลือดดำใต้กระดูกไหปลาร้า (subclavian vein) โดยอุบัติเหตุหรือระหว่างการผ่าตัดที่มีแรงดันลบ ซึ่งอากาศจะถูกดูดเข้าไปในหลอดเลือดดำโดยความดันเชิงลบที่เกิดจากการขยายตัวของทรวงอกในช่วงการหายใจเข้า เส้นเลือดอุดตันจากฟองอากาศสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการรักษาทางหลอดเลือดดำ เมื่อมีอากาศรั่วเข้าไปในระบบ (อย่างไรก็ตามข้อผิดพลาดจากโรคหมอทำ (iatrogenic) นี้ในปัจจุบันพบได้ยากมาก)

ภาวะฟองแก๊สหลุดอุดหลอดเลือด เป็นข้อกังวลหลักของนักดำน้ำทะเลลึกเนื่องจากแก๊สในเลือดมนุษย์ (โดยปกติคือ ไนโตรเจน และฮีเลียม) สามารถละลายได้ง่ายและในปริมาณที่สูงขึ้นในระหว่างการดำลงสู่ทะเลลึก อย่างไรก็ตามเมื่อนักดำน้ำขึ้นสู่ความดันบรรยากาศปกติ แก๊สจะไม่ละลายทำให้เกิดฟองอากาศเล็ก ๆ ในเลือด สิ่งนี้เรียกอีกอย่างว่าโรคจากการลดความกดอากาศ หรือ โรคน้ำหนีบ (decompression sickness) ปรากฏการณ์นี้อธิบายได้โดยกฎของเฮนรีในวิชาเคมีกายภาพ

ภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดจากวัสดุอื่นนั้นหายาก ภาวะสิ่งติดเชื้อหลุดอุดหลอดเลือด เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อที่เป็นหนองฝี (เนื้อเยื่อที่มีหนอง) หลุดออกจากจุดรวมเดิม ภาวะเนื้อเยื่อหลุดอุดหลอดเลือด มีความใกล้เคียงกับการแพร่กระจายของมะเร็ง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อมะเร็งแทรกซึมเข้าไปในเส้นเลือดและชิ้นส่วนเล็ก ๆ จะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ภาวะสิ่งแปลกปลอมหลุดอุดหลอดเลือด เกิดขึ้นเมื่อวัสดุภายนอกเช่น แป้งโรยตัว เข้าสู่กระแสเลือดและทำให้เกิดการกีดขวางหรืออุดตันการไหลเวียนโลหิต ภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดจากกระสุนปืน เกิดขึ้นประมาณ 0.3% ของบาดแผลจากกระสุนปืน[6] ภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดจากน้ำคร่ำ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่หาได้ยากในระหว่างการคลอดบุตร

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "embolus". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
  2. Kumar V.; Abbas A.K.; Fausto N. Pathologic Basis of Disease.
  3. William C. Shiel Jr. "Medical Definition of Embolus". MedicineNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
  4. Hellemans, Alexander; Bryan Bunch (1988). The Timetables of Science. New York, New York: Simon and Schuster. pp. 317. ISBN 0-671-62130-0.
  5. Howland, Richard D.; Mycek, Mary J. (c. 2006). Pharmacology. Lippincott's illustrated reviews (3rd ed.). Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins. p. 227. ISBN 0-7817-4118-1.
  6. Mary Elizabeth Schroeder; Howard I. Pryor II; Albert K. Chun; และคณะ (2011-02-10). "Retrograde migration and endovascular retrieval of a venous bullet embolus". Case report. Journal of Vascular Surgery. 53 (4): 1113–1115. doi:10.1016/j.jvs.2010.11.046.