ปลาซิวกาแล็กซี

(เปลี่ยนทางจาก Danio margaritatus)
ปลาซิวกาแล็กซี
ปลาตัวผู้
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Danio
สปีชีส์: D.  margaritatus
ชื่อทวินาม
Danio margaritatus
(Roberts, 2007)
ชื่อพ้อง
  • Celestichthys margaritatus Roberts, 2007
ซิวกาแล็กซี พบที่ทะเลสาบอี้นเล่ รัฐชาน ประเทศพม่า ถ่ายภาพโดยนายแพทย์วรกานต์ รุ่งประเสริฐ

ปลาซิวกาแล็กซี (อังกฤษ: celestial pearl danio, halaxy rasbora; ชื่อวิทยาศาสตร์: Danio margaritatus) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง เป็นปลาจำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

ปลาซิวกาแล็กซีเป็นปลาที่มีลวดลายและสีสันสวยงามมาก โดยเฉพาะในตัวผู้ โดยจะมีลำตัวสีน้ำตาลเข้มถึงดำ และมีลายจุดสีทองกระจายอยู่ทั่วตัว อีกทั้งยังมีสีส้มแดงสลับดำตามครีบหลัง ครีบหางและครีบท้อง ทำให้แลดูคล้ายท้องฟ้าและหมู่ดาวในดาราจักร (กาแล็กซี) ในเวลาค่ำคืน อันเป็นที่มาของชื่อเรียก

มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ปลาซิวกาแล็กซีได้รับการค้นพบครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006 ในพื้นที่กำจัดใกล้กับทะเลสาบอีนเลในประเทศพม่า ภายหลังจากมีการค้นพบแล้ว ความต้องการที่จะนำมาเป็นปลาสวยงามนั้นได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้มีปริมาณปลาถูกจับจากแหล่งน้ำในธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 ทางรัฐบาลพม่าจึงห้ามส่งออกปลาชนิดนี้ ด้วยเกรงว่าจะสูญพันธุ์ โดยปลาซิวกาแล็กซีในครั้งแรกที่มีการค้นพบ เชื่อว่าอยู่ในสกุล Microrasbora ทำให้มีชื่อในทางการค้าครั้งแรกว่า Microrasbora sp. 'Galaxy'[2]

ปัจจุบัน สถานที่ค้นพบปลาซิวกาแล็กซีได้รับการค้นพบเพิ่มขึ้นจากเดิมรวมเป็น 5 แห่งแล้ว และสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้เป็นที่สำเร็จ[3]

อ้างอิง แก้

  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. ["Celestial pearl danio - the small fish that made it big! (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-09. Celestial pearl danio - the small fish that made it big! (อังกฤษ)]
  3. "ซิวแกแล็คซี่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ 2012-07-09.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้