โอโตโมะ โซริง
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โอโตโมะ โซริง (ญี่ปุ่น: 大友 宗麟; โรมาจิ: Ōtomo Sōrin) เป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในไดเมียวผู้นับถือศาสนาคริสต์ของยุคเซ็งโงกุ
โอโตโมะ โซริง Ōtomo Sōrin 大友 宗麟 | |
---|---|
อนุสาวรีย์ของโอโตโมะ โซริง | |
ไดเมียวคนที่ 21 ของตระกูลโอโตโมะ | |
ดำรงตำแหน่ง สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1550 – มิถุนายน ค.ศ.1587 | |
ก่อนหน้า | โอโตโมะ โยชิอากิ |
ถัดไป | โอโตโมะ โยชิมุเนะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 มกราคม หรือ 30 พฤษภาคม ค.ศ.1530 |
เสียชีวิต | 11 มิถุนายน ค.ศ.1587 |
คู่สมรส | ท่านหญิงนาตะ |
บุตร | โอโตโมะ โยชิมุเนะ โอโตโมะ จิกะอิเอะ โอโตโมะ จิกะโมริ นางเจสเตอร์ (ジェスタ) โมริ มาเซนเซีย |
บุพการี |
|
ญาติ | โออุจิ โยชินากะ (น้องชาย) โอโตโมะ ชิโออิจิมารุ (น้องชาย) โอโตโมะ จิกะซาดะ (น้องชาย) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | รัฐบาลโชกุนอะชิกางะ ตระกูลโทโยโตมิ |
ในอดีตเขามีชื่อเดิมว่า โยชิชิเงะ (ญี่ปุ่น : 義鎮 , อังกฤษ : Yoshishige) แต่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โซริง ในปี ค.ศ.1562 จากนั้นอีก 16 ปีต่อมา เขาได้เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ และได้รับชื่อเป็น ดอน ฟรานซิสโก (ドン・フランシスコ)
ความรุ่งเรือง
แก้ในสมัยที่โซริงเป็นไดเมียว ตระกูลโอโตโมะถือได้ว่าเป็นหนึ่งในตระกูลที่ยิ่งใหญ่แห่งเกาะคิวชู เขาเป็นผู้ที่ริเริ่มความสัมพันธ์และการทูตกับต่างประเทศ
ในส่วนของการค้าขาย ตระกูลโอโตโมะได้มีรายได้อย่างมหาศาล เนื่องจากแคว้นบุงโงะถือเป็นแหล่งการค้าที่สำคัญ และผลจากการค้าขายและแลกเปลี่ยนซื้อสินค้า ทำให้ตระกูลโอโตโมะมีอาวุธยุทธภัณฑ์จำพวกปืนใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก มีเรื่องเล่าว่าเขาได้ส่งเสริมไมตรีกับประเทศกัมพูชาและทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากัน
ในส่วนของการทูต เขาได้ร่วมมือกับโอมุระ ซุมิทาดะและอาริมะ ฮารุโนบุ ส่งคณะทูตปีเท็นโชไปแสดงความเคารพต่อองค์โป๊บเกรกอรีที่ 13 ในราวปี ค.ศ.1582
การสงคราม
แก้ในสมัยของโซริง ได้มีการทำสงครามกับตระกