หลอดลมโป่งพอง
หลอดลมโป่งพอง (อังกฤษ: bronchiectasis) คือภาวะที่บางส่วนของทางหายใจในปอดขยายขนาดขึ้นอย่างถาวร[5] ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรังแบบมีเสมหะ[3] อาการอื่นๆ เช่น หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด และเจ็บหน้าอก[2] อาจมีอาการหายใจมีเสียงหวีดหรือนิ้วปุ้มร่วมด้วยก็ได้ ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการติดเชื้อในปอดซ้ำได้บ่อยๆ[8]
หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) | |
---|---|
ภาพ A แสดงให้เห็นภาพตัดขวางของปอดที่มีทางหายปกติและปอดที่มีทางหายใจโป่งพอง ภาพ B แสดงให้เห็นภาพตัดขวางของทางหายใจปกติ ภาพ C แสดงให้เห็นภาพตัดขวางของทางหายใจที่เป็นหลอดลมโป่งพอง | |
การออกเสียง | |
สาขาวิชา | วิทยาปอด |
อาการ | ไอมีเสมหะ, หายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก[2][3] |
การตั้งต้น | ค่อยเป็นค่อยไป[4] |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว[5] |
สาเหตุ | การติดเชื้อ, ซิสติกไฟโบรซิส, โรคพันธุกรรม, ไม่ทราบสาเหตุ[3][6] |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการ, ซีทีสแกน[7] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคปอดจากแร่ใยหิน, ท่อลมและหลอดลมอ่อน |
การรักษา | ยาปฏิชีวนะ, ยาขยายหลอดลม, การปลูกถ่ายปอด[3][8][9] |
ความชุก | 1–250 ต่อ 250,000 ประชากร (ผู้ใหญ่)[10] |
หลอดลมโป่งพองอาจเป็นผลจากโรคติดเชื้อหรือโรคที่ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิดได้หลายอย่าง เช่น ปอดอักเสบ วัณโรค ภูมิคุ้มกันผิดปกติ และอาจเป็นจากโรคทางพันธุกรรมตั้งแต่กำเนิด เช่น ซิสติกไฟโบรซิส[11][3][12] ซึ่งผู้ป่วยซิสติกไฟโบรซิสแทบทุกคนในที่สุดแล้วจะมีภาวะหลอดลมโป่งพองรุนแรงตามมาได้[13] หากไม่นับรายที่เกิดจากซิสติกไฟโบรซิสแล้วผู้ป่วยหลอดลมโป่งพองร้อยละ 10-50 เกิดขึ้นโดยที่ไม่พบสาเหตุ[3] กลไกของโรคนี้คือเกิดการอักเสบมากเกินไปจนทางหายใจถูกทำลาย[3] หลอดลมที่ได้รับผลกระทบจะขยายใหญ่และสูญเสียความสามารถในการระบายสารคัดหลั่ง[3] สารคัดหลั่งเหล่านี้จะทำให้มีเชื้อแบคทีเรียในเนื้อปอดมากขึ้น ทำให้เกิดการอุดตันทางหายใจ และทำลายทางหายใจให้แย่ลงไปอีก[3] โรคนี้ถือเป็นโรคปอดอุดกั้นชนิดหนึ่ง โรคอื่นๆ ในกลุ่มนี้ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และโรคหืด[14] การวินิจฉัยเริ่มจากการสงสัยจากอาการ และยืนยันการวินิจฉัยด้วยการทำซีทีสแกน[7] การเพาะเชื้อจากเสมหะอาจมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยรายที่มีอาการแย่ลงโดยเฉียบพลัน และควรทำอย่างน้อยปีละครั้ง[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Bronchiectasis | Definition of Bronchiectasis by Lexico". Lexico Dictionaries | English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.
- ↑ 2.0 2.1 "What Are the Signs and Symptoms of Bronchiectasis?". NHLBI. June 2, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2016. สืบค้นเมื่อ 10 August 2016.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 McShane, PJ; Naureckas, ET; Tino, G; Strek, ME (Sep 15, 2013). "Non-cystic fibrosis bronchiectasis". American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine. 188 (6): 647–56. doi:10.1164/rccm.201303-0411CI. PMID 23898922.
- ↑ Maguire, G (November 2012). "Bronchiectasis – a guide for primary care". Australian Family Physician. 41 (11): 842–50. PMID 23145413.
- ↑ 5.0 5.1 "What Is Bronchiectasis?". NHLBI. June 2, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2016. สืบค้นเมื่อ 10 August 2016.
- ↑ Bird, K; Memon, J (January 2019). "Bronchiectasis". StatPearls [Internet]. PMID 28613561. NBK430810.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "Quality Standards for Clinically Significant Bronchiectasis in Adults". British Thoracic Society. July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
- ↑ 8.0 8.1 "How Is Bronchiectasis Treated?". NHLBI. June 2, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2016. สืบค้นเมื่อ 10 August 2016.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCor2013
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCot2015
- ↑ José, R. J.; Brown, J. S. (2014). "Bronchiectasis". British Journal of Hospital Medicine. 75 (Suppl 10:C146–51): C146–C151. doi:10.12968/hmed.2014.75.Sup10.C146. PMID 25289486.
- ↑ Nicki R. Colledge; Brian R. Walker; Stuart H. Ralston, บ.ก. (2010). Davidson's principles and practice of medicine. illustrated by Robert Britton (21st ed.). Edinburgh: Churchill Livingstone/Elsevier. ISBN 978-0-7020-3085-7.
- ↑ Brant, William E.; Helms, Clyde A., บ.ก. (2006). Fundamentals of diagnostic radiology (3rd ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. 518. ISBN 9780781761352. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-06.
- ↑ Michael Filbin; Lisa M. Lee; Shaffer, Brian L. (2003). Blueprints pathophysiology II : pulmonary, gastrointestinal, and rheumatology : notes & cases (1st ed.). Malden, Mass.: Blackwell Pub. p. 12. ISBN 9781405103510. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-06.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |