ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

(เปลี่ยนทางจาก Operation Overlord)

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (อังกฤษ: Operation Overlord) เป็นรหัสนามสำหรับยุทธการที่นอร์ม็องดี ปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้เปิดฉากการบุกครองที่ประสบความสำเร็จในดินแดนยุโรปตะวันตกที่อยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการครั้งนี้ได้เปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ด้วยการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี (ปฏิบัติการเนปจูน, ยังเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ ดี-เดย์) การโจมตีทางอากาศโดยเหล่าพลร่มที่มาพร้อมกับเครื่องบินบรรทุกจำนวน 1,200 ลำที่ล่วงหน้าออกไปก่อนที่จะมีการโจมตีด้วยการยกพลสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกด้วยเรือจำนวน 5,000 ลำ จำนวนทหารเกือบ 160,000 นายได้ข้ามช่องแคบอังกฤษเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน และทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรมีจำนวนมากกว่าสองล้านนายในฝรั่งเศสในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง

LCT with barrage balloons afloat, unloading supplies on Omaha for the break-out from Normandy.
วันที่6 มิถุนายน – 30 สิงหาคม ค.ศ. 1944
สถานที่
ทางตอนเหนือ ฝรั่งเศส
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
คู่สงคราม
 ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
  • 1,452,000 ผู้ตายในการรบ (ก่อน 25 ก.ค.)[a]
  • 2,052,299 (ก่อนสิ้นเดือน ส.ค.)[10]
  • 380,000 ผู้ตายในการรบ (ก่อน 23 ก.ค.)[11]
  • ~640,000 ผู้ตายทั้งหมดในการรบ[12]
  • 2,200[13] – 2,500 ยานเกราะ[14][15]
ความสูญเสีย
  • 226,386 ผู้บาดเจ็บ[16][b]
  • 4,101 อากาศยาน[16]
  • ~4,000 ยานเกราะ[17]
  • 288,695 ผู้บาดเจ็บ[18] to 530,000[19] casualties
  • 2,127 อากาศยาน[20]
  • 1,500[21] ถึง 2,400 ยานเกราะ[14]

พลเรือนเสียชีวิต:

  • 11,000–19,000 ผู้ตายจากการทิ้งระเบิดก่อนการบุก[22]
  • 13,632–19,890 ผู้ตายระหว่างการบุก[23]
  • ทั้งหมด: 25,000–39,000 ผู้ตาย

การตัดสินใจที่จะรับรองว่าจะบุกครองข้ามช่องแคบในปี ค.ศ. 1944 ได้ถูกจัดขึ้นที่การประชุมไทรเดนท์ในกรุงวอชิงตันในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 นายพล ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการแห่งกองบัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังพันธมิตรรบนอกประเทศ (Supreme Headquarters Allied Expeditionary Force-SHAEF) และนายพล เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการแห่งกองทัพที่ 21 ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งหมดของกองกำลังทางภาคพื้นดินที่เกี่ยวข้องที่จะบุกครอง ชายฝั่งของนอร์ม็องดีบนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสได้ถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งของการบุกครอง ด้วยฝ่ายอเมริกันได้กำหนดพื้นที่คือส่วนหนึ่งของรหัสนามว่า ยูทาห์ และโอมาฮ่า ส่วนฝ่ายอังกฤษที่ซอร์ด และโกลด์ และฝ่ายแคนาดาที่จูโน เพื่อให้เป็นไปตามสภาพที่ได้คาดหวังไว้ในหัวหาดนอร์ม็องดี เทคโนโลยีพิเศษได้ถูกพัฒนาขึ้น รวมทั้งท่าเรือเทียมสองแห่งที่ถูกเรียกว่า มัลเบอร์รี่ ฮาร์เบอร์ และขบวนของรถถังที่ศึกษาเป็นพิเศษที่มีชื่อว่า Hobart's Funnies ในช่วงเดือนที่นำไปสู่การบุกครอง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ดำเนินการล่อลวงทางทหารอย่างเป็นรูปธรรม ปฏิบัติการบอดีการ์ด การให้ข้อมูลข่าวสารที่ผิดทั้งอิเล็กทรอนิกส์และภาพ ด้วยเหตุนี้ทำให้เยอรมันเกิดเข้าใจผิดเกี่ยวกับวันที่และสถานที่ของการยกพลขึ้นบกหลักของฝ่ายสัมพันธมิตร ฟือเรอร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้มอบหมายให้จอมพล แอร์วีน ร็อมเมิล ในความรับผิดชอบของการพัฒนาป้อมปราการตลอดแนวทั้งหมดของกำแพงแห่งแอตแลนติกที่ฮิตเลอร์ได้ป่าวประกาศเอาไว้ในความคาดหมายของการบุกครอง

ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้เลยสำหรับวันแรก แต่พวกเขาได้ปักหลักทางภาคพื้นดินที่พวกเขาได้ค่อยๆขยายมากขึ้น เมื่อพวกเขาสามารถเข้ายึดครองท่าเรือแชร์บัวก์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และเมืองก็อง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม การโจมตีตอบโต้กลับที่ล้มเหลวโดยกองทัพเยอรมัน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม จำนวนทหารที่เหลือ 50,000 นายของกองทัพที่เจ็ดถูกดักล้อมอยู่ในวงล้อมฟาเลส์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปิดฉากการบุกครองที่สองจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากทางตอนใต้ของฝรั่งเศส(รหัสนามว่า ปฏิบัติการดรากูน) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม และการปลดปล่อยกรุงปารีสที่ตามมา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม กองทัพเยอรมันได้ล่าถอยไปยังตะวันออกข้ามแม่น้ำแซน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1944 อันเป็นการยุติของปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

หมายเหตุ แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Allied strength
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Allied air casualties

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Beevor 2009, p. 82.
  2. Beevor 2009, p. 76.
  3. 3.0 3.1 Williams 1988, p. x.
  4. Beevor 2009, p. 492.
  5. US Navy website.
  6. Luxembourg Army website.
  7. Cision 2014.
  8. Copenhagen Post 2014.
  9. China Daily 2005.
  10. Badsey 1990, p. 85.
  11. Zetterling 2000, p. 32.
  12. Zetterling 2000, p. 34.
  13. Shulman 2007, p. 192.
  14. 14.0 14.1 Wilmot 1997, p. 434.
  15. Buckley 2006, pp. 117–120.
  16. 16.0 16.1 Tamelander & Zetterling 2003, p. 341.
  17. Tamelander & Zetterling 2003, p. 342.
  18. Zetterling 2000, p. 77.
  19. Giangreco, Moore & Polmar 2004, p. 252.
  20. Tamelander & Zetterling 2003, pp. 342–343.
  21. Zetterling 2000, p. 83.
  22. Beevor 2009, p. 519.
  23. Flint 2009, pp. 336–337.