ไสว สุทธิพิทักษ์
ไสว สุทธิพิทักษ์ (10 มีนาคม พ.ศ. 2460 – 22 กันยายน พ.ศ. 2537) เป็นนักการศึกษาชาวไทย ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และอดีตกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย รวมทั้งยังเคยเป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการประสานงานกับกองบัญชาการกองทัพพันธมิตร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ไสว สุทธิพิทักษ์ | |
---|---|
ไสว ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1940 | |
เกิด | 10 มีนาคม พ.ศ. 2460 จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 22 กันยายน พ.ศ. 2537 (77 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | อาจารย์, นักวิจัย |
คู่สมรส | สนม สุทธิพิทักษ์ |
บุตร | 2 คน |
ประวัติ
แก้ดร. ไสว สุทธิพิทักษ์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2460 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายเฟื่อง สุทธิพิทักษ์ และนางนวล (สกุลเดิม กันภัย) สุทธิพิทักษ์ มีพี่น้องรวม 8 คน คือ นายสวัสดิ์ สุทธิพิทักษ์, นางสาวพยอม สุทธิพิทักษ์, นางอรสา อรรถบวรพิศาล, นายสนิท สุทธิพิทักษ์, นายสหัส สุทธิพิทักษ์, นายคำภิญ สุทธิพิทักษ์, นางสาวสุเพ็ญ สุทธิพิทักษ์ สมรสกับ นางสาวสนม เกตุทัต ธิดาของพระพิเรนทรเทพ (เนียน เกตุทัต) และนางสงวน (สกุลเดิม วิริยศิริ) เกตุทัต มีบุตร-ธิดารวม 2 คน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ณ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง โดยมี พณฯ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยฯ และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เป็นเจ้าภาพ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2537 เวลา 11.10 น. ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ สิริรวมอายุได้ 77 ปี 12 วัน
การศึกษา
แก้พ.ศ. 2472 - ประถม 1-3 โรงเรียนประจำอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2477 - มัธยม 1-6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ โรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2479 - มัธยม 7-8 โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร
พ.ศ. 2480 - ป.ป. โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร
พ.ศ. 2485 - ธ.บ. มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
พ.ศ. 2488 - ศ.ม. มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
พ.ศ. 2530 - D.B.A. Pacific States University, U.S.A.
พ.ศ. 2534 - ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติการทำงาน
แก้พ.ศ. 2481 ครูสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โรงเรียนวังสมเด็จบูรพา
พ.ศ. 2482-2484 ครูพิเศษสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โรงเรียนสุวิชช์วิทยาลัย
พ.ศ. 2484-2489 รับราชการกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
พ.ศ. 2488-2489 ผู้แทนฝ่ายไทยในการประสานงานกับกองบัญชาการกองทัพพันธมิตร
พ.ศ. 2488-2492 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
พ.ศ. 2489-2490 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช และเลขานุการนายกรัฐมนตรี (พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ร.น.)
พ.ศ. 2490-2492 เจ้าของสำนักงานทนายความ ไสว สุทธิพิทักษ์ และเจ้าของผู้จัดการห้างสุทธิเทรดดิ้ง ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
พ.ศ. 2492-2501 ทำธุรกิจการค้าระหว่างพำนักอยู่ที่สิงคโปร์
พ.ศ. 2502-2508 กรรมการหอการค้าไทย กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรรมการฝ่ายไทยของหอการค้าสากล
พ.ศ. 2504-2508 ประธานอนุกรรมการของวิทยาลัยการค้า และผู้อำนวยการวิทยาลัยการค้าหอการค้าไทย
พ.ศ. 2511-2537 ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เริ่มตั้งแต่เป็นโรงเรียนราษฎร์ในปี พ.ศ. 2511 ต่อมาได้เลื่อนฐานะเป็นวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2513 และเป็นมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2527
ตำแหน่งหน้าที่การงานที่สำคัญ
แก้- อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2527-2537
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พ.ศ. 2527-2537
- ประธานชมรมผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชน พ.ศ. 2512-2520
- นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520-2528
- ที่ปรึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528-2537
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2522-2530
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคธุรกิจเอกชนในคณะกรรมการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2524-2530
- อุปนายกสมาคมผู้บริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522-2525
- กรรมการอำนวยการฉลอง 700 ปี ลายสือไทย พ.ศ. 2526
- กรรมการในคณะกรรมการการจัดเตรียมงานปีสันติภาพสากล พ.ศ. 2526
- กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2507
- กรรมการในคณะกรรมการทำงานของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514) ว่าด้วยการขนส่งเอกชน
- กรรมการในคณะกรรมการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) เรื่องการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งชาติ
- อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิวางแผนพัฒนาการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) และฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2529-2533)
- กรรมการในคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2526-2537
- กรรมการในคณะกรรมการจัดการประชุมอธิการบดีระหว่างประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2527
- กรรมการในคณะกรรมการประกาศเกียรติคุณครูภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2528-2534
- ประธานกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการชุดต่างๆ ของหอการค้าไทย พ.ศ. 2502-2508 รวม 26 ชุด
- กรรมการชุดต่างๆ ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2503-2508 รวม 11 ชุด
- นายกสมาคมเครื่องถมไทยและเครื่องเงินไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกสมาคมศิษย์เก่าสำนักวัดราชาธิวาส นายกสมาคมศิษย์เก่าอำนวยศิลป์ นายกสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูพระนคร กรรมการมูลนิธิวิทยาลัยครูพระนคร อุปนายกสมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อุปนายกสมาคมชาวปักษ์ใต้ อุปนายกสมาคมผู้ปกครองและครูสตรีวิทยา รองประธานกรรมการมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ ประธานโครงการสถาบันปรีดี พนมยงค์
- สามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตสภา สมาชิกสมาคมวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยโลก สมาชิกสมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศ สมาชิกสมาคมพ่อค้าไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาชิกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาชิกสมาคมผู้บริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย
- ประธานกรรมการบริษัทหอหัตศิลป์ไทยจำกัด กรรมการผู้จัดการบริษัทอีสานเอนเทอร์ไพรส์จำกัด กรรมการบริษัทน้ำตาลกุมภวาปีจำกัด หุ้นส่วนผู้จัดการ จอหน์ลิมสิงคโปร์ และผู้จัดการบริษัทปรีดาชิปปิ้งและเทรดดิ้งสิงคโปร์
- ที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทประกอบและบุตรนราธิวาส ห้างหุ้นส่วนจำกัดอ่าวตานีปัตตานี บริษัทยนตรภัณฑ์จำกัด บริษัทไทยแลนด์สตีลจำกัด บริษัทเกษตรกรไทยจำกัด บริษัทเอเซียอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีจำกัด ฯลฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[1]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๒๓ เมษายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐๒๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- เนื้อหาเกือบทั้งหมดในบทความนี้คัดลอกมาจาก ห้องสมุด ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ อนุสรณ์ เก็บถาวร 2009-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หอประวัติและพิพิธภัณฑ์ ดร ไสว สุทธิพิทักษ์ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก VDO
- หอประวัติ ดร ไสว สุทธิพิทักษ์ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก VDO