เอลวิส เพรสลีย์
เอลวิส เพรสลีย์ (อังกฤษ: Elvis Presley) มีชื่อจริงว่า เอลวิส แอรอน เพรสลีย์ (อังกฤษ: Elvis Aaron Presley) (8 มกราคม ค.ศ. 1935 - 16 สิงหาคม ค.ศ. 1977) เป็นนักร้องและนักแสดงชาวอเมริกัน เขาถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม เขามักได้รู้จักในฉายา “ราชาแห่งร็อกแอนด์โรลล์” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "เดอะคิง"
เอลวิส เพรสลีย์ | |
---|---|
ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง Jailhouse Rock (1957) | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | เอลวิส อารอน เพรสลีย์ |
เกิด | 8 มกราคม ค.ศ. 1935 เมมฟิส รัฐเทนเนสซี สหรัฐ |
เสียชีวิต | สิงหาคม 16, 1977 เมมฟิส รัฐเทนเนสซี สหรัฐ | (42 ปี)
แนวเพลง | ร็อกแอนด์โรล ป็อป ร็อกอะบิลลี คันทรี บลูส์ กอสเปล ริทึมแอนด์บลูส์ อคุสติก เซาเทอร์นโซล |
อาชีพ | นักร้อง , นักแต่งเพลง นักแสดง |
เครื่องดนตรี | กีตาร์ เปียโน |
ช่วงปี | ค.ศ. 1954 – 1977 |
ค่ายเพลง | ซัน อาร์ซีเอวิกเตอร์ |
คู่สมรส | Priscilla Presley (1967–1973) |
เว็บไซต์ | www.elvis.com |
เขาเกิดที่เมืองทูเพอโล รัฐมิสซิสซิปปี ต่อมาย้ายไปทีเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี กับครอบครัวของเขาเมื่ออายุได้ 13 ปี เขาเริ่มอาชีพนักร้องที่นี่เมื่อปี 1954 เมื่อเจ้าของค่ายซันเรเคิดส์ ที่ชื่อ แซม ฟิลลิปส์อยากที่จะนำดนตรีของชาวแอฟริกันอเมริกันไปสู่ฐานคนฟังให้กว้างขึ้น และเห็นเพรสลีย์มีความมุ่งมั่นดี ได้ร่วมกับนักกีตาร์ที่ชื่อสก็อตตี มัวร์และมือเบส บิล แบล็ก
เพรสลีย์ถือเป็น 1 ในคนที่ให้กำเนิดแนวเพลงร็อกอะบิลลี แนวเพลงผสมผสานจังหวะอัปเทมโป แบ็กบีตผสมเพลงคันทรีกับริทึมแอนด์บลูส์ เขาได้เซ็นสัญญากับอาร์ซีเอวิกเตอร์ โดยมีผู้จัดการคือโคโลเนล ทอม พาร์กเกอร์ ที่เป็นผู้จัดการให้เขาร่วม 2 ทศวรรษ ซิงเกิลแรกของเพรสลีย์กับอาร์ซีเอคือซิงเกิล "Heartbreak Hotel" ออกขายในเดือนมกราคม ค.ศ. 1956 ติดอันดับ 1 เขาถือเป็นผู้นำภาพลักษณ์ของดนตรีป็อปแบบใหม่ในแบบร็อกแอนด์โรล โดยได้ปรากฏตัวบนเครือข่ายสถานีโทรทัศน์หลายครั้ง รวมถึงมีเพลงอันดับ 1 หลายเพลง เพลงของเขาเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง โดยมีหลายส่วนนำมาจากเพลงชาวแอฟริกันอเมริกันและรูปแบบการแสดงซึ่งไม่สามารถยับยั้งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จอย่างมากรวมถึงเกิดข้อพิพาทด้วยเช่นกัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1956 เขาปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง Love Me Tender
เขาเกณฑ์ทหารเมื่อปี 1958 โดยเพรสลีย์ออกผลงานเพลงหลังนั้น 2 ปีต่อมา กับงานที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เขาขึ้นเวทีคอนเสิร์ตอยู่หลายครั้ง อย่างไรก็ตามในการจัดการของพารกเกอร์ เขาก็ยังมีผลงานภาพยนตร์ฮอลลีวูดอีกหลายเรื่องในคริสต์ทศวรรษ 1960 รวมถึงผลงานอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ด้วย ที่ส่วนมากถูกวิจารณ์ในเชิงดูถูกผลงานเหล่านั้น ในปี 1968 หลายจากห่างหายไปบนเวทีคอนเสิร์ตไป 7 ปี เขากลับมาแสดงสดในรายการโทรทัศน์พิเศษในการกลับมาในลาสเวกัสและยังมีทัวร์คอสเสิร์ต ในปี 1973 เพรสลีย์แสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกที่ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมทั่วโลก ที่ชื่อ Aloha from Hawaii มีผู้ชมราว 1.5 พันล้านคน[1] และจากการที่เขาติดยาจากใบสั่งแพทย์ ทำให้มีผลต่อสุขภาพของเขา จนเขาเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ในปี ค.ศ. 1977 ด้วยวัยเพียง 42 ปี
เพรสลีย์เป็น 1 ในบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากในวัฒนธรรมสมัยนิยมในศตวรรษที่ 20 กับน้ำเสียงที่ปรับได้หลายแบบและประสบความสำเร็จไม่ธรรมดาในหลากหลายแนวเพลง อย่างคันทรี, ป็อปบัลลาด, กอสเปล และบลูส์ เขาเป็นศิลปินเดี่ยวกับมียอดขายมากที่สุดในประวัติศาสตร์เพลงป็อป[2][3][4][5] ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ 14 ครั้ง ซึ่งเขาได้รับ 3 ครั้ง และยังได้รับรางวัลแกรมมี่ประสบความสำเร็จเมื่ออายุ 36 ปี เขายังมีชื่ออยู่ในหอเกียรติยศ 4 ครั้ง
ประวัติ
แก้ชีวิตช่วงแรก (1935–53)
แก้ชีวิตวัยเด็กในทูเพอโล
แก้เอลวิส เพรสลีย์เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1935 ณ เมืองทูเพอโล รัฐมิสซิสซิปปี เป็นบุตรของเวอร์นอน เอลวิสและแกลดีส์ เลิฟ เพรสลีย์ในบ้านเล็กแบบช็อตกัน จำนวน 2 ห้องนอนที่สร้างโดยพ่อของเขา เพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับทารกที่จะเกิด เจสซี แกรอน เพรสลีย์ พี่ชายฝาแฝดที่เกิดก่อนเขา 35 นาที แต่ก็เสียชีวิตไป ทำให้เขาเป็นบุตรเพียงคนเดียว เพรสลีย์สนิทสนมกับทั้งพ่อและแม่และก่อให้เกิดความสนิทสนมเป็นแนบแน่นกับแม่ของเขา ครอบครัวของเขาไปที่โบสถ์คริสเตียนสัมพันธ์ ที่ที่เขาได้รับแรงบันดาลใจทางด้านดนตรีในขั้นต้น[6]
เพรสลีย์มีเชื่อสายผสมยุโรปตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ อย่างสกอตแลนด์-ไอร์แลนด์ และนอร์มันฝรั่งเศสบ้าง หนึ่งในทวดของแกรดีส์ เป็นชาวเชอโรคีและจากบันทึกทางครอบครัว หนึ่งในย่าของเธอเป็นชาวยิว[7] แกรดีส์เป็นที่นับถือในเหล่าบรรดาญาติและเพื่อน เป็นคนเด่นในครอบครัวเล็กนี้ เวอร์นอนย้ายจากงานหนึ่งสู่งานหนึ่ง เขามีความทะเยอทะยานอยู่บ้าง[8][9] ครอบครัวของเขามักอาศัยความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านและอาหารจากรัฐบาล ในปี 1938 พวกเขาได้สูญเสียบ้านไปหลังจากที่เวอร์นอนมีความผิดฐานปลอมแปลงเช็คที่เขียนโดยเจ้าของที่ เขาอยู่ในคุก 8 เดือน ส่วนแกลดีส์และเอลวิสย้ายไปอยู่กับญาติ[10]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1941 เพรสลีย์เรียนเกรด 1 ที่โรงเรียนอีสต์ทูเพอโล ที่ครูผู้สอนระบุการเรียนของเขาว่า "อยู่ในระดับปานกลาง"[11] เขาได้รับการชักชวนให้ร่วมประกวดร้องเพลงหลังจากที่ทำให้ครูประทับใจกับการนำเพลงคันทรีของเรด โฟเลย์ที่ชื่อ "Old Shep" มาร้องใหม่ช่วงสวดมนต์ตอนเช้า โดยการประกวดเขาเขาร่วมแข่งเป็นงานที่ชื่อมิสซิสซิปปี-แอละแบมา และไดอารีโชว์ ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1945 เป็นการแสดงต่อหน้าสาธารณะของเขาเป็นครั้งแรก เขาแต่งตัวเป็นคาวบอย โดยเด็กชายเพรสลีย์วัย 10 ปี ยืนอยู่บนเก้าอี้เพื่อยื่นร้องไมโครโฟนที่สูงกว่า ร้องเพลง "Old Shep" เขาได้ที่ 5[12] หลายเดือนต่อมา เพรสลีย์ได้รับของขวัญวันเกิดกับกีตาร์ตัวแรก แต่เขาหวังว่าจะได้สิ่งอื่น ไม่จักรยานก็ปืนไรเฟิล[13][14] หลายปีถัดมา เขาได้เรียนกีตาร์พื้นฐานจากลุง 2 คนและศาสนาจารย์คนใหม่ที่โบสถ์ครอบครัวเขา เพรสลีย์เอ่ยถึงเหตุการณ์นั้นว่า "ผมได้กีตาร์และผมก็ดูผู้คนและผมก็เรียนรู้การเล่นนิดหน่อย แต่ผมไม่เคยร้องในที่สาธารณะ ผมเป็นคนขี้อายมาก"[15]
เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนใหม่ที่ชื่อมิลาม ในเกรด 6 เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1946 เพรสลีย์พูดว่าเขาสันโดษ หลายปีต่อมาเขาเริ่มนำกีตาร์ของเขา เรียนรู้พื้นฐานการเล่นทุก ๆ วัน เขาจะเล่นและร้องในช่วงอาหารกลางวัน และมักจะแกล้งทำเป็นเหมือนพวกเด็กเหลวไหลที่เล่นดนตรีคนบ้านนอก ครอบครัวของเขาตอนนั้นอยู่กับเพื่อนบ้านชาวแอฟริกันอเมริกันขนาดใหญ่[16] เขาเป็นสาวกรายการของมิสซิสซิปปี สลิมทางสถานีวิทยุทูเพอโลที่ชื่อ WELO น้องชายของสลิมที่เป็นเพื่อนร่วมชั้นพูดถึงเพรสลีย์ในช่วงนั้นว่า "เขาคลั่งไคล้ดนตรี" เขามักพาเพรสลีย์ไปที่สถานี สลิมได้สอนสาธิตเทคนิคการเล่นคอร์ดกีตาร์ให้กับเพรสลีย์[17] เมื่อเขาอายุได้ 12 ปี สลิมได้จัดผังรายการให้เขาเล่นออกอากาศ 2 ครั้ง เพรสลีย์เอาชนะความกลัวในการขึ้นเวทีครั้งแรกได้ และยังได้แสดงอีกหลายหลายอาทิตย์ถัดมา[18]
ชีวิตวัยรุ่นในเมมฟิส
แก้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1948 ครอบครัวของเขาย้ายไปอยู่เมมฟิส หลังจากย้ายถิ่นฐานเกือบปีในบ้านเช่า พวกเขาได้เข้าอาศัยอพาร์ตเมนต์ 2 ห้องนอนในอาคารที่พักสาธารณะที่มีชื่อว่า คอร์ตส[19] เขาสมัครเรียนที่โรงเรียนมัธยมฮูมส์ เพรสลีย์เรียนได้เกรดซีในวิชาดนตรีเมื่อเรียนเกรด 8 และเมื่ออาจารย์สอนดนตรีบอกเขาว่าเขาไม่ถนัดด้านการร้องเพลง เขาก็นำกีตาร์ในวันรุ่งขึ้นและร้องเพลงฮิตล่าสุดที่ชื่อ "Keep Them Cold Icy Fingers Off Me" เพื่อพิสูจน์ว่าไม่ใช่เช่นนั้น เพื่อร่วมชั้นในเวลาต่อมากล่าวว่า "ครูเห็นด้วยกับเอลวิสว่าถูก เมื่อเขาพูดว่า เธอไม่พอใจการร้องของเขา"[20] โดยทั่วไปแล้วเขาจะรู้สึกอายในการแสดงต่อหน้าคนและมักถูกกเพื่อนร่วมชั้นระรานในแง่มุมว่า "เด็กติดแม่"[21] ในปี 1950 เขาเริ่มฝึกฝนกีตาร์ ในการสอนของ เจสซี ลี เดนสัน ที่เป็นเพื่อนบ้านแก่กว่าเขา 2 ปีครึ่ง พวกเขาและกับชายหนุ่ม 3 คน รวมถึงผู้บุกเบิกเพลงร็อกอะบิลลีในอนาคต สองพี่น้องดอร์ซีย์และจอห์นนี เบอร์เนตต์ ก่อตั้งวงเล่นดนตรีหลวม ๆ แสดงเป็นประจำบริเวณรอบ คอร์ตส[22] ในเดือนกันยายนปีนั้น เขาเริ่มทำงานเป็นเด็กเดินตั๋วที่ โรงภาพยนตร์เลียวส์สเตด[23] งานอื่นในช่วงระหว่างเรียนอย่างเช่นทำที่พรีซิชันทูล, เลียวส์อะเกน และมาร์ลเมทัลโพรดักส์[24]
ในช่วงที่เรียนอยู่ในปีจูเนียร์เยียร์ (เกรด 11) เพรสลีย์เริ่มมีความโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดในบรรดาเพื่อนร่วมชั้น เป็นเพราะหน้าตาของเขา กับเคราข้างใบหูที่โดดเด่นและทรงผมที่ใส่น้ำมันกุหลาบและวาเซลีน ในช่วงเวลาส่วนตัวเขาจะมุ่งหน้าไปที่ถนนบีล ใจกลางของย่านเพลงบลูส์ของเมืองเมมฟิส และเพ่งมองไปยังเสื้อผ้าอันเปล่งประกายผ่านหน้าตาของแลนสกี บราเทอร์ส ในปีสุดท้ายของการเรียนมัธยม เขาก็ได้สวมชุดที่เขาเพ่งมองนั้น[25] เขาเอาชนะการเป็นคนไม่กล้าแสดงออกโดยแสดงนอกคอร์ตส เขาร่วมแข่งในรายการ "Annual Minstrel" ของฮูมส์เมื่อเดือนเมษายน 1953 เขาร้องและเล่นกีตาร์ โดยเปิดด้วยเพลงดังล่าสุดของเทเรซี บรูเวอรืที่ชื่อ "Till I Waltz Again With You" เพรสลีย์กล่าวว่าการแสดงครั้งนั้นทำให้เขามีชื่อเสียงอย่างมาก "ฉันไม่ได้โด่งดังที่โรงเรียน...ล้มเหลวในด้านดนตรี—เป็นสิ่งเดียวที่ผมเคยล้มเหลว และบัดนนี้ผมก้าวสู่รายการโชว์ความสามารถ...เมื่อผมเดินขึ้นเวทีผมได้ยินคนส่งเสียงดังและกระซิบ และท้ายสุด เพราะว่าไม่มีใครรู้จักผม ผมรู้สึกประหลาดใจที่ผมโด่งดังหลังจากนั้น"[26]
เพรสลีย์ผู้ไม่เคยได้รับการฝึกสอนอย่างเป็นทางการและการอ่านโน้ตดนตรี เขาเรียนและเล่นโดยใช้หูเขาเอง เขาไปร้านขายแผ่นเสียงอยู่บ่อย ๆ ไปฟังจู๊กบอกซ์และฟังที่บูธ เขารู้จักเพลงทั้งหมดของแฮงก์ สโนว์[27] และเขาชอบเพลงของนักร้องเพลงคันทรีอื่นอย่าง รอย อะคัฟฟ์, เออร์เนสต์ ทับบ์, เทด ดาฟแฟน, จิมมี ร็อดเจอร์ส, จิมมี เดวิส และบ็อบ วิลลิส[28] เขายังชื่นชอบนักร้องเพลกอสเปลชาวใต้ที่ชื่อ เจค เฮส ที่เป็นอิทธิพลในการร้องเพลงบัลลาดให้กับเขาอย่างมาก[29][30] เขายังเป็นผู้ชมทั่วไปที่ออล-ไนต์ซิงกิงส์ รายเดือน ที่มีกลุ่มนักร้องกอสเปลผิวขาวแสดง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากดนตรีโซลของชาวแอฟริกันอเมริกัน[31] เขาชื่นชอบดนตรีของนักร้องกอสเปลผิวดำที่ชื่อ ซิสเตอร์ โรเซตตา ทาร์ป[28] เช่นเดียวกับกลุ่มเพื่อนของเขา ในบางครั้งเขาอาจไปงานดนตรีบลูส์ ในคืนพิเศษเฉพาะกลุ่มคนฟังผิวขาว[32] เขายังฟังสถานีวิทยุท้องถิ่นที่เล่นเพลงค่ายเรซเรเคิดส์ ที่มีแนวเพลงโซล บลูส์และเพลงสมัยใหม่ กับดนตรีแบ็กบีตหนัก ๆ ของเพลงริทึมแอนด์บลูส์[33] มีหลายเพลงในอนาคตของเขาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนักดนตรีชาวแอฟริกันอเมริกัน อย่างเช่น อาร์เทอร์ ครูดัปและรูฟัส โทมัส[34][35] บี.บี. คิง พูดถึงเอลวิสว่า เขารู้จักเอลวิสก่อนที่เขาจะโด่งดัง เพราะทั้งคู่ชอบไปถนนบีล[36] เมื่อเขาเรียนจบระดับมัธยมในเดือนมิถุนายน 1953 เพรสลีย์ก็ได้เลือกอาชีพด้านดนตรีเป็นอาชีพในอนาคตของเขาแล้ว[37][38]
บันทึกเสียงเพลงแรก (1953–55)
แก้แซม ฟิลลิปส์และซันเรเคิดส์
แก้ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1953 เพรสลีย์เดินเข้าไปในสำนักงานของซันเรเคิดส์ เขาต้องการที่จะใช้สตูดิโอไม่กี่นาทีเพื่อบันทึกเสียงลงแผ่นสังเคราะห์สองหน้า ที่ชื่อเพลง "My Happiness" และ "That's When Your Heartaches Begin" ต่อมาเขาออกมากล่าวว่าเพลงเหล่านี้เขาต้องการให้เป็นของขวัญวันเกิดให้แม่เขา หรือแค่อยากลองว่าจะมีลักษณะอย่างไร กับการบันทึกเสียงแบบสมัครเล่นซึ่งใกล้กับร้านค้าทั่วไป แต่นักเขียนอัตชีวประวัติ ปีเตอร์ กูราลนิก เถียงว่าเขาเลือกซันเรเคิดส์เพราะหวังว่าจะมีใครมาค้นพบเขา เมื่อพนักงานต้อนรับ แมเรียน คีสเกอร์ถามเพรสลีย์ว่าเขาเป็นนักร้องประเภทไหน เพรสลีย์ตอบว่า "ผมร้องได้ทุกอย่าง" และเมื่อเธอย้ำถามว่าเขาร้องเหมือนใคร เขาก็ตอบซ้ำว่า "ผมไม่ได้ร้องเหมือนใคร" หลังจากที่เขาบันทึกเสียง หัวหน้าของซันเรเคิดส์ที่ชื่อ แซม ฟิลลิปส์ก็ให้คีสเกอร์เขียนบันทึกชื่อของชายหนุ่มนั้น ซึ่งเธอก็เขียนบรรยายไปว่า "นักร้องเพลงบัลลาดที่ดี"[39] เพรสลีย์ตัดแผ่นอีกครั้งในเดือนมกราคม 1954 ในเพลง "I'll Never Stand In Your Way" และ "It Wouldn't Be the Same Without You" แต่ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น[40]
แต่หลังจากนั้นไม่นาน เขาไม่ผ่านการออดิชันในการกลุ่มร้อง 4 คนที่ชื่อ ซองเฟลโลส์ เขาบอกกับพ่อของเขาว่า "พวกเขาบอกผมว่า ผมร้องเพลงไม่ได้"[41] จิม ฮามิลล์แห่งซองเฟโลว์ ภายหลังออกมากล่าวว่า เขาปฏิเสธไปเพราะว่าเขาไม่สามารถแสดงการใช้หูฟังเสียงประสานได้ในเวลานั้น[42] ในเดือนเมษายน เพรสลีย์เริ่มทำงานที่บริษัทคราวน์อีเลกทริก ตำแหน่งคนขับรถบรรทุก[43] เพื่อนของเขา รอนนี สมิธ ที่ได้ร่วมแสดงเพลงกับเขาบางครั้ง ได้แนะนำให้รู้จักเอ็ดดี บอนด์ หัวหน้าของวงอาชีพของสมิธ ซึ่งกำลังเปิดหานักร้องนำอยู่ บอนด์ปฏิเสธเขาไปหลังจากทดสอบความสามารถ ยังแนะนำเพรสลีย์ให้ขับรถบรรทุกต่อไป "เพราะว่าคุณไม่สามารถเป็นนักร้องได้เลย"[44]
ฟิลลิปส์ในขณะนั้นที่กำลังหาคนขาวใครสักคนที่สามารถร้องเพลงสไตล์คนดำได้ เพราะต้องการที่จะขยายฐานคนฟังให้กว้างขึ้น และจากรายงานของคีสเกอร์ "หลายต่อหลายครั้ง ฉันจำที่แซมพูดได้ว่า ถ้าฉันสามารถหาคนขาวที่มีเสียงแบบนิโกรและความรู้สึกแบบนิโกร ฉันจะให้เขาพันล้านดอลลาร์เลย"[45] ในเดือนมิถุนายน เขาบันทึกเสียงเพลงบัลลาดที่ชื่อ "Without You" ที่เขาคิดว่าอาจเหมาะกับนักร้องวัยรุ่น เพรสลีย์เข้ามาในสตูดิโอ แต่ไม่สามารถทำให้เยี่ยมได้ ด้วยเหตุนี้เองฟิลลิปส์บอกเพรสลียให้ร้องหลายเพลงเท่าที่เขารู้ เขารู้สึกมีใจเมื่อได้ยินว่าให้เชิญนักดนตรีท้องถิ่นคือ นักกีตาร์ วิลฟิลด์ "สก็อตตี" มัวร์ และมือเบส บิล แบล็ก ให้ร่วมงานบันทึกเสียงกับเพรสลีย์[46]
การบันทึกเสียงมีขึ้นในเย็นวันที่ 5 กรกฎาคม ซึ่งก็ไม่ได้ผลนักจนถึงช่วงดึกของคืนนั้น พวกเขารู้สึกยอมแพ้และอยากกลับบ้าน เพรสลีย์หยิบกีตาร์มาและร้องเพลง "That's All Right" ของอาร์เธอร์ ครูดัป มัวร์กล่าวภายหลังว่า "สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เอลวิสเริ่มร้องเพลง กระโดดไปทั่วและทำเหมือนคนบ้า จากนั้นบิลก็เริ่มหยิบเบส และเราก็เริ่มบ้ากันด้วย จากนั้นก็เริ่มเล่นเพลง แซมที่อยู่ที่บูธควบคุม ก็ยื่นหัวออกมาแล้วบอกว่า 'พวกแกทำอะไรอยู่' และพวกเราก็ตอบ 'ไม่รู้เหมือนกัน' เขาพูดว่า 'โอเค ดี หาทีว่าจะเริ่มตรงไหนและเอาอีกครั้ง' ฟิลลิปส์ก็เริ่มบันทึกเทป เป็นดนตรีที่พวกเขากำลังหาอยู่นาน[47] 3 วันต่อมา ดีเจที่มีชื่อเสียงที่ชื่อ ดีเจ ดิววีย์ ฟิลลิปส์ เล่นเพลง "That's All Right" ในรายการเรด,ฮอต แอนด์บลู[48] คนฟังเริ่มจะโทรเข้ามา และสงสัยว่าใครเป็นคนร้อง จากนั้นเองฟิลลิปส์ก็เล่นเพลงซ้ำอีกครั้งใน 2 ชั่วโมงท้ายของรายการ และสัมภาษณ์เพรสลีย์ออกอากาศ ฟิลลิปส์ถามว่าเรียนโรงเรียนไหน และถามเรื่องสีผิวที่มีคนถามเข้ามาคิดว่าเขาคือคนดำ[49] หลายวันต่อมาวงทรีโอนี้ได้บันทึกเสียงเพลงบลูกราส ของบิล มอนโร ที่ชื่อ "Blue Moon of Kentucky" และอีกครั้งด้วยความโดดเด่นของแนวการเล่นและบวกกับเสียงสะท้อนของเรือ ที่แซม ฟิลลิปส์นำมาจาก "slapback" ออกเป็นซิงเกิลโดยมีเพลง "That's All Right" อยู่ในหน้าเอ และเพลง "Blue Moon of Kentucky" อยู่ในด้านตรงข้ามของแผ่นเสียง[50]
การแสดงสดช่วงแรกและเซ็นสัญญากับอาร์ซีเอ
แก้วงทรีโอได้เล่นต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ที่บอนแอร์คลับ เพรสลีย์ยังคงใช้กีตาร์ของเด็กเล่น[51] พอปลายเดือนพวกเขาก็ปรากฏตัวที่โอเวอร์ตันพาร์กเชลล์ ร่วมกับการนำของสลิม วิตแมน และด้วยการตอบรับในจังหวะและความความประหม่าในการแสดงต่อผู้ชมจำนวนมาก ทำให้เพรสลีย์เขย่าขาของเขาในการแสดง กับการเกงขาบานที่ใส่ยิ่งทำให้เน้นการเคลื่อนไหว ทำให้สาววัยรุ่นเริ่มที่จะส่งเสียงกรี๊ด[52] มัวร์พูดถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า "ในช่วงที่บรรเลงเพลง เขาจะถอยหลังไปและเริ่มเล่นและเขย่า จากนั้นผู้ชมก็เริ่มคลั่ง"[53] ส่วนแบล็กก็บรรเลงเบสของเขา โดยดับเบิลลิ๊กในเพลง เพรสลีย์รำลึกว่า "มันเป็นดนตรีที่บ้าจริง ๆ เหมือนกลองจังเกิลหรืออะไรสักอย่าง"[53]
หลังจากนั้น มัวร์และแบล็กก็ลาออกจากวง เพื่อเล่นให้กับเพรสลีย์ประจำ ส่วนดีเจและโปรโมเตอร์ บ็อบ นีล ก็กลายเป็นผู้จัดการวงทรีโอนี้ จากเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม พวกเขาเล่นอยู่บ่อยครั้งที่อีเกิลส์เนสต์คลับและกลับมาบันทึกเสียงที่ซันสตูดิโอ[54] เพรสลีย์ก็รู้สึกเพิ่มความมั่นใจอย่างรวดเร็วเมื่อขึ้นเวที มัวร์กล่าวว่า "การเคลื่อนไหวของเขาช่างดูเป็นธรรมชาติ แต่เขาก็ตั้งใจมากต่อปฏิกิริยา เขาจะทำมันครั้งหนึ่งจากนั้นก็จะทำต่อโดยทำมันให้เร็ว"[55] เพรสลีย์ได้ปรากฏตัวเพียงครั้งเดียวบนเวที แกรนด์โอเลโอพรี ที่แนชวิลล์ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม หลังจากผู้ชมตอบรับอย่างเบาบาง สุภาพ ผู้จัดการรายการที่ชื่อจิม เดนนี บอกกับฟิลลิปส์ว่า นักร้อง "ดูไม่เลว" แต่ไม่เหมาะกับรายการ[56] 2 อาทิตย์ต่อมา เพรสลีย์มีชื่ออยู่ในรายการ ลุยเซียนาเฮย์ไรด์ ซึ่งเป็นการแข่งขันที่น่าตื่นเต้น รายการของเมืองชีฟพอร์ต ที่ออกอากาศในสถานีวิทยุ 198 สถานีใน 28 รัฐ เพรสลีย์รู้สึกเครียดในการแสดงแรกที่ผู้ชมต่างเงียบในการแสดงของเขา แต่การแสดงที่มีอารมณ์สงบและมีพลังทำให้ได้รับเสียงตอบรับอย่างสนใจ[57] ดีเจ ฟอนทานา ที่เป็นมือกลอง ได้ใส่องค์ประกอบใหม่เพื่อส่งเสริมจังหวะเคลื่อนไหวของเพรสลีย์ด้วยการเน้นจังหวะที่เขาเคยเล่นที่คลับเปลือยกาย[58] หลังจากการแสดง เฮย์ไรด์ชวนเพรสลีย์ให้มาปรากฏตัวในคืนวันเสาร์เป็นเวลา 1 ปี เขาได้ขายกีตาร์เก่าได้เงิน 8 ดอลลาร์สหรัฐ เขาซื้อเครื่องดนตรีมาร์ติน เป็นเงิน 175 ดอลลาร์สหรัฐ และวงทรีโอก็เริ่มเล่นตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงในฮิวส์ตัน รัฐเท็กซัสและเท็กซาร์คานา รัฐอาร์คันซอ[59]
ในต้นปี 1955 เพรสลีย์ปรากฏตัวเป็นประจำที่ เฮย์ไรด์ ออกทัวร์ตลอดเวลาและได้รับเสียงตอบรับที่ดีในการออกแผ่นเสียงที่ทำให้เขาเป็นดาราดังในระดับท้องถิ่น ตั้งแต่ในเทนเนสซีไปจนถึงเวสต์เท็กซัส ในเดือนมกราคม นีลได้เซ็นสัญญาการจัดการอย่างเป็นทางการกับเพรสลีย์และนำนักร้องเข้าพบกับโคโรเนล ทอม พาร์กเกอร์ ที่ถือว่าเป็นโปรโมเตอร์ที่ดีที่สุดในธุรกิจดนตรี พาร์เกอร์ (เกิดเนเธอร์แลนด์แต่อ้างว่ามาจากเวสต์เวอร์จิเนีย) ได้รับตำแหน่งพันเอกจากคณะกรรมการของนักร้องเพลงคันทรี ที่ชื่อ จิมมี เดวิส ที่กลายมาเป็นผู้ว่าการรัฐลุยเซียนา พาร์เกอร์ประสบความสำเร็จในการจัดการดาราคันทรีแถวหน้าอย่าง เอ็ดดี อาร์โนลด์ ที่ได้ร่วมงานกับนักร้องคันทรีอันดับ 1 หน้าใหม่ขณะนั้น แฮงก์ สโนว์ โดยพาร์กเกอร์ได้จัดการให้เพรสลีย์ออกทัวร์ของสโนว์ในเดือนกุมภาพันธ์[60][61] เมื่อทัวร์ถึงเมืองโอเดสซา รัฐเท็กซัส รอย ออร์บิสันขณะอายุ 19 ปี ได้เห็นการแสดงของเพรสลีย์เป็นครั้งแรก ก็บอกว่า "พลังของเขาเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ความโดดเด่นของเขา มันน่าอัศจรรย์ ... ผมไม่รู้ว่าทำได้ยังไง ไม่มีจุดอ้างอิงอื่นทางวัฒนธรรมที่จะเปรียบเทียบมันได้เลย"[27] เพรสลีย์ได้ปรากฏตัวครั้งแรกทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ทาง[เคเอสแอนเอ-ทีวี] ออกอกอากาศทาง ลุยเซียนาเฮย์ไรด์ หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ตกรอบการออดิชันในรายการแสดงความสามารถ อาร์เธอร์ก็อดฟรีย์สแทเลนต์สเกาตส์ ทางสถานีระดับชาติซีบีเอส ในเดือนสิงหาคม ค่ายซันเรเคิดส์ออกแผ่นในชื่อ "Elvis Presley, Scotty and Bill" เพลงบางเพลงอย่างเพลง "That's All Right" ที่นักเขียนจากเมมฟิสอธิบายไว้ว่า "เป็นสำนวนอาร์แอนด์บีของแจ๊ซนิโกร" เพลงอื่นอย่าง "Blue Moon of Kentucky" มีลักษณะ "แบบคันทรีมากกว่า" "แต่การการรวมที่แปลกในการนำสองแนวเพลงที่แตกต่าง รวมเข้ามาด้วยกัน"[62] การรวมแนวเพลงนี้ทำให้เป็นการยากที่สถานีวิทยุจะเล่นเพลงของเพรสลีย์ จากคำพูดของนีลเขากล่าวว่า ดีเจเพลงคันทรีจะไม่เล่นเพลงนี้เพราะว่ามักดูเป็นศิลปินคนดำเกินไป และไม่มีสถานีแนวริทึมแอนด์บลูส์ที่จะแตะพวกเขาเพราะว่า "มันดูเป็นฮิลล์บิลลีเกินไป"[63] การรวมเช่นนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ร็อกอะบิลลี ในเวลานั้นเพรสลีย์มีฉายาว่า "ราชาแห่งเวสต์เทิร์นบ็อป" ,"ชายฮิลบิลลี" และ "แสงวาบจากเมมฟิส"[64]
เพรสลีย์เซ็นสัญญาใหม่กับนีลในเดือนสิงหาคม 1955 ในขณะเดียวกันพาร์กเกอร์เป็นที่ปรึกษาพิเศษ[65] วงยังคงออกทัวร์อย่างต่อเนื่องในช่วงหลังของปี[66] นีลยังพูดว่า ""มันเกือบเป็นเรื่องน่ากลัว ปฏิกิริยาต่าง ๆ ถึงเอลวิสจากวัยรุ่นผู้ชาย มีหลายคนค่อนข้างอิจฉาและเกลียดเขา ในบางครั้งอย่างบางเมืองในเท็กซัส เราต้องมั่นใจว่ามีตำรวจคุ้มกันอยู่เพราะจะมีใครบางคนจะชอบก้าวร้าวต่อเขา พวกเขามีแก๊งและพยายามจะดักโจมตีหรืออย่างอื่น"[67] วงทริโอกลายเป็นวงควอเตต (4 คน) เมื่อมือกลองจากเฮย์ไรด์ ที่ชื่อฟอนทานา ร่วมวงเต็มวง ในกลางเดือนตุลาคม พวกเขาเล่นในหลายรายการเพื่อสนับสนุนให้กับโชว์ของบิล ฮาลีย์ ที่มีเพลง "Rock Around the Clock" ติดอันดับ 1 เมื่อปีก่อน ฮาลียืสังเกตเพรสลีย์ว่าเขามีความเป็นธรรมชาติในส่วนของจังหวะ และแนะนำเขาให้ร้องเพลงบัลลาดให้น้อยลง[68]
ในงานชุดนุมดีเจคันทรี ในต้นเดือนพฤศจิกายน เพรสลีย์ได้รับการลงคะแนนเสียงเป็นศิลปินชายแห่งความหวังที่สุดแห่งปี[69] มีหลายข่ายเพลงสนใจที่จะจับเขาเซ็นสัญญา หลังจาก 3 ค่ายใหญ่เสนอเงินสูงถึง 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ พาร์กเกอร์และฟิลลิปส์สนใจในสัญญาของอาร์ซีเอวิกเตอร์ โดยเซ็นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ให้สัญญาของเพรสลีย์ที่มีกับซันเรเคิดส์จบไปโดยเงิน 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ[70]b เพรสลีย์ซึ่งขณะนั้นอายุ 20 ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ก็ให้บิดาเซ็นสัญญาแทน[71] พาร์กเกอร์ที่ได้เตรียมงานกับเจ้าของฮิลแอนด์เรนจ์พับบลิชชิง คือฌอง และจูเลียน เอเบอร์บาช ได้ร่วมสร้างชื่อ "เอลวิส เพรสลีย์ มิวสิก แอนด์ แกรลดีส์ มิวสิก" เพื่อจัดการวัตถุดิบใหม่ในการอัดเสียงให้กับเพรสลีย์ มีนักเขียนเพลงได้เข้ามาช่วยเหลืออยู่ก่อนเพื่อตอบแทนแลกเปลี่ยนกับการแสดงในผลงานพวกเขา[72]c ในเดือนธันวาคม อาร์ซีเอเริ่มที่จะประชาสัมพันธ์นักร้องคนใหม่อย่างหนัก และก่อนจะจบเดือนเขาได้ออกผลงานกับค่ายซันเคิดส์ใหม่อีกครั้ง[73]
แจ้งเกิดและข้อพิพาท (1956–58)
แก้การปรากฏตัวครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ระดับชาติและอัลบั้มเปิดตัว
แก้วันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1956 เพรสลีย์ได้ทำการบันทึกเสียงครั้งแรกของค่ายอาร์ซีเอในเมืองแนชวิล[76] ได้เพิ่มทีมแบ็กอัปช่วยมัวร์, แบล็ก และฟอนทานา โดยอาร์ซีเอเพิ่มนักเปียโน ฟลอยด์ เครเมอร์, นักกีตาร์ เชต แอตคินส์ และนักร้องประสาน 3 คน คือกอร์ดอน สโตเกอร์ จากวงสี่คนที่มีชื่อเสียงที่ชื่อ จอร์แดนแนร์ส เพื่อที่เติมเต็มเสียงเข้าไป[77] เป็นการบันทึกเสียงเพลงขุ่นหมองที่ไม่ธรรมดา ที่ชื่อ "Heartbreak Hotel" ออกขายเป็นซิงเกิลเมื่อวันที่ 27 มกราคม[76] จนในที่สุดพาร์กเกอร์ก็ได้นำเพรสลีย์ออกโทรทัศน์ระดับชาติ โดยให้เขาแสดงบนเวทีของซีบีเอสถึง 6 ครั้งในรอบ 2 เดือน รายการผลิตที่นิวยอร์ก มีพิธีกรสลับกันไประหว่างพี่น้องผู้นำวงบิ๊กแบนด์ ทอมมีและจิมมี ดอร์เซย์ หลังจากการปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มกราคม เพรสลีย์ก็ได้อยู่ในเมืองเพื่อบันทึกเสียงที่สตูดิโอของอาร์ซีเอในนิวยอร์ก บันทึกเสียง 8 เพลง รวมถึงเพลงทำใหม่ของคาร์ล เพอร์กินส์ แนวร็อกอะบิลลีที่ชื่อ "Blue Suede Shoes" ในเดือนกุมภาพันธ์ เพลงของเพรสลีย์ "I Forgot to Remember to Forget" ที่บันทึกเสียงกับซันเรเคิดส์และเคยออกในเดือนสิงหาคมปีก่อน ได้ติดชาร์ตอันดับ 1 บนบิลบอร์ดคันทรีชาร์ต[78] สัญญากับนีลได้จบลงไปและในวันที่ 2 มีนาคม พาร์เกอร์กลายเป็นผู้จัดการคนใหม่ของเพรสลีย์[79]
อาร์ซีเอวิกเตอร์ ได้ออกผลงานอัลบั้มเปิดตัวของเพรสลีย์ในชื่อตัวเขาเอง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม มีเพลงจากอัลบั้มที่บันทึกเสียงกับซันที่ไม่เคยออกมาก่อน 5 เพลง อีก 7 เพลงใหม่มีความหลากหลาย มีเพลงคันทรี 2 เพลงและเพลงป็อปกระฉับกระเฉง เพลงอื่นเน้นไปที่ดนตรีร็อกแอนด์โรลที่กำลังพัฒนา อย่าง "Blue Suede Shoes" ที่ "ปรับปรุงเวอร์ชันของเพอร์กินส์ในทุกทาง" จากคำพูดของนักวิจารณ์ โรเบิร์ต ฮิลเบิร์น และ 3 เพลงอาร์แอนด์บีที่เป็นรายการแสดงของเพรสลีย์บนเวทีหลายครั้ง เป็นการนำเพลงของลิตเทิล ริชาร์ด, เรย์ ชาร์ลส และเดอะดริฟเตอร์ส มาทำใหม่ และฮิลเบิร์ยังอธิบายว่า "เป็นเพลงที่เปิดเผยมากที่สุดทั้งหมด ไม่เหมือนกับศิลปินคนขาวอื่น ...ที่จะเจือจางความกล้าหาญของต้นฉบับอาร์แอนด์บีลงไป ในเพลงคริสต์ทศวรรษ 1950 แต่เพรสลีย์ได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่ เขาไม่เพียงแต่ผลักดันให้มีทำนองเข้ากับเอกลักษณ์เสียงของเขา แต่ยังนำกีตาร์ (ไม่ใช่เปียโน) เป็นเครื่องดนตรีนำในทั้ง 3 กรณี"[80] ถือเป็นอัลบั้มร็อกแอนด์โรลอัลบั้มแรกที่ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ด และอยู่นาน 10 สัปดาห์[76] ขณะที่เพรสลีย์ไม่ใช่นักปฏิรูปเครื่องดนตรีอย่างมัวร์ หรือร็อกเกอร์ชาวแอฟริกันอเมริกันร่วมสมัยอย่าง โบ ดิดดลีย์และชัค เบอร์รี นักประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่ชื่อ กิลเบิร์ต บี. ร็อดแมน โต้แย้งภาพปกอัลบั้มว่า "เอลวิสผู้ซึ่งใช้เวลาตลอดชีวิตเขาบนเวที กับกีตาร์ในเมืองที่เขาเล่นได้ดีมากในตำแหน่งที่มีกีตาร์...เป็นเครื่องดนตรีที่ดีที่สุกับเขา กับรูปแบบและจิตวิญญาณของดนตรีแบบใหม่"[81]
มิลตันเบอร์ลโชว์ และ "Hound Dog"
แก้เพรสลีย์ปรากฏตัวครั้งแรกใน 2 ครั้งที่ รายการ มิลตันเบอร์ลโชว์ ทางช่องเอ็นบีซี เมื่อวันที่ 3 เมษายน เขาแสดงบนดาดฟ้าเรือยูเอสเอสแฮนค็อก ที่แซนดีเอโก เขาได้รับเสียงเชียร์และเสียงกรี๊ดจากคนดูทั้งจากทหารเรือและคนที่มาพบเจอ[82] หลายวันต่อมา เที่ยวบินที่เพรสลีย์และวงที่จะไปแนชวิลเพื่อบันทึกเสียงเกิดเครื่องสั่นอย่างหนัก 3 ครั้งเมื่อเครื่องเสียและเครื่องบินเกือบตกลงที่รัฐอาร์คันซอ[83] 12 อาทิตย์ต่อมาหลังจากออกซิงเกิล "Heartbreak Hotel" ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตป็อปเพลงแรกของเพรสลีย์ ในปลายเดือนเมษายน เพรสลีย์เริ่มพักอยู่ที่โรงแรมนิวฟรอนเทียร์และคาซิโน ที่ลาสเวกัสสตริป เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โชว์ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มหัวอนุรักษ์ สำหรับแขกวัยกลางคนของโรงแรม นิวส์วีกเขียนวิจารณ์ว่า "เหมือนเหยือกน้ำที่มีเหล้าข้าวโพดในปาร์ตี้แชมเปญ"[84] ในช่วงที่อยู่ที่ลาสเวกัส เพรสลีย์ที่มีความใฝ่ฝันอย่างมากในด้านแสดง ได้เซ็นสัญญา 7 ปีกับพาราเมาต์พิกเจอส์[85] เขาเริ่มออกทัวร์ในมิดเวสต์ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ใน 15 เมืองเป็นเวลาหลายวัน[86] เขาเข้าไปดูโชว์หลายโชว์ของเฟรดดีเบลล์แอนด์เดอะเบลล์บอยส์ ในลาสเวกัสและติดใจเพลงทำใหม่ที่ชื่อ "Hound Dog" เพลงฮิตในปี 1952 ของนักร้องเพลงบลูส์ที่ชื่อ บิ๊ก มามา ทอร์นตัน และเพลงนี้ได้ถือเป็นเพลงใหม่ในการแสดงของเขา[87] หลังจากแสดงในลาครอส ในรัฐวิสคอนซิน ก็มีข้อความเขียนบนหน้าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในเครือคาทอลิก ซึ่งก็ถูกส่งไปให้หัวหน้าเอฟบีที่ชื่อ เจ. เอดการ์ ฮูเวอร์ เขียนไว้ว่า "เพรสลีย์เป็นอันตรายอย่างยิ่งกับความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา...การแสดงของเขาเป็นการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศให้กับกลุ่มวัยรุ่น...หลังจากแสดงโชว์ มีวัยรุ่นกว่า 1,000 คนพยายามเข้าร่วมไปอยู่ในห้องของเพรสลีย์ที่โรงละคร...เป็นการบอกถึงความอันตรายของเพรสลีย์ แค่ในลาครอสก็มีหญิงสาวไฮสคูล 2 คน ที่ให้เพรสลีย์เซ็นลายเซ็นที่ท้องน้อยและต้นขา"[88]
การแสดงครั้งที่ 2 ที่ รายการ มิลตันเบอร์ลโชว์ เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่สตูดิโอฮอลลีวูดของช่องเอ็นบีซี ในช่วงระหว่างความวุ่นวายในการออกทัวร์ เบอร์ลได้ชักชวนเขาให้ทิ้งกีตาร์หลังเวที แนะให้เขา "ให้พวกเขาพบคุณ, ลูกชาย"[89] ระหว่างการแสดงเพรสลีย์หยุดโชว์กะทันหันในช่วงเพลงมีจังหวะ "Hound Dog" โดยโบกแขนและเริ่มทำให้ช้าลง ทำดูเด่น เต็มไปด้วยพลัง กับการเคลื่อนไหวที่ดูเกินจริง[89] การแสดงการหมุนของเขาทำให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างหนัก[90] นักวิจารณ์โทรทัศน์ แจ็ก กูล์ดจาก นิวยอร์กไทม์ เขียนไว้ว่า "คุณเพรสลีย์ ผู้ซึ่งไม่มีความสามารถด้านการร้อง...การถ่ายทอดของเขา ถ้าสามารถเรียกได้ว่า ประกอบด้วยความหลากหลายทั่ว ๆ ไป ที่เริ่มท่วงทำนองแบบในอ่างน้ำ...ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของเขาคือ การเคลื่อนไหวของร่างกายที่มีเอกลักษณ์...โดยมากจะเห็นถึงรายการการแสดงที่น่าตกใจแบบพวกล้อเลียนการแสดง"[91] ส่วนเบน กรอส จาก นิวยอร์กเดลีนิวส์ แสดงความเห็นดนตรีป็อปว่า "ได้ถึงจุดต่ำสุดของพฤติกรรมปลายขาหนีบ ของเอลวิส เพรสลีย์... เอลวิสคนที่เคลื่อนกระดูกเชิงกราน...ได้แสดงเป็นนัยยะเรื่องอนาจารและหยาบคาย ผสมด้วยรูปแบบของสัตว์ป่าที่อาจหมายถึงซ่องโสเภณี"[92] เอ็ด ซัลลิแวน เจ้าของรายการวาไรตี้โชว์อันโด่งดังระดับชาติ ประกาศว่าเขา "ไม่เหมาะสำหรับผู้ชมในครอบครัว"[93] เขาถูกเรียกว่า ""Elvis the Pelvis" (เอลวิส กระดูกเชิงกราน) ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับเขา เขาตอบกลับไปว่า "เป็น 1 ในการแสดงออกที่ปัญญาอ่อนที่สุดเท่าที่เคยได้ยิน ที่มาจากผู้ใหญ่เอง"[94]
สตีฟอัลเลนโชว์ และการปรากฏตัวครั้งแรกในรายการซัลลิแวน
แก้รายการของเบิร์ลได้รับเรตติ้งสูงเมื่อครั้งเพรสลีย์ ปรากฏตัวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ทางรายการ เดอะสตีฟอัลเลนโชว์ ในนิวยอร์ก อัลเลนซึ่งไม่ใช่แฟนเพลงร็อกแอนด์โร ได้แนะนำเอลวิสแบบใหม่ ในชุดผู้โบว์สีขาวและสุดดำมีท้าย เพรสลีย์ร้องเพลง "Hound Dog" ไม่ถึง 1 นาทีให้กับสุนัขพันธุ์บาสเซตฮาวด์ที่สวมหมวดและผูกไทด์ นักประวัติศาสตร์รายการโทรทัศน์ เจค ออสเตนกล่าวว่า "อัลเลนคงคิดว่าเพรสลีย์ไม่มีความสามารถและไร้สาระ จึงทำอย่างนั้นกับเพรสลีย์ที่จะทำให้เพรสลีย์ดูสำนักผิด"[95] ต่อมาอัลเลนเขียนว่า เขาพบว่าเพรสลีย์ "แปลก สูงและผอม เด็กหนุ่มคันทรีผู้มีพรสวรรค์ มีความเฉลียวฉลาดที่ยากจะอธิบาย มีเสน่ห์จนน่าแปลกใจ และเป็นนักร้องที่สร้างความตลกในรายการเขา"[96] ซึ่งต่อมาเพรสลีย์เองก็ตอบกลับว่าเป็นการแสดงที่พิลึกที่สุดที่เขาทำในอาชีพของเขา[97] ต่อมาในคืนเดียวกัน เขาปรากฏในรายการ ไฮการ์ดเนอร์คอลลิง รายการโทรทัศน์ท้องถิ่นยอดนิยม ตอบรับเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเรียนรู้จากการวิจารณ์ที่เขาตกเป็นเป้าหมายอยู่ เพรสลีย์ตอบว่า "ไม่เลย ผมไม่เคยรู้สึกว่าผมทำอะไรผิด...ผมไม่เห็นว่าจะประเภทดนตรีจะทำให้เกิดอิทธิพลด้านร้ายกับคน เพราะมันก็เป็นแค่ดนตรี ผมหมายถึง ร็อกแอนด์โรลจะทำให้ใครต่อต้านพ่อแม่เขาได้"[92]
วันถัดมาเพรสลีย์บันทึกเสียงเพลง "Hound Dog" กับเพลง "Any Way You Want Me" และ "Don't Be Cruel" ขณะที่วงจอร์แดนแนร์สร้องประสาน เหมือนที่ทำในรายการ เดอะสตีฟอัลเลนโชว์ พวกเขาได้ร่วมงานกับเพรสลีย์จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 ต่อมาหลายวันเขาแสดงในคอนเสิร์ตกลางแจ้งในเมมฟิส เขาประกาศว่า "รู้ไหม คนเหล่านี้ในนิวยอร์กจะไม่สามารถเปลี่ยนผมได้ ผมจะแสดงให้คุณเห็นว่าเอลวิสที่แท้จริงเป็นอย่างไร ในคืนนี้"[98] ในเดือนสิงหาคม ผู้พิพากาษในแจ็กสันวิล ในฟลอริดา สั่งให้เพรสลีย์สุขุมกว่าเดิมในการแสดง เป็นผลในการแสดงในครั้งต่อ ๆ มา ยกเว้นการแกว่งนิ้วไปมาในลักษณะล้อเลียนการสั่ง[99] เขานำเพลง "Don't Be Cruel" คู่กับ "Hound Dog" ติดอันดับ 1 บนชาร์ตนาน 11 สัปดาห์ เป็นสถิติเพลงอันดับ 1 ยาวนานที่สุดร่วม 36 ปี[100] เขาบันทึกเสียงในอัลบั้มชุดที่ 2 ในฮอลลีวูดในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน เจอร์รี ลีเบอร์และไมก์ สตอลเลอร์ ผู้เขียนเพลง "Hound Dog" ได้ช่วยเขียนในเพลง "Love Me"
รายการของอัลเลนที่มีเพรสลีย์ร่วมนั้น ได้ชนะเรื่องเรตติ้งครั้งแรก ในรายการ ดิเอ็ดซัลลิแวนโชว์ ทางช่องซีบีเอส แต่ต่อมาทางซัลลิแวนประกาศออกมาในเดือนมิถุนายนว่า เขาจะปรากฏตัวในรายการ 3 ครั้งกับค่าตัว 50,000 ดอลลาร์สหรัฐที่ไม่เคยมีมาก่อน[101] ครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1956 มีผู้ชมราว 60 ล้านคน ถือเป็นร้อยละ 82.6 ของผู้ชมรายการโทรทัศน์[102] นักแสดง ชาร์ล เลาจ์ตัน พิธีกรของรายการซึ่งมาทำหน้าที่แทนซัลลิแวนเนื่องจากพักฟื้นจากประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์[93] เพรสลีย์ปรากฏตัวใน 2 ส่วนของรายการในคืนนั้นจาก ซีบีเอสเทเลวิชันซิตี ในฮอลลีวูด ถ่ายทำเพรสลีย์จากเอวขึ้นไป ขณะที่ดูคลิปขอรายการอัลเลนและเบิร์ล กับโปรดิวเซอร์ของเขา ซัลลิแวนให้ความเห็นว่า "มีบางอุปกรณ์บางอย่างแขวนตรงบริเวณอวัยวะเพศเขา จากนั้นเขาแกว่งขาไปมา มันจึงทำให้เห็นส่วนเว้านูนของอวัยวะเพศเขา ...ผมคิดว่ามันคือขวดโค้ก... แต่ไม่ได้ มันจะเกิดขึ้นมาได้ในคืนวันอาทิตย์ นี่มันรายการสำหรับครอบครัว"[103] ซัลลิแวนบอกกับ ทีวีไกด์ ไว้ว่า "การหมุนตัวของเขาเราสามารถควบคุมได้ในกล้อง"[101] แต่แท้จริงแล้ว เพรสลีย์ปรากฏเต็มตัวในการแสดงครั้งแรกและครั้งที่สอง ถึงแม้จะระมัดระวังในการถ่ายภาพเมื่อเขาปรากฏตัว กับการไม่ขยายชัดตรงขา เมื่อเขาเต้น แต่ผู้ชมในสตูดิโอก็มีปฏิกิริยาด้วนเสียงกรี๊ด[104][105] เพรสลีย์ได้แสดงซิงเกิลที่กำลังจากออก เป็นเพลงบัลลาดที่ชื่อ "Love Me Tender" ซึ่งสร้างสถิติมีการสั่งล่วงหน้าร่วมล้าน[106] มากไปกว่าซิงเกิลใดที่เคยมีมา ถือเป็นการปรากฏตัวของเขาในรายการ ดิเอ็ดซัลลิแวนโชว์ ที่ทำให้เขาเป็นคนดังระดับประเทศ เทียบกับครั้งก่อนหน้า[93]
ประกอบกับความมีชื่อเสียงที่เพิ่มขึ้นของเพรสลีย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม ที่เขาช่วยดลใจและทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ ก่อให้เกิด "ความบ้าคลั่งที่มากที่สุดของวงการป็อบ ตั้งแต่ครั้งเกล็น มิลเลอร์และแฟรงก์ ซินาตรา... เพรสลีย์ได้นำร็อกแอนด์โรลก้าวเข้าสู่กระแสหลักของวัฒนธรรมสมัยนิยม" เขียนโดยมาร์ตี จีเซอร์ "เพรสลีย์ได้นำฝีก้าวของศิลปะ ที่ศิลปินอื่นก้าวตาม... เพรสลีย์มีมากกว่าใครอื่น ได้สร้างความศรัทธากับคนรุ่นใหม่ให้พวกเขาโดดเด่นและในบางครั้งสร้างความเป็นหนึ่งให้กับคนรุ่นนั้น - เป็นครั้งแรกในอเมริกาที่รู้สึกเหมือนว่ามีพลังที่รวมวัฒนธรรมวัยรุ่นเข้าด้วยกัน"[107]
ฝูงชนที่บ้าคลั่งและก้าวสู่วงการภาพยนตร์
แก้ผู้ชมต่างตอบรับในการแสดงสดของเพรสลีย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนคลั่งไคล้ มัวร์ระลึกความหลังว่า "เขาเริ่มร้องว่า 'You ain't nothin' but a Hound Dog' และพวกเขากลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย พวกเขาต่างแสดงปฏิกิริยาในลักษณะนี้เหมือนเดิม เหมือนมีการประท้วงตลอดเวลา"[108] ในการแสดงคอนเสิร์ต 2 ครั้งในเดือนกันยายน ที่งานมิสซิสซิปปี-แอละแบมาและไดแอรีโชว์ ได้มีการเพิ่มผู้รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ จำนวน 50 คน ให้กับตำรวจในการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาจากฝูงชน[109] อัลบั้มชุดที่ 2 ของเขาที่ชื่อ Elvis ออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม และก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 อย่างรวดเร็ว ได้มีการประเมินผลกระทบด้านดนตรีและวัฒนธรรมกับงานเพลง "That's All Right" นักวิจารณ์เพลงร็อกที่ชื่อ เดฟ มาร์ช เขียนไว้ว่า "เพลงนี้ เป็นมากกว่าเพลงอื่น มีเมล็ดผลที่เป็นร็อกแอนด์โรล"[110]
เพรสลีย์กลับสู่รายการ ซัลลิแวนโชว์ อีกครั้ง มีพิธีกรคือซัลลิแวนเอง เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม หลังจากการแสดง ฝูงชนในแนชวิลล์และเซนต์หลุยส์ที่ไม่พอใจเขาต่างเผาหุ่นจำลองรูปเขา[93] ผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา Love Me Tender ออกฉายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ซึ่งแต่เดิมจะใช้ชื่อว่า The Reno Brothers และถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้มีรายชื่ออยู่บนหัวสุด แต่ภาพยนตร์ก็ได้เปลี่ยนชื่อมาใช้ตามชื่อเพลงอันดับ 1 ของเขาคือ "Love Me Tender" ซึ่งติดอันดับ 1 ก่อนหน้าในเดือนนั้น ยังถือโอกาสจากความโด่งดังของเพรสลีย์ โดยเพิ่มเพลง 4 เพลงเข้าไป ภาพยนตร์ได้เสียงตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์แต่ไม่ประสบความสำเร็จดีนักในตารางบ็อกซ์ออฟฟิส[85] ต่อมาเพรสลีย์ก็มีชื่ออยู่บนสุดทุกครั้งไป
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม มีผลงานของเพรสลีย์ออกภายใต้สังกัดซันเรเคิดส์ เมื่อครั้งที่บันทึกเสียงกับคาร์ล เพอร์กินส์และเจอร์รี ลี ลูอิส ถึงแม้ว่าฟิลิปจะไม่ได้ถือลิขสิทธิ์ในการออกเพลงต่าง ๆ ของเพรสลีย์แล้ว เขาก็ได้บันทึกเสียงการบันทึกเสียงในเทป ผลคือกลายเป็นการบันทึกเสียง ในนาม มิลเลียนดอลลาร์ควอร์เตต จบปลายปีกับการพาดหัวข่าวใน วอลล์สตรีตเจอร์นอล รายงานว่าของที่ระลึกของเพรสลีย์มีราคา 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับยอดขาย[111] และนิตยสารบิลบอร์ดประกาศว่าเขามีเพลงในท็อป 100 มากกว่าศิลปินใดที่เคยมีมา ตั้งแต่เริ่มมีชาร์ต[112] ในปีแรกเต็ม ๆ กับสังกัดอาร์ซีเอ ซึ่งถือเป็นบริษัทธุรกิจดนตรีที่ใหญ่ที่สุดบริษัทหนึ่ง ก็มียอดขายซิงเกิลของเพรสลีย์เป็นร้อยละ 50 ของรายได้บริษัท.[106]
การร่วมงานกับลีเบอร์และสตอลเลอร์ และหมายเกณฑ์ทหาร
แก้เพรสลีย์ปรากฏตัวครั้งที่ 3 และเป็นครั้งสุดท้ายในรายการ เอ็ดซัลลิแวนโชว์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1957 ในครั้งนี้ถ่ายเพียงถึงเอว นักวิจารณ์บางคน กล่าวว่า พาร์กเกอร์ได้ประพันธ์ดนตรีให้เข้ากับการเซ็นเซอร์แก่สาธารณะ[105][113] นักวิจารณ์ที่ชื่อ กรีล มาร์คัส อธิบายว่า "เพรสลีย์ไม่ได้จำกัดเสรีภาพตัวเอง เขาปล่อยให้เสื้อผ้าไม่น่าสนใจทิ้งไป แต่เขาก้าวออกมาพร้อมเสื้อผ้าแปลกๆ อย่างขุนนาง แต่งหน้าทางตา ปล่อยผมมาที่หน้า การแสดงลักษณะทางเพศผ่านทางปาก เขาเล่นเป็น รูดอล์ฟ วาเลนติโน" อย่างในภาพยนตร์เรื่อง The Sheik[93] และในการปิดการแสดง เพรสลีย์ร้องเพลงแบบโซลในเพลง "Peace in the Valley" ตอนจบการแสดง ซัลลิแวนออกมาพูดกับเพรสลีย์ว่า "ช่างเป็นชายหนุ่มที่โดดเด่นดี"[114] 2 วันต่อมา เมมฟิสออกมาประกาศการเกณฑ์ทหาร ซึ่งเพรสลีย์จะจัดอยู่ใน 1 เอ และจะต้องเข้าเกณฑ์ทหารในปีนั้น[115]
ทั้ง 3 ซิงเกิลของเพรสลีย์ที่ออกในช่วงครึ่งปีแรกของปี ค.ศ. 1957 ติดอันดับ 1 ได้แก่ "Too Much", "All Shook Up", และ "(Let Me Be Your) Teddy Bear" เขาได้กลายเป็นดาราระดับนานาชาติ เขาได้รับความสนใจจากแฟนเพลง ถึงแม้ว่าเพลงเขาจะยังไม่ออกขาย ยังมีการพาดหัวข่าวว่า "เพรสลีย์สร้างความคลั่งไคล้ในโซเวียต" ใน เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่าเพลงของเขาเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งในราคาสูง ที่เลนนินกราด[116] และในช่วงการถ่ายทำภาพยนตร์และบันทึกเสียง เขาซื้อแมนชัน 18 ห้อง ห่างจากดาวน์ทาวน์ของเมมฟิสไป 8 ไมล์ เขาซื้อให้ตัวเขาและพ่อแม่เขา ในเกรซแลนด์[117] Loving You เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่องที่สองของเขา ก็กลายเป็นอัลบั้มอันดับ 1 อัลบั้มที่ 3 ของเขา เพลงไตเติลแทร็กเขียนโดยลีเบอร์และสตอลเลอร์ที่ยังคงเขียน 4 ใน 6 เพลงในการบันทึกเสียงให้กับภาพยนตร์เรื่องถัดมา Jailhouse Rock ทีมนักเขียนเพลงได้ร่วมกันทำงานในเซสชัน และพวกเขาเริ่มใกล้ชิดกับเพรสลีย์ ซึ่งเคยพูดถึงว่า "เป็นสิ่งนำโชค"[118] เพลง "Jailhouse Rock" ก็เป็นเพลงฮิตอันดับ 1 ในอีพีชุด Jailhouse Rock
เพรสลีย์ออกทัวร์สั้น ๆ 3 ทัวร์ระหว่างปี ยังสร้างกระแสตอบรับที่บ้าคลั่งจากผู้ชม[119] หนังสือพิมพ์ดีทรอยต์ แนะนำว่า "ปัญหาหากคุณไปดูเอลวิส เพรสลีย์ คือคุณอาจถูกฆ่าตายได้"[120] นักศึกษามหาวิทยาลัยวิลลาโนวาปาไข่ใส่เขาในฟิลาเดเฟีย[120] และในแวนคูเวอร์ ฝูงชนประท้วงหลังจบโชว์ โดยการทำลายเวที[121] แฟรงก์ ซินาตรา ซึ่งเคยทำให้วัยรุ่นสาวเป็นลมมาแล้วในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 ตำหนิเรื่องปรากฏการณ์ใหม่ทางดนตรีนี้ โดยในบทความในนิตยสาร เขาประณามร็อกแอนด์โรลว่า "หยาบคาย น่าเกลียด เสื่อม เลวทราม ... มันส่งเสริมให้เกิดด้านลบและการทำลายล้างในหมู่วัยรุ่น ดูเหมือนเสแสร้งและผิด เขียนและเล่นโดยคนโง่และผิดปกติ ...คือกลิ่นเหม็นเน่าของการกระตุ้นทางเพศ ที่ผมไม่เห็นด้วย"[122] และหลังจากเพรสลัย์ก็ตอบรับว่า "ผมเคารพในตัวเขา เขามีสิทธิ์ที่จะพูดในสิ่งที่เขาอยากจะพูด เขามีความประสบความสำเร็จอย่างมากและเป็นนักแสดงที่ดี แต่ผมคิดว่าเขาไม่ควรพูดอย่างนั้น... มันคือกระแส ก็เหมือนกับที่เขาเจอเมื่อเขาเริ่มมันเมื่อหลายปีก่อน"[123]
ลีเบอร์และสตอลเลอร์ กลับมาในสตูดิโออีกครั้งเพื่อบันทึกเสียงให้กับเพรสลีย์ในอัลบั้มชุด Elvis' Christmas Album จนเกือบจบการบันทึกเสียง เขาเขียนเพลงตามที่เพรสลีย์เรียนกร้องในเพลง "Santa Claus Is Back In Town" ในเพลงบลูส์เหน็บแนม[124] อัลบั้มออกในช่วงวันหยุด และทำให้อันดับติดอันดับ 1 เป็นชุดที่ 4 และต่อมาถือว่าเป็นอัลบั้มคริสต์มาสที่ขายดีที่สุดตลอดกาล[125][126] ในวันที่ 20 ธันวาคม เพรสลีย์ได้รับหมายเกณฑ์ เขาได้รับการเลื่อนการเกณฑ์ทหาร จนกว่าจะจบการทำภาพยนตร์เรื่องต่อมาที่ชื่อ King Creole ที่ได้รับทุนมาแล้วจำนวน 350,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้รับทุนจากพาราเมาต์และโปรดิวเซอร์ที่ชื่อ ฮอล แวลลิส ก่อนปีใหม่ 1-2 สัปดาห์ เพลงที่แต่งโดยลีเบอร์และสตอลเลอร์ที่ชื่อเพลง "Don't" ก็กลายเป็นซิงเกิลขายดีอันดับ 1 เพลงที่ 10 และเพียง 21 เดือนหลังจากที่เขานำ "Heartbreak Hotel" ขึ้นอันดับ 1 เป็นครั้งแรก สำหรับการบันทึกเสียงเพลงประกอบภาพยนตร์ King Creole เกิดขึ้นในฮอลลีวูด กลางเดือนมกราคม ลีเวอร์และสตอลเลอร์ทำเพลง 3 เพลง แต่เป็นครั้งสุดท้ายที่พวกเขาทำงานอย่างใกล้ชิดกับเพรสลีย์[127]
รับราชการทหารและการเสียชีวิตของมารดา (1958–60)
แก้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม เพรสลีย์ถูกเกณฑ์ทหารในกองทัพสหรัฐฯ เป็นพลทหารที่พอร์ตแชฟฟี ใกล้เมืองฟอร์ตสมิท รัฐอาร์คันซอ ร้อยเอกอาร์ลี เมเทนี ผู้บังคับการหน่วยสารสนเทศไม่ได้เตรียมพร้อมกับการมาของสื่อมวลชน เมื่อเพรสลีย์มาถึง มีคนกว่า 100 คนมารอดู เมื่อเขาก้าวเท้าลงมาจากรถบัส ช่างภาพมากมายก็เข้ามารุมที่ตัวเขา[128] เพรสลีย์ประกาศว่าเขาตั้งตาคอยในการเป็นทหาร และยังกล่าวว่า เขาไม่ต้องการให้รับการปฏิบัติแตกต่างจากผู้อื่น "กองทัพจะทำอะไรก็ได้กับผมตามที่ต้องการ"[129] ต่อมาที่ฟอร์ตฮูด รัฐเท็กซัส พันโทมาร์โจรี ชูลเทน ได้ให้สื่อเข้าถึงเขาเต็ม ๆ 1 วัน หลังจากที่เธอประกาศห้ามสื่อเข้ามา[130]
ไม่นานเพรสลีย์ก็เข้าร่วมฝึกเบื้องต้นที่ฟอร์ตฮูด มีนักธุรกิจที่ชื่อเอ็ดดี้ ฟาดาล ที่เคยพบเขาในทัวร์ที่เท็กซัส เข้าเยี่ยมเขา ฟาดาลกล่าวว่า เพรสลีย์เชื่อว่าอาชีพเขาได้จบลงแล้ว— "เขาเชื่อเช่นนั้นอย่างมาก"[131] ใน 2 สัปดาห์ของต้นเดือนมิถุนายน เพรสลีย์ไถศีรษะขาว 5 ด้านที่แนชวิลล์ เขากลับไปฝึกต่อแต่พอต้นเดือนสิงหาคม แม่ของเขาซึ่งป่วยเป็นโรคตับอักเสบ และอาการของเธอก็แย่ลง เพรสลีย์ได้เร่งกลับมาเยี่ยมเธอโดยด่วน ถึงเมมฟิสเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม หลังจากนั้น 2 วันเธอก็เสียชีวิตจากภาวะหัวใจวาย อายุได้ 46 ปี ทำให้เกิดความเสียใจกับเพรสลีย์อย่างมาก[132]
หลังจากฝึกที่ฟอร์ตฮูด เพรสลีย์ได้ประจำการในหน่วยยานเกราะ หน่วยที่ 3 ในฟรีดเบิร์ก ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม[133] เขาได้เสพแอมเฟตามีนที่ได้จากเพื่อนทหาร ขณะซ้อมรบ มีผลไม่เพียงให้กำลัง ความแข็งแรง และทำให้เขาน้ำหนักลด และมีเพื่อนเขาหลายคนร่วมด้วย[134] เพรสลีย์ได้เรียนรู้คาราเต้เป็นครั้งแรก เขาศึกษาอย่างจริงจัง ต่อมาเขาก็รวมเข้ากับการแสดงของเขา[135] เพื่อนทหารเป็นสิ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความหลักแหลม ความเป็นทหารธรรมดาคนหนึ่ง แต่เนื่องจากชื่อเสียงของเขาและความใจกว้างขณะรับใช้ชาติ เขายังได้บริจาคเงินการกุศลให้กองทัพ ได้ซื้อชุดโทรทัศน์ให้กับฐาน และซื้อชุดทหารชุดพิเศษให้กับทุกคนได้ใส่กัน[136]
ขณะที่อยู่ฟรีดเบิร์ก เพรสลีย์พบกับหญิงสาวอายุ 14 ปีที่ชื่อพริสซิลลา โบลิยอ ทั้งคู่แต่งงานกันในอีก 7 ปีที่คบหากัน[137] ในหนังสืออัตชีวประวัติของเธอ พริสซิลลาพูดว่า เนื่องจากเขากังวลเรื่องถูกทำลายอาชีพการงานของเขา พาร์กเกอร์แนะนำเพรสลีย์ให้เพิ่มความน่านับถือ จากการรับใช้ประเทศชาติกับกองทัพทั่วไป ไม่ใช่หน่วยพิเศษ จะทำให้เขาสามารถแสดงดนตรีและสามารถเข้าถึงมหาชนได้[138] สื่อมวลชนตระหนักถึงอาชีพของเขาโดยการรายงานข่าว แต่โปรดิวเซอร์ค่ายอาร์ซีเอ สตีฟ โชลส์และเฟรดดี้ บีนสต็อก ได้เตรียมงานสำหรับการหายไป 2 ปีของเขา รวมถึงผลงานที่ไม่เคยออกที่ไหนมาก่อน และยังได้กระแสตอบรับ ประสบความสำเร็จอย่างดี[139] โดยปล่อยซิงเกิลติดชาร์ตท็อป 40 อย่าง "Wear My Ring Around Your Neck", เพลงขายดีอย่าง "Hard Headed Woman", และ "One Night" ในปี ค.ศ. 1958, และเพลง "(Now and Then There's) A Fool Such as I" รวมถึงเพลงอันดับ 1 "A Big Hunk o' Love" ในปี ค.ศ. 1959[140] อาร์ซีเอยังได้จัดการออกอัลบั้มรวมเพลงเก่า 4 อัลบั้มในช่วงนี้ ชุดที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ Elvis' Golden Records (1958) ที่ติดอันดับ 3 บนชาร์ตอัลบั้ม
มุ่งด้านภาพยนตร์ (1960–67)
แก้Elvis Is Back
แก้เพรสลีย์กลับสู่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1960 และได้รับยศสิบเอก เมื่อวันที่ 5 มีนาคม[141] เขาขึ้นขบวนรถไฟจากนิวเจอร์ซีย์ไปเทนเนสซี ซึ่งตลอดทางมีฝูงชนล้อมอย่างมากมาย และเพรสลีย์ได้ปรากฏตัวเพื่อหาแฟนคลับที่ปลายทาง.[142] เมื่อกลับถึงเมมฟิส เขาไม่ใช้เวลาให้เปล่าประโยชน์ กลับเข้าสตูดิโอโดยทันที บันทึกเสียงในเดือนมีนาคมและเมษายน กับซิงเกิลฮิตขายดี กับเพลงบัลลาด "It's Now or Never" และ "Are You Lonesome Tonight?", และอัลบั้ม Elvis Is Back! ที่มีหลาย ๆ เพลงที่กรีล มาร์คัส ได้อธิบายไว้ว่า "ภยันตราย ที่ขับผ่านอคูสติกกีตาร์ เล่นโดยสก็อตตี มัวร์ และแซกโซโฟนปีศาจของบูตส์ แรนดอล์ฟ และเอลวิสไม่ได้ร้องแบบเซ็กซี่ แต่มันโป๊เลย"[143] และการภาพรวมอัลบั้ม "ได้ร่ายมนต์ภาพของคนร้องให้สามารถเป็นทุกสิ่งทุกอย่างได้" ในคำพูดของนักประวัติศาสตร์ดนตรี จอห์น โรเบิร์ตสัน "ไอดอลวัยรุ่นเจ้าชู้คนนี้ กับชายที่เอาใจใส่ โผงผาง คนรักอันตราย นักร้องบลูส์-กัตบักเกต ผู้สร้างความบันเทิงในสถานกลางคืนมาช่ำชอง กับเสียงร้องห้าว ๆ"[144] อัลบั้มออกขายเพียง 1 วันหลังจากที่เสร็จสิ้นการบันทึกเสียง ติดอันดับ 2 บนชาร์ตอัลบั้ม
เพรสลีย์กลับมาในรายการโทรทัศน์เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม เป็นแขกในรายการ The Frank Sinatra Timex Special ยังออกรายการ Welcome Home Elvis บันทึกเทปเมื่อปลายเดือนมีนาคม เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่เพรสลีย์แสดงต่อหน้าผู้ชม พาร์กเกอร์ได้จ่ายค่าตัว $125,000 กับการร้องเพลงความยาว 8 นาที ที่ยังไม่เคยมีใครได้ยิน การออกอากาศครั้งนี้มีผู้ชมมากมายมหาศาล[145]
G.I. Blues อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแรกหลังจากที่เขากลับมา ติดอันดับ 1 ในเดือนตุลาคม และอัลบั้มเกี่ยวกับศาสนาอัลบั้มแรกของเขาที่ชื่อ His Hand in Mine ก็ออกใน 2 เดือนถัดมา ติดอันดับ 3 บนยูเอสป็อปชาร์ต และอันดับ 3 ในสหราชอาณาจักร เป็นอัลบั้มในแนวกอสเปล ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1961 เพรสลีย์แสดง 2 ครั้งในงานหารายได้ในเมมฟิส กับงานการกุศลท้องถิ่น 24 งาน ในช่วงงานเลี้ยงอาหารกลางวันก่อนงาน อาร์ซีเอได้มองแผ่นเพื่อแสดงยอดขายมากกว่า 75 ล้านชุดทั่วโลกให้กับเขา[146] เขาได้บันทึกเสียงนานกว่า 12 ชั่วโมงในแนชวิล ในช่วงกลางเดือนมีนาคม กับผลงานอัลบั้มถัดไปของเขา ชุด Something for Everybody[147] จอห์น โรเบิร์ตสัน บรรยายว่า เป็นตัวอย่างของดนตรีแนชวิล กับแนวที่กลั่นกรองและขัดเกลา ที่จำกัดความถึงดนตรีคันทรี ในคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นการทำนายถึงสิ่งที่จะออกมาจากเพรสลีย์ ในครึ่งทศวรรษถัดไป อัลบั้มนี้ "มีดนตรีที่เป็นงานผสมผสานทางศิลปะที่น่ายินดี และเป็นหนึ่งในสิ่งที่เอลวิสได้มาแต่เกิด"[148] เป็นอัลบั้มอันดับ 1 ชุดที่ 6 ของเขา เขายังได้ร่วมงานคอนเสิร์ตหารายได้ให้กับการรำลึกถึงเพิร์ลฮาร์เบอร์ ขึ้นแสดงบนเวทีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ในฮาวาย และเป็นการแสดงต่อสาธารณะครั้งสุดท้ายและจะไม่มีอีกนาน 7 ปี[149]
กับงานในฮอลลีวูด
แก้พาร์กเกอร์ ได้ผลักดันให้เพรสลีย์มีตารางงานในด้านแสดงภาพยนตร์อย่างหนัก มุ่งหนังตลาด และหนังเพลง-ตลก มีทุนสร้างโดยพอประมาณ เดิมทีเพรสลีย์ยืนยันว่าจะแสดงในบทหนัก ๆ แต่เมื่อหนัง 2 เรื่องที่เน้นแนวดราม่า อย่างเรื่อง Flaming Star (1960) และ Wild in the Country (1961) ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เขาจึงกลับมาแสดงในหนังตลาด ในหนัง 27 เรื่องที่เขาแสดงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 มีบางเรื่องที่เป็นแนวอื่นบ้าง[150] ผลงานแสดงภาพยนตร์ของเขา มีนักวิจารณ์วิจารณ์โดยรวมไว้ว่า "ปูชนียสถานที่มีรสนิยมแย่"[151] อย่างไรก็ตาม ก็มีคุณค่าสรรเสริญ ฮอล แวลลิส ที่สร้างหนังของเขา 9 เรื่อง ก็ประกาศไว้ว่า "ภาพของเพรสลีย์เป็นสิ่งเดียวที่แน่นอนในฮอลลีวูด"[152]
ผลงานภาพยนตร์ของเพรสลีย์ในคริสต์ทศวรรษ 1960 นั้นมี 15 เรื่องที่มีอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ และอีก 5 ชุดเป็นอีพีเพลงประกอบภาพยนตร์ โดยมีภาคผลิตภาพยนตร์และออกฉายอย่างรวดเร็ว เขาแสดงภาพยนตร์ 3 เรื่องใน 1 ปี ซึ่งมีผลต่อการทำงานดนตรีกับเขา จากข้อมูลของเจอร์รี ลีเบอร์ สูตรในการทำอัลบั้มประกอบภาพยนตร์นั้นเกิดขึ้นก่อนที่เพรสลีย์จะออกจากกองทัพเสียอีก คือสูตร "3 เพลง บัลลาด ,1 เพลง มีเดียม-เท็มโป, 1 เพลง อัปเท็มโป" และ 1 เพลง เบรกบลูส์บูกี"[153] คุณภาพของเพลงประกอบภาพยนตร์นั้นค่อย ๆ แย่ลงไปเรื่อย ๆ[154] จูลี แพร์ริช ที่แสดงใน Paradise, Hawaiian Style (1966) พูดว่า "เขาเกลียดหลายเพลงที่เลือกในภาพยนตร์ของเขา"[155] กอร์ดอน สโตเกอร์ จากเดอะจอร์แดนแนร์ส อธิบายว่า จะวางไมค์ลง "วัตถุดิบมันช่างแย่ เขารู้สึกว่าเขาไม่สามารถร้องเพลงได้"[156] อัลบั้มประกอบหนังส่วนมากของเขาจะมีเพลง 1-2 เพลงจากนักเขียนเพลงที่น่าเคารพอย่างทีมของ ด็อก โพมัส และ พอร์ต ชูแมน แต่ส่วนใหญ่แล้ว เจอร์รี ฮอปกินส์ ผู้เขียนหนังสือชีวประวัติเขา กล่าวว่า "เพลงเขียนออกมาจากการได้รับคำสั่งจากคนที่ไม่เข้าใจเอลวิสหรือร็อกแอนด์โรลเลย"[157] เขาไม่นึกถึงคุณภาพของเพลง โดยอ้างว่าเขาสามารถร้องเพลงได้ดีอยู่แล้ว[158] นักวิจารณ์ เดฟ มาร์ช เห็นในทางที่ต่างกัน "เพรสลีย์ไม่ได้พยายาม อาจเป็นไปได้ว่าเป็นการทำงานอย่างรวดเร็วที่ดีที่สุด โดยใช้หน้าของเขา อย่างในเพลง 'No Room to Rumba in a Sports Car' และ 'Rock-a-Hula Baby'"[110]
ในช่วงครึ่งแรกของทศวรรษ มี 3 อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ของเพรสลีย์ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตป็อป และมีเพลงยอดนิยมจากภาพยนตร์หลายเพลง เช่น "Can't Help Falling in Love" (1961) และ "Return to Sender" (1962) ส่วนเพลง "Viva Las Vegas" เพลงชื่อเดียวกับหนังนั้น โด่งดังเล็กน้อยในฐานะเพลงหน้าบี แต่ต่อมาก็โด่งดังในภายหลัง แต่เมื่องานทำออกมาโดยเน้นด้านศิลปะ ลดความเป็นตลาดลงไป ในช่วงระหว่าง 5 ปี (ค.ศ. 1964-1968) เพรสลีย์มีเพลงติดท็อป 10 เพียงเพลงเดียวคือ "Crying in the Chapel" (1965) เพลงที่บันทึกเสียงในปี ค.ศ. 1960 ส่วนอัลบั้มที่ไม่ใช่เพลงประกอบภาพยนตร์ ในระหว่างเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1962 เขาออกอัลบั้ม Pot Luck และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1968 ออกอัลบั้มประกอบรายการพิเศษทางโทรทัศน์ มีเพียง 1 อัลบั้มในฉบับใหม่ของเพรสลีย์ เป็นอัลบั้มในแนวกอสเปล คือชุด How Great Thou Art (1967) ทำให้เขาได้รับรางวัลแกรมมี่ครั้งแรกในชีวิต ในสาขาแสดงเกี่ยวกับศาสนายอดเยี่ยม The New Rolling Stone Album Guide เขียนเกี่ยวกับอัลบั้มนี้ว่า "อาจพิสูจน์ได้ว่า เขาเป็นนักร้องกอสเปลผิวขาวที่ยอดเยี่ยมที่สุดในเวลาของเขา ที่ค่อนถือว่าเป็นศิลปินร็อกแอนด์โรลคนสุดท้ายที่ทำเพลงกอสเปล ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการแสดงบุคลิกลักษณะด้านดนตรีของเขา ในด้านเกี่ยวกับเพลงของฆราวาส"[159]
ก่อนคริสต์มาส ค.ศ. 1966 เป็นเวลามากกว่า 7 ปีที่เพรสลีย์ได้พบกับพริสซิลลา โบลิยอ ครั้งแรก ทั้งคู่สมรสกับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1967 ในพิธีง่าย ๆ ในห้องสวีตที่โรงแรมอาละดินในลาสเวกัส[160] หนังตลาดและอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ใกล้ออก แต่ไม่ได้ออกจนกว่าเดือนตุลาคม ค.ศ. 1967 เมื่ออัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Clambake ถือเป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายต่ำในบรรดาอัลบั้มของเพรสลีย์ ผู้บริหารอาร์ซีเอลพูดถึงปัญหาว่า "ในช่วงเวลานั้น เกิดความพินาศขึ้น" คอนนี เคิร์ชเบิร์กและมาร์ก เฮนดริกซ์ นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า "เอลวิสถูกมองว่าเป็นตัวตลกของคนรักในเสียงดนตรีและเป็นอดีตไปแล้วสำหรับแฟนพันธุ์แท้ของเขา"[161]
กลับมา (1968–73)
แก้Elvis: รายการโทรทัศน์พิเศษ ใน ค.ศ. 1968
แก้ลิซ่า มารี เพรสลี่ย์ ลูกสาวคนเดียวของเพรสลี่ย์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 ในช่วงเวลาที่เขาไม่ค่อยมีความสุขกับอาชีพของเขา[162] เพลง 8 เพลงที่ปล่อยออกมาในช่วงระหว่างมกราคม ค.ศ.1967 ถึง พฤษภาคม ค.ศ.1968 มีเพียง 2 เพลงที่ติดท็อป 40 และไม่ถึงอันดับที่ 28[163] เพลงในอัลบั้ม Speedway ของเขาอยู่ที่อันดับ 82 ในบิลบอร์ดชาร์ต พาร์กเกอร์ได้เปลี่ยนแผนให้เขาออกรายการโทรทัศน์ หลังจากที่เขาไม่ได้กลับมาในรายการโทรทัศน์เลยหลังจาก Frank Sinatra Timex Special ใน ค.ศ. 1960 เขาได้ทำข้อตกลงกับ NBC ในการผลิตและออกอากาศในช่วงคริสต์มาส[164]
มีการบันทึกช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่เบอร์แบงก์ แคลิฟอร์เนีย เรียกชื่ออย่างง่ายๆว่า Elvis ออกอากาศเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ.1968 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น 68 Comeback Special เป็นการแสดงที่โดดเด่นในฉากของสตูดิโอร่วมกับวงดนตรีของเขาและผู้ชมจำนวนไม่มากนัก นับเป็นการแสดงสดครั้งแรกของเขาหลังจาก ค.ศ. 1961 เอลวิสปรากฏตัวด้วยชุดหนังสีดำ ร้องเพลงและเล่นกีตาร์อย่างเผ็ดร้อนเหมือนสมัยแรกๆของเขา บิล บีลิวส์ ผู้ออกแบบชุดนี้ได้ออกแบบให้มันปกสูงเหมือนนโปเลียน (เพรสลีย์ชอบใส่เสื้อปกสูงเพราะคิดว่าคอของเขายาวเกินไป) และกลายเป็นคุณลักษณะสำคัญในการออกแบบชุดของเพรสลีย์ในปีหลังๆ ผู้อำนวยการและผู้ช่วยโปรดิวเซอร์ สตีฟ บินเดอร์ ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างความมั่นใจและผลิตการแสดงทำให้ผลงานเสร็จหลายวันก่อนคริสต์มาส[165] ตามที่พาร์คเกอร์ได้วางแผนนไว้ การแสดงนี้มียอดชมสูงสุดในฤดูกาล มีผู้ชมถึง 42% จากยอดผู้ชมทั้งหมด[166] จอน แลนด้าจากนิตยสาร Eye กล่าวว่า "มีมนต์ขลังบางอย่างในการดูชายที่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง หาทางกลับบ้านของเขา เขาร้องเพลงโดยไร้พลังและไม่มีความหวังในความเป็นร็อคแอนด์โรล เขาขยับร่างกายของเขาอย่างขาดความสมดุล และพยายามทำให้จิม มอร์ริสันเกิดความอิจฉา"[167] แต่เดฟ มาร์ชได้เรียกการแสดงนี้ให้เป็นหนึ่งในความยิ่งใหญ่ทางอารมณ์และเสียงในประวัติศาสตร์[168]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1969 เพลง "If I Can Dream" ที่เขียนขึ้นเป็นพิเศษในอัลบั้มและสามารถติดท็อป 10 ได้ ตามที่เพื่อนของเขาเจอรี่ ชิลลิง ได้กล่าวถึงเขาว่า "เขาไม่ได้ทำแบบนี้มานานเป็นปี การที่เขาสามารถทำเพลงที่เหมาะกับเขาและไม่ได้ทำเพียงเพื่อประกอบภาพยนตร์อีก...เขาออกจากคุกแล้ว สหาย"[166] บินเดอร์ได้พูดถึงปฏิกิริยาของเพรสลีย์ว่า "ผมเล่น Elvis the 60-minute show และเขาบอกผมในห้องตรวจทานว่า 'สตีฟ นี่คือสิ่งที่ดีที่สุดที่ผมเคยทำในชีวิตของผม ผมขอบอกคุณอย่างนึง ผมไม่เคยร้องเพลงเลย ผมไม่เชื่ออย่างนั้น' "[166]
From Elvis In Memphis และการแสดงในโรงแรมอินเตอร์เนชันแนล
แก้เพรสลีย์ได้รับเชิญให้บันทึกเสียงที่อเมริกัน ซาวด์ สตูดิโอ ซึ่งต่อมาออกมาเป็นอัลบั้ม "From Elvis In Memphis" จัดจำหน่ายเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1969 เป็นอัลบั้มแรกของเขาในรอบ 8 ปีที่ไม่ใช้อัลบั้มประกอบภาพยนตร์ เดฟ มาร์ช ได้กล่าวถึงอัลบั้มนี้ว่า "เป็นผลงานชิ้นเด่นของเพรสลีย์ที่ทำให้เขากลับมาสู่กระแสได้อีกหลังเสียเวลาอย่างยาวนานกับงานภาพยนตร์ เขาร้องเพลงคันทรี่, เพลงโซลและร็อคด้วยความเชื่อมั่นที่แท้จริง เป็นผลงานที่น่าทึ่งมาก"[169]
เพรสลีย์ตั้งใจที่จะกลับมาทำการแสดงสดอีกครั้ง หลังจากความสำเร็จใน Comeback Special, มีข้อเสนอมาจากทั่วโลก London Palladium เสนอพาร์คเกอร์เป็นเงินมูลค่า $28,000 สำหรับการแสดงหนึ่งสัปดาห์[170] ในเดือนพฤษภาคม โรงแรมอินเตอร์เนชันแนลที่เปิดใหม่ในลาส เวกัส ที่มีห้องแสดงโชว์ใหญ่ที่สุดในเมือง ประกาศว่าได้จองตัวเพรสลีย์สำหรับการแสดง 57 รอบตลอด 4 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม มัวร์, ฟอนทานา, และเดอะ จอร์แดนแนร์ส ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมเพราะกลัวสูญเสีญรายได้จากงานในแนชวิล เพรสลีย์สร้างวงใหม่นำโดยนักกีต้าร์ เจมส์ เบอร์ตันและสองวงกอสเปล The Imperials และ The Sweet Inspirations[171] อย่างไรก็ตามเขารูสึกประหม่า เขาจดจำความผิดพลาดจากการแสดงที่ลาสเวกัสเมื่อปี 1956 ได้เป็นอย่างดี เพรสลีย์เข้าเยี่ยมชมห้องแสดงโชว์และห้องรับรองในลาสเวกัส ณ ที่นั้นเขาได้พบกับทอม โจนส์ ผู้มีสไตล์คล้ายคลึงกับเขาในยุค 50 ทั้งสองกลายเป็นเพื่อนกัน และเรียนคาราเต้ร่วมกัน เพรสลีย์ในจ้างให้บิล เบลิว เพื่อออกแบบชุดจั๊มสูทซึ่งจะเป็นชุดสำหรับการแสดงของเขา ในปีต่อมา พาร์คเกอร์ตั้งใจจะให้เพรสลีย์กลับมาสู่งานแสดงบนเวทีอย่างต่อเนื่อง มีการโปรโมตอย่างขันแข็ง เจ้าของโรงแรม Kirk Kerkorian จัดส่งเครื่องบินของเขาเองไปนิวยอร์กเพื่อทำข่าวการกลับมาแสดงสดของเพรสลีย์[172]
เพรสลีย์แสดงบนเวทีโดยไม่มีการแนะนำตัว ผู้ชมมากกว่า 2,200 คนซึ่งรวมไปถึงดาราดังพากันปรบมือหลังจากเขาร้องเพลง "Can't Help Falling in Love" (ซึ่งต่อมากลายเป็นเพลงปิดการแสดงของเขาในยุค 70's)[173] ในการแถลงข่าวหลังการแสดง เมื่อนักข่าวเรียกเขาว่า "เดอะ คิง" เขาชี้ไปที่แฟตส์ โดมิโน และพูดว่า "ไม่ครับ, เขาต่างหากคิงออฟร็อคแอนด์โรล"[174] วันต่อมา พาร์คเกอร์ทำข้อตกลงว่าจ้างเพรสลีย์สำหรับการแสดงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และสิงหาคม เป็นเวลา 5 ปี มูลค่าถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี[175] นิวส์วีคกล่าวว่า "มีหลายสิ่งที่ไม่น่าเชื่อสำหรับเอลวิส แต่สิ่งที่ไม่น่าเชื่อที่สุดคืออำนาจของเขาในอาชีพมันเปรียบเสมือนดาวจรัสแสง"[176] โรลลิงสโตนเรียกเพรสลีย์ว่า "การคืนชีพในวงการที่เหนือธรรมชาติ"[177] ในเดือนพฤศจิกายน ภาพยนตร์ที่เพรสลีย์แสดงเรื่องสุดท้ายในชื่อ "Change of Habit" เข้าฉาย อัลบั้ม "From Memphis To Vegas/From Vegas" ออกจำหน่ายในเดือนเดียวกัน ซึ่งเป็นอัลบั้มแรกที่บันทึกเสียงจากการแสดงสดของเขาในโรงแรมอินเตอร์เนชันแนล ซิงเกิลจากงานบันทึกเสียงที่อเมริกัน ซาวด์ สตูดิโอ "Suspicious Minds" ขึ้นสู่อันดับ 1 ในบิลบอร์ดฮอต 100 ในรอบ 7 ปีและเป็นซิงเกิลสุดท้ายของเขาที่ขึ้นอันดับ 1 ของชาร์ตนี้[178]
คาสซานดรา ปีเตอร์สัน ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าของรายการ Elvira พบกับเพรสลีย์ในช่วงนี้ ขณะที่เธอกำลังทำงานเป็นนักแสดงสาวที่ลาส เวกัส พูดถึงเพรสลีย์ว่า "เขาเป็นคนต่อต้านยาเสพติด เมื่อฉันพบเขาและบอกเขาว่าฉันสูบกัญชา เขาเตือนเธอว่า "อย่าสูบมันอีก" "[179] เพรสลีย์ไม่เพียงแค่ต่อต้านสารเสพติด เขาเป็นคนไม่ชอบดื่มสุรา ครอบครัวของเขาเคยมีปัญหาการติดสุรามาก่อนทำให้เขาตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยง[180]
กลับสู่ทัวร์ และ พบกับนิกสัน
แก้ในปี พ.ศ. 2512 เอลวิสได้รับเชิญให้ไปเปิดการแสดง ที่โรงแรมอินเตอร์เนชันแนล ในลาสเวกัสที่เพิ่งสร้างเสร็จ และมีห้องประชุมที่ใหญ่ที่สุดในเมือง โดยเขาได้เปิดการแสดงถึง 57 รอบ ภายในระยะเวลาเพียง 4 สัปดาห์ และการแสดงในครั้งนี้ ก็มีผู้เข้าชมมากเป็นประวัติการณ์ หลังจากนั้น เขาก็ได้เปิดการแสดงในที่ต่างๆ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากทุกครั้ง
หย่าร้าง และ Aloha from Hawaii
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สุขภาพเสื่อมโทรมและวาระสุดท้าย (1973–77)
แก้วิกฤตสุขภาพและงานสตูดิโอครั้งสุดท้าย
แก้ในช่วงปี พ.ศ. 2516 เอลวิสประสบปัญหาเรื่องสุขภาพ เคยถูกนำส่งโรงพยาบาล ด้วยโรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ นอกจากต้องต่อสู้กับโรค ที่สะสมมาเป็นระยะเวลานานแล้ว เขายังต่อสู้กับน้ำหนักตัว ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระนั้นเขาก็ยังตระเวนเปิดการแสดง ตามคำเรียกร้องของแฟนเพลง ตามเมืองต่างๆ อยู่เสมอ
ปีสุดท้ายและเสียชีวิต
แก้วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2520 เวลาหลังเที่ยงคืน หลังจากที่เอลวิสไปพบทันตแพทย์ในช่วงเช้า แฟนสาวของเขาก็พบเอลวิสนอนหมดสติอยู่ภายในห้องน้ำ ซึ่งเป็นการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ที่คฤหาสน์เกรสแลนด์ของเขาเอง ด้วยวัยเพียง 42 ปี และข่าวนี้ก็สร้างความตกตะลึงและเสียใจอย่างยิ่งแก่แฟนเพลงทั่วโลก
ชีวิตส่วนตัว
แก้สำหรับชีวิตครอบครัวนั้น เอลวิสได้แต่งงานกับพริสซิล่า เมื่อ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1973 และมีลูกสาวด้วยกัน 1 คนคือ ลิซ่า มารี เพรสลี่ย์ แต่ต่อมาทั้งคู่ก็ได้หย่าขาดจากกันในปี ค.ศ. 1973 และต่อมาเอลวิสพบรักใหม่กับลินดา ทอมสัน และใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันจนกระทั่งปลายปี ค.ศ. 1976
ผลงานเพลง
แก้อัลบั้มอันดับหนึ่ง
แก้ปี | อัลบั้ม | รูปแบบ | ตำแหน่งสูงสุด | ||
---|---|---|---|---|---|
US[181] | US Country[182] | UK[183][184] | |||
1956 | Elvis Presley | studio/comp. | 1 | n.a. | 1 |
Elvis | studio | 1 | n.a. | 3 | |
1957 | Loving You | sound./studio | 1 | n.a. | 1 |
Elvis' Christmas Album | studio | 1 | n.a. | 2 | |
1960 | Elvis Is Back! | studio | 2 | n.a. | 1 |
G.I. Blues | soundtrack | 1 | n.a. | 1 | |
1961 | Something for Everybody | studio | 1 | n.a. | 2 |
Blue Hawaii | soundtrack | 1 | n.a. | 1 | |
1962 | Pot Luck | studio | 4 | n.a. | 1 |
1964 | Roustabout | soundtrack | 1 | — | 12 |
1969 | From Elvis in Memphis | studio | 13 | 2 | 1 |
1973 | Aloha from Hawaii: Via Satellite | live | 1 | 1 | 11 |
1974 | Elvis: A Legendary Performer Volume 1 | compilation | 43 | 1 | 20 |
1975 | Promised Land | studio | 47 | 1 | 21 |
1976 | From Elvis Presley Boulevard, Memphis, Tennessee | studio | 41 | 1 | 29 |
1977 | Elvis' 40 Greatest | compilation | — | — | 1 |
Moody Blue | studio/live | 3 | 1 | 3 | |
Elvis in Concert | live | 5 | 1 | 13 | |
2002 | ELV1S: 30 #1 Hits | compilation | 1 | 1 | 1 |
2007 | The King | compilation | — | — | 1 |
ซิงเกิลอันดับหนึ่ง
แก้ปี | ซิงเกิล | ตำแหน่งสูงสุด | ||
---|---|---|---|---|
US[185] | US Country[186] | UK[183][184] | ||
1956 | "I Forgot to Remember to Forget" | — | 1 | — |
"Heartbreak Hotel" | 1 | 1 | 2 | |
"I Want You, I Need You, I Love You" | 1 | 1 | 14 | |
"Don't Be Cruel" | 1 | 1 | 2 | |
"Hound Dog" | 1 | 1 | 2 | |
"Love Me Tender" | 1 | 3 | 11 | |
1957 | "Too Much" | 1 | 3 | 6 |
"All Shook Up" | 1 | 1 | 1 | |
"(Let Me Be Your) Teddy Bear" | 1 | 1 | 3 | |
"Jailhouse Rock" | 1 | 1 | 1 | |
1958 | "Don't" | 1 | 2 | 2 |
"Hard Headed Woman" | 1 | 2 | 2 | |
1959 | "One Night"/"I Got Stung" | 4/8 | 24/— | 1 |
"A Fool Such as I"/"I Need Your Love Tonight" | 2/4 | — | 1 | |
"A Big Hunk o' Love" | 1 | — | 4 | |
1960 | "Stuck on You" | 1 | 27 | 3 |
"It's Now or Never" | 1 | — | 1 | |
"Are You Lonesome Tonight?" | 1 | 22 | 1 | |
1961 | "Wooden Heart" | — | — | 1 |
"Surrender" | 1 | — | 1 | |
"(Marie's the Name) His Latest Flame"/"Little Sister" | 4/5 | — | 1 | |
1962 | "Can't Help Falling in Love"/"Rock-A-Hula Baby" | 2/23 | — | 1 |
"Good Luck Charm" | 1 | — | 1 | |
"She's Not You" | 5 | — | 1 | |
"Return to Sender" | 2 | — | 1 | |
1963 | "(You're The) Devil in Disguise" | 3 | — | 1 |
1965 | "Crying in the Chapel" | 3 | — | 1 |
1969 | "Suspicious Minds" | 1 | — | 2 |
1970 | "The Wonder of You" | 9 | 37 | 1 |
1977 | "Moody Blue" | 31 | 1 | 6 |
"Way Down" | 18 | 1 | 1 | |
1981 | "Guitar Man" (reissue) | 28 | 1 | 43 |
2002 | "A Little Less Conversation" (JXL remix) | 50 | — | 1 |
2005 | "Jailhouse Rock" (reissue) | — | — | 1 |
"One Night"/"I Got Stung" (reissue) | — | — | 1 | |
"It's Now or Never" (reissue) | — | — | 1 |
เชิงอรรถ
แก้- ↑ Victor 2008, p. 10.
- ↑ Reaves 2002.
- ↑ Victor 2008, pp. 438–39.
- ↑ Semon & Jorgensen 2001.
- ↑ Collins 2002.
- ↑ Guralnick 1994, p. 13–14.
- ↑ Dundy 2004, pp. 13, 16, 20–22, 26.
- ↑ Guralnick 1994, p. 11–12, 23–24.
- ↑ Victor 2008, p. 419.
- ↑ Guralnick 1994, p. 12–14.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 15–16.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 17–18.
- ↑ Guralnick 1994, p. 19.
- ↑ Dundy 2004, p. 101.
- ↑ Guralnick 1994, p. 23.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 23–26.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 19–21.
- ↑ Dundy 2004, pp. 95–96.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 32–33.
- ↑ Guralnick 1994, p. 36.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 35–38.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 40–41.
- ↑ Stanley & Coffey 1998, p. 20.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 43, 44, 49.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 44, 46, 51.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 52–53.
- ↑ 27.0 27.1 Guralnick 1994, p. 171.
- ↑ 28.0 28.1 Matthew-Walker 1979, p. 3.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 46–48, 358.
- ↑ Wadey 2004.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 47–48, 77–78.
- ↑ Guralnick 1994, p. 51.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 38–40.
- ↑ Guralnick 2004.
- ↑ Bertrand 2000, p. 205.
- ↑ Szatmary 1996, p. 35.
- ↑ Guralnick 1994, p. 54.
- ↑ Jorgensen 1998, p. 8.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 62–64.
- ↑ Guralnick 1994, p. 65.
- ↑ Guralnick 1994, p. 77.
- ↑ Cusic 1988, p. 10.
- ↑ Guralnick 1994, p. 80.
- ↑ Guralnick 1994, p. 83.
- ↑ Miller 2000, p. 72.
- ↑ Jorgensen 1998, pp. 10–11.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 94–97.
- ↑ Ponce de Leon 2007, p. 43.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 100–1.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 102–4.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 105, 139.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 106, 108–11.
- ↑ 53.0 53.1 Guralnick 1994, p. 110.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 117–27, 131.
- ↑ Guralnick 1994, p. 119.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 128–30.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 127–28, 135–42.
- ↑ Burke & Griffin 2006, pp. 61, 176.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 152, 156, 182.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 144, 159, 167–68.
- ↑ Nash 2003, pp. 6–12.
- ↑ Guralnick 1994, p. 163.
- ↑ Bertrand 2000, p. 104.
- ↑ Hopkins 2007, p. 53.
- ↑ Guralnick & Jorgensen 1999, p. 45.
- ↑ Jorgensen 1998, p. 29.
- ↑ Rogers 1982, p. 41.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 217–19.
- ↑ Jorgensen 1998, p. 31.
- ↑ Stanley & Coffey 1998, pp. 28–29.
- ↑ Escott 1998, p. 421.
- ↑ Jorgensen 1998, pp. 36, 54.
- ↑ Stanley & Coffey 1998, p. 29.
- ↑ Guffey 2006, p. 127.
- ↑ Miles et al 2008, p. 32.
- ↑ 76.0 76.1 76.2 Stanley & Coffey 1998, p. 30.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 235–36.
- ↑ Slaughter & Nixon 2004, p. 21.
- ↑ Guralnick & Jorgensen 1999, pp. 50, 54, 64.
- ↑ Hilburn 2005.
- ↑ Rodman 1996, p. 28.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 262–63.
- ↑ Guralnick 1994, p. 267.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 274.
- ↑ 85.0 85.1 Victor 2008, p. 315.
- ↑ Guralnick & Jorgensen 1999, pp. 72–73.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 273, 284.
- ↑ Fensch 2001, pp. 14–18.
- ↑ 89.0 89.1 Burke & Griffin 2006, p. 52.
- ↑ Jorgensen 1998, p. 49.
- ↑ Gould 1956.
- ↑ 92.0 92.1 Guralnick & Jorgensen 1999, p. 73.
- ↑ 93.0 93.1 93.2 93.3 93.4 Marcus 2006.
- ↑ Marsh 1982, p. 100.
- ↑ Austen 2005, p. 13.
- ↑ Allen 1992, p. 270.
- ↑ Keogh 2004, p. 73.
- ↑ Jorgensen 1998, p. 51.
- ↑ Guralnick & Jorgensen 1999, pp. 80–81.
- ↑ Whitburn 1993, p. 5.
- ↑ 101.0 101.1 Austen 2005, p. 16.
- ↑ Edgerton 2007, p. 187.
- ↑ Brown & Broeske 1997, p. 93.
- ↑ Guralnick 1994, p. 338.
- ↑ 105.0 105.1 Gibson 2005.
- ↑ 106.0 106.1 Victor 2008, p. 439.
- ↑ Jezer 1982, p. 281.
- ↑ Moore & Dickerson 1997, p. 175.
- ↑ Guralnick 1994, p. 343.
- ↑ 110.0 110.1 Marsh 1980, p. 395.
- ↑ Palladino 1996, p. 131.
- ↑ Stanley & Coffey 1998, p. 37.
- ↑ Clayton & Heard 2003, pp. 117–18.
- ↑ Keogh 2004, p. 90.
- ↑ Guralnick & Jorgensen 1999, p. 95.
- ↑ Salisbury 1957, p. 4.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 395–97.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 406–8, 452.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 399–402, 428–30, 437–40.
- ↑ 120.0 120.1 Guralnick 1994, p. 400.
- ↑ Guralnick 1994, p. 430.
- ↑ Turner 2004, p. 104.
- ↑ Guralnick 1994, p. 437.
- ↑ Guralnick 1994, p. 431.
- ↑ Freierman 2008.
- ↑ Grein 2008.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 448–49.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 461–74.
- ↑ Victor 2008, p. 27.
- ↑ Guralnick 1994, pp. 464–65.
- ↑ Guralnick 1994, p. 466–67.
- ↑ Guralnick 1994, p. 474–80.
- ↑ Ponce de Leon 2007, p. 115.
- ↑ Guralnick 1999, p. 21.
- ↑ Guralnick 1999, pp. 47, 49, 55, 60, 73.
- ↑ Clayton & Heard 2003, p. 160.
- ↑ Victor 2008, p. 415.
- ↑ Presley 1985, p. 40.
- ↑ Jorgensen 1998, p. 107.
- ↑ Whitburn 2004, p. 501.
- ↑ Slaughter & Nixon 2004, p. 54.
- ↑ Matthew-Walker 1979, p. 19.
- ↑ Marcus 1982, pp. 279–80.
- ↑ Robertson 2004, p. 50.
- ↑ Guralnick 1999, pp. 44, 62–63.
- ↑ Gordon 2005, pp. 110, 114.
- ↑ Jorgensen 1998, p. 148.
- ↑ Robertson 2004, p. 52.
- ↑ Gordon 2005, pp. 110, 119.
- ↑ Ponce de Leon 2007, p. 133.
- ↑ Caine 2005, p. 21.
- ↑ Fields 2007.
- ↑ Guralnick 1994, p. 449.
- ↑ Kirchberg & Hendrickx 1999, p. 67.
- ↑ Lisanti 2000, pp. 19, 136.
- ↑ Jorgensen 1998, p. 201.
- ↑ Hopkins 2002, p. 32.
- ↑ Matthew-Walker 1979, p. 66.
- ↑ Brackett & Hoard 2004, p. 650.
- ↑ Guralnick 1999, pp. 261–63.
- ↑ Kirchberg & Hendrickx 1999, p. 73.
- ↑ Guralnick 1999, p. 171.
- ↑ Whitburn 2004, pp. 502–03.
- ↑ Kubernick 2008, p. 4.
- ↑ Guralnick 1999, pp. 293, 296.
- ↑ 166.0 166.1 166.2 Kubernick 2008, p. 26.
- ↑ Hopkins 2007, p. 215.
- ↑ Marsh 2004, p. 649.
- ↑ Marsh 1980, p. 396.
- ↑ Gordon 2005, p. 146.
- ↑ Jorgensen 1998, p. 283.
- ↑ Guralnick 1999, pp. 346–47.
- ↑ Gordon 2005, pp. 149–50.
- ↑ Cook 2004, p. 39.
- ↑ Guralnick & Jorgensen 1999, pp. 259, 262.
- ↑ Moyer 2002, p. 73.
- ↑ Jorgensen 1998, p. 287.
- ↑ Whitburn, Joel (2010). The Billboard Book of Top 40 Hits (9 ed.). Billboard Books. pp. 520–21. ISBN 9780823085545.
- ↑ Stein 1997.
- ↑ Mason 2007, p. 81.
- ↑ Whitburn 2007.
- ↑ Whitburn 2008.
- ↑ 183.0 183.1 Warwick et al 2004, pp. 860–66.
- ↑ 184.0 184.1 everyHit.com 2009.
- ↑ Whitburn 2004, pp. 500–4.
- ↑ Whitburn 2006, pp. 271–73.
อ้างอิง
แก้- Adelman, Kim. The Girls' Guide to Elvis: The Clothes, the Hair, the Women, and More! Random House; 2002. ISBN 0767911881.
- Allen, Steve. Hi-Ho, Steverino!: My Adventures in the Wonderful Wacky World of TV. Thorndike Press; 1992. ISBN 1560545216.
- Arnett, Jeffrey Jensen. Adolescence and Emerging Adulthood: A Cultural Approach. 3rd ed. Pearson Prentice Hall; 2006. ISBN 0131950711.
- Ashley, Martin. How High Should Boys Sing? Ashgate; 2009. ISBN 978-0754664758.
- The Top 100. The Atlantic Monthly. December 2006 [cited December 29, 2009].
- Austen, Jake. TV-A-Go-Go: Rock on TV from American Bandstand to American Idol. Chicago Review Press; 2005. ISBN 1556525729.
- Baden, Michael M.; Hennessee, Judith Adler. Unnatural Death: Confessions of a Medical Examiner. Ballantine; 1990. ISBN 0804105995.
- The Beatles. The Beatles Anthology. Chronicle Books; 2000. ISBN 0811826848.
- Bertrand, Michael T. Race, Rock, and Elvis. University of Illinois Press; 2000. ISBN 0252025865.
- In: Brackett, Nathan; Hoard, Christian, editors. The New Rolling Stone Album Guide. 4th ed. Simon and Schuster; 2004. ISBN 0743201698.
- Bronson, Fred. Chart Beat. Billboard. July 3, 2004.
- Brown, Peter Harry; Broeske, Pat H. Down at the End of Lonely Street: The Life and Death of Elvis Presley. Signet; 1997. ISBN 0451190947.
- Burke, Ken; Griffin, Dan. The Blue Moon Boys: The Story of Elvis Presley's Band. Chicago Review Press; 2006. ISBN 1556526148.
- Caine, Andrew. Interpreting Rock Movies: The Pop Film and Its Critics in Britain. Palgrave Macmillan; 2005. ISBN 0719065380.
- Caulfield, Keith. The King of Crossover's No. 1 Hits. Billboard. September 18, 2004.
- Clayton, Dick; Heard, James. Elvis: By Those Who Knew Him Best. Virgin Publishing; 2003. ISBN 0753508354.
- CMT. 40 Greatest Men in Country Music; 2005 [cited December 29, 2009].
- Collins, Dan. CBS News/Associated Press. How Big Was The King?; August 7, 2002 [cited December 27, 2009].
- Connelly, Charlie. In Search of Elvis: A Journey to Find the Man Beneath the Jumpsuit. Little, Brown; 2008. ISBN 0349119007.
- Cook, Jody. Graceland National Historic Landmark Nomination Form [PDF]. United States Department of the Interior; 2004.
- Cusic, Don. Singing with the King. Rejoice! The Gospel Music Magazine. Summer 1988.
- Denisoff, R. Serge. Solid Gold: The Popular Record Industry. Transaction Books; 1975. ISBN 0878555862.
- Discovery Channel. Greatest American; 2005 [cited December 29, 2009].
- Doss, Erika Lee. Elvis Culture: Fans, Faith, and Image. University of Kansas Press; 1999. ISBN 0700609482.
- Dundy, Elaine. Elvis and Gladys. 2nd ed. University Press of Mississippi; 2004. ISBN 1578066344.
- Dyer, Peter John. The Teenage Rave. Sight and Sound. Winter 1959–60.
- Edgerton, Gary R. The Columbia History of American Television. Columbia University Press; 2007. ISBN 0231121652.
- Escott, Colin. Elvis Presley. In: Kingsbury, Paul, editor. The Encyclopedia of Country Music. Oxford University Press; 1998. ISBN 0195176081.
- EveryHit. UK Top 40 Hit Database; 2009 [cited December 28, 2009].
- EveryHit. The 'Battle' For Most Number 1s; 2010a [cited January 20, 2010].
- EveryHit. Record Breakers and Trivia: Singles: Artists: Sales/Chart Performance; 2010b [cited January 20, 2010].
- Farmer, Brett. Spectacular Passions: Cinema, Fantasy, Gay Male Spectatorships. 2nd ed. Duke University Press; 2000. ISBN 0822325896.
- Feeney, Mark. Elvis at 75: Can We Ever Again See the Performer, Not the Punch Line? Boston Globe. January 3, 2010 [cited February 1, 2010].
- Fensch, Thomas. The FBI Files on Elvis Presley. New Century Books; 2001. ISBN 0930751035.
- Fields, Curt. A Whole Lotta Elvis Is Goin' to the Small Screen. Washington Post. August 3, 2007 [cited December 27, 2009].
- Friedlander, Paul. Rock and Roll: A Social History. Westview; 1996. ISBN 0813327253.
- Freierman, Shelly. Popular Demand. The New York Times. January 7, 2008 [cited January 1, 2010].
- Garber, Marjorie. Vested Interests: Cross-Dressing and Cultural Anxiety. Routledge; 1997. ISBN 0415919517.
- Gibson, Christine. Elvis on Ed Sullivan: The Real Story. American Heritage. December 6, 2005 [archived 2009-09-24; cited December 31, 2009].
- Gillett, Charlie. The Five Styles of Rock'n'Roll. In: McKeen, William, editor. Rock and Roll Is Here To Stay: An Anthology. W.W. Norton; 2000. ISBN 0393047008.
- Top-Earning Dead Celebrities. Forbes. October 29, 2007 [archived 2008-06-11; cited January 5, 2010].
- Gordon, Robert. The King on the Road. Bounty Books; 2005. ISBN 0753710889.
- Gould, Jack. TV: New Phenomenon—Elvis Presley Rises to Fame as Vocalist Who Is Virtuoso of Hootchy-Kootchy. The New York Times. June 6, 1956 [cited December 31, 2009].
- Grein, Paul. Yahoo! Music. Chart Watch Extra: The Top 40 Christmas Albums; December 5, 2008 [archived 2008-12-17; cited February 1, 2010].
- Guffey, Elizabeth E. Retro: The Culture of Revival. Reaktion; 2006. ISBN 186189290X.
- Guralnick, Peter. How Did Elvis Get Turned Into a Racist? The New York Times. January 8, 2004 [cited August 11, 2007].
- Guralnick, Peter. Last Train to Memphis: The Rise of Elvis Presley. Little, Brown; 1994. ISBN 0316332259.
- Guralnick, Peter. Careless Love: The Unmaking of Elvis Presley. Back Bay Books; 1999. ISBN 0316332976.
- Guralnick, Ernst; Jorgensen. Elvis Day by Day: The Definitive Record of His Life and Music. Ballantine; 1999. ISBN 0345420896.
- Harris, John. Talking about Graceland. The Guardian. March 27, 2006 [cited January 4, 2010].
- Higginbotham, Alan. Doctor Feelgood. The Observer. August 11, 2002 [cited December 29, 2009].
- Hilburn, Robert. From the Man Who Would Be King. Los Angeles Times. February 6, 2005 [cited January 4, 2010].
- Hilburn, Robert. This Fan of Charts Is No. 1, with a Bullet. Los Angeles Times. October 30, 2007 [cited January 17, 2010].
- Hopkins, Jerry. Elvis: The Final Years. Berkley; 1986. ISBN 0425089991.
- Hopkins, Jerry. Elvis in Hawaii. Bess Press; 2002. ISBN 1573061425.
- Hopkins, Jerry. Elvis—The Biography. Plexus; 2007. ISBN 0859653919.
- Humphries, Patrick. Elvis the #1 Hits: The Secret History of the Classics. Andrews McMeel Publishing; 2003. ISBN 978-0740738036.
- Jezer, Marty. The Dark Ages: Life in the United States 1945–1960. South End Press; 1982. ISBN 978-0896081277.
- Jorgensen, Ernst. Elvis Presley—A Life in Music: The Complete Recording Sessions. St Martin's Press; 1998. ISBN 0312185723.
- Keogh, Pamela Clarke. Elvis Presley: The Man, The Life, The Legend. Simon and Schuster; 2004. ISBN 0743456033.
- Kirchberg, Connie; Hendrickx, Marc. Elvis Presley, Richard Nixon, and the American Dream. McFarland; 1999. ISBN 0786407166.
- Kolawole, Helen. He Wasn't My King. The Guardian. August 15, 2002 [cited December 27, 2009].
- Kubernick, Harvey. The Complete '68 Comeback Special. CD Booklet RCA/BMG. UPC 88697306262; 2008.
- Lisanti, Tom. Fantasy Femmes of 60's Cinema: Interviews with 20 Actresses from Biker, Beach, and Elvis Movies. McFarland; 2000. ISBN 0786408685.
- Lott, Eric. All the King's Men: Elvis Impersonators and White Working-Class Masculinity. In: Stecopoulos, Harry; Uebel, Michael, editors. Race and the Subject of Masculinities. Duke University Press; 1997. ISBN 0822319667.
- Marcus, Greil. Mystery Train: Images of America in Rock 'n' Roll Music. Revised ed. E.P. Dutton; 1982. ISBN 052547708X.
- Marcus, Greil. Elvis Presley: The Ed Sullivan Shows. DVD Booklet Image Entertainment. UPC 01438137302; 2006 [cited February 1, 2010].
- Marsh, Dave. Elvis Presley. In: Marsh, Dave; Swenson, John, editors. The Rolling Stone Record Guide. 2nd ed. Virgin; 1980. ISBN 0907080006.
- Marsh, Dave. Elvis. Times Books; 1982. ISBN 081290947X.
- Marsh, Dave. The Heart of Rock & Soul: The 1001 Greatest Singles Ever Made. Da Capo; 1999. ISBN 030680901X.
- Masley, Ed. It's Good To Be King. Pittsburgh Post-Gazette. August 15, 2002 [cited January 31, 2010].
- Mason, Bobbie Ann. Elvis Presley. Penguin; 2007. ISBN 0143038893.
- Matthew-Walker, Robert. Elvis Presley. A Study in Music. Midas Books; 1979. ISBN 0859361624.
- Mawer, Sharon. The Official UK Charts Company. Album Chart History—1974; 2007a [cited February 1, 2010].
- Mawer, Sharon. The Official UK Charts Company. Album Chart History—1977; 2007b [cited February 1, 2010].
- Miles, Barry; Scott, Grant; Morgan, Johnny. The Greatest Album Covers of All Time. Collins & Brown; 2008. ISBN 1843404818.
- Miller, James. Flowers in the Dustbin: The Rise of Rock and Roll, 1947–1977. Fireside; 2000. ISBN 0684865602.
- Moore, Scotty; Dickerson, James. That's Alright, Elvis. Schirmer Books; 1997. ISBN 0028645995.
- Moyer, Susan M. Elvis: The King Remembered. Sports Publishing LLC; 2002. ISBN 1582615586.
- Myrie, Russell. Don't Rhyme for the Sake of Riddlin': The Authorized Story of Public Enemy. Cannongate; 2009. ISBN 1847671829.
- Nash, Alanna. The Colonel: The Extraordinary Story of Colonel Tom Parker and Elvis Presley. Simon and Schuster; 2003. ISBN 0743213017.
- Nash, Alanna, et al. Elvis and the Memphis Mafia. Aurum; 2005. ISBN 1845131282.
- National Park Service. Graceland; 2010 [archived 2011-12-30; cited January 7, 2010].
- Long Live the King. The New York Times. August 16, 2002 [archived 2008-01-19; cited December 30, 2009].
- Palladino, Grace. Teenagers: An American History. Westview; 1996. ISBN 046500766X.
- Pendergast, Sara; Pendergast, Tom. St. James Encyclopedia of Popular Culture. 4th ed. St. James Press; 2000. ISBN 155862404X.
- Pilgrim, David. Jim Crow Museum at Feris State University. Question of the Month: Elvis Presley and Racism; March 2006 [archived 2012-01-06; cited December 28, 2009].
- Pleasants, Henry. Elvis Presley. In: Frith, Simon, editor. Popular Music: Critical Concepts in Media and Cultural Studies, Volume 3: Popular Music Analysis. Routledge; 2004. ISBN 0415332699.
- Pomerantz, Dorothy; Lacey, Rose; Streib, Lauren; Thibault, Marie. Top-Earning Dead Celebrities. Forbes. October 27, 2009 [cited January 5, 2010].
- Ponce de Leon, Charles L. Fortunate Son: The Life of Elvis Presley. Macmillan; 2007. ISBN 0809016419.
- Presley, Priscilla. Elvis and Me. G.P. Putnam's Sons; 1985. ISBN 0399129847.
- Ramsland, Katherine. TruTV. Cyril Wecht: Forensic Pathologist—Coverup for a King; 2010 [cited January 4, 2010].
- Reaves, Jessica. Person of the Week: Elvis Presley. Time. August 15, 2002 [archived 2011-09-17; cited December 26, 2009].
- Recording Industry Association of America. Top 100 Albums; 2010 [cited January 31, 2010].
- Robertson, John. Elvis Presley: The Complete Guide to His Music. Omnibus Press; 2004. ISBN 1844497119.
- Rodman, Gilbert B. Elvis After Elvis, The Posthumous Career of a Living Legend. Routledge; 1996. ISBN 0415110025.
- Rogers, Dave. Rock 'n' Roll. Routledge & Kegan Paul; 1982. ISBN 0710009380.
- The Immortals: The First Fifty. Rolling Stone. April 15, 2004 [archived 2008-06-25; cited December 29, 2009].
- 1969 Rolling Stone Covers. Rolling Stone. 2009 [archived 2008-07-05; cited December 24, 2009].
- Roy, Samuel. Elvis: Prophet of Power. Branden; 1985. ISBN 0828318980.
- In: Sadie, Stanley, editor. The Norton/Grove Concise Encyclopedia of Music. Revised ed. W.W. Norton; 1994. ISBN 0393037533.
- Salisbury, Harrison. Presley Records a Craze in Soviet. The New York Times. February 3, 1957.
- Scherman, Tony. Elvis Dies. American Heritage. August 16, 2006 [archived 2009-03-27; cited December 29, 2009].
- Semon, Roger; Jorgensen, Ernst. Elvis.com. Is Elvis the Biggest Selling Recording Artist?; February 12, 2001 [cited December 26, 2009].
- BBC. Sinatra Is Voice of the Century; April 18, 2001 [cited December 29, 2009].
- Slaughter, Todd; with Anne E. Nixon. The Elvis Archives. Omnibus Press; 2004. ISBN 1844493806.
- Stanley, David; Coffey, Frank. The Elvis Encyclopedia. Virgin Books; 1998. ISBN 0753502933.
- Stein, Ruthe. Girls! Girls! Girls! San Francisco Chronicle. August 3, 1997 [cited December 29, 2009].
- Szatmary, David. A Time to Rock: A Social History of Rock 'n' Roll. Schirmer Books; 1996. ISBN 0028646703.
- Tasker, Yvonne. Cowgirl Tales. In: Codell, Julie F., editor. Genre, Gender, Race, and World Cinema: An Anthology. Blackwell; 2007. ISBN 1405132329.
- Turner, John Frayn. Frank Sinatra. Taylor Trade Publications; 2004. ISBN 1589791452.
- 100 Icons of the Century. Variety. 2005 [cited December 29, 2009].
- VH1. 100 Greatest Artists of Rock & Roll; 1998 [cited December 29, 2009].
- Victor, Adam. The Elvis Encyclopedia. Overlook Duckworth; 2008. ISBN 1585675989.
- Wadey, Paul. Jake Hess. The Independent. January 8, 2004 [archived 2010-07-13; cited December 28, 2009].
- Warwick, Neil; Kutner, Jon; Brown, Tony. The Complete Book of the British Charts: Singles & Albums. 3rd ed. Omnibus Press; 2004. ISBN 1844490580.
- Waters, Lindsay. Come Softly, Darling, Hear What I Say: Listening in a State of Distraction—A Tribute to the Work of Walter Benjamin, Elvis Presley, and Robert Christgau. Boundary 2. Spring 2003.
- Whitburn, Joel. Billboard Top 1000 Singles 1955–1992. Billboard Books; 1993. ISBN 079352072X.
- Whitburn, Joel. The Billboard Book of Top 40 Hits. 8th ed. Billboard Books; 2004. ISBN 0823074994.
- Whitburn, Joel. The Billboard Book of Top 40 Country Hits. 2nd ed. Billboard Books; 2006. ISBN 0823082911.
- Whitburn, Joel. Joel Whitburn Presents the Billboard Albums. 6th ed. Record Research; 2007. ISBN 0898201667.
- Whitburn, Joel. Joel Whitburn Presents Hot Country Albums: Billboard 1964 to 2007. Record Research; 2008. ISBN 089820173X.
- Wolfe, Charles. Amazing Grace: His Greatest Sacred Performances. CD Booklet RCA/BMG. UPC 7863664212; 1994.
- Woolley, John T.; Peters, Gerhard. American Presidency Project. University of California, Santa Barbara. Jimmy Carter: Death of Elvis Presley Statement by the President; August 17, 1977 [archived 2017-11-01; cited December 29, 2009].
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- เอลวิส เพรสลีย์ ที่สารานุกรมบริตานิกา
- Elvis Presley ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- เอลวิส เพรสลีย์ ที่ออลมูวี
- Elvis The Music official record label site
- Elvis Presley Interviews on officially sanctioned Elvis Australia site
- "The All American Boy: Enter Elvis and the Rock-a-billies" episode of 1968 Pop Chronicles radio series