มะเร็งกระดูกยูวิง

(เปลี่ยนทางจาก Ewing's sarcoma)

มะเร็งยูวิง หรือ มะเร็งกระดูกยูวิง (อังกฤษ: Ewing sarcoma; บางครั้งปรากฏสะกดเป็น อีวิง) เป็นชนิดของมะเร็งที่อาจเป็นมะเร็งกระดูกหรือมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน[1] อาการอาจประกอบด้วยการบวมและอาการเจ็บตรงจุดที่มีเนื้องอก, ไข้ และการแตกหักของกระดูก[1] จุดที่มักเกิดได้แก่กระดูกขา, กระดูกเชิงกราน และผนังของหน้าอก[3] ราว 25% ของกรณีที่พบ มะเร็งมักเข้าสู่ระยะแพร่กระจายเมื่อมาถึงการวินิจฉัย[3] อาการแทรกซ้อนอาจมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด และ พาราเพลเกีย[2]

มะเร็งกระดูกยูวิง
ชื่ออื่นอีวิงส์ซาโครมา, peripheral primitive neuroectodermal tumor, เนื้องอกอาสคิน กลุ่มเนื้องอกแบบอีวิง[1]
ภาพเอ็กซ์เรย์แสดงกระดูกทีเบียของเด็กที่เป็นมะเร็งแบบอีวิง
การออกเสียง
สาขาวิชาวิทยามะเร็ง
อาการบวม และอาการเจ็บใกล้บริเวณเกิดเนื้องอก[1]
ภาวะแทรกซ้อนน้ำในเยื่อหุ้มช่องปอด, พาราเพลเกีย[2]
การตั้งต้นอายุ 10 ถึง 20 ปี[3][2]
สาเหตุไม่ทราบ[2]
วิธีวินิจฉัยตรวจเนื้อเยื่อ[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันมะเร็งกระดูก, นิวโรบลาสโทมา, ออสทีโอไมยีลิทิส, กรานูโลมาชนิดอีโอซิโนฟิล[2]
การรักษาเคโมเทอราพี, ฉายแสง, ศัลยกรรม, ปลูกถ่ายสะเต็มเซลล์[1]
พยากรณ์โรคการรอดชีวิตภายในห้าปี ~ 70%[3]
ความชุก1 ในล้าน (สหรัฐอเมริกา)[3]

สาเหตุเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[2] และกรณีส่วนใหญ่ที่ปรากฏพบว่ามักเกิดขึ้นโดยสุ่ม[2] บางครั้งมะเร็งแบบอีวิงจะถูกจัดร่วมกับเนื้องอกพริมิทีฟนิวโรเอคโทเดอร์มให้อยู่ในกลุ่มเนื้องอกตระกูลยูวิง[2] กลไกเกิดโรคมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรมที่เรียกว่าทรานส์โลเคชั่นแบบเรซิพรอคอล[2] การวินิจฉัยโรคนั้นใช้การตรวจเนื้อเยื่อของเนื้องอก[1]

การรักษาอาจประกอบด้วยการทำเคโมเทอราพี, ฉายแสง, ศัลยกรรม และการปลูกถ่ายสะเต็มเซลล์[1] ส่วนการรักษาแบบพุ่งเป้า และ อิมมูโนเทอราพี กำลังมีการศึกษาอยู่[1] การรอดชีวิตในระยะห้าปีอยู่ที่ประมาณ 70%[3] อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อการประมาณค่านี้ได้[3]

ชื่อของมะเร็งชนิดนี้ตั้งตามนักพพยาธิวิทยา เจมส์ อีวิง ผู้ซึ่งในปี 1920 ได้กำหนดให้เนื้องอกรูปแบบนี้เป็นรูปแบบแยกเฉพาะรูปแบบหนึ่ง [4][5] มีผู้ป่วยด้วยมะเร็งชนิดนี้อยู่ที่หนึ่งในล้านคนต่อปีในสหรัฐอเมริกา[3] พบบ่อยในวัยรุ่น และ ผู้ใหญ่ตอนต้น และคิดเป็น 2% ของมะเร็งในเด็ก[1][2] คนขาวพบว่าป่วยด้วยอาการนี้มากกว่าชาวอเมริกันเบื้อสายแอฟริกันและเอเชีย[3] และพบในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง[3]

อาการ แก้

มะเร็งอีวิงพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง (อัตราส่วน 1.6:1) และมักปรากฏในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ตอนต้น สามารถปรากฏในบริเวณใดก็ได้ของร่างกาย แต่ที่พบบ่อยคือบริเวณกระดูกเชิงกราน โดยตรงที่พบมากที่สุดได้แก่ไดอะฟัยซิสของกระดูกต้นขา รองลงมาคือ กระดูกแข้ง และ กระดูกต้นแขน 30% ที่พบอาการมักมาหลังจากเข้าสู่ภาวะเมทาสแทซิสแล้ว ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดกระดูกรุนแรง มีพบอาการที่บริเวณอวัยวะเพศหญิงแต่พบได้ยากมาก[6][7]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Ewing Sarcoma Treatment". National Cancer Institute (ภาษาอังกฤษ). 25 January 2019. สืบค้นเมื่อ 3 February 2019.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 "Ewing Sarcoma". NORD (National Organization for Rare Disorders). 2013. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 "Ewing Sarcoma Treatment". National Cancer Institute (ภาษาอังกฤษ). 31 January 2019. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
  4. "Ewing's sarcoma". Whonamedit. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
  5. Ewing J (September 2006). "The Classic: Diffuse endothelioma of bone. Proceedings of the New York Pathological Society. 1921;12:17". Clinical Orthopaedics and Related Research. 450: 25–7. doi:10.1097/01.blo.0000229311.36007.c7. PMID 16951641.
  6. "Tumours of the Vagina; Chapter Six" (PDF). International Agency for Research on Cancer, World Health Organization. pp. 291–311. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-08. สืบค้นเมื่อ 2018-03-14.
  7. "Vulva and Vagina tumors: an overview". Atlas of Genetics and Cytogenetics in Oncology and Haematology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-22. สืบค้นเมื่อ 2018-03-14.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก