ยุทธการที่สตาลินกราด

ยุทธการใหญ่ในสงครามโลกครั้งที่สอง
(เปลี่ยนทางจาก Battle of Stalingrad)

ยุทธการสตาลินกราด เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ วอลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึง 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943[16][17][18][19] ยุทธการสตาลินกราดเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดบนแนวรบด้านตะวันออก และได้รับความสนใจเพราะความป่าเถื่อนและไม่สนใจต่อความสูญเสียทั้งทางทหารและพลเรือน นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในยุทธการนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์การสงคราม โดยมีการประเมินความสูญเสียทั้งสองฝ่ายรวมกันขั้นสูงไว้เกือบสองล้านนาย ความสูญเสียอย่างหนักที่กองทัพเยอรมนีประสบนับเป็นจุดพลิกผันของสงคราม[20] หลังยุทธการสตาลินกราด กำลังเยอรมันไม่อาจฟื้นคืนยอดอย่างเมื่อก่อนได้อีก และไม่บรรลุชัยชนะทางยุทธศาสตร์ในทางตะวันออกอีกเลย[21]

ยุทธการสตาลินกราด
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

ใจกลางสตาลินกราดหลังสงครามสิ้นสุดลง
วันที่23 สิงหาคม ค.ศ. 1942 – 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943
(5 เดือน 1 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่
สตาลินกราด สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต
(ปัจจุบันคือวอลโกกราด ประเทศรัสเซีย)
48°42′N 44°31′E / 48.700°N 44.517°E / 48.700; 44.517
ผล

โซเวียตชนะ

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ขับไล่ฝ่ายอักษะออกจากคอเคซัส ได้ดินแดนคืนจากการทัพฤดูร้อน ค.ศ. 1942
คู่สงคราม
 สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

นาซีเยอรมนี กองทัพกลุ่มเบ:

นาซีเยอรมนี กองทัพกลุ่มดอน[nb 1]

สหภาพโซเวียต แนวรบสตาลินกราด:

สหภาพโซเวียต แนวรบดอน[nb 2]

สหภาพโซเวียต แนวรบตะวันตกเฉียงใต้[nb 3]

กำลัง
ขั้นต้น:
  • ทหาร 270,000 นาย
  • ปืนใหญ่ 3,000 กระบอก
  • รถถัง 500 คัน
  • อากาศยาน 600 ลำ, 1,600 ลำเมื่อถึงกลางเดือนกันยายน (ลุฟท์ฟลอทเทอ 4))[Note 1][1]
เมื่อโซเวียตตีโต้ตอบ:
  • ทหารประมาณ 1,040,000 นาย[2]
  • ชาวเยอรมันมากกว่า 400,000 คน
  • ชาวอิตาลี 220,000 คน
  • ชาวฮังการี 200,000 คน
  • ชาวโรมาเนีย 143,296 คน
  • ฮีวี 40,000 คน
  • รถถังมากกว่า 640 คัน
  • อากาศยาน 732 ลำ (ใช้การได้ 402 ลำ)[3]
ขั้นต้น:
  • ทหาร 187,000 นาย
  • ปืนใหญ่ 2,200 กระบอก
  • รถถัง 400 คัน
  • อากาศยาน 300 ลำ[4]

เมื่อโซเวียตตีโต้ตอบ:
  • ทหาร 1,143,000 นาย[5]
  • ปืนใหญ่ 13,451 กระบอก
  • รถถัง 894 คัน[5]
  • อากาศยาน 1,115 ลำ[6]
ความสูญเสีย
  • เสียชีวิต สูญหายหรือได้รับบาดเจ็บ 747,300–868,374 นาย[7]
  • นาซีเยอรมนี เยอรมนี:
    มากกว่า 300,000 นาย (กองทัพที่ 6 และ
    กองทัพพันท์เซอร์ที่ 4)[8][9][10] – 400,000 (ทุกหน่วย)[11]
  • ฟาสซิสต์อิตาลี (ค.ศ. 1922–1943) อิตาลี:
    114,000[12]–114,520[9]
  • ราชอาณาจักรโรมาเนีย โรมาเนีย:
    109,000[12]–158,854[9]
  • ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946) ฮังการี:
    143,000[9]
  • ฮีวี 19,300–52,000[13]
  • อากาศยาน 900 ลำ
  • รถถัง 1,500 คัน (ของโรมาเนีย 100 คัน)
  • ปืนใหญ่ 6,000 กระบอก
  • อากาศยาน 744 ลำ; รถถัง 1,666 คัน; ปืนใหญ่ 5,762 กระบอกถูกยึด
ดูส่วนความเสียหาย
  • สหภาพโซเวียต 1,129,619 (รวมจากสงครามประมาณ 950,000 นาย)
    สูญหายหรือเสียชีวิต 478,741 นาย
    บาดเจ็บหรือป่วย 650,878 นาย[14]
  • อากาศยาน 2,769 ลำ
  • รถถัง 4,341 คัน (จากโรมาเนียประมาณ 150 คัน) (ลดจำนวนลง 25–30%[15])
  • ปืนใหญ่ 15,728 กระบอก
ดูส่วนความเสียหาย
ยุทธการที่สตาลินกราดตั้งอยู่ในthe European Soviet Union
ยุทธการที่สตาลินกราด
ที่ตั้งของสตาลินกราด (ปัจจุบันคือวอลโกกราด) ในสหภาพโซเวียตฝั่งยุโรป
กรณีสีน้ำเงิน: การรุดหน้าของเยอรมนีในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 ถึง 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942
  ถึง 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
  ถึง 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1942
  ถึง 1 สิงหาคม ค.ศ. 1942
  ถึง 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942

เยอรมนีรุกเพื่อยึดสตาลินกราดเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูร้อน ค.ศ. 1942 และได้รับการสนับสนุนจากการทิ้งระเบิดโดยกองทัพอากาศอย่างเข้มข้น ซึ่งทำให้พื้นที่ขนาดใหญ่ของนครกลายเป็นซากปรักหักพัง ท้ายที่สุด การรุกของเยอรมนีกลายมาติดหล่มการสู้รบอาคารต่ออาคาร และแม้จะควบคุมพื้นที่ของนครได้กว่า 90% ในบางครั้ง กองทัพเยอรมันกลับไม่สามารถขับไล่ผู้ป้องกันฝ่ายโซเวียตกลุ่มสุดท้ายที่ยึดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวอลกาอย่างเหนียวแน่น

วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 กองทัพแดงเปิดฉากปฏิบัติการยูเรนัส การโจมตีสองง่ามหรือเรียกว่าคีมหนีบโดยมีเป้าหมายต่อกำลังพลโรมาเนียและฮังการีที่อ่อนแอ ซึ่งกำลังป้องกันปีกของกองทัพที่ 6 หลังจากมีการสู้รบอย่างหนัก ความสำเร็จของการโจมตีเหล่านี้ส่งผลให้ปีกที่ยึดไว้อย่างหลวม ๆ พังลง และกองทัพที่ 6 ถูกตัดขาดและล้อมในสตาลินกราด เมื่อฤดูหนาวของรัสเซียมาถึง กองทัพที่ 6 ก็อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วจากความหนาว เนื่องจากขาดเสบียงอาหาร การโจมตีอย่างต่อเนื่องของโซเวียต ความกำกวมของการบังคับบัญชา ประกอบกับความเชื่อแน่แน่วใน "พลังแห่งการตั้งเจตนา" (power of the will) ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และค่านิยม "การยืนหยัด" (standing fast) ยิ่งเสริมฐานะยากลำบากของนาซีเยอรมนีขึ้นไปอีก ท้ายที่สุด ความล้มเหลวของกำลังเยอรมนีนอกวงล้อมในการเปิดวงล้อม ร่วมกับความล้มเหลวในการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ ทำให้เกิดการพังทลายขั้นสุดท้าย เมื่อถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 การต้านทานของฝ่ายอักษะในสตาลินกราดยุติลงและส่วนที่เหลือของกองทัพที่ 6 ได้ยอมจำนนหรือไม่ก็ถูกทำลายไปก่อนหน้านั้นแล้ว[22]: p.932 

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

แก้

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สตาลินกราดได้รับการกล่าวถึงเป็นจำนวนมากโดยสื่อของรัสเซีย เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เนื่องจากความสำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามในทวีปยุโรป และการสูญเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องในการสู้รบ คำว่า "สตาลินกราด" กลายเป็นความหมายเหมือนกับการสู้รบขนาดใหญ่ในเมือง ที่มีการสูญเสียอย่างมากทั้ง 2 ฝ่าย

ภาพยนตร์

เชิงอรรถ

แก้
  1. Hayward 1998, p. 195: กองทัพอากาศมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 1,600 ลำจากการถอนกำลังจากภูมิภาคคูบันและคอเคซัสใต้
  1. สร้างขึ้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 จากกองทัพของกองทัพกลุ่มเบ เพื่อทำแนวระหว่างกองทัพกลุ่มอา (ที่คอเคซัส) และให้ต่อต้านการโจมตีกลับของโซเวียต
  2. The Soviet front's composition and names changed several times in the battle. The battle started with the South Western Front. It was later renamed Stalingrad Front, then had the Don Front split off from it.
  3. มีการตั้งแนวรบนี้ขึ้นใหม่กองกำลังสำรองในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1942

อ้างอิง

แก้
  1. Bergström 2007.
  2. Glantz & House 1995, p. 346.
  3. Hayward 1998, p. 225; Bergström 2006, p. 87.
  4. Bergström 2007, p. 72.
  5. 5.0 5.1 Glantz & House 1995, p. 134
  6. Hayward 1998, p. 224.
  7. Великая Отечественная война 1941–1945 годов. В 12 т. [The Great Patriotic War of 1941–1945, in 12 Volumes] (ภาษารัสเซีย). Vol. 3. Битвы и сражения, изменившие ход войны. Кучково поле. 2012. p. 421. ISBN 978-5-9950-0269-7.
  8. Walter Scott Dunn, Kursk: Hitler's Gamble, 1943, p. 1
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Walsh 2000, p. 165.
  10. Jochen Hellbeck, Stalingrad: The City That Defeated the Third Reich, p. 12
  11. DiMarco 2012, p. 39.
  12. 12.0 12.1 Frieser et al. 2017, p. 14.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Portrait
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hrono.info
  15. Hill, Alexander (2016-12-24). The Red Army and the Second World War. ISBN 9781107020795.
  16. McDougal Littell, (2006)
  17. Roberts (2006: 143)
  18. Biesinger (2006: 699)
  19. "Battle of Stalingrad". Encyclopædia Britannica.
  20. Taylor (1998) Vol IV, p. 142
  21. Bellamy, (2007)
  22. Shirer (1990)

บรรณานุกรม

แก้

บทอ่านเพิ่มเติม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้