เบาหวานชนิดที่ 1

เบาหวานชนิดที่ 1 หรือ เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ทำให้กลุ่มเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ในตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยมากหรือผลิตไม่ได้เลย[4] อินซูลินเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายสามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ และมีส่วนในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด[2] ในตอนที่ไม่ได้รับการรักษาภาวะนี้จะทำให้ในเลือดมีระดับน้ำตาลสูง[1] อาการที่พบได้บ่อยในขณะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลด และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต[4][9] อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วม เช่น ตามัว อ่อนล้า บาดแผลหายช้า[2] โดยทั่วไปแล้วในระยะแรกของการมีอาการ ผู้ป่วยจะมีอาการต่างๆ จนเห็นได้ชัดในระยะเวลาค่อนข้างสั้น คือในระดับไม่กี่สัปดาห์[1]

เบาหวานชนิดที่ 1
(Type 1 diabetes)
ชื่ออื่นDiabetes mellitus type 1, insulin-dependent diabetes,[1] juvenile diabetes[2]
สัญลักษณ์วงกลมสีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์สากลสำหรับโรคเบาหวาน[3]
การออกเสียง
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการปัสสาวะบ่อย, ดื่มน้ำบ่อย, หิวบ่อย, น้ำหนักลด[4]
ภาวะแทรกซ้อนภาวะเลือดเป็นกรดคีโตนจากเบาหวาน(DKA), ภาวะเลือดมีน้ำตาลสูงและความเข้มข้นสูงแบบไม่ใช่คีโตน (HHS), บาดแผลหายช้า, โรคหัวใจ, โรคจอประสาทตา[2][4][5]
การตั้งต้นเมื่อเป็นแล้วจะแสดงอาการอย่างรวดเร็ว[1]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[4]
สาเหตุร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ[4]
ปัจจัยเสี่ยงประวัติครอบครัว, โรคซีลิแอ็ก[5][6]
วิธีวินิจฉัยระดับน้ำตาลในเลือด, HbA1C[5][7]
การป้องกันไม่มี[4]
การรักษายาอินซูลิน, อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน, ออกกำลังกาย[1][2]
ความชุก~7.5% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด[8]

สาเหตุของเบาหวานชนิดที่ 1 ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[4] แต่เชื่อว่าเป็นผลจากหลายๆ ปัจจัยทั้งทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[1] กลไกที่ทำให้เกิดโรคคือภาวะภูมิต้านตนเองที่ทำลายเซลล์เบต้าในตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลิน[2] มีรายงานการศึกษาวิจัยหลายฉบับที่บ่งชี้ว่าภาวะภูมิต้านตนเองต่อเซลล์เบต้าจนทำให้กลุ่มเซลล์ของแลงเกอร์ฮานส์ถูกทำลายนี้อาจถูกกระตุ้นได้ด้วยการติดเชื้อไวรัสบางชนิดอย่างต่อเนื่อง[10] การวินิจฉัยเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ทำได้โดยการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด หรือตรวจวัดระดับฮีโมโกลบินที่จับกับน้ำตาล (HbA1C) ในเลือด[5][7] และสามารถแยกจากกันได้ด้วยการตรวจหาสารภูมิต้านตนเองในเลือด[5]

ยังไม่มีวิธีป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 1[4] การรักษาจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนอินซูลิน[1] โดยทั่วไปจะใช้การให้ยาอินซูลินผ่านการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยอาจเป็นการฉีดตามปกติหรือใช้เครื่องฉีดอัตโนมัติ[11] การออกกำลังกายและการปรับอาหารเพื่อผู้ป่วยเบาหวานเป็นองค์ประกอบสำคัญเช่นกัน[2] หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง[4] ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดคีโตนจากเบาหวาน (DKA) และภาวะเลือดมีน้ำตาลสูงและความเข้มข้นสูงแบบไม่ใช่คีโตน (HHS)[5] ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวได้แก่โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ไตวาย แผลเรื้อรัง และโรคจอประสาทตา[4] นอกจากนี้แล้วการรักษาด้วยอินซูลินหากใช้ไม่เหมาะสมยังทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ด้วย[5]

ในบรรดาผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด จะมีอยู่ประมาณ 5-10% เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1[8] ยังไม่มีข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคนี้ทั่วโลกที่แน่ชัด แต่มีข้อมูลประมาณไว้ว่าในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 รายใหม่ที่เป็นเด็กประมาณ 8 หมื่นคน[5] ในสหรัฐมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 อยู่ประมาณ 1-3 ล้านคน[5][12] อัตราการเกิดโรคแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยในเอเชียตะวันออกและละตินอเมริกาพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 1 ต่อแสนคน ในขณะที่สแกนดิเนเวียและคูเวตพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 30 ต่อแสนคน[13][14] ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ส่วนใหญ่จะเริ่มวินิจฉัยได้ตั้งแต่วัยเด็กและผู้ใหญ่ตอนต้น[1]

อาการและอาการแสดง แก้

 
อาการสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

อาการแรกเริ่มของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มักเป็นขึ้นอย่างเฉียบพลันในวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[15] อาการที่สำคัญที่สุดคืออาการที่เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมาก โดยในเด็กมักพบเป็นอาการปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก และน้ำหนักลด ซึ่งแสดงอาการภายในเวลาไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์[16][17] ผู้ป่วยเด็กบางคนอาจมีอาการอยากอาหารมากผิดปกติ สายตาเลือนราง ปัสสาวะรดที่นอน ผิวหนังติดเชื้อซ้ำๆ มีเชื้อราที่ขาหนีบ กระสับกระส่าย และมีปัญหาการเรียนได้[16][17] ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 มักมีอาการได้หลายรูปแบบ และอาจมีอาการต่อเนื่องมาเป็นหลายเดือนก่อนได้รับการวินิจฉัย แทนที่จะอยู่ในหลักวันหรือหลักสัปดาห์อย่างในผู้ป่วยเด็ก[18][17]

การขาดอินซูลินต่อเนื่องสามารถทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (DKA) ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ผิวแห้งหรือผิวแดง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน สับสน หายใจเหนื่อยหอบ ลมหายใจมีกลิ่นผลไม้ (จากคีโตนในเลือดสูง) การตรวจเลือดและปัสสาวะจะพบระดับน้ำตาลและคีโตนสูง หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติ โคม่า และเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยเด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จำนวนมาก ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ครั้งแรกในชีวิตก็ตอนที่เกิด DKA นี้ โดยมีสัดส่วนแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยในยุโรปและอเมริกาเหนือคิดเป็นประมาณ 15% ในขณะที่ผู้ป่วยเด็กในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาแสดงอาการครั้งแรกเป็น DKA สูงถึง 80%

ภาวะแทรกซ้อน แก้

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ประมาณ 12% มีภาวะซึมเศร้า[19] ประมาณ 6% มีโรคร่วมคือโรคซีลิแอ็ก แต่ส่วนใหญ่อาจไม่มีอาการทางระบบย่อยอาหาร[6][20] หรือมีอาการแต่ได้รับการวินิจฉัยผิดว่าเป็นอาการที่เกิดจากการควบคุมอาหารได้ไม่ดี, กระเพราะอาหารเป็นอัมพาต, หรือโรคเซลล์ประสาทเสื่อมเหตุเบาหวาน[20] ผู้ป่วยเหล่านี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ก่อน แล้วจึงได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคซีลิแอกในภายหลัง ผู้ป่วยที่เป็นทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคซีลิแอก เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคของจอตา และเพิ่มโอกาสเสียชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างโรคทั้งสองนี้อธิบายได้จากการมีปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมกัน การอักเสบ และการขาดสารอาหารที่เกิดจากโรคซีลิแอกที่ไม่ได้รับการรักษา ซึ่งอาจเป็นมาก่อนโดยไม่ได้รับการวินิจฉัย[6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 "Causes of Diabetes". NIDDK. August 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2016. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "Types of Diabetes". NIDDK. February 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2016. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.
  3. "Diabetes Blue Circle Symbol". International Diabetes Federation. 17 March 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2007.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 "Diabetes Fact sheet N°312". WHO. November 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2013. สืบค้นเมื่อ 29 May 2017.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 Chiang JL, Kirkman MS, Laffel LM, Peters AL (July 2014). "Type 1 diabetes through the life span: a position statement of the American Diabetes Association". Diabetes Care. 37 (7): 2034–2054. doi:10.2337/dc14-1140. PMC 5865481. PMID 24935775.
  6. 6.0 6.1 6.2 Elfström P, Sundström J, Ludvigsson JF (พฤศจิกายน 2014). "Systematic review with meta-analysis: associations between coeliac disease and type 1 diabetes". Alimentary Pharmacology & Therapeutics. 40 (10): 1123–1132. doi:10.1111/apt.12973. PMID 25270960. S2CID 25468009.
  7. 7.0 7.1 "Diagnosis of Diabetes and Prediabetes". NIDDK. May 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2016. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.
  8. 8.0 8.1 Daneman D (March 2006). "Type 1 diabetes". Lancet. 367 (9513): 847–858. doi:10.1016/S0140-6736(06)68341-4. PMID 16530579. S2CID 21485081.
  9. Torpy JM, Lynm C, Glass RM (September 2007). "JAMA patient page. Type 1 diabetes". JAMA. 298 (12): 1472. doi:10.1001/jama.298.12.1472. PMID 17895465.
  10. Vehik K, Lynch KF, Wong MC, Tian X, Ross MC, Gibbs RA, และคณะ (December 2019). "Prospective virome analyses in young children at increased genetic risk for type 1 diabetes". Nature Medicine. 25 (12): 1865–1872. doi:10.1038/s41591-019-0667-0. PMC 6898786. PMID 31792456.
  11. "Alternative Devices for Taking Insulin". NIDDK. July 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2016. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.
  12. "Fast Facts Data and Statistics about Diabetes". American Diabetes Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2015. สืบค้นเมื่อ 25 July 2014.
  13. Global report on diabetes (PDF). World Health Organization. 2016. pp. 26–27. ISBN 978-92-4-156525-7. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2016. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.
  14. Skyler J (2012). Atlas of diabetes (4th ed.). New York: Springer. pp. 67–68. ISBN 978-1-4614-1028-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017.
  15. Atkinson et al. 2020, Table 36.1.
  16. 16.0 16.1 Wolsdorf & Garvey 2016, "Type 1 Diabetes".
  17. 17.0 17.1 17.2 Atkinson et al. 2020, "Clinical presentation".
  18. DiMeglio, Evans-Molina & Oram 2018, p. 2449.
  19. Roy T, Lloyd CE (October 2012). "Epidemiology of depression and diabetes: a systematic review". Journal of Affective Disorders. 142 (Suppl): S8-21. doi:10.1016/S0165-0327(12)70004-6. PMID 23062861.
  20. 20.0 20.1 See JA, Kaukinen K, Makharia GK, Gibson PR, Murray JA (October 2015). "Practical insights into gluten-free diets". Nature Reviews. Gastroenterology & Hepatology (Review). 12 (10): 580–591. doi:10.1038/nrgastro.2015.156. PMID 26392070. S2CID 20270743. Coeliac disease in T1DM is asymptomatic ...Clinical manifestations of coeliac disease, such as abdominal pain, gas, bloating, diarrhoea and weight loss can be present in patients with T1DM, but are often attributed to poor control of diabetes, gastroparesis or diabetic neuropathy

Works cited แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก