แปะก๊วย
(เปลี่ยนทางจาก Ginkgo biloba)
แปะก๊วย (จีน: 银杏;จีน: 白果, ญี่ปุ่น: イチョウ) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300 หรือสมัยคามากุระมีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน
แปะก๊วย ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 51.5–0Ma สมัยอีโอซีนตอนต้น (Ypresian) - ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ต้นไม้ใหญ่ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | Gymnosperms Gymnosperms |
หมวด: | Ginkgophyta Ginkgophyta |
ชั้น: | Ginkgoopsida Ginkgoopsida |
อันดับ: | แปะก๊วย Ginkgoales |
วงศ์: | แปะก๊วย Ginkgoaceae |
สกุล: | แปะก๊วย Ginkgo L. |
สปีชีส์: | Ginkgo biloba |
ชื่อทวินาม | |
Ginkgo biloba L. | |
ชื่อพ้อง[4] | |
|
- แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช
- สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว" ซึ่งแปลว่าตีนเป็ดจากลักษณะใบ (นกเป็ดน้ำเป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน และในญี่ปุ่น) หรือ "ไป๋กั่ว" ในสำเนียงจีนกลาง (จีน: 白果) ซึ่งแปลว่า "ลูกขาว" ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ สีขาวส่วนภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ หรือ ต้นเมเดนแฮร์ หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair tree) ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากรูปทรงของใบที่เหมือนกันใบของเฟิร์นที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบมงกุฎทอง (หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาวฝรั่งเศส ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ
- สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)
- ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่น ๆ ช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมโรคซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ ผลแปะก๊วยที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแหล่งใหญ่ของสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมสุขภาพดังกล่าว กลับพบมากในส่วนของใบมากกว่าผลเสียอีก แปะก๊วย
- ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย
อ้างอิง
แก้- ↑ Mustoe, G.E. (2002). "Eocene Ginkgo leaf fossils from the Pacific Northwest". Canadian Journal of Botany. 80 (10): 1078–1087. doi:10.1139/b02-097.
- ↑ Sun, W. (1998). "Ginkgo biloba". IUCN Red List of Threatened Species. 1998: e.T32353A9700472. doi:10.2305/IUCN.UK.1998.RLTS.T32353A9700472.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ "NatureServe Explorer 2.0". explorer.natureserve.org. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
- ↑ "Ginkgo biloba", World Checklist of Selected Plant Families, Royal Botanic Gardens, Kew, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-19, สืบค้นเมื่อ 8 June 2017
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Ginkgo biloba
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ แปะก๊วย