สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

(เปลี่ยนทางจาก Mary I of England)

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Mary I of England, 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1516 — 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1558) รู้จักกันในพระนาม แมรี ทิวดอร์ (Mary Tudor) และฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่เป็นศัตรูเรียกพระองค์ว่า "บลัดดีแมรี" (Bloody Mary; แปลว่าแมรีบ้าเลือด หรือ แมรีผู้กระหายเลือด) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1553 และสมเด็จพระราชินีแห่งสเปนในฐานะพระมเหสีในพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 ในเดือนกราคม ค.ศ. 1556 จนกระทั่งพระนางสวรรคตใน ค.ศ. 1558 พระนางมีชื่อเสียงจากความพยายามที่จะลบล้างการปฏิรูปศาสนาอังกฤษที่เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 พระราชบิดาของพระนาง ความพยายามที่จะฟื้นฟูทรัพย์สินที่ถูกยึดในช่วงสองรัชกาลก่อนหน้ากลับคืนสู่ศาสนจักรถูกทางรัฐสภาขัดขวาง แต่ในรัชสมัย 5 ปี แมรีให้พวกค้านศาสนาถูกเผาบนเสาเข็มมากกว่า 280 คน

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1
พระสาทิสลักษณ์โดยAntonis Mor, ค.ศ. 1554
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษและไอร์แลนด์
ครองราชย์19 กรกฎาคม ค.ศ. 1553[a] –
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1558
(5 ปี 121 วัน)
ราชินยาภิเษก1 ตุลาคม ค.ศ. 1553
ก่อนหน้าเจน (พิพาท) หรือเอ็ดเวิร์ดที่ 6
ถัดไปเอลิซาเบธที่ 1
ผู้ร่วมบัลลังก์เฟลิเป (1554–1558)
สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน
ดำรงพระยศ16 มกราคม 1556 –
17 พฤศจิกายน 1558
พระราชสมภพ18 กุมภาพันธ์ 1516
พระราชวังพลาเซนเชีย กรีนิช ประเทศอังกฤษ
สวรรคต17 พฤศจิกายน 1558 (42 พรรษา)
พระราชวังเซนต์เจมส์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ฝังพระบรมศพ14 ธันวาคม 1558
เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ลอนดอน
คู่อภิเษกพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน (สมรส 1554)
ราชวงศ์ทิวดอร์
พระราชบิดาพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ
พระราชมารดากาตาลินาแห่งอารากอน
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

แมรีทรงเป็นพระราชธิดาองค์เดียวที่มีชีวิตอยู่ของเฮนรีที่ 8 กับกาตาลินาแห่งอารากอน พระมเหสีองค์แรก พระนางถูกประกาศเป็นธิดานอกสมรสและถูกกันออกจากตำแหน่งผู้สืบสันตติวงศ์หลังจากการอภิเษกสมรสของพระราชบิดามารดาเป็นโมฆะใน ค.ศ. 1533 แม้ว่าภายหลังพระองค์ได้รับการฟื้นฟูผ่านพระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ครั้งที่สาม ค.ศ. 1543 เอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระอนุชาร่วมพระราชบิดา ขึ้นครองราชย์ตอนพระชนมพรรษา 9 พรรษาใน ค.ศ. 1547 เมื่อเอ็ดเวิร์ดทรงพระประชวรอย่างหนักใน ค.ศ. 1553 พระองค์พยายามที่จะถอดแมรีออกจากสายการสืบสันตติวงศ์ เพราะพระองค์คาดการณ์อย่างถูกต้องว่าพระนางจะยกเลิกการปฏิรูปนิกายโปรเตสแตนต์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะสวรรคต นักการเมืองชั้นนำประกาศให้เลดีเจน เกรย์ พระภคินีโปรเตสแตนต์ของแมีัและเอ็ดเวิร์ด เป็นราชินีแทน แมรีจึงรวบรวมกำลังในอีสต์แองเกลียอย่างรวดเร็วและถอดถอนเจน ซึ่งภายหลังโดนตัดพระเศียร แมรีเป็นสมเด็จพระราชินีนาถองค์แรกของอังกฤษ (ไม่นับรัชสมัยของเจนที่มีข้อพิพาทกับจักรพรรดินีมาทิลดา) จากนั้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1554 พระนางอภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน ทำให้กลายเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสเปนสมัยราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเมื่อพระราชสวามีขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1556

หลังแมรีสวรรคตใน ค.ศ. 1558 เอลิซาเบธที่ 1 พระขนิษฐาร่วมพระราชบิดาและผู้ครองราชย์องค์ถัดมา จึงลบล้างการจัดตั้งโรมันคาทอลิกของแมรีกลับ

พระราชสมภพ

แก้

แมรีพระราชสมภพเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1516 ที่พระราชวังพลาเซนเชียในกรีนิช ประเทศอังกฤษ พระนางเป็นพระราชธิดาองค์เดียวในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับกาตาลินาแห่งอารากอน พระมเหสีองค์แรก ที่มีชีวิตรอดในวัยเด็ก พระราชมารดาของพระนางต้องทนทุกข์ทรมานกับการแท้งบุตรและคลอดบุตรหลายครั้ง[3] ก่อนที่พระนางจะพระราชสมภพ พระราชมารดาเคยตั้งพระครรภ์ถึง 4 ครั้ง และให้กำเนิดพระราชธิดาที่สวรรคตตอนคลอดและพระราชโอรส 3 องต์ที่มีชีวิตไม่นานหรือสวรรคตตอนคลอด ซึ่งรวมถึงเจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งคอร์นวอลล์[4]

3 วันต่อมา แมรีรับศีลล้างบาปที่โบสถ์คณะภราดาผู้ถือวินัยของโรมันคาทอลิกที่กรีนิช[5]

วัยเด็ก

แก้

แมรีเป็นเด็กที่มีความสามารถมากกว่าเด็กวัยเดียวกัน การศึกษาความสามารถต่าง ๆ พระองค์ทรงได้มาจากพระมารดาของพระองค์ แมรีได้ทรงศึกษาภาษากรีก วิทยาศาสตร์และดนตรีด้วย ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2064 มีพระชนมายุ 5 พรรษา พระองค์ได้ต้อนรับแขกต่างเมืองด้วยการแสดงเล่นเวอร์จินนอล พระเจ้าเฮนรีได้โอ้อวดในแขกผู้มาเยี่ยมว่า "เด็กหญิงผู้ไม่เคยร้องไห้"

โดยตลอดในวัยเด็กพระเจ้าเฮนรีมักจะหาคู่สมรสให้โดยตลอด เมื่อพระนางมีพระชนมายุ 2 ชันษา พระนางต้องสัญญาว่าจะอภิเสกสมรสกับ เจ้าชายดูรฟิน ฟรานซิส ซึ่งเป็นโอรสของ พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส แต่ 3 ปีผ่านไปข้อตกลงต้องเป็นอันยกเลิก

 
เจ้าหญิงแมรี่ในค.ศ. 1544

ขณะที่การครองคู่ของพระบิดาและพระมารดาเริ่มไม่ค่อยดี เพราะสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีนมิได้ทรงประสูติพระโอรสตามที่พระเจ้าเฮนรี่ทรงปรารถนา พระเจ้าเฮนรี่พยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระนางแคทเธอรีนเป็นอันโมฆะ แต่ต้องผิดหวังเพราะสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7 ไม่ยินยอม การตัดสินใจของสันตะปาปาถูกบีบบังคับด้วยอำนาจของจักรพรรดิชารล์ที่ 5 แมรีนั้นแต่เดิมนั้นได้หมั้นกับหลานของพระมารดาของพระนาง พระเจ้าเฮนรีได้เรียกร้องว่า การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระนางแคทเธอรีนนั้นไม่บริสุทธิ์ เพราะพระนางเคยอภิเษกสมรสมาก่อนแล้ว แม้ว่าทั้งคู่ทรงอภิเษกสมรสกันอย่างสมบูรณ์ ใน พ.ศ. 2076 พระเจ้าเฮนรี่ได้ทรงอภิเษกสมรสอย่างลับ ๆ กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน หลังจากนั้นไม่นานทอมัส แครนเมอร์ อาร์ชบิชอปแห่งเคนเทอร์เบอร์รี ได้ประกาศว่าการอภิเษกกับสมเด็จพระราชินีแคเธอรินแห่งอารากอนถือเป็นอันโมฆะ และการอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีนถือเป็นอันถูกต้อง พระเจ้าเฮนรีประกาศไม่ขึ้นตรงต่อสันตะปาปาแห่งโรมันคาทอลิก และประกาศตนเป็นหัวหน้าแห่งโบสถ์แห่งอังกฤษ ทำให้พระนางแคทเธอรีนต้องถูกถอดยศจากสมเด็จพระราชินีและลดชั้นกลายเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ที่เป็นหม้าย เจ้าหญิงแมรี่ได้กลายเป็นบุตรนอกสมรส ตำแหน่งของพระนางต้องถูกรับช่วงต่อโดย เจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษและเป็นธิดาในสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน เจ้าหญิงแมรี่จึงกลายเป็น เลดี้ แมรี่

เลดี้ แมรี่ถูกขับไล่ออกจากราชวงศ์ ทำให้เธอต้องมาคอยรับใช้เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระนางไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบพระมารดาอีกและไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมพิธีฝังศพพระมารดาใน พ.ศ. 2079 พระนางแอนน์ โบลีนพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้พระเจ้าเฮนรียอมรับให้ผู้ทรงปัญญามีอำนาจในการปกครองโบสถ์แห่งอังกฤษ โดยปฏิเสธคนจากสันตะปาปาและยอมรับว่าการสมรสของบิดา มารดาของพระนางเป็นอันผิดกฎหมาย

เลดี้ แมรี่คาดว่าปัญหาทุกอย่างจะจบลงเมื่อสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีนถูกถอนยศและถูกประหารชีวิตใน พ.ศ. 2079 และเจ้าหญิงเอลิซาเบธถูกลดชั้นมาเป็นเลดี้ เอลิซาเบธ เช่นเดียวกับพระนางและถูกตัดออกจากการสืบสันติวงศ์ หลังจากพระนางแอนน์ โบลีนถูกประหารไปเพียง 2 สัปดาห์ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ได้อภิเษกสมรสใหม่กับสมเด็จพระราชินีเจน เซมัวร์ผู้ซึ่งสิ้นพระชนม์หลังจากให้กำเนิดโอรส ผู้ซึ่งต่อมาคือซึ่งก็คือ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ เลดี้ แมรี่ต้องกลายเป็นแม่อุปถัมภ์ให้แก่พระอนุชา และเป็นผู้ที่โศกเศร้ามากที่สุดในวันฝังพระศพสมเด็จพระราชินีเจน เซมัวร์ ต่อมาพระเจ้าเฮนรียินยอมให้พระนางเข้ามาอาศัยในพระราชวังหลวงได้

ในปี พ.ศ. 2086 พระเจ้าเฮนรีได้อภิเษกสมรสกับพระมเหสีองค์ที่ 6 และเป็นองค์สุดท้าย คือ สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน พารร์ ปีต่อมา พระเจ้าเฮนรีได้ให้เลดี้ แมรี่ และ เลดี้ เอลิซาเบธกลับคืนสู่ราชวงศ์ อย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์ก็ยังเป็นลูกนอกสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ในปี พ.ศ. 2090 พระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคต เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดได้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระบิดา

ขึ้นครองราชย์

แก้
 
เอ็ดเวิร์ดที่ 6 ประกาศให้เลดีเจน เกรย์ พระภคินี เป็นผู้สืบทอด เลดีเจนอภิเษกสมรสกับลอร์ดกิลฟอร์ด ดัดลีย์ ลูกชายของจอห์น ดัดลีย์ ดยุคที่ 1 แห่งนอร์ทัมเบอร์แลนด์ นักการเมืองชาวอังกฤษ

ณ วันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1553 เมื่อเอ็ดเวิร์ดมีพระชนมพรรษา 15 พรรษา พระองค์สวรรคตจากการติดเชื้อในพระปับผาสะ (ปอด) ซึ่งอาจเป็นวัณโรค[6] พระองค์ไม่ต้องการให้แมรีครองราชสมบัติ เพราะเกรงว่าพระนางจะฟื้นฟูโรมันคาทอลิกและอาจล้มล้างการปฏิรูปศาสนาทั้งของพระราชบิดาและพระองค์เอง เพราะเหตุผลนี้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงวางแผนที่จะตัดพระนางออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ ที่ปรึกษาของพระองค์ไม่แนะนำให้ตัดสิทธิเพียงแค่เจ้าหญิงแมรีท่านั้น แต่พระองค์ต้องตัดสิทธิในการครองราชย์แก่เจ้าหญิงเอลิซาเบธด้วย แม้ว่าพระนางจะเป้นโปรเตสแตนต์ก็ตาม พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงตัดสิทธิในการครองราชย์ทั้งสองพระนางตามคำชี้นำของจอห์น ดัดลีย์ ดยุคที่ 1 แห่งนอร์ทัมเบอร์แลนด์และอาจรวมบุคคลอื่นด้วย[7]

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้ให้สิทธิในการครองราชย์แก่เลดีเจน เกรย์ ลูกสะใภ้ของนอร์ทัมเบอร์แลนด์ ผู้เป็นพระราชนัดดาในแมรี พระขนิษฐาในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ต่อมา พระราชบัญญัติการสืบสันตติวงศ์ ค.ศ. 1544 ได้ให้เจ้าหญิงทั้งสองกลับมาสู่สิทธิในการสืบราชสมบัติอีกครั้ง ก่อนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะสวรรคตสิ้นพระชนม์ แมรีถูกเรียกตัวไปที่ลอนดอนเพื่อเยี่ยมพระเชษฐาที่กำลังจะสวรรคต แต่ได้รับคำเตือนว่าการเรียกครั้งนี้เป็นข้ออ้างในการจับกุมพระนาง และด้วยเหตุนี้ จึงช่วยให้เจนรับสิทธิในการครองราชย์สะดวกขึ้น[8] ดังนั้น แทนที่จะเดินทางจากที่ประทับในฮันส์ดอนไปลอนดอน แมรีจึงหนีไปยังอีสต์แองเกลีย เนื่องจากพระนางเป็นเจ้าของที่ดินที่กว้างขวาง และนอร์ทัมเบอร์แลนด์ปราบปรามการกบฏของเคตต์อย่างโหดเหี้ยม ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกหลายคนที่เป็นศัตรูกับนอร์ทัมเบอร์แลนด์ อาศัยอยู่ที่นี่[9] ต่อมาในวันที่ 9 กรกฎาคม พระนางทรงพระอักษรถึงคณะองคมนตรีด้วยคำสั่งให้ประกาศตนเป็นผู้สืบทอดของเอ็ดเวิร์ดที่เคนนิงฮอลล์ นอร์ฟอล์ก[10]

ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1553 นอร์ทัมเบอร์แลนด์และผู้สนับสนุนของเขาประกาศให้เลดีเจนขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ และเป็นวันเดียวกันที่พระราชหัตถเลขาถึงคณะองคมนตรีของแมรีเดินทางมาถึงลอนดอน จากนั้นในวันที่ 12 กรกฎาคม แมรีและผู้สนับสนุนของพระนางจักตั้งกองกำลังทหารที่ปราสามแฟรมลิงงัม ซัฟฟอล์ก[11] ผู้สนับสนุนของนอร์ทัมเบอร์แลนด์ล่มสลาย[12] และเจนถูกถอดถอนในวันที่ 19 กรกฎาคม[13] เธอกับนอร์ทัมเบอร์แลนด์ถูกจองจำในหอคอยลอนดอน แมรีทรงม้าเข้าสู่ลอนดอนอย่างมีชัยในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1553 ด้วยกระแสสนับสนุนที่ได้รับความนิยม พระนางเสด็จพร้อมกับเอลิซาเบธ น้องสาวต่างพระราชมารดาของพระนางกับขบวนขุนนางและสุภาพบุรุษกว่า 800 คน[14]

ครองราชย์

แก้

หนึ่งในพระราชกรณียกิจแรกของสมเด็จพระราชินีแมรีคือ สั่งให้ปล่อยตัวทอมัส ฮอเวิร์ด ดยุกที่ 3 แห่งนอร์ฟอล์กกับสตีเฟน การ์ดิเนอร์ที่นับถือโรมันคาทอลิกในหอคอยลอนดอน และเอ็ดเวิร์ด คอร์ตเนย์ ญาติพี่น้องของพระนาง[15] สมเด็จพระราชินีแมรีได้เข้าพิธีสวมมงกุฏที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1553[16]

อภิเษกสมรส

แก้
 
พระเจ้าเฟลิเปและพระนางแมรี
 
พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน

เมิ่อสมเด็จพระราชินีนาถแมรีมีพระชนมพรรษาได้ 37 พรรษา พระนางเริ่มเอาใจใส่ในการหาคู่และสร้างทายาท เพื่อขัดขวางไม่ให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งเป็นโปรแตสแตนต์เป็นทายาทสืบบัลลังก์ต่อจากพระนาง พระนางได้ปฏิเสธ เอ็ดเวิร์ด เคาน์เทอนี เอิรล์แห่งเดวอน เมื่อพระนางคาดการณ์ไว้ว่า พระญาติของพระนางคือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ได้แนะนำให้พระองค์สมรสกับบุตรของเขา ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งสเปนคือ ฟิลิป ซึ่งต่อมาคือ พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน เมื่อพระนางทอดพระเนตรรูปของเจ้าชายฟิลิป พระนางก็ตกหลุมรักและยืนยันจะอภิเษกสมรสกับเขา ทั้งคู่อภิเษกสมรสกันวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 ทั้งที่พระเจ้าฟิลิปไม่เคยรักพระนางเลยแต่พระองค์สมรสเพื่อต้องการครอบครองราชอาณาจักรอังกฤษเพื่อผนวกอังกฤษเข้ากับสเปน

การเมืองในประเทศ

แก้

การจลาจลเริ่มเกิดขึ้นเมื่อสมเด็จพระราชินีแมรี่อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน คยุคแห่งซัฟฟอล์กได้ประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้งว่าบุตรสาวของเขาเลดี้เจน เกรย์เป็นราชินี ในการสนับสนุนพระนางเอลิซาเบธ โธมัส วาทได้นำกำลังทหารจากเคนท์มาที่ลอนดอนแต่ได้ถูกปราบ หลังจากการกบฏถูกปราบลงแล้ว คยุคแห่งซัฟฟอล์ก,เลดี้เจน เกรย์และพระสวามีถูกตัดสินประหารชีวิต ถึงแม้ว่าเอลิซาเบธจะปฏิเสธในการสมรู้ร่วมคิดในแผนการของโธมัส วาทแต่ก็ทำให้พระนางถูกจองจำอยู่ในหอคอยลอนดอนเป็นเวลา 2 เดือนจากนั้นได้ถูกส่งไปจองจำที่พระราชวังวู้ดสต็อก

พระราชินีแมรี่อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 ภายใต้สนธิสัญญา พระเจ้าฟิลิปเปจึงมีพระยศเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ มีเหรียญตรารูปพระเศียรของทั้งสองพระองค์ การอภิเษกสมรสครั้งนี้อังกฤษต้องถูกบังคับให้สนับสนุนด้านการทหารของพระบิดาของพระเจ้าเฟลิเปคือสมเด็จพระจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิสิทธิ์ในทุกสมรภูมิ อย่างไรก็ตามพระนางแมรี่และพระเจ้าเฟลิเปก็มิใช่ผู้ปกครองร่วมกันเหมือน สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ

ด้านการศาสนา

แก้

พระราชินีแมรี่ได้ปรองดองกับทางโรมและฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิก พระคาร์ดินัลเรจินาลด์ โพล บุตรชายของเคานท์เตสแห่งซาลิสเบอรี่ได้เป็นอาร์ชบิชอปแห่งเคนเทอร์เบอร์รี และพระนางได้สั่งประหาร ทอมัส แครนเมอร์ผู้ซึ่งเห็นชอบกับการหย่าของพระบิดาและพระมารดาของพระนาง พระนางทรงไว้ใจเรจินาด โพลเป็นอย่างมาก

กฎหมายของพระเจ้าเอ็ดเวิรด์เกี่ยวกับการศาสนาได้ถูกเลิกล้มโดยกฎหมายแรกของรัฐสภาซึ่งพระนางแมรี่เห็นชอบด้วย (พ.ศ. 2096) และโบสถ์ได้ฟื้นฟูอีกครั้ง พระนางได้ชักชวนให้สภายกเลิกกฎหมายว่าด้วยนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และได้มีการเห็นพ้องกันมากหลาย

การลงโทษ

แก้

ผู้นำนิกายโปรเตสแตนต์ถูกประหารไปมากมายในการลงโทษมาเรียน ชาวโปรเตสแตนต์ที่ร่ำรวยได้ตัดสินใจออกนอกประเทศ ประมาณ 800 คนที่หนีออกจากประเทศ ผู้ที่ถูกฆ่าด้วยเรื่องของศาสนาที่สำคัญได้แก่ จอห์น โรเจอร์ (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098), ลอเรนซ์ ซอนเดอร์ (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098), โรว์แลนด์ เทย์เลอร์ (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098) และจอห์น โฮเปอร์ บิชอปแห่งโกลเชสเตอร์ (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098) โดยรวมมีชาวโปรเตสแตนต์ถูกฆ่าถึง 284 คน

นโยบายเกี่ยวกับต่างประเทศ

แก้

นโยบายของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ต่อราชอาณาจักรไอร์แลนด์ใน พ.ศ. 2085 มิได้เห็นคุณค่าของนิกายโรมันคาทอลิกเลย ใน พ.ศ. 2098 พระราชินีแมรีได้รับสิ่งล้ำค่าจากพระสันตะปาปาทำให้ได้รับการยืนยันว่า พระนางและพระเจ้าเฟลิเปเป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ ด้วยเหตุนั้นโบสถ์คาทอลิกจึงตกลงที่จะเชื่อมต่อระหว่างราชอาณาจักรอังกฤษกับราชอาณาจักรไอร์แลนด์

ในรัชสมัยของพระองค์อังกฤษต้องเข้าร่วมในการทำสงครามต่อต้านฝรั่งเศสเพื่อผลประโยชน์ของสเปนในอิตาลี การค้ากับต่างประเทศของอังกฤษก็ต้องถูกระงับไปหากไปขัดกับนโยบายของสเปน แม้กระทั่งการแสวงหาอาณานิคมหรือการสร้างอำนาจทางกองทัพเรือก็ต้องแล้วแต่ความเห็นชอบของพระราชาสเปน เสมือนว่าอังกฤษได้กลายเป็นเมืองขึ้นสเปน

การค้าขายและรายได้

แก้

ความตกต่ำของการค้าขายเสื้อผ้าเป็นปัญหาที่เด่นชัดในสมัยของพระองค์ ถึงแม้ว่าพระนางแมรี่ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเป อังกฤษจะไม่ได้ผลประโยชน์ในการติดต่อค้าขายกับโลกใหม่ สเปนได้ป้องกันผลประโยชน์ของตัวเอง พระนางแมรี่ไม่ให้อภัยกับการค้าที่ผิดกฎหมายเพราะพระนางได้เป็นมเหสีของชาวสเปน ในความจริงพระนางได้พยายามช่วยเหลือเศรษฐกิจอังกฤษ พระนางได้ดำเนินนโยบายนอร์ธัมเบอร์แลนด์อันเป็นนโยบายเกี่ยวกับการค้นหาเมืองท่าใหม่นอกยุโรปต่อ

ด้านการเงินพระนางได้ยอมรับความคิดใหม่ ๆ จากรัฐบาล และได้แต่งตั้ง วิลเลียม พอเล็ท มาควิสแห่งวินเชสเตอร์เป็นผู้ตรวจรายได้

สวรรคต

แก้
 
พระสาทิสลักษณ์โดย Hans Eworth (ป. 1555–58)

หลังการเสด็จเยือนของเฟลิเปใน ค.ศ. 1557 แมรีทรงดำริว่าตนตั้งพระครรภ์อีกครั้ง โดยมีกำหนดคลอดในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1558[17] พระนางกำหนดในเจตจำนงว่าพระราชสวามีจะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงที่พระราชโอรส/ธิดายังเล็ก[18] แต่ไม่มีโอรส/ธิดาองค์ใดพระราชสมภพ และแมรีถูกบังคับให้ยอมรับว่าเอลิซาเบธ พระขนิษฐาร่วมพระราชบิดาของพระนาง จะเป็นผู้สืบทอดตามกฎหมาย[19]

แมรีทรงทุรพลและประชวรในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1558[20] โดยอาจทรงเจ็บปวดจากถุงน้ำในรังไข่หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก[21] พระนางสวรรคตในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1558 สิริพระชนมพรรษาได้ 42 พรรษา ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ ในช่วงการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่

พระราชสมบัติอันโด่งดัง

แก้

พระราชสมบัติสมบัติที่ตกทอดมาแต่สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 ที่ได้รับการกล่าวขานคือ ไข่มุก La Peregrina อันโด่งดัง ไข่มุกรูปทรงหยดน้ำสีขาวอมชมพู ขนาด 50 กะรัตนี้ (1 กะรัตหนัก 0.2 กรัม) ถูกพบที่ เกาะไข่มุก อ่าวปานามา ปี ค.ศ. 1513 โดยทาสชาวแอฟริกา น้ำหนักแรกพบคือ 223.8 เกรน (55.95 กะรัต) เมื่อล้างทำความสะอาดเหลือน้ำหนัก 203.84 เกรน (50 กะรัต) La Peregrina ในภาษาสเปนหมายถึง "ผู้พเนจร" ซึ่งขณะที่พบนั้นนับเป็นไข่มุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันกลายเป็นไข่มุกที่มีรูปทรงลูกแพร์ที่ใหญ่ที่สุดเม็ดหนึ่งของโลก พระเจ้าเฟอร์ดินานที่ 5 แห่งสเปน (ค.ศ. 1479-1516) นำมุกนี้ไปประดับมงกุฏและตกทอดถึงพระเจ้าชาร์ลที่ 5 จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 1516-1556) พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน พระโอรสของชาร์ลที่ 5 (ค.ศ. 1556-1598) แล้วไข่มุกนี้ถูกนำไปมอบแก่สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 โดยทรงนำมาทำเข็มกลัดพระดับพระอุระ โดยใช้ทรงในวันอภิเษกสมรสกับพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนในปี ค.ศ. 1554 ด้วย แม้เวลาทรงงานก็ทรงเสมอ ๆ

หลังจากที่พระนางแมรี่ที่ 1 สวรรคตในปี ค.ศ. 1558 ไข่มุกถูกนำกลับสเปนนานถึง 250 ปี พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งสเปนทรงนำไปประดับบนหมวกทรงของพระองค์ สมเด็จพระราชินีแห่งสเปนหลายพระองค์ถัดมาทรงโปรดปรานยิ่งนัก บ้างก็ทรงนำไปประดับเข็มกลัด จี้พระศอ จนเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศสยกสเปนให้โจเซฟ โบนาปาร์ต พี่ชาย โจเซฟมาถึงมาดริดได้ครองสเปนใน ค.ศ. 1808 ภายหลังได้นำไข่มุกกลับฝรั่งเศสและมอบไข่มุกต่อให้หลานของเขา ชาร์ล หลุยส์ นโปเลียน ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 หลังจากนั้นไข่มุกก็ถูกขายไปอยู่ในมือครอบครัว ดยุกแห่งอเบอร์คอน (The Dukes of Abercorn) ปี ค.ศ. 1848 ในลอนดอน โดยมีมาร์ควิสที่ 2 แห่งอเบอร์คอน ลอร์ดเจมส์ เฮอร์มิตัน (2nd Marques of Abercorn) เป็นเจ้าของ เขาได้มอบไข่มุกนี้พร้อมชุดเครื่องประดับไข่มุกแก่ภรรยา Lady Louisa Jane Russel ซึ่งเธอได้ทำหายไปในงานเลี้ยงอาหารคำที่ปราสาทวินเซอร์ เธอสั่งหยุดรถไฟแล้วกลับไปหาก็พบอยู่บนโซฟา ในที่สุดเธอก็มอบไข่มุกเม็ดงามแก่บุตรชาย 2nd Duke of Abercorn เป็นคนต่อมาก่อนตกสู่มือของผู้ครอบครองคนปัจจุบันคือ ดาราฮอลลีวูดที่โด่งดังพอ ๆ กับไข่มุก อลิซาเบธ เทย์เลอร์ โดยเธอได้รับเป็นของขวัญวันวาเลนไทน์ในปี ค.ศ. 1969 จากริชาร์ด เบอร์ตัน (คนเดียวกับที่มอบเพชร เทย์เลอร์-เบอร์ตัน สีขาว ขนาด 68 กะรัตให้เธอ) ในการประมูลที่อังกฤษ the House of Sotheby กรุงลอนดอน ในราคา 37,000 เหรียญ และริชาร์ดได้ค้นพบว่า สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ทรงไข่มุกเม็ดนี้ด้วยจากภาพวาดพระนางใน British National Portrait Gallary (ภาพบนสุดจะเห็นได้ว่าพระนางแมรี่ทรงไข่มุกไว้ที่พระอุระ) อลิซาเบธได้ปรับปรุงจากเข็มกลัดเดิมไปเป็นจี้ไข่มุกเดี่ยวตรงกลางจี้ประดับทับทิมและเพชรซึ่งไข่มุกจะห้อยอยู่ด้านล่างสุดใส่ร่วมชุดกับสร้อยไข่มุกนำงามสายคู่ ผลงานการออกแบบนี้เป็นของคาร์เทียร์ โดยรวมแล้วว่ากันว่าเครื่องประดับที่เธอเป็นเจ้าของทั้งหมดมีมูลค่ารวมแล้วถึง 200 ล้านเหรียญซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นของกำนัลจากสามีหลาย ๆ คนของเธอเองมอบให้

พระราชพงศาวลี

แก้

ทั้งแมรีกับเฟลิเปเป็นลูกหลานของจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงภาพเฟลิเปเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ[22]

Family of สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ
จอห์นแห่งกอนต์
ดยุกแห่งแลงแคสเตอร์
พระเจ้าเฮนรีที่ 4จอห์น โบเฟิร์ต
เอิร์ลแห่งซัมเมอร์เซต
โจแอน โบเฟิร์ต
พระเจ้าเอนริเกที่ 3แคทรินแห่งแลงคัสเตอร์พระเจ้าเฮนรีที่ 5จอห์น โบเฟิร์ต
ดยุกแห่งซัมเมอร์เซต
เซซิลี เนวิลล์
พระเจ้าฆวนที่ 2พระเจ้าเฮนรีที่ 6เลดีมาร์กาเรต โบเฟิร์ตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4
อิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยาพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2พระเจ้าเฮนรีที่ 7เอลิซาเบธแห่งยอร์ก
ฆัวนาแห่งกัสติยามาริอาแห่งอารากอนกาตาลินาแห่งอารากอนพระเจ้าเฮนรีที่ 8มาร์กาเร็ต ทิวดอร์แมรี ทิวดอร์
จักรพรรดิคาร์ลที่ 5อีซาแบลแห่งโปรตุเกสพระเจ้าเจมส์ที่ 5เลดีฟรานเซส แบรนดอน
พระเจ้าเฟลิเปที่ 2แมรีที่ 1 แห่งอังกฤษเอลิซาเบธที่ 1พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6แมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์เลดีเจน เกรย์

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. เอ็ดเวิร์ดที่ 6 สวรรคตในวันที่ 6 กรกฎาคม แมรีได้รับการประกาศเป็นผู้สืบทอดต่อจากพระองค์ที่ลอนดอนในวันที่ 19 กรกฎาคม; ข้อมูลระบุต่างกันว่ารัชกาลของพระองค์เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม[1] หรือ 6 กรกฎาคม[2]

อ้างอิง

แก้
  1. Weir (p. 160)
  2. Sweet and Maxwell's (p. 28)
  3. Waller, p. 16; Whitelock, p. 9.
  4. Loades, pp. 12–13; Weir, pp. 152–153.
  5. Porter, p. 13; Waller, p. 16; Whitelock, p. 7.
  6. Porter, p. 187.
  7. Porter, pp. 188–189.
  8. Waller, pp. 48–49; Whitelock, p. 165.
  9. Waller, pp. 51–53; Whitelock, pp. 165, 138.
  10. Loades, p. 176; Porter, p. 195; Tittler, pp. 8, 81–82; Whitelock, p. 168.
  11. Porter, p. 203; Waller, p. 52.
  12. Loades, pp. 176–181; Porter, pp. 213–214; Waller, p. 54; Whitelock, pp. 170–174.
  13. Porter, p. 210; Weir, pp. 159–160.
  14. Waller, pp. 57–59.
  15. Waller, p. 59; Whitelock, p. 181.
  16. Porter, pp. 257–261; Whitelock, pp. 195–197.
  17. Porter, p. 398; Waller, pp. 106, 112; Whitelock, p. 299.
  18. Whitelock, pp. 299–300.
  19. Whitelock, p. 301.
  20. Loades, p. 305; Whitelock, p. 300.
  21. Waller, p. 108.
  22. Whitelock, p. 242.

ข้อมูล

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Doran, Susan and Thomas Freeman, eds. (2011). Mary Tudor: Old and New Perspectives. Palgrave MacMillan.
  • Edwards, John. (2011). Mary I: England's Catholic Queen. New Haven and London: Yale University Press. ISBN 0-300-11810-4.
  • Erickson, Carolly (1978). Bloody Mary: The Life of Mary Tudor. Garden City, NY: Doubleday. ISBN 0-385-11663-2.
  • Loades, David M. (1979, 2d ed. 1991). The Reign of Mary Tudor: Politics, Government and Religion in England, 1553–58. London and New York: Longman. ISBN 0-582-05759-0.
    —— (2006). Mary Tudor: The Tragical History of the First Queen of England. Kew, Richmond, UK: National Archives.
    —— (2011). Mary Tudor. Stroud, Gloucestershire, UK: Amberley Publishing.
  • Madden, Frederick, Privy Purse Expenses of the Princess Mary, 1536–1544 (London, 1831).
  • Prescott, H. F. M. (1952). Mary Tudor: The Spanish Tudor. Second edition. London: Eyre & Spottiswoode.
  • Ridley, Jasper (2001). Bloody Mary's Martyrs: The Story of England's Terror. New York: Carroll & Graf. ISBN 0-7867-0854-9.
  • Samson, Alexander (2020). Mary and Philip: The Marriage of Tudor England and Habsburg Spain. Manchester UK: Manchester University Press. ISBN 978-1-5261-4223-8.
  • Waldman, Milton (1972). The Lady Mary: A Biography of Mary Tudor, 1516–1558. London: Collins. ISBN 0-00-211486-0.
  • Wernham, R. B. (1966). Before the Armada: The Growth of English Foreign Policy, 1485–1588. London: Jonathan Cape.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ถัดไป
เลดีเจน หรือ เอ็ดเวิร์ดที่ 6   พระมหากษัตริย์อังกฤษและไอร์แลนด์
(19 กรกฎาคม ค.ศ. 1553 — 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1558)
  เอลิซาเบธที่ 1
อีซาแบลแห่งโปรตุเกส   พระราชินีแห่งเนเปิลส์
ดัชเชสแห่งมิลาน

(25 กรกฎาคม ค.ศ. 1554 — 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1558)
  เอลีซาแบ็ตแห่งวาลัว
อีซาแบลแห่งโปรตุเกส   พระราชินีแห่งสเปน, ซาร์ดิเนีย และซิซิลี
ดัชเชสแห่งเบอร์กันดี

(16 มกราคม ค.ศ. 1556 – 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1558)
  เอลีซาแบ็ตแห่งวาลัว