ไททัน (ดาวบริวาร)

(เปลี่ยนทางจาก ไททัน (ดาว))

ไททัน (อังกฤษ: Titan) คือ ดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีระยะห่างจากดาวเสาร์เป็นลำดับที่ 20 เป็นดาวบริวารดวงเดียวที่เป็นที่ทราบกันว่ามีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น และเป็นวัตถุเพียงชนิดเดียวนอกจากโลกที่มีการค้นพบว่ามีร่องรอยของน้ำอยู่บนดาว ไททันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าดาวบริวารของโลกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และมีมวลมากกว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะ รองจากดาวบริวารแกนีมีดของดาวพฤหัสบดี และมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดซึ่งคือ ดาวพุธ (ถึงแม้ว่าจะมีมวลน้อยกว่าเพียงครึ่งเดียวก็ตาม)

ไททัน  
การค้นพบ
ค้นพบโดย:คริสตียาน เฮยเคินส์
ค้นพบเมื่อ:25 มีนาคม 2198
ลักษณะของวงโคจร
กึ่งแกนเอก:1,221,870 กม.
(0.0288 หน่วยดาราศาสตร์)
เดือนทางดาราคติ:15.945 วัน
ความเอียง:0.34854 กับระนาบศูนย์สูตรดาวเสาร์
ดาวบริวารของ:ดาวเสาร์
ลักษณะทางกายภาพ
รัศมีตามแนวศูนย์สูตร:2576 ± 2.00 กม.
(0.404×โลก)
ความแป้น:0.00125
พื้นที่ผิว:8.3×1077 กม.²
มวล:1.3452 ± 0.0002×1023กก.
(0.0225×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย:1.8798 ± 0.0044 กรัม/ซม.³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
1.352 เมตร/วินาที²
(0.14 จี)
ความเร็วหลุดพ้น:2.639 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
(การหมุนสมวาร)
ความเอียงแกน:23.3°
อัตราส่วนสะท้อน:0.22
อุณหภูมิ:93.7 K (−179.45 °C)
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว:
146.7 kPa
องค์ประกอบ:ไนโตรเจนร้อยละ 98.4
มีเทนร้อยละ 1.6

ผู้คนได้รู้ว่าไททันเป็นดาวบริวารดวงแรกของดาวเสาร์ หลังจากที่ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2198 (ค.ศ. 1655) โดยคริสตียาน เฮยเคินส์ (Christiaan Huygens) นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์

ไททันประกอบด้วยน้ำ น้ำแข็ง และหินเป็นหลัก ด้วยความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศของไททัน ทำให้เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวของมันมากนัก จนกระทั่งยานอวกาศ "กัสซีนี-เฮยเคินส์" (Cassini–Huygens) ได้เดินทางไปถึงในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) รวมถึงการค้นพบทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนเหลว บริเวณขั้วของดาวโดยดาวเทียม ลักษณะของพื้นผิวนั้น ทางธรณีวิทยาถือว่ายังค่อนข้างใหม่ ถึงแม้ว่าจะประกอบด้วยภูเขาและภูเขาไฟน้ำแข็ง (cryovolcano) ก็ตาม

ชั้นบรรยากาศของไททันประกอบด้วยไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ สภาพอากาศจะมีเมฆมีเทนและอีเทน ลมและฝน ซึ่งทำให้เกิดสภาพพื้นผิวที่มีลักษณะคล้ายกับโลกของเรา เช่น ทะเลทราย และแนวชายฝั่ง