มาร์กาเรต ทิวดอร์

(เปลี่ยนทางจาก มาร์กาเร็ต ทิวดอร์)

มาร์กาเรต ทิวเดอร์ (Margaret Tudor; 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1489 - 18 ตุลาคม ค.ศ. 1541) หรือที่รู้จักกันในพระนามว่า มาร์กาเรต สมเด็จพระราชินีแห่งชาวสกอต (Margaret, Queen of Scots) เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์โตที่ทรงพระชนม์ในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก และทรงเป็นพระเชษฐภคินีในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ในปีค.ศ. 1503 เจ้าหญิงมาร์กาเรตทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าเจมส์ที่ 4 พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอต พระเจ้าเจมส์ที่ 4 เสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1513 และพระราชโอรสได้ครองราชย์สืบต่อในฐานะ พระเจ้าเจมส์ที่ 5 พระนางมาร์กาเรตทรงอภิเษกสมรสครั้งที่ 2 กับอาร์ชิบาลด์ ดักลาส เอิร์ลที่ 6 แห่งแองกัส จากการอภิเษกสมรสทั้งครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองทำให้พระนางมาร์กาเรตทรงเป็นพระอัยยิกาในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งชาวสกอตและลอร์ดดาร์นลีย์ พระสวามีองค์ที่สองของพระนางแมรี ตามลำดับ การอภิเษกสมรสของพระนางมาร์กาเรตกับพระเจ้าเจมส์ที่ 4 เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการรวมราชบัลลังก์ ซึ่งพระราชปนัดดาคือ พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ ผู้ทรงเป็นพระราชโอรสในพระนางแมรีกับลอร์ดดาร์นลีย์ ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ในปีค.ศ. 1603

มาร์กาเรต ทิวเดอร์
พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระราชินีมาร์กาเรตแห่งสก็อตแลนด์ วาดโดยดานีล มิจเทนส์
สมเด็จพระราชินีแห่งชาวสกอต
ดำรงพระยศ8 สิงหาคม 1503 - 9 กันยายน 1513
ราชาภิเษก8 สิงหาคม 1503
ผู้สำเร็จราชการแห่งสกอตแลนด์
ดำรงตำแหน่ง1513–1515
1524–1525
กษัตริย์พระเจ้าเจมส์ที่ 5
พระราชสมภพ28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1489(1489-11-28)
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน ราชอาณาจักรอังกฤษ
สวรรคต18 ตุลาคม ค.ศ. 1541(1541-10-18) (51 ปี)
ปราสาทเว็ทเมน เพิร์ทเชอร์ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์
ฝังพระศพเพิร์ทชาร์เทอร์เฮาส์
คู่อภิเษก
พระราชบุตร
ราชวงศ์ทิวเดอร์
พระราชบิดาพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ
พระราชมารดาเอลิซาเบธแห่งยอร์ก
ศาสนาโรมันคาทอลิก

ดอกทิสเซิลและดอกกุหลาบ

แก้
 
เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตและเจ้าชายเฮนรี (พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ) รายละเอียดจากภาพการเข้าเฝ้าพระโอรสธิดาในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ของอีราสมุสที่พระราชวังอีแทมใน ปีค.ศ. 1499 วาดโดยแฟรงก์ คาโดแกน คาวเปอร์ในราวปี ค.ศ. 1910

เจ้าหญิงมาร์กาเรตทรงร่วมพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนที่โบสภ์เซนต์มาร์กาเร้ต เวสต์มินสเตอร์ เจ้าหญิงทรงได้รับการตั้งพระนามตามมาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บี พระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา[1]

เหล่าบุตรสาวนั้นเป็นสินทรัพย์ทางการเมืองที่มีความสำคัญในโลกของวงการทูตและแต่งงานเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี แม้กระทั่งก่อนวันครบรอบวันคล้ายวันพระราชสมภพ 6 ปีของเจ้าหญิง พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงดำริถึงการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตกับพระเจ้าเจมส์ที่ 4 เพื่อเป็นหนทางไม่ให้พระมหากษัตริย์สกอตไปสนับสนุนเพอร์คิน วอร์เบ็ค ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรในการอภิเษกสมรสดังกล่าวจะเป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การรวมราชบัลลังก์อังกฤษและสกอตแลนด์เข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่พระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งก้คือพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในอนาคตทรงพยายามมาตลอดรัชกาล

ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1497 ราชทูตสเปนประจำราชสำนักพระเจ้าเจมส์ที่ 4 ซึ่งก็คือ เปดรู เดอ อายาลา ได้เป็นตัวแทนลงนามสนธิสัญญาสงบศึกระยะเวลายาวนานกับอังกฤษ และตอนนี้การอภิเษกสมรสจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นที่สุด พระเจ้าเจมส์ทรงมีพระชนมายุยี่สิบปลายๆและยังไม่ทรงอภิเษกสมรส[2] โปลีดอร์ เวอร์จิล นักประวัติศาสตร์ชาวอิตาลี กล่าวว่าสมาชิกสภาอังกฤษบางคนปฏิเสธการอภิเษกสมรสครั้งนี้ และกล่าวว่าการทำเช่นนี้จะนำพาให้ราชวงศ์สทิวเวิร์ตเข้ามาสืบราชสันตติวงศ์ในราชบัลลังก์อังกฤษได้โดยตรง พระเจ้าเฮนรีผู้เจ้าเล่ห์และปราดเปรื่องทรงตอบว่า:

"แล้วยังไงล่ะ อะไรซักอย่างมันควรจะเกิดขึ้น (และพระเจ้าจะทรงปัดเป่าลางนี้ออกไป) ข้ามองว่าราชอาณาจักรของเราจะไม่เสียหายอะไร เพราะอังกฤษจะไม่ถูกสกอตแลนด์ดูดกลืนไป แต่สกอตแลนด์จะถูกอังกฤษดูดกลืนมากกว่า โดยเป็นพวกหัวสูงกันทั้งเกาะ เนื่องจากที่นั่นมักจะมีความรุ่งโรจน์และเกียรติยศน้อยนิด ห่างไกลจากความยิ่งใหญ่ เฉกเช่นเดียวกับที่นอร์ม็องดีครั้งหนึ่งเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองและอำนาจของบรรพบุรุษชาวอังกฤษของเรา"[3]

ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1502 สกอตแลนด์และอังกฤษได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพถาวร เป็นสนธิสัญญาสันติภาพฉบับแรกระหว่างสองราชอาณาจักรในรอบ 170 ปี สนธิสัญญาอภิเษกสมรสถูกรวมไว้ในวันเดียวกันด้วยและเป็นตัวรับประกันสันติภาพ

การอภิเษกสมรสโดยฉันทะและการเดินทางของพระราชินีพระองค์ใหม่

แก้

พระนางมาร์กาเรตอภิเษกสมรสโดยฉันทะในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1503 ที่พระราชวังริชมอนด์ แพทริก เอิร์ลแห่งบอธเวลเป็นตัวแทนของกษัตริย์สกอตและสวมชุดผ้าทองในพิธีที่จัดขึ้นในห้องชุดของสมเด็จพระราชินี เขามาพร้อมกับอาร์กบิชอปแห่งกลาสโกว์และแอนดรู ฟอร์แมน พระอธิการแห่งมอเรย์ จอห์น ยัง หนึ่งในคณะซอเมอร์เซ็ตเฮรัลด์ได้รายงานว่าพิธีนี้เป็น "การต่อสู้ที่น่าจดจำ" รางวัลได้ถูกจัดมอบในเช้าวันถัดมาและงานประลองก็ยังถูกจัดต่อเนื่อง[4] ตอนนี้เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตทรงกลายเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งชาวสกอต

สมเด็จพระราชินีพระองค์ใหม่ทรงมีตู้ฉลองพระองค์ขนาดใหญ่ และผ้าม่านคลุมเตียงสีแดงเข้มของพระนางได้จัดทำโดยไหมของอิตาเลียนซึ่งปักลายกุหลาบแดงแลงคาสเตอร์ เสื้อผ้าเหล่านี้ก็ได้ทำให้แก่พระสหายของพระนาง เลดีแคทเทอรีน กอร์ดอน ภรรยาม่ายของเพอร์คิน วอร์เบ็ค[5] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1503 พระเจ้าเจมส์ที่ 4 ทรงยืนยันสิทธิในการครอบครองที่ดินและพระตำหนักของพระนางที่รวมทั้งปราสาทเมิธเวน, ปราสาทสเตอร์ลิง, ปราสาทดัน, พระราชวังลินลิธโกว์และปราสาทเนวาร์กในป่าเอ็ททริก ที่มีรายได้เช่นเดียวกับระบบเอิร์ลและระบบลอร์ดเจ้าที่ดิน[6]

ในช่วงหลัง ค.ศ. 1503 สมเด็จพระราชินีมาร์กาเรตได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังสกอตแลนด์ เส้นทางเสด็จของพระนางเป็นการเดินทางไปสู่ภาคเหนือครั้งใหญ่ พระนางออกจากพระราชวังริชมอนด์ในวันที่ 27 มิถุนายน พร้อมกับพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และเสด็จไปยังคอลลีเวสตันเป็นแห่งแรก ที่ยอร์กได้มีแผ่นป้ายเหล็กเป็นที่รำลึกถึงจุดที่สมเด็จพระราชินีแห่งสกอตทรงเข้ามาในประตูเมือง หลังจากข้ามพรมแดนที่เบริก-อะพอน-ทวีดในวันี่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1503 สมเด็จพระราชินีมาร์กาเร็ตทรงพบกับราชสำนักสกอตที่แลมเบอร์ตัน ที่พระราชวังเดลคีธ พระเจ้าเจมส์ทรงจุมพิตราตรีสวัสดิ์พระนาง พระองค์เสด็จมาปลอบพระทัยพระนางอีกครั้งในวันที่ 4 สิงหาคม หลังจากที่เกิดเหตุเพลิงไหม้คอกม้าซึ่งทำให้ม้าที่พระนางทรงโปรดตาย เกียร์ทรงม้าของพระนางถูกเผาและเครื่องทรงของม้าหรือผ้าถักทองกับเบาะกำมะหยี่เป็นค่าใช้จ่ายจำนวน 127 ปอนด์[7] ในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1503 พระนางมาร์กาเร็ตต้องเสด็จจากเดลคีธไปยังเอดินเบอระด้วยเกี้ยว

ที่ทุ่งหญ้าระยะหนึ่งไมล์จากเอดินบะระ มีพลับพลาที่ซึ่งเซอร์แพทริก ฮามิลตันและแพทริก ซินแคลร์แสดงละครและต่อสู้ด้วยบทบาทของอัศวินที่ปกป้องผู้หญิงของพวกเขา ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1503 พระราชพิธีอภิเษกสมรสได้ถูกจัดขึ้นที่โบสถ์โฮลีรูด พิธีกรรมได้ดำเนินการโดยอาร์กบิชอปแห่งกลาสโกว์และอาร์กบิชอปแห่งยอร์ก สองวันต่อมาในวันนักบุญลอว์เรนซ์ สมเด็จพระราชินีมาร์กาเร็ตทรงเข้าร่วมพิธีที่มหาวิหารเซนต์ไจส์ ในหมู่โบสถ์เคิร์ก เป็นครั้งแรกที่เสด็จออกสาธารณะนับตั้งแต่ทรงเป็นสมเด็จพระราชินี[8] รายละเอียดในเรื่องการเสกสมรสโดยฉันทะ การเดินทาง การมาถึงและการรับเสด็จในเอดินเบอระได้ถูกบันทึกโดยจอห์น ยังแห่งคณะซอเมอร์เซ็ตเฮรัลด์[9]

บทกวีและบทเพลงสำหรับพระนางมาร์กาเรต

แก้
 
พระเจ้าเจมส์ที่ 4 และสมเด็จพระราชินีมาร์กาเรต

การเสด็จมาถึงของสมเด็จพระราชินีได้มีการเฉลิมพระเกียรติโดยบทกวีของวิลเลียม ดันบาร์ ซึ่งรวมถึงบทกวี The Thrissil and the Rois (ดอกทิสเซิลและดอกกุหลาบ), บทกวี Gladethe, บทกวี thoue Queyne of Scottis Regioun และ บทเพลง Now Fayre, Fayrest of Every Fayre บทกวีอื่นๆอย่างเช่น Blyth Aberdeane ที่แต่งขึ้นเพื่อต้อนรับสมเด็จพระราชินีสู่เมืองแอเบอร์ดีน ดันบาร์อยู่ในลอนดอนในช่วงที่มีการเจรจาสนธิสัญญา[10] บทกวี Thrissil and the Rois ของดันบาร์ เป็นเรื่องราวของนกป่าที่ขับกล่อมดอกกุหลาบที่ประสานกันระหว่างแลงคัสเตอร์และยอร์ก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์ของพระนางมาร์กาเรต บทกวีมีดังนี้

The merle scho sang, 'Haill, Roiss of most delyt,
Haill, of all flouris quene and soverane,’
The lark scho song, 'Haill, Rois, both reid and quhyt,
Most plesand flour, of michty cullouris twane;’
The nychtingaill song, 'Haill, naturis suffragene,
In bewty, nurtour and every nobilness,
In riche array, renown, and gentilness.'[11]

'merle' = นกเดินดงสีดำ หรือ นกแบล็กเบิร์ด (Blackbird); 'scho' = หล่อน, เขา (ผู้หญิง); 'quhyt' = สีขาว; 'suffragane' = ตัวแทน

