ทางเดินอากาศหายใจ

(เปลี่ยนทางจาก Respiratory tract)

ทางเดินอากาศหายใจ[1] (อังกฤษ: respiratory tract, airway) หรือ ทางเดินหายใจ, ทางหายใจ เป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่หลัก คือ การนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดเพื่อทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย ทางเดินอากาศหายใจของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ส่วนที่ต่อจากกล่องเสียง (Larynx) ลงไปสิ้นสุดที่ถุงลม

ทางเดินอากาศหายใจ
Conducting passages.
รายละเอียด
หลอดเลือดแดงtracheal branches of inferior thyroid artery
หลอดเลือดดำbrachiocephalic vein, azygos vein accessory hemiazygos vein
ตัวระบุ
FMA265130
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์
หลอดลม

ทางเดินอากาศหายใจ มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามขนาดและตำแหน่ง ได้แก่

  1. หลอดลมใหญ่ (Trachea) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากกล่องเสียงยาวลงไปจนถึงจุดที่แยกเข้าสู่ปอดด้านซ้ายและด้านขวา
  2. หลอดลมของปอด (Main bronchus) เป็นแขนงของหลอดลมใหญ่ ซึ่งอยู่ในแต่ละข้างของปอด เริ่มต้นต่อจากหลอดลมใหญ่ลึกเข้าไปในเนื้อปอด หลอดลมเหล่านี้เมื่ออยู่ลึกเข้าไป ก็จะมีการแตกแขนงแยกย่อยลงไปอีกตามตำแหน่งของเนื้อปอด เช่น หลอดลมของปอดกลีบบน (upper lobe bronchus) หลอดลมของปอดกลีบล่าง (lower lobe bronchus) หลอดลมแขนง (segmental bronchus) เป็นต้น
  3. หลอดลมฝอย (Bronchiole) เป็นแขนงย่อยของหลอดลมของปอด หลอดลมฝอยเหล่านี้บางส่วนนอกจากจะสามารถนำก๊าซเข้าสู่ปอดได้แล้ว ยังสามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย แต่ไม่เป็นหน้าที่หลักเหมือนถุงลม

เนื่องจากหลอดลมมีหน้าที่สำคัญในระบบทางเดินหายใจ ดังนั้น หากเกิดความผิดปกติของหลอดลมก็จะทำให้การระบบการระบายก๊าซของร่างกายเสียไปด้วย โรคของหลอดลมที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคหืด (Asthma) และโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease) เป็นต้น

อ้างอิง

แก้
  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน