คำว่า MENA ย่อมาจาก "ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ" เป็นอักษรย่อซึ่งมักถูกใช้ในการงานเชิงวิชาการและธุรกิจ[1][2] คำดังกล่าวครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวาง นับตั้งแต่โมร็อกโกไปจนถึงอิหร่าน รวมไปถึงประเทศตะวันออกกลางและมาเกร็บส่วนใหญ่ คำดังกล่าวเกือบจะมีความหมายเหมือนกันกับคำว่า "มหาตะวันออกกลาง" (แต่บางครั้งคำดังกล่าวถูกใช้โดยรวมปากีสถาน อัฟกานิสถาน หรือทั้งสองประเทศเข้าไปด้วย)

สีน้ำเงินเข้มหมายถึงการจำกัดความมาตรฐาน ส่วนสีฟ้าหมายถึงประเทศที่ถูกรวมในการจำกัดความในความหมายกว้าง

ประชากรของภูมิภาค MENA หากในความหมายที่กินอาณาบริเวณน้อยที่สุด จะมีประมาณ 381 ล้านคน ราว 6% ของประชากรโลกทั้งหมด และในความหมายที่กินอาณาบริเวณมากที่สุด ประชากรจะอยู่ที่ราว 531 ล้านคน

รายชื่อประเทศ

แก้

MENA ไม่มีการจำกัดความที่เป็นมาตรฐาน บางองค์การมีการจำกัดความภูมิภาคดังกล่าวโดยประกอบขึ้นจากดินแดนที่แตกต่างกัน รายชื่อประเทศด้านล่างนี้เป็นประเทศที่มักถูกรวมเข้าในภูมิภาคดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย[3]

แต่ในบางครั้งยังอาจรวมไปถึงประเทศและดินแดนตามรายชื่อด้านล่างนี้ในความหมายอย่างกว้าง[4][5]

เศรษฐกิจ

แก้

ภูมิภาค MENA มีปริมาณปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติสำรองอยู่มาก ทำให้เป็นแหล่งเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ตามข้อมูลของวารสารน้ำมันและก๊าซ (1 มกราคม พ.ศ. 2552) ภูมิภาค MENA มีปริมาณน้ำมันสำรองของโลกอยู่กว่า 60% (810,980 ล้านบาร์เรล) และมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองอยู่กว่า 45% (2,868,866 ล้านลูกบาศก์ฟุต)[6]

จนถึง พ.ศ. 2554 ประเทศ OPEC 8 จาก 12 ประเทศอยู่ในภูมิภาค MENA

อ้างอิง

แก้
  1. "World Bank Definition: MENA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-29. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  2. World Economic Forum on the Middle East and North Africa, Marrakech, Morocco, 26-28 October 2010
  3. Dumper, Michael, and Stanley, Bruce E., Cities of the Middle East and North Africa: A Historical Encyclopaedia, 2007
  4. "About MENA". Renaissance Capital Research Portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  5. MENA Magazine, which covers issues in Armenia, Azerbaijan, and Somalia
  6. "International Reserves". United States Department of Energy. สืบค้นเมื่อ 2011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)