ในบทกวี Gladethe, บทกวี thoue Queyne พระนางมาร์กาเรตทรงถูกเปรียบดั่งไข่มุกที่มีค่ายิ่งกว่าหินล้ำค่าใดๆ สวยสดใสยิ่งกว่าเบริล มีค่ายิ่งกว่าเพชร สวยยิ่งกว่าไพลิน น่ารักยิ่งกว่าสีเขียวมรกต และวิเศษยิ่งกว่าทับทิมที่โด่งดัง บทกวีมีดังนี้

O precius Margreit, plesand, cleir and quhit,
Mor blith and bricht na is the beriale scheme,
Moir deir na is the diamaunt of delit,
Mor semly na is the sapheir one to seyne,
Mor gudely eik na is the emerant greyne,
Moir riche na is the ruby of renoune,
Fair gem of joy, Margreit, of the I meyne:
Gladethe, thoue queyne of Scottis regioun.[12]

'Gladethe' = น่าปลาบปลื้ม! 'na' คือ จากนั้น; 'beriale' = เบริล; 'eik' = เช่นเดียวกับ; 'of the I meyne'= ฝ่าพระบาทที่ข้าหมายถึง: ข้าพูดถึงพระองค์

บทเพลง Now Fayre ได้รวมท่อนเพลงเกี่ยวกับดอกกุหลาบ คอรัสเริ่มต้นที่ 'ยินดีต้อนรับดอกกุหลาบทั้งสีแดงและสีขาว' บทเพลงเทิดพระเกียรติพระนางมาร์กาเรตเมื่อทรงพระเยาว์ (ขณะที่มีพระชนมายุ 13 พรรษา) และพระสิริโฉมของพระนาง บทเพลงมีดังนี้

Sweet lusty lusum lady clere,
Most myghty kyngis dochter dere,
Borne of a princess most serene,
Welcum of Scotlond to be quene![13]

'lusum'= งดงาม; 'clere'= สว่างไสว, สดใส;

พระโอรสธิดาในพระเจ้าเจมส์และพระนางมาร์กาเรต

แก้

มีการรายงานว่าการอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าเจมส์และพระนางมาร์กาเรตเป็นความเสน่หาซึ่งกันและกัน ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสธิดารวม 6 พระองค์ แต่มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพมาได้[14]

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
  เจมส์ ดยุกแห่งรอธซี 21 กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1507
27 กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1508
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
  เจ้าหญิง ไม่ปรากฏพระนาม 15 กรกฎาคม
ค.ศ. 1508
15 กรกฎาคม
ค.ศ. 1508
สิ้นพระชนม์ในเวลาไม่นานหลังประสูติ
  อาเทอร์ สทิวเวิร์ต ดยุกแห่งรอธซี 20 ตุลาคม
ค.ศ. 1509
14 กรกฎาคม
ค.ศ. 1510
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
  พระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์ 10 เมษายน
ค.ศ. 1512
14 ธันวาคม
ค.ศ. 1542
อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1537 กับ
เจ้าหญิงเมดเดลีนแห่งฝรั่งเศส
ไม่มีพระโอรสธิดา

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 วันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1538 กับ
แมรีแห่งแห่งกีส
มีพระโอรสธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
เจมส์ ดยุกแห่งโรเทอซี
อาเทอร์ หรือ โรเบิร์ต สจวต ดยุกแห่งออลบานี
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์

ทรงมีพระโอรสธิดานอกสมรสอีกหลายพระองค์
  เจ้าหญิง ไม่ปรากฏพระนาม พฤศจิกายน
ค.ศ. 1512
พฤศจิกายน
ค.ศ. 1512
สิ้นพระชนม์ในเวลาไม่นานหลังประสูติ
  อเล็กซานเดอร์ สทิวเวิร์ต ดยุกแห่งรอสส์ 30 เมษายน
ค.ศ. 1514
18 ธันวาคม
ค.ศ. 1515
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์

สมัยผู้สำเร็จราชการ

แก้
 
พระนางมาร์กาเรตขณะทรงสวดมนต์ในฉลองพระองค์วันราชาภิเษก วาดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยเจอราร์ด โฮเรนโบท์

สนธิสัญญาปี ค.ศ. 1502 ก็ไม่ได้เกิดสันติภาพที่ถาวรดังที่ตั้งใจไว้ เกือบจะไม่เป็นผลในช่วงการสวรรคตของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ในปี ค.ศ. 1509 ผู้สืบราชบัลลังก์องค์ถัดมา กษัตริย์หนุ่ม พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงใช้เวลาน้อยนิดในการเจรจาทางการทูตตามแบบของพระราชบิดา ในไม่ช้าพระองค์ก็มุ่งหน้าทำสงครามกับฝรั่งเศส พันธมิตรเก่าแก่ของสกอตแลนด์ ในปี ค.ศ. 1513 พระเจ้าเจมส์ที่ 4 ทรงยกทัพบุกอังกฤษเพื่อแสดงเกียรติตามพันธสัญญาพันธมิตรเก่าแก่ ซึ่งทำให้ต้องประสบกับหายนะและพระองค์ได้เสด็จสวรรคตในยุทธการที่ฟลอดเดน พระนางมาร์กาเรตทรงคัดค้านสงคราม แต่ก็ทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในพระเจ้าเจมส์ที่ 5 พระมหากษัตริย์ที่ยังทรงพระเยาว์ และพระนางก็ทรงตกพุ่มหม้าย

รัฐสภาสกอตแลนด์ได้มีการประชุมที่สเตอร์ลิงไม่นานนักหลังจากเหตุการณ์ที่ฟลอดเดน และรับรองให้สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเรตดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สถานะของสตรีที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจสูงสุด และพระนางมาร์กาเรตเองทรงเป็นพระเชษฐภคินีในพระมหากษัตริย์ฝ่ายศัตรู สิ่งเหล่านี้ได้สร้างปัญหาแก่พระนาง หลังจากนั้นไม่นานฝ่ายที่ให้การสนับสนุนฝรั่งเศสได้รวมตัวขึ้นมาในหมู่ชนชั้นขุนนางและได้แนะนำให้พระนางควรถูกแทนที่ด้วยจอห์น สทิวเวิร์ต ดยุกแห่งออลบานี พระญาติฝ่ายชายที่ใกล้ชิดยุวกษัตริย์มากที่สุด และอยู่ในลำดับที่สามของการสืบราชสันตติวงศ์ ดยุกแห่งออลบานีเกิดและถูกเลี้ยงดูในฝรั่งเศสและถูกมองว่าเป็นตัวแทนของ "พันธมิตรเก่าแก่" ที่ยังดำรงอยู่ ในการเป็นขั้วตรงข้ามกับฝ่ายนิยมอังกฤษของสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ต พระนางได้รับการบรรยายว่าทรงปฏิบัติหน้าที่อย่างสงบและทรงมีทักษะทางการเมืองบางประการ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1514 พระนางทรงดำเนินการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง สกอตแลนด์และฝรั่งเศสได้ดำเนินการสงบศึกกับอังกฤษในที่สุดในเดือนเดียวกัน แต่ในการที่พระนางทรงพยายามหาพันธมิตรทางการเมืองในหมู่ขุนนางสกอตที่มักจะดื้อแพ่งซึ่งพระนางทรงดำเนินการอย่างคอขาดบาดตาย ทรงดำเนินการด้วยความเฉลียวฉลาดและสุขุมรอบคอบมากกว่าที่จะทรงตกไปในวังวนของอารมณ์และอำนาจ

ในการพยายามหาพันธมิตรของพระนางมาร์กาเรต พระองค์ทรงหันไปหาผู้ทรงอิทธิพลอย่างตระกูลดักลาส พระองค์ทรงมีจิตเสน่หากับอาร์ชิบาลด์ ดักลาส เอิร์ลที่ 6 แห่งแองกัสเป็นบุคคลที่แม้กระทั่งลุงของเขา กาวิน ดักลาส ผู้เป็นบาทหลวงและนักกวี ได้เรียกหลานคนนี้ว่า "คนหนุ่มผู้โง่เขลา" พระนางมาร์กาเรตและดักลาสได้เสกสมรสกันอย่างลับๆที่โบสถ์สังฆมณฑลคินนวล ใกล้เมืองเพิร์ท ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1514 ไม่เพียงเท่านี้ การแตกแยกของแต่ละตระกูลได้เกิดขึ้น แต่ในที่สุดพลังของฝ่ายสนับสนุนฝรั่งเศสได้กล้าแข็งขึ้นในสภา นำโดยเจมส์ บีตัน อาร์กบิชอปแห่งกลาสโกว์ ตามข้อกำหนดในพระราชพินัยกรรมของพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนกำหนดว่า พระนางจะต้องสละตำแหน่งของพระนาง เดือนก่อนหน้านั้นพระนางทรงถูกบีบบังคับให้แต่งตั้งดยุกแห่งออลบานีให้เข้ามาแทน ในเดือนกันยายน สภาองคมนตรีแห่งสกอตแลนด์ได้ลงมติว่า พระนางจะต้องถูกถอนสิทธิในการอภิบาลพระโอรส ดังนั้นพระนางและพันธมิตรของพระนางจึงทำการต่อต้านคำสั่งดังกล่าวโดยนำพาพระโอรสไปยังปราสาทสเตอร์ลิง

 
พระสาทิสลักษณ์พระนางมาร์กาเร็ต คาดว่าร่างในช่วงที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพ

ดยุกแห่งออลบานีมาถึงสกอตแลนด์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1515 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม งานแรกของเขาคือการได้รับเป็นผู้ปกครองของพระเจ้าเจมส์และเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้สำเร็จราชการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในทางการเมือง หลังจากที่สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตทรงต่อต้าน ในที่สุดก็ทรงยอมจำนนที่สเตอร์ลิงในเดือนสิงหาคม พระโอรสได้อยู่ในการควบคุมของพระปิตุลา และพระนางมาร์กาเร็ตซึ่งขณะนี้คาดว่าทรงพระครรภ์บุตรของเอิร์ลแห่งแองกัส ได้ถอนพระองค์จากการเมืองไปยังเอดินบะระ ในบางครั้งพระอนุชาของพระนางได้เร่งเร้าให้พระนางเสด็จหนีมาอังกฤษพร้อมพระโอรสด้วย แต่พระนางก็ปฏิเสธอย่างแข็งขัน ทรงเกรงว่าถ้าดำเนินการดังกล่าวอาจจะทำให้พระเจ้าเจมส์ต้องสูญเสียบัลลังก์

เนื่องจากไม่มีผลประโยชน์ใดๆ พระนางจึงได้รับอนุญาตให้เสด็จไปยังลินลิธโกว์ดังนั้นพระนางจึงเสด็จหนีข้ามชายแดน พระนางทรงได้รับการต้อนรับจากลอร์ดดาเคร เทศาภิบาลผู้ดูแลหัวเมืองชายแดนในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และทรงได้รับเชิญไปยังปราสาทฮาร์บอทเทิลในนอร์ธัมเบอร์แลนด์ ที่นี่ในต้นเดือนตุลาคม พระนางทรงมีพระประสูติกาลเลดีมาร์กาเร็ต ดักลาส ซึ่งในอนาคตคือ เคานท์เตสแห่งเลนน็อกซ์และเป็นมารดาในลอร์ดดาร์ลีย์ ซึ่งเป็นพระญาติและเป็นพระสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ ขณะที่ทรงอยู่ที่ภาคเหนือของอังกฤษ พระนางมาร์กาเร็ตทรงได้รับทราบเรื่องการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ พระโอรส ลอร์ดดาเครได้พูดไปนัยๆว่าดยุกแห่งออลบานี ได้เป็นเหมือนพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ซึ่งเขาต้องรับผิดชอบ แม้ว่าพระนางมาร์กาเร็ตยังทรงอยู่ในสภาวะเปราะบาง แต่พระนางทรงปฏิเสธความคิดนี้ ทรงกล่าวว่าถ้าหากดยุกแห่งออลบานีต้องการที่จะยึดราชบัลลังก์จริงๆ การทำให้พระเจ้าเจมส์สวรรคตดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าสำหรับเขา ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่พระนางทรงเริ่มประเมินตัวเอิร์ลแห่งแองกัส ผู้ซึ่งนึกถึงสวัสดิภาพของตัวเอง โดยการกลับไปยังสกอตแลนด์และสงบศึกกับผู้สำเร็จราชการ "ที่ซึ่งทำให้พระนางมาร์กาเร็ตคิดถึงมาก" เมื่อพระเจ้าเฮนรีทรงรู้ว่าแองกัสไม่ได้พาพระเชษฐภคินีมาที่ลอนดอน พระองค์ก็สบถว่า "เสร็จเจ้าคนสกอต" อย่างไรก็ตาม อำนาจ อิทธิพลและความมั่งคั่งทั้งหมดของแองกัสนั้นอยู่ในสกอตแลนด์ การละทิ้งประเทศไปนั้นหมายถึงความผิดฐานกบฏ ในกรณีนี้เขาคงจะเห็นตัวอย่างจากญาติของเขาในสมัยก่อนคือ เจมส์ ดักลาส เอิร์ดที่ 9 แห่งดักลาส ซึ่งหนีไปยังอังกฤษเมื่อศตวรรษก่อน ซึ่งต้องใช้ชีวิตอย่างทหารรับจ้างซึ่งไร้ที่ดินทำกิน

การเสกสมรสและการเมือง

แก้
 
ภาพพิมพ์จากพงศาวลีของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ: สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเรต (ซ้าย) และอาร์ชิบาลด์ ดักลาส เอิร์ลที่ 6 แห่งแองกัส (ขวา)

สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเรตทรงได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพระเจ้าเฮนรีและเพื่อยืนยันสถานะของพระนาง พระนางทรงได้รับการพำนักที่เกรตสกอตแลนด์ยาร์ด ซึ่งเป็นตำหนักโบราณของพระมหากษัตริย์สกอตในลอนดอน ในปีค.ศ. 1517 หลังจากทรงพำนักที่อังกฤษเป็นเวลาหนึ่งปี พระนางได้เสด็จกลับทางเหนือหลังจากมีสนธิสัญญาประนีประนอมที่ลงนามโดยดยุกแห่งออลบานี พระเจ้าเฮนรี และพระคาร์ดินัลด์โวลซีย์ ดยุกแห่งออลบานีไม่อยู่ที่สกอตแลนด์ชั่วคราว เขาได้เดินทางไปฝรั่งเศส ที่ซึ่งเขาได้ไปต่อสัญญาพันธมิตรเก่าแก่อีกครั้งและจัดการอภิเษกสมรสในอนาคตสำหรับพระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์ แต่สมเด็จพระพันปีหลวงทรงได้รับการต้อนรับที่ชายแดนโดยซิเออร์ เดอ ลา บาสตี ผู้แทนของเขา ตลอดจนพระสวามีของพระนาง สนธิสัญญาสันติภาพอาจจะแตกหักลงแต่ก็เป็นเรื่องที่แน่ชัดแล้วว่า พระนางมาร์กาเรตไม่ทรงเชื่อพระทัยและการเข้าถึงพระโอรสก็ยังถูกจำกัดอย่างเคร่งครัด

แม้ว่าพระนางมาร์กาเรตและแองกัสจะทรงคืนดีกันชั่วคราว ไม่นานนักความสัมพันธ์ของทั้งคู่ได้เลวร้ายลง พระนางทรงรู้ว่าขณะที่พระนางทรงประทับอยู่ที่อังกฤษ พระสวามีของพระนางได้ใช้ชีวิตอยู่กับเลดีเจน สทิวเวิร์ต อดีตคนรักของเขา ที่เลวร้ายกว่านั้นคือเขาอยู่ได้ด้วยพระราชทรัพย์ของพระชายา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1518 พระนางทรงเขียนจดหมายถึงพระอนุชา กล่าวเป็นนัยถึงการหย่าร้างว่า

"พี่ไม่สบายใจมากในปัญหากับลอร์ดแองกัส นับตั้งแต่ที่พี่กลับมาสกอตแลนด์ครั้งล่าสุดและทุกๆวัน ปัญหาก็มากขึ้น มากขึ้น เราไม่ได้อยู่ด้วยกันมาครึ่งปีแล้ว... พี่ยังคิดว่า พี่ยังคงต้องอยู่กับเขาภายใต้กฏของพระเจ้าและด้วยเกียรติของตัวพี่เอง แม้ว่าพี่คิดว่า เขายังรักพี่จริงหรือ เหมือนที่เขาพยายามแสดงต่อพี่ทุกวัน"

นี่เป็นปัญหาที่ยุ่งยากสำหรับพระเจ้าเฮนรี ซึ่งทรงมีแนวคิดอนุรักษนิยมและยึดมั่นในจารีตดั้งเดิม พระองค์ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการหย่าโดยทรงยึดตามหลักการ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าขบขันอย่างมาก เมื่อพิจารณาถึงชีวิตสมรสของพระองค์ในภายหลัง ในเรื่องความสำคัญ แองกัสถือเป็นพันธมิตรที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการโต้กลับออลบบานีและฝ่ายที่นิยมฝรั่งเศส พระนางมาร์กาเร็ตทรงพิโรธในทัศนคติของพระสวามี พระนางจึงทรงเข้าไปใกล้ชิดกับฝ่ายออลบานีและเข้าร่วมกับคนอื่นๆในการเรียกร้องให้ออลบานีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งดูเหมือนว่าออลบานีได้รีบร้อนที่จะกลับไปราชอาณาจักรทางเหนือที่ดื้อรั้นซึ่งพวกเขาพยายามเสนอให้พระนางมาร์กาเร็ตทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการด้วยพระองค์เอง ข้อพิพาทระหว่างพระสวามีและพระมเหสีนี้พร้อมที่จะก่อให้เกิดการครอบงำการเมืองของสกอตแลนด์ไปอีกสามปีข้างหน้า ความซับซ้อนมากขึ้นจากความบาดหมางที่รุนแรงระหว่างแองกัสและเจมส์ แฮมิลตัน เอิร์ลที่ 1 แห่งอาร์รัน ด้วยความสับสนนี้ทำให้พระนางมาร์กาเร็ตต้องทรงเลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ในที่สุดออลบานีก็กลับมาถึงสกอตแลนด์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1521 และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเรต และมีเสียงเล่าลือว่าความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นมากกว่าเรื่องการเมือง แองกัสต้องลี้ภัยในขณะที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับสมเด็จพระพันปีหลวงอย่างเต็มที่ ได้รื้อฟื้นกฏระเบียบขึ้นมาในประเทศที่แตกแยกในช่วงสามปีแห่งความวุ่นวายและความขัดแย้ง ดยุกแห่งออลบานีเป็นประโยชน์สำหรับพระนางมาร์กาเร็ต เนื่องจากเขามีอิทธิพลในกรุงโรม ซึ่งจะช่วยให้พระนางสามารถหย่าร้างได้ แองกัสและพันธมิตรของเขาได้แพร่ข่าวลือว่าทั้งสองเป็นคู่รักกันซึ่งได้ผลมากแม้กระทั่งคนที่มีความคิดโลเลอย่างลอร์ดดาเครได้เขียนจดหมายถึงโวลซีย์ โดยคาดการณ์ว่าพระเจ้าเจมส์อาจจะถูกปลงพระชนม์และออลบานีจะขึ้นเป็นกษัตริย์และเสกสมรสกับพระนางมาร์กาเร็ต แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองไม่เคยเป็นไปมากกว่าการคำนึงถึงผลประโยชน์ของตน ซึ่งเหตุการณ์ต่อมาก็ได้พิสูจน์ให้เห็น

รัฐประหารโดยสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเรต

แก้
 
ภาพ พระนางมาร์กาเรตทรงปฏิเสธที่จะมอบสิทธิในการดูแลพระโอรสของพระนางแก่จอห์น สทิวเวิร์ต ดยุกแห่งออลบานี วาดโดยจอห์น ฟีด ในปี ค.ศ. 1859

โดยในสาระสำคัญแล้ว สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเรตยังคงเป็นสตรีชาวอังกฤษทั้งในมุมมองและทัศนคติ และในความเป็นจริงพระนางทรงต้องการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมาตุภูมิของพระนางกับแผ่นดินที่พระนางพำนัก มีความจำเป็นที่ทรงต้องเป็นพันธมิตรกับออลบานีและฝ่ายฝรั่งเศส ซึ่งความสัมพันธ์ได้ถูกทำลายหลังจากสงครามชายแดนกับอังกฤษในช่วงต้นทศวรรษที่ 1520 แต่ในไม่ช้าออลบานีก็แสดงตัวออกมาเป็นผู้นำมากกว่าพระประสงค์ของพระนางมาร์กาเร็ตที่ทรงต้องการสร้างฝักฝ่ายของพระนางขึ้นมาด้วยตัวพระนางเอง ที่สุดแล้วในปี ค.ศ. 1524 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ถูกปลดออกจากอำนาจจากการรัฐประหารที่เรียบง่าย โดยออลบานีต้องเดินทางไปฝรั่งเศสอีกครั้ง (ที่ซึ่งเขาถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1536) พระนางมาร์กาเร็ตทรงได้รับความช่วยเหลือจากเอิร์ลแห่งอาร์รันและตระกูลแฮมิลตันในการนำพระเจ้าเจมส์ ซึ่งในขณะนี้มีพระชนมายุ 12 พรรษา จากสเตอร์ลิงมาสู่เอดินบะระ[2] นับเป็นการเคลื่อนไหวที่กล้าหาญและโด่งดัง ในเดือนสิงหาคม รัฐสภาได้ประกาศให้การสำเร็จราชการแทนพระองค์สิ้นสุดลง และพระเจ้าเจมส์ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ แต่ในทางปฏิบัติพระเจ้าเจมส์ก็ยังทรงถูกควบคุมโดยบุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชมารดา เมื่อ บีตัน อาร์กบิชอปแห่งกลาสโกว์ได้ออกมาต่อต้านการเตรียมการเช่นนี้ พระนางมาร์กาเร็ตจจึงทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้จับกุมเขาและนำเขาไปที่คุมขัง ในเดือนพฤศจิกายน รัฐสภาได้รับรองพระนางมาร์กาเร็ตอย่างเป็นทางการในฐานะประธานคณะที่ปรึกษาในพระมหากษัตริย์

การเป็นพันธมิตรของพระนางมาร์กาเรตกับอาร์รันได้สร้างความแตกแยกในหมู่ขุนนางตระกูลอื่นๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถานการณ์ของพระนางเองก็ไม่ได้ผ่อนคลายความตึงเครียดลงเมื่อพระอนุชาของพระนางทรงอนุญาตให้แองกัสกลับมาสกอตแลนด์ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้บ้างอยู่เหนือการควบคุมของพระนาง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมาก พระนางทรงมีความรักครั้งใหม่ ซึ่งก็คือเฮนรี สทิวเวิร์ต น้องชายของลอร์ดเอวอนเดล สทิวเวิร์ตนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานอาวุโส ซึ่งสร้างความขุ่นเคืองแก่เอิร์ลแห่งเล็นน็อกซ์ และคนอื่นๆ ซึ่งพยายามเข้ามาเป็นพันธมิตรกับพระสวามีที่แยกห่างกันของพระนาง ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน เมื่อรัฐสภายอมรับในตำแหน่งทางการเมืองของพระนางมาร์กาเรต สงครามระหว่างพระนางมาร์กาเร็ตและแองกัสก็กลายเป็นเรื่องขบขันที่เกี่ยวกับการฆาตกรรม เมื่อเขาเดินทางมาถึงเอดินเบอระพร้อมทหารจำนวนมาก โดยเขาพยายามอ้างสิทธิในการเข้าไปในรัฐสภา พระนางทรงสั่งให้ปืนใหญ่ยิงใส่เขาจากทั้งปราสาทเอดินบะระและพระราชวังฮอลีรูด เมื่อทูตอังกฤษสองคนคือ โทมัส แม็กนัสและโรเจอร์ แร็ดคลิฟฟ์ ได้ปรากฏตัวที่ราชสำนัก และได้ค้านว่า พระนางไม่ควรโจมตีพระสวามีที่ชอบด้วยกฎหมาย พระนางทรงตอบพวกเขาด้วยความพิโรธว่า "กลับบ้านไปซะแล้วไม่ต้องเขามายุ่งในเรื่องของคนสกอต" แองกัสถอนทัพออกไปในเวลานั้น แต่ภายใต้แรงกดดันจากหลายๆปัจจัย ในที่สุดสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตก็ทรงต้องรับเขาเข้ามาในฐานะสมาชิกสภาผู้สำเร็จราชการในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1525 ซึ่งเป็นอำนาจที่เขาต้องการ ในการดูแลพระเจ้าเจมส์นั้น เขาปฏิเสธที่จะยอมอ่อนข้อ โดยเขาใช้อำนาจอย่างเต็มที่ในนามพระองค์ตลอดระยะเวลาสามปี ประสบการณ์ของพระเจ้าเจมส์ในช่วงนี้ได้ทิ้งให้พระองค์มีความเกลียดชังอย่างตลอดกาลของทั้งตระกูลดักลาสและฝ่ายอังกฤษ

ทรงหย่าและเสกสมรส

แก้
 
พระนางมาร์กาเรตในช่วงปีค.ศ. 1520 - 1538 วาดโดยดานีล มิจเทนส์

พระนางมาร์กาเรตทรงพยายามต่อต้านแต่ทรงถูกบังคับให้ยอมรับในสภาพความเป็นจริงทางการเมืองใหม่นี้ นอกจากนั้นในช่วงนี้ความปรารถนาของพระนางในการหย่าร้างได้เข้ามาครอบงำเหนือเรื่องอื่นๆ พระนางทรงพยายามที่จะใช้ข้อโต้แย้งรวมทั้งตำนานที่ถูกเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าพระเจ้าเจมส์ที่ 4 ไม่ได้สวรรคตที่ฟลอดเดน แม้จะมีการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1524 พระนางก็ยังทรงร่วมมือกับออลบานีอยู่เสมอ ซึ่งเขาพยายามทำตามพระราชประสงค์ของพระนางในปฏิบัติการที่โรม ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1527 สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7 ทรงตอบรับคำขอของพระนาง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของยุโรปในขณะนั้นไม่มีความมั่นคงจนกระทั่งเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นความโชคดีของพระนาง พระนางเสกสมรสกับเฮนรี สทิวเวิร์ต ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1528 โดยไม่ทรงสนพระทัยคำเตือนที่เคร่งศาสนาของพระอนุชา ที่ทรงมองว่า การสมรสคือ 'พระลิขิตของพระเจ้า' และพระองค์ทรงต่อต้าน 'คำตัดสินที่น่าละอายซึ่งส่งมาจากโรม' ในอีกไม่กี่ปีต่อมา พระเจ้าเฮนรีทรงแตกหักกับโรมอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากพระองค์ไม่ได้รับ 'คำตัดสินที่น่าละอาย' ในแบบเดียวกับพระเชษฐภคินี (ทรงต้องการหย่า)

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1528 ในที่สุดพระเจ้าเจมส์ที่ 5 ทรงปลดแอกพระองค์เองจากการปกครองของแองกัส ผู้ซึ่งต้องลี้ภัยอีกครั้ง และพระองค์ทรงเริ่มใช้พระราชอำนาจด้วยพระองค์เอง พระนางมาร์กาเร็ตทรงได้ประโยชน์ในช่วงต้นของการรัฐประหารนี้ พระนางและพระสวามีได้เป็นที่ปรึกษาในองค์พระมหากษัตริย์ พระเจ้าเจมส์ทรงแต่งตั้งสทิวเวิร์ตให้เป็นลอร์ดเม็ทเวน "สำหรับความรักที่เขาได้มอบให้พระมารดาที่รักยิ่งของพระองค์" มีการเล่าลือซึ่งไม่มีมูลว่า สมเด็จพระพันปีหลวงมีพระราชประสงค์ให้พระราชโอรสอภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงแมรีแห่งอังกฤษ พระราชนัดดาของพระนาง แต่พระนางก็ทรงเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ข้อตกลงสันติภาพอังกฤษ-สกอตแลนด์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1534

จุดมุ่งหมายในพระชนม์ชีพทางการเมืองของพระนางมาร์กาเรต นอกเหนือจากความมั่นพระทัยว่าพระนางทรงสามารถอยู่รอดได้ ก็คือการนำมาซึ่งความเข้าใจอันดีระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระนางทรงผ่านมาได้อย่างยากลำบาก พระเจ้าเจมส์ไม่ทรงวางพระทัยในพระเจ้าเฮนรี พระมาตุลา เนื่องจากพระองค์ยังทรงสนับสนุนแองกัส ผู้ซึ่งพระเจ้าเจมส์ทรงเกลียดชังอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1536 พระมารดาของพระองค์ได้โน้มน้าวให้พระองค์พบกับพระอนุชาของพระนาง นับเป็นช่วงเวลาที่พระนางประสบความสำเร็จและทรงเขียนถึงพระเจ้าเฮนรีและโทมัส ครอมเวล ซึ่งเป็นประธานคณะที่ปรึกษาอังกฤษในขณะนั้น โดยทรงบอกว่ามันเป็น "คำแนะนำของเราและไม่มีบุคคลอื่นใดอีก" พระนางทรงมองหาโอกาสวาระที่ยิ่งใหญ่ดังเช่น การพบปะที่ทุ่งภูษาทองและทรงใช้พระราชทรัพย์จำนวนมากในการจัดเตรียม แต่ในท้ายที่สุดก็ไม่เกิดสิ่งใดขึ้นเนื่องจากมีเสียงคัดค้านจำนวนมากและข้อค้านที่ว่าพระเจ้าเจมส์ไม่ควรถูกควบคุมโดยพระมารดาหรือคนอื่นใด ในการพูดคุยส่วนพระองค์กับวิลเลียม ฮอเวิร์ด ทูตอังกฤษ ได้ระบุว่า พระนางทรงผิดหวังอย่างเห็นได้ชัด ทรงสารภาพว่า "ข้าเบื่อและเหนื่อยกับสกอตแลนด์จริงๆ"[15] ความเบื่อหน่ายของพระนางได้นำไปสู่การทรยศพระเจ้าเฮนรีอย่างลับๆ

ความเบื่อหน่ายสกอตแลนด์ที่ทรงได้รับ และตอนนี้พระนางทรงต้องเหน็ดเหนื่อยกับลอร์ดเม็ทเวนมากขึ้น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเขานั้นเลวร้ายยิ่งกว่าแองกัสซึ่งเขาปรารถนาในหญิงอื่นและพระราชทรัพย์ของพระนางด้วย นอกจากนี้พระธิดาเพียงองค์เดียว (น่าจะมีนามว่า โดโรเธีย สทิวเวิร์ต) ก็เสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์[16][17] พระนางทรงพยายามดำเนินการหย่าร้างตามกฎหมายอีกครั้งแต่พระเจ้าเจมส์ไม่ทรงเห็นด้วย ซึ่งพระนางทรงเชื่อว่าพระสวามีของพระนางได้ติดสินบนไว้ พระชนม์ชีพของพระนางมาร์กาเร็ตมักจะไม่มีความสุขและเป็นเรื่องโศกนาฏกรรมที่ตามติดมาด้วยอุบายและเรื่องชวนหัว ในจุดนี้พระนางทรงพยายามหลบหนีไปยังชายแดน แต่ก็ทรงถูกจับกุมและนำพระองค์กลับมาเอดินบะระ และพระนางทรงเขียนจดหมายถึงพระเจ้าเฮนรีอีกครั้ง ทรงอธิบายถึงความทุกข์ยากของพระนางและทรงวิงวอนขอทรัพย์และความคุ้มครอง พระนางทรงปรารถนาที่จะมีพระชนม์ชีพอย่างสุขสบาย แทนที่จะถูกบังคับ "ให้ปฏิบัติตามพระโอรสเหมือนกับสุภาพสตรีที่ทุกข์ยาก"

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1538 สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเรตทรงต้อนรับมารีแห่งกีซ พระมเหสีจากฝรั่งเศสพระองค์ใหม่ของพระเจ้าเจมส์ สตรีทั้งสองพระองค์นี้ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเกรงขามที่สุดในประวัติศาสตร์สกอตแลนด์ ได้สร้างความเข้าใจอันดี สมเด็จพระราชินีแมรีทรงพยายามทำให้มั่นพระทัยว่าพระสัสสุ ซึ่งในตอนนี้ทรงประนีประนอมกับลอร์ดเม็ทเวนแล้ว จะทรงปรากฏพระองค์ในราชสำนักบ่อยขึ้น และได้มีรายงานถึงพระเจ้าเฮนรีว่า "พระราชินีสาวทรงเป็นโรมันคาทอลิกทั้งกายและใจและพระราชินีชราก็ไม่ทรงน้อยไปกว่ากัน"

สวรรคต

แก้
 
ปราสาทเม็ทเวน

สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเรตเสด็จสวรรคตที่ปราสาทเม็ทเวน ในเพิร์ทเชอร์ วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1541 เฮนรี เรย์ ตำแหน่งBerwick Pursuivant ได้รายงานว่า พระนางประชวรพระโรคอัมพาตในวันศุกร์และสวรรคตในวันอังคารถัดมา เนื่องจากพระนางทรงเชื่อว่าพระนางจะทรงหายจากพระอาการประชวร พระนางจึงไม่ทรงทำพระราชพินัยกรรม พระนางทรงส่งพระราชหัตถเลขาถึงพระเจ้าเจมส์ ซึ่งประทับอยู่ที่พระราชวังฟอล์กแลนด์ แต่พระองค์ก็เสด็จมาไม่ทันเวลา ขณะใกล้สวรรคตพระนางมีพระราชประสงค์ให้บาทหลวงที่เข้ามาประกอบพิธีแสวงหาวิธีที่ทำให้พระมหากษัตริย์และเอิร์ลแห่งแองกัสปรองดองกันได้ พระนางทรงหวังว่าพระมหากษัตริย์จะทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ของพระนางให้กับเลดีมาร์กาเร็ต ดักลาส พระธิดาของพระนาง พระเจ้าเจมส์เสด็จมาถึงหลังจากที่พระนางสวรรคตแล้ว และพระองค์ทรงมีพระบัญชาให้โอลิเวอร์ ซินแคลร์และจอห์น เทนเนนท์ จัดเก็บทรัพย์สินของพระนาง[18] พระบรมศพของพระนางถูกฝังที่โบสถ์เซนต์จอห์นคณะคาร์ทูเซียนในเพิร์ท (โบสถ์ถูกทำลายในระหว่างการปฏิรูปศาสนาสกอตแลนด์ ค.ศ. 1559)

ต่อมาราชวงศ์ทิวเดอร์สิ้นสุดลงโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ไม่ทรงมีรัชทายาท และสายสืบราชสันตติวงศ์อังกฤษได้ถูกผ่านมายังสายสันตติวงศ์ของพระนางมาร์กาเรต พระปนัดดาของพระนางคือ พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ได้กลายเป็น พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ดังนั้นถือเป็นการรวมราชบัลลังก์ของทั้งสองราชอาณาจักรและเป็นชัยชนะของพระนางมาร์กาเรตหลังจากที่เสด็จสวรรคตไปแล้ว

ตราอาร์มประจำพระองค์

แก้

พระราชตระกูล

แก้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. แมร์ดัด อัป ทิวดูร์
 
 
 
 
 
 
 
8. โอเวน ทิวเดอร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. มาร์กาเร็ต เฟิร์ช ดาฟิดด์
 
 
 
 
 
 
 
4. เอ็ดมันด์ ทิวเดอร์ เอิร์ลที่ 1 แห่งริชมอนด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. พระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงแคเธอรีนแห่งวาลัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. จอห์น โบฟอร์ต เอิร์ลที่ 1 แห่งซอเมอร์เซ็ต
 
 
 
 
 
 
 
10. จอห์น โบฟอร์ต ดยุกที่ 1 แห่งซอเมอร์เซ็ต
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. มาร์กาเร็ต ฮอลแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
5. เลดีมาร์กาเรต โบฟอร์ต
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. จอห์น โบชอมป์แห่งเบล็ทโซ
 
 
 
 
 
 
 
11. มาร์กาเร็ต โบชอมป์แห่งเบล็ทโซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. อีดิธ สเตาตัน
 
 
 
 
 
 
 
1. มาร์กาเร็ต ทิวเดอร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. ริชาร์ดแห่งโคนิสเบิร์ก เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ที่ 3
 
 
 
 
 
 
 
12. ริชาร์ด แพลนแทเจอนิต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. แอนน์ เดอ มอร์ติเมอร์
 
 
 
 
 
 
 
6. พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. ราล์ฟ เนวิลล์ เอิร์ลที่ 1 แห่งเวสต์มอร์แลนด์
 
 
 
 
 
 
 
13. เซซิลี เนวิลล์ ดัชเชสแห่งยอร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. โจน โบฟอร์ต เคานท์เตสแห่งเวสต์มอร์แลนด์
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งยอร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. เซอร์ ริชาร์ด วีเดอวิลล์
 
 
 
 
 
 
 
14. ริชาร์ด วูดวิลล์ เอิร์ลริเวิร์สที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เอลิซาเบธ โบดุลเกท
 
 
 
 
 
 
 
7. เอลิซาเบธ วูดวิลล์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. ปีเตอร์ที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
15. ฌาคแก็ตตาแห่งลักเซมเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. มาร์กาเร็ตแห่งบูซ์
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

แก้
  1. Marshall, Rosalind K. (2003). Scottish Queens, 1034-1714. Tuckwell Press. p. 85.
  2. 2.0 2.1 Ashley, Mike (1999). The mammoth book of British kings and queens. London: Robinson Publishers. p. 567. ISBN 1-84119-096-9.
  3. Vergil, Polydore, Historia Anglia, Book 26 Chapter 41, (Latin), translation University of Birmingham Philogical Museum website
  4. Leland, John, De Rebus Britannicis Collectanea, .., ed., Hearne, Thomas, vol. 4, (1770), pp. 258-261.
  5. Bain, Joseph, ed., Calendar of Documents relating to Scotland, 1357-1509, vol. 4, HM Register House, Edinburgh (1888), 419-425,
  6. Bain, Joseph, ed., Calendar of Documents, vol. 4, (1888), pp. 342-345, nos. 1707-1718.
  7. Accounts of the Lord High Treasurer, vol. 2 (1900), 214-215.
  8. Buchanan, Patricia, Margaret Tudor, SAP (1985), pp. 30-32, following Leland, John, vol. 4, (1770)
  9. Leland, John, De Rebus Britannicis Collectanea, .., ed., Hearne, Thomas, vol. 4, (1770), pp. 258-300.
  10. Bentley, Samuel, ed., 'The Privy Purse Expenses of Henry VII', Excerpta Historica, Bentley (1833); 3 payments to the Scottish rhymer; Dunbar wrote London, of towns thou art A per se
  11. Tasioulas, J. A., ed., The Makars, Caongate (1999), 277, stanza 25.
  12. Tasioulas, J. A., ed., The Makars, Caongate (1999), 280, stanza 5.
  13. Tasioulas, J. A., ed., The Makars, Caongate (1999), 269, stanza 3.
  14. Lundy, Darryl. "p. 10143 § 101421". The Peerage.[แหล่งอ้างอิงไม่น่าเชื่อถือ]
  15. State Papers Henry VIII, vol. 5, part IV part 2 (1836) p. 48
  16. "Biography of Lord Methven in Scottsboropower.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2015-03-17.
  17. "Genealogy of the House of Tudor". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-01. สืบค้นเมื่อ 2015-03-17.
  18. State Papers Henry VIII, vol. 5 part 2 cont., (1836), 193-4, Ray to Privy Council.

บรรณานุกรม

แก้
อ่านต่อ
  • Fradenburg, Louise O., 'Troubled Times: Margaret Tudor and the Historians,' in Mapstone & Wood, ed., The Rose and the Thistle, Tuckwell (1998), pp. 38–58
  • Glenne, Michael, King Harry's sister: Margaret Tudor, Queen of Scotland, Long, (1952)
  • Lenz, Harvey Nancy, The Rose and the Thorn: The Lives of Mary and Margaret Tudor, Macmillan, (1975)
  • Perry, Maria, Sisters to the King, André Deutsch, (2007)
  • Plowden, Alison, Tudor Women, Sutton (2002)

เว็บไซต์อ้างอิง

แก้


ก่อนหน้า มาร์กาเรต ทิวดอร์ ถัดไป
ว่าง
ลำดับก่อนหน้า
เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งเดนมาร์ก
   
สมเด็จพระราชินีแห่งสกอตแลนด์
(ราชวงศ์สทิวเวิร์ต)

(8 สิงหาคม ค.ศ. 15039 กันยายน ค.ศ. 1513)
  ว่าง
ลำดับถัดไป
เจ้าหญิงเมดเดลีนแห่งฝรั่งเศส