มหาวิหารมอนซา
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
อาสนวิหารนักบุญยอห์นแบปติสต์ (อิตาลี: Duomo di San Giovanni Battista) หรือ มหาวิหารมอนซา (อิตาลี: Duomo di Monza) เป็นคริสต์ศาสนสถานโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ตั้งอยู่ที่เมืองมอนซาไม่ไกลจากมิลานในประเทศอิตาลี
อาสนวิหารนักบุญยอห์นแบปติสต์ Duomo di San Giovanni Battista | |
---|---|
มหาวิหารมอนซา | |
ที่ตั้ง | มอนซาในประเทศอิตาลี |
ประเทศ | อิตาลี |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
สถานะ | อาสนวิหาร |
ก่อตั้ง | ? |
สถาปนิก | เทโอเดลินดา |
ประเภทสถาปัตย์ | กางเขน |
รูปแบบสถาปัตย์ | โรมานเนสก์ กอทิก บาโรก |
ประวัติ
แก้ตามตำนานกล่าวกันว่าพระนางเทโอเดลินดา พระราชินีอิตาลีจากลอมบาร์ดีเป็นผู้ทรงว่าจ้างให้สร้างคริสต์ศาสนสถานแห่งนี้ขึ้น ทรงตั้งปณิธานว่าจะถวายนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา วันหนึ่งขณะที่ทรงม้ามาตามริมฝั่งแม่น้ำแลมโบรนกพิลาบก็เอ่ยว่า “Modo” หรือ “ที่นี่” พระองค์ก็ทรงตอบว่า “Etiam” หรือ “ตกลง” มอนซาเดิมชื่อว่า “โมเดเชีย” (Modoetia)
ในปี ค.ศ. 595 พระราชินีเทโอเดลินดาก็มีพระราชเสาวนีย์สร้าง “oraculum” (ชาเปลพระราชินี) ทรงกากบาด ชาเปลนี้ปัจจุบันยังคงเหลือแต่กำแพง พระบรมศพของพระองค์ก็ฝังอยู่ ณ ที่นี้ที่ในปัจจุบันคือช่องทางเดินทางซ้าย บนซากชาเปลพระราชินีก็ได้มีการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานใหม่ที่เริ่มขึ้นราวปี ค.ศ. 1300 เป็นทรงกากบาด ต่อมาก็ได้มีการเพิ่มคูหาสวดมนต์ด้านข้างอีกหลายคูหาที่ออกแบบโดยมัตเตโอ ดา คัมปิโอเน เพิ่มด้านหน้าแบบกอธิคปิซาที่เป็นหินอ่อนขาวสลับเขียว
เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณร้องเพลงสวดและเพดาน ต่อมาผนังและเพดานก็ได้รับการตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังและปูนปั้น หอระฆังได้รับการสร้างในปี ค.ศ. 1606 ขณะที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็ได้มีการสร้างสุสานติดกับทางด้านซ้ายของโบสถ์
ด้านหน้า
แก้ด้านหน้าอันใหญ่โตของมหาวิหารแบ่งออกเป็นห้าส่วน แต่ละส่วนก็ตกแต่งด้วยเครื่องยอด (tabernacle) ที่มีรูปสลักอยู่ภายใน นอกจากนั้นก็มีหน้าต่างหลายหน้าต่าง ตรงกลางเป็นหน้าต่างกุหลาบล้อมรอบด้วยลวดลายที่มีพื้นฐานมาจากเพดานโรมันโบราณ, ตกแต่งด้วยลายกุหลาบ, หน้ากาก และ ดวงดาว
โครงสร้างด้านหน้าถือกันว่าเป็นแบบโรมานเนสก์แต่การตกแต่งเป็นแบบกอทิก นอกจากนั้นก็ยังมีสิ่งที่เป็นกอทิกอีกอย่างหนึ่งคือซุ้มทางเข้า พร้อมด้วยการตกแต่งด้วยปนาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 14 บนด้านข้าง และโค้งพระจันทร์ครึ่งซีกของคริสต์ศตวรรษที่ 13 พร้อมด้วยรูปสลักครึ่งตัวของพระราชินีธีโอเดลินดาและพระเจ้าอกิลุล์ฟ เหนือซุ้มทางเข้าเป็นประติมากรรมนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา (คริสต์ศตวรรษที่ 15) ทำพิธีประทานศีลจุ่มแก่พระเยซูโดยมีซีโมนเปโตร, พระแม่มารีย์ นักบุญเศคาริยาห์ และเปาโลอัครทูตเป็นพยาน ตอนบนเป็นพระราชินีธีโอเดลินดาประทานมงกุฎเหล็กแห่งลอมบาร์ดีแก่นักบุญยอห์นพร้อมด้วยพระเจ้าอกิลุล์ฟ พระสวามี และอดาโลอาลด์ และ กุนเดอเบอร์กา พระราชโอรส
ภายใน
แก้โบสถ์ประกอบด้วยทางเดินกลางที่ขนาบด้วยทางเดินข้างที่แยกจากกันด้วยเสาหกเหลี่ยมทีมีหัวเสาแบบโรมาเนสก์ และ เสากลมทีมีหัวเสาแบบบาโรก ตอนปลายสุดเป็นมุขโค้งด้านสกัดขนาดใหญ่ และ ด้านข้างมีชาเปลราย
ผนังตกแต่งอย่างบาโรก งานศิลปะอื่นๆ ก็ได้แก่บริเวณร้องเพลงสวดโดยมัตเตโอ ดา คัมปิโอเน แท่นบูชาเอกโดยอันเดรีย อัพพิอานี, จิตรกรรมฝาผนังในบริเวณสังฆบริเวณและแขนกางเขน and transept frescoes by จุยเซ็ปเป เมดา และ จุยเซ็ปเป อาร์ชิมโบลโด.
สมบัติ
แก้แขนกางเขนทางด้านขวาเป็นทางเข้าพิพิธภัณฑ์แซร์เพอโรที่เป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติของมหาวิหารที่รวมทั้งมงกุฎเหล็กแห่งลอมบาร์ดี และบานพับภาพงาช้าง “บานพับภาพกวีและมิวส์” และงานอันมีค่าจากสมัยโบราณจนถึงต้นยุคกลางอีกเป็นจำนวนมาก หลายชิ้นมาจากพระราชินีธีโอเดลินดา ที่รวมทั้งถ้วย ampulla ที่ทำจากตะกั่วของคริสต์ศตวรรษที่ 6 จากดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นงานรูปเคารพทางคริสต์ศาสนาในระยะแรกที่รวมทั้งภาพการตรึงกางเขนของพระเยซู และ การประสูติของพระเยซู ที่กลายมาเป็นงานมาตรฐานต่อมาในยุคกลางและเลยไปจากนั้น[1] ห้องสมุดของมหาวิหารก็มีงานหนังสือวิจิตรสำคัญๆ หลายเล่ม
ชาเปลธีโอเดลินดา
แก้นอกไปจากมงกุฎเหล็กแล้วสิ่งที่ดึงดูดความสนใจที่สุดอีกสิ่งหนึ่งของมหาวิหารคือชาเปลธีโอเดลินดา ภายในชาเปลเป็นจิตรกรรมฝาผนังของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่เขียนโดยห้องเขียนภาพซาวัตตารีเป็นภาพฉากพระราชประวัติของพระราชินีธีโอเดลินดา เช่นเมื่อทรงพบนกพิลาบ, การขอแต่งงาน, การพบปะกับออธารี, ความตายของออธารีในสนามรบ และการเสกสมรสใหม่กับอกิลุลฟ เครื่องแต่งตัวของบุคคลในภาพเป็นเครื่องแต่งกายอันหรูหราของสมัยวิสคอนติ เพดานเป็นภาพนักบุญและอีแวนเจลลิสบนบัลลังก์ของคริสต์ศตวรรษที่ 14
อ้างอิง
แก้- ↑ Hahn, 9-16
บรรณานุกรม
แก้- Hahn, Cynthia, The Meaning of Early Medieval Treasuries, in Reliquiare im Mittelalter, Volume 5 of Hamburger Forschungen zur Kunstgeschichte, eds Bruno Reudenbach, Gia Toussaint, Akademie Verlag, 2005, ISBN 305004134X, 9783050041346, google books เก็บถาวร 2014-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหาวิหารมอนซา
ระเบียงภาพ
แก้-
ทางเดินกลาง
-
แท่นบูชาเอก
-
จิตรกรรมฝาผนังในชาเปลธีโอเดลินดา