โฮเง็ง (ญี่ปุ่น: 保元โรมาจิHōgen) เป็น ศักราชของญี่ปุ่น หลังปี คิวจู และก่อนปี เฮจิ ช่วงเวลานี้กินระยะเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน 1156 ถึงเมษายน 1159[1] จักรพรรดิผู้ครองราชย์คือ จักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ (後白河天皇) และ จักรพรรดินิโจ (二条天皇)[2]

โฮเง็ง
18 พฤษภาคม 1156 – 9 พฤษภาคม 1159
พระมหากษัตริย์
เหตุการณ์สำคัญ
ช่วงเวลา
← ก่อนหน้า
คิวจู
ถัดไป →
เฮจิ

เปลี่ยนปีรัชศก

แก้
  • 24 มกราคม 1156 : ชื่อรัชสมัยใหม่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์หรือกลุ่มเหตุการณ์ ยุคก่อนหน้าสิ้นสุดลงและยุคใหม่เริ่มต้นขึ้นในปีคิวจูที่ 3 วันที่ 27 เดือน 4 ปี 1156[3]

เหตุการณ์ในปีโฮเง็ง

แก้
  • 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1156 (วันที่ 2 เดือน 7 ปี โฮเง็ง ที่ 1): ไดโจโฮโอ โทบะ สวรรคตเมื่อพระชนมายุ 54 พรรษา[4]
  • 28 กรกฎาคม - 16 สิงหาคม ค.ศ. 1156 (วันที่ 10 - 19 เดือน 7 ปี โฮเง็ง ที่ 1):กบฏปีโฮเง็ง[5] บางทีรู้จักในชื่อ การจลาจลปีโฮเง็ง หรือ สงครามปีโฮเง็ง
  • ค.ศ. 1156 (เดือน 9 ปี โฮเง็ง ที่ 1): ฟุจิวะระ ซะเนะโยะชิ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ไนไดจิง ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ซาไดจิง โดยฟุจิวะระ โคะเระมิชิ ซึ่งเป็น ไดนะงง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นไนไดจิงแทนซะเนะโยะชิโดยหลังจากสงครามปีโฮเง็งได้มีการปฏิรูปราชสำนักทำให้จักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะทรงเข้ามาควบคุมราชสำนัก
  • ค.ศ. 1157 (เดือน 8 ปี โฮเง็ง ที่ 2):ซันโจ ซาเนยูกิ ถูกปลดออกจากตำแหน่ง ไดโจไดจิง และในเดือนเดียวกัน ซาไดจิง ซาเนโยชิ ถึงแก่อสัญกรรม อูไดจิง ฟูจิวาระ โนะ มูเนซูเกะ เป็นไดโจไดจิงแทนซาเนยูกิ ไนไดจิง โคเรมิชิ เป็นซาไดจิงแทนตำแหน่งที่ว่าง ฟูจิวาระ โนะ โมโรซาเนะ บุตรชายวัย 15 ปีของ คัมปากุ ฟุจิวะระ โนะ ทะดะมิชิ เป็นอูไดจิงและ ไดนะงง ซันโจ คิโนริ บุตรชายของซาเนยูกิเป็นไนไดจิง[6]
  • ค.ศ. 1157 (ปีโฮเง็ง ที่ 3, เดือน 10):ได้มีการวางฐานรากสำหรับท้องพระโรงใหญ่ (dairi) ในพระราชวัง ภายในพระราชวังไม่มีสิ่งก่อสร้างมาตั้งแต่สมัย จักรพรรดิชิรากาวะ[6]
  • 6 สิงหาคม ค.ศ. 1158 (วันที่ 11 เดือน 8 ปี โฮเง็ง ที่ 3):ในปีที่ 3 ของรัชสมัยจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ องค์จักรพรรดิสละราชบัลลังก์ และสืบทอดราชบัลลังก์โดยพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์[7]
  • ค.ศ. 1158 (เดือน 8 ปี โฮเง็ง ที่ 3): จักรพรรดินิโจทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ พระราชวังหลวงเฮอัง

ตารางเทียบศักราช

แก้
โฮเง็ง 1 2 3 4
ค.ศ. 1156 1157 1158 1159
พ.ศ. 1699 1700 1701 1702

บรรณานุกรม

แก้
  1. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Hōgen" in Japan Encyclopedia, p. 339, p. 339, ที่กูเกิล หนังสือ; n.b., Louis-Frédéric is pseudonym of Louis-Frédéric Nussbaum, see Deutsche Nationalbibliothek Authority File.
  2. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des emepereurs du japon, pp. 188-194; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 326-329; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, pp. 205-212.
  3. Brown, p. 327.
  4. Brown, p. 321; Kitagawa, H. (1975). The Tale of the Heike, p.783.
  5. Kitagawa, p. 783.
  6. 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ t190
  7. Titsingh, p. 190; Brown, p. 327; Varley, p. 44, 209; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.

อ้างอิง

แก้
  • Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
  • Nussbaum, Louis-Frédéric and Käthe Roth. (2005). Japan encyclopedia. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01753-5; OCLC 58053128
  • Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
  • Varley, H. Paul. (1980). A Chronicle of Gods and Sovereigns: Jinnō Shōtōki of Kitabatake Chikafusa. New York: Columbia University Press. ISBN 9780231049405; OCLC 6042764

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า โฮเง็ง ถัดไป
คิวจู    
ปีรัชศกญี่ปุ่น
(1156 - 1159)
  เฮจิ