เบาหวานชนิดที่ 2
เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นความผิดปกติของเมแทบอลิซึมระยะยาวซึ่งมีลักษณะคือ ภาวะน้ำตาลสูงในเลือด การดื้ออินซูลิน และการขาดอินซูลินโดยสัมพัทธ์[6] อาการโดยทั่วไปได้แก่ กระหายน้ำเพิ่มขึ้น ปัสสาวะมากและน้ำหนักลดที่อธิบายสาเหตุไม่ได้[3] นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการหิวบ่อย รู้สึกเหนื่อย และปวดไม่หาย[3] อาการมักมาอย่างช้า ๆ[6] ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากภาวะน้ำตาลสูงในเลือดรวมถึงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคจอตาเหตุเบาหวานซึ่งอาจเป็นเหตุให้ตาบอด ไตวายและมีการไหลเวียนโลหิตในแขนขาน้อยซึ่งอาจทำให้ต้องตัดอวัยวะออก[1] อาจเกิดภาวะน้ำตาลสูงในเลือดและออสโมลาริตีสูง (hyperosmolar hyperglycemic state) ทว่า ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน (ketoacidosis) พบไม่บ่อย[4][5]
เบาหวานชนิดที่ 2 | |
---|---|
ชื่ออื่น | Noninsulin-dependent diabetes mellitus (NIDDM), adult-onset diabetes[1] |
สัญลักษณ์วงกลมสีน้ำเงินซึ่งเป็นสากลสำหรับโรคเบาหวาน[2] | |
สาขาวิชา | วิทยาต่อมไร้ท่อ |
อาการ | กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมาก น้ำหนักลดที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ หิวบ่อย[3] |
ภาวะแทรกซ้อน | ภาวะน้ำตาลสูงในเลือดและออสโมลาริตีสูง ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคจอตาเหตุเบาหวาน ไตวาย การตัดอวัยวะออก[1][4][5] |
การตั้งต้น | วัยกลางคนหรือสูงอายุ[6] |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว[6] |
สาเหตุ | โรคอ้วน การขาดการออกกำลังกาย พันธุกรรม[1][6] |
วิธีวินิจฉัย | การตรวจเลือด[3] |
การป้องกัน | การรักษาน้ำหนักปกติ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม[1] |
การรักษา | การเปลี่ยนแปลงอาหาร เมตฟอร์มิน อินซูลิน การผ่าตัดโรคอ้วน[1][7][8][9] |
พยากรณ์โรค | การคาดหมายคงชีพสั้นลง 10 ปี[10] |
ความชุก | 392 ล้านคน (พ.ศ. 2558)[11] |
เบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่เกิดจากโรคอ้วนและการขาดการออกกำลังกาย[1] บางคนมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมมากกว่าคนทั่วไป[6] มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คิดเป็นประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด ส่วนอีก 10% ที่เหลือเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานแห่งครรภ์เป็นหลัก[1] ในเบาหวานชนิดที่ 1 มีระดับอินซูลินทั้งหมดลดลงเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด เนื่องจากการเสียเซลล์บีตาที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อนเหตุภาวะภูมิต้านตนเอง[12][13] การวินิจฉัยโรคเบาหวานทำได้โดยการตรวจเลือดซึ่งมีหลายวิธี เช่น การตรวจระดับกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหาร (fasting plasma glucose) การทดสอบความทนกลูโคสทางปาก (oral glucose tolerance test) หรือการตรวจระดับฮีโมโกลบินไกลเคต (glycated hemoglobin, A1C)[3]
เบาหวานชนิดที่ 2 ป้องกันได้ส่วนหนึ่งโดยการรักษาน้ำหนักให้ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม การรักษามีการออกกำลังกายและเปลี่ยนแปลงอาหาร[1] หากระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลงอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ใช้ยาเมตฟอร์มิน (metformin)[7][14] หลายคนอาจลงเอยด้วยการฉีดอินซูลิน[9] ในผู้ที่ต้องใช้อินซูลิน แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ทว่า อาจไม่จำเป็นในรายที่รับประทานยา[15] การผ่าตัดโรคอ้วน (bariatric surgery) มักทำให้โรคเบาหวานดีขึ้นในผู้ป่วยอ้วน[8][16]
อัตราเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นมากนับแต่ปี พ.ศ. 2503 ในทำนองเดียวกับโรคอ้วน[17] ในปี พ.ศ. 2558 มีประชากรประมาณ 392 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเทียบกับประมาณ 30 ล้านคนในปี พ.ศ. 2528[11][18] ตรงแบบโรคเริ่มในวัยกลางคนหรือสูงอายุ[6] แม้อัตราเบาหวานชนิดที่ 2 กำลังเพิ่มขึ้นในคนหนุ่มสาว[19][20] เบาหวานชนิดที่ 2 สัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพสั้นลงสิบปี[10]
สาเหตุ
แก้เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นผลจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกัน ทั้งส่วนที่เป็นจากพันธุกรรม และส่วนที่เป็นจากวิถีชีวิต[21][22] ซึ่งบางปัจจัยก็สามารถควบคุมได้ เช่น อาหาร ความอ้วน บางปัจจัยก็ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุมาก เพศหญิงพบบ่อยกว่าเพศชาย และพันธุกรรม[10] ภาวะโภชนาการของมารดาขณะตั้งครรภ์ก็อาจมีส่วน โดยอาจผ่านกลไกการเติมหมู่เมทิลให้กับดีเอ็นเอของทารกในครรภ์[23] แบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้บางชนิดถูกพบว่ามีความเชื่อมโยงกับเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ Prevotella copri และ Bacteroides vulgatus[24]
วิถีชีวิต
แก้ปัจจัยจากวิถีชีวิตมีความสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมาก โดยปัจจัยที่โดดเด่นที่สุดคือ โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน การขาดกิจกรรมทางกาย กินอาหารไม่เหมาะสม ความเครียด และการใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง[10][25]
พันธุกรรม
แก้มียีนหลายยีนที่สัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 โดยไม่ได้มียีนใดยีนหนึ่งที่ทำให้เป็นเบาหวาน แต่ความผิดปกติของยีนแต่ละตัวต่างเพิ่มโอกาสที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 72% ที่มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม
โรคและยาต่าง ๆ
แก้มียาและโรคบางอย่างที่เพิ่มโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ เช่น กลูโคคอร์ติคอยด์ ไทอะไซด์ เบตาบล็อกเกอร์ ยาต้านจิตเวชนอกแบบ และสแตติน คนที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นเบาหวานที่ชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้น โรคอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับเบาหวานชนิดที่ 2 เช่น สภาพโตเกินไม่สมส่วน กลุ่มอาการคุชชิง ไทรอยด์ทำงานเกิน ฟีโอโครโมไซโตมา และมะเร็งบางชนิด เช่น กลูคากอโนมา เป็นต้น ผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนพบว่าสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 โรคการกินผิดปกติบางโรคอาจมีผลต่อเบาหวานชนิดที่ 2 โดยบูลิเมียเพิ่มโอกาสเป็นเบาหวาน และอะนอเร็กเซียลดโอกาสเป็นเบาหวาน
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "Diabetes Fact sheet N°312". World Health Organization. สิงหาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2012.
- ↑ "Diabetes Blue Circle Symbol". International Diabetes Federation. 17 มีนาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 สิงหาคม 2007.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Diagnosis of Diabetes and Prediabetes". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. มิถุนายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ 4.0 4.1 Pasquel, FJ; Umpierrez, GE (November 2014). "Hyperosmolar hyperglycemic state: a historic review of the clinical presentation, diagnosis, and treatment". Diabetes Care. 37 (11): 3124–31. doi:10.2337/dc14-0984. PMC 4207202. PMID 25342831.
- ↑ 5.0 5.1 Fasanmade, OA; Odeniyi, IA; Ogbera, AO (June 2008). "Diabetic ketoacidosis: diagnosis and management". African journal of medicine and medical sciences. 37 (2): 99–105. PMID 18939392.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 "Causes of Diabetes". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. มิถุนายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ 7.0 7.1 Maruthur, NM; Tseng, E; Hutfless, S; Wilson, LM; Suarez-Cuervo, C; Berger, Z; Chu, Y; Iyoha, E; Segal, JB; Bolen, S (19 เมษายน 2016). "Diabetes Medications as Monotherapy or Metformin-Based Combination Therapy for Type 2 Diabetes: A Systematic Review and Meta-analysis". Annals of Internal Medicine. 164: 740–51. doi:10.7326/M15-2650. PMID 27088241. (ต้องรับบริการ)
- ↑ 8.0 8.1 Cetinkunar, S; Erdem, H; Aktimur, R; Sozen, S (16 June 2015). "Effect of bariatric surgery on humoral control of metabolic derangements in obese patients with type 2 diabetes mellitus: How it works". World journal of clinical cases. 3 (6): 504–9. doi:10.12998/wjcc.v3.i6.504. PMC 4468896. PMID 26090370.
- ↑ 9.0 9.1 Krentz, Andrew J.; Bailey, Clifford J. (กุมภาพันธ์ 2005). "Oral antidiabetic agents: current role in type 2 diabetes mellitus". Drugs. 65 (3): 385–411. doi:10.2165/00003495-200565030-00005. PMID 15669880. (ต้องรับบริการ)
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Melmed, Shlomo; Polonsky, Kenneth S.; Larsen, P. Reed; Kronenberg, Henry M. (บ.ก.). Williams textbook of endocrinology (12th ed.). Philadelphia: Elsevier/Saunders. pp. 1371–1435. ISBN 978-1-4377-0324-5.
- ↑ 11.0 11.1 GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
- ↑ MacKay, Ian; Rose, Noel, บ.ก. (2014). The Autoimmune Diseases. Academic Press. p. 575. ISBN 978-0-123-84929-8. OCLC 965646175.
- ↑ Gardner, David G.; Shoback, Dolores, บ.ก. (2011). "Chapter 17: Pancreatic hormones & diabetes mellitus". Greenspan's basic & clinical endocrinology (9th ed.). New York: McGraw-Hill Medical. ISBN 0-07-162243-8. OCLC 613429053.
- ↑ Saenz, A; Fernandez-Esteban, I; Mataix, A; Ausejo, M; Roque, M; Moher, D (20 กรกฎาคม 2005). "Metformin monotherapy for type 2 diabetes mellitus". The Cochrane database of systematic reviews (3): CD002966. doi:10.1002/14651858.CD002966.pub3. PMID 16034881. (ต้องรับบริการ)
- ↑ Malanda, UL; Welschen, LM; Riphagen, II; Dekker, JM; Nijpels, G; Bot, SD (18 มกราคม 2012). "Self-monitoring of blood glucose in patients with type 2 diabetes mellitus who are not using insulin". The Cochrane database of systematic reviews. 1: CD005060. doi:10.1002/14651858.CD005060.pub3. PMID 22258959. (ต้องรับบริการ)
- ↑ Ganguly, S; Tan, HC; Lee, PC; Tham, KW (April 2015). "Metabolic bariatric surgery and type 2 diabetes mellitus: an endocrinologist's perspective". Journal of biomedical research. 29 (2): 105–11. doi:10.7555/JBR.29.20140127. PMC 4389109. PMID 25859264.
- ↑ Moscou, Susan (2013). "Getting the word out: advocacy, social marketing, and policy development and enforcement". ใน Truglio-Londrigan, Marie; Lewenson, Sandra B. (บ.ก.). Public health nursing: practicing population-based care (2nd ed.). Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning. p. 317. ISBN 978-1-4496-4660-8. OCLC 758391750.
- ↑ Smyth, S; Heron, A (มกราคม 2006). "Diabetes and obesity: the twin epidemics". Nature Medicine. 12 (1): 75–80. doi:10.1038/nm0106-75. PMID 16397575. (ต้องรับบริการ)
- ↑ Tfayli, H; Arslanian, S (March 2009). "Pathophysiology of type 2 diabetes mellitus in youth: the evolving chameleon". Arquivos brasileiros de endocrinologia e metabologia. 53 (2): 165–74. doi:10.1590/s0004-27302009000200008. PMC 2846552. PMID 19466209.
- ↑ Imperatore, Giuseppina; Boyle, James P.; Thompson, Theodore J.; Case, Doug; Dabelea, Dana; Hamman, Richard F.; Lawrence, Jean M.; Liese, Angela D.; Liu, Lenna L. (ธันวาคม 2012). "Projections of Type 1 and Type 2 Diabetes Burden in the U.S. Population Aged <20 Years Through 2050". Diabetes Care (ภาษาอังกฤษ). 35 (12): 2515–2520. doi:10.2337/dc12-0669. ISSN 0149-5992. PMC 3507562. PMID 23173134. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2016.
- ↑ Ripsin CM, Kang H, Urban RJ (มกราคม 2009). "Management of blood glucose in type 2 diabetes mellitus". American Family Physician. 79 (1): 29–36. PMID 19145963.
- ↑ Risérus U, Willett WC, Hu FB (มกราคม 2009). "Dietary fats and prevention of type 2 diabetes". Progress in Lipid Research. 48 (1): 44–51. doi:10.1016/j.plipres.2008.10.002. PMC 2654180. PMID 19032965.
- ↑ Christian P, Stewart CP (มีนาคม 2010). "Maternal micronutrient deficiency, fetal development, and the risk of chronic disease". The Journal of Nutrition. 140 (3): 437–45. doi:10.3945/jn.109.116327. PMID 20071652.
- ↑ Pedersen HK, Gudmundsdottir V, Nielsen HB, Hyotylainen T, Nielsen T, Jensen BA, และคณะ (กรกฎาคม 2016). "Human gut microbes impact host serum metabolome and insulin sensitivity". Nature. 535 (7612): 376–81. Bibcode:2016Natur.535..376P. doi:10.1038/nature18646. PMID 27409811. S2CID 4459808.
- ↑ Abdullah A, Peeters A, de Courten M, Stoelwinder J (กันยายน 2010). "The magnitude of association between overweight and obesity and the risk of diabetes: a meta-analysis of prospective cohort studies". Diabetes Research and Clinical Practice. 89 (3): 309–19. doi:10.1016/j.diabres.2010.04.012. PMID 20493574.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เบาหวานชนิดที่ 2
- IDF Diabetes Atlas 2015
- National Diabetes Information Clearinghouse, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2010
- Centers for Disease Control (Endocrine pathology)
- ADA's Standards of Medical Care in Diabetes 2019
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |