ไนไดจิง (ญี่ปุ่น: 内大臣โรมาจิNaidaijinทับศัพท์uchi no otodo) หมายถึง "มหาเสนาบดีกลาง" เป็นตำแหน่งโบราณในราชสำนักของญี่ปุ่น บทบาทและอำนาจหน้าที่แตกต่างกันไปในช่วงก่อน ยุคเมจิ ของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น แต่โดยทั่วไปยังคงเป็นตำแหน่งที่สำคัญภายใต้ ประมวลกฎหมายไทโฮ[1]

ประเทศญี่ปุ่นก่อนสมัยใหม่
ตราประจำราชวงศ์ญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของชุดการเมืองการปกครองในยุคนะระและยุคเฮอัง

ไดโจกัง
(สภาอำมาตย์)
อัครมหาเสนาบดี  / ประธานสภา
ไดโจไดจิง
มหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายซาไดจิง
มหาเสนาบดีฝ่ายขวาอูไดจิง
มหาเสนาบดีกลางไนไดจิง
อำมาตย์ใหญ่ไดนะงง
อำมาตย์กลางชูนะงง
อำมาตย์น้อยโชนะงง
กรมทั้งแปด
กรมบริหารกลาง
นะกะสึกะซะโช
กรมพิธีการชิคิบุโช
กรมอาลักษณ์จิบุโช
กรมมหาดไทยมิมบุโช
กรมกลาโหมเฮียวบุโช
กรมยุติธรรมเกียวบุโช
กรมคลังโอคุระโช
กรมวังคุไนโช

ประวัติ แก้

ก่อนยุคเมจิ แก้

ตำแหน่งไนไดจิงเกิดขึ้นก่อน ประมวลกฎหมายไทโฮ ฉบับ ค.ศ. 701 ฟุจิวะระ โนะ คะมะตะริ เป็นคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใน ค.ศ. 669 หลังจากการแต่งตั้ง ฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะ ในปี ค.ศ. 989 ตำแหน่งก็กลายเป็นที่ยอมรับอย่างถาวร แต่ก็ยังอยู่ต่ำกว่า อูไดจิง ("มหาเสนาบดีขวา") และ ซาไดจิง ("มหาเสนาบดีซ้าย")

ยุคเมจิและหลังจากนั้น แก้

ตำแหน่งถูกพัฒนาในสมัยเมจิ ในปี ค.ศ. 1885 ได้รับการตั้งชื่อใหม่เพื่อหมายถึง ผู้รักษาพระราชลัญจกรของญี่ปุ่น ในราชสำนัก[2] ในปีนั้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลคือ ไดโจไดจิง ได้รับการฟื้นฟู ในเดือนธันวาคม ซันโจ ซาเนโทมิ ได้ถวายฎีกาต่อจักรพรรดิเพื่อยุบเลิกตำแหน่งของเขา และจากนั้นเขาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ไนไดจิง หรือผู้รักษาพระราชลัญจกรในทันที[3]

ตำแหน่งของผู้รักษาพระราชลัญจกรนั้นเหมือนกับ ไนไดจิงในแง่ของชื่อเท่านั้นไม่ใช่ในแง่ของการใช้งานหรืออำนาจ[4]

ลักษณะของตำแหน่งพัฒนาต่อไปใน ยุคไทโช และ ยุคโชวะ ตำแหน่งนี้ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945[5]

ดูเพิ่ม แก้

บันทึก แก้

  1. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, p. 425.
  2. Dus, Peter. (1988). The Cambridge History of Japan: The Twentieth Century, pp. 59, 81.
  3. Ozaki, p. 86.
  4. Unterstein (in German): Ranks in Ancient and Meiji Japan (in English and French), pp. 6, 27.
  5. Glossary | Birth of the Constitution of Japan

อ้างอิง แก้

  • (ญี่ปุ่น) Asai, T. (1985). Nyokan Tūkai. Tokyo: Kōdansha.
  • Dickenson, Walter G. (1869). Japan: Being a Sketch of the History, Government and Officers of the Empire. London: W. Blackwood and Sons. OCLC 10716445
  • Ozaki, Yukio. (2001). The Autobiography of Ozaki Yukio: The Struggle for Constitutional Government in Japan. [Translated by Fujiko Hara]. Princeton: Princeton University Press. ISBN 0-691-05095-3 (cloth)
  • (ญี่ปุ่น) Ozaki, Yukio. (1955). Ozak Gakudō Zenshū. Tokyo: Kōronsha.
  • Sansom, George (1958). A History of Japan to 1334. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-0523-3
  • Dus, Peter. (1988). The Cambridge History of Japan: the Twentieth Century, Vol. 6. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-22357-1
  • Ozaki, Yukio. (2001). The Autobiography of Ozaki Yukio: The Struggle for Constitutional Government in Japan. [Translated by Fujiko Hara]. Princeton: Princeton University Press. ISBN 0-691-05095-3 (cloth)
  • Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779-1822. London: Routledge Curzon. ISBN 0-7007-1720-X
  • (ฝรั่งเศส) Titsingh, Isaac. (1834). [Siyun-sai Rin-siyo/Hayashi Gahō, 1652], Nipon o daï itsi ran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland.
  • Varley, H. Paul, ed. (1980). [ Kitabatake Chikafusa, 1359], Jinnō Shōtōki ("A Chronicle of Gods and Sovereigns: Jinnō Shōtōki of Kitabatake Chikafusa" translated by H. Paul Varley). New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-04940-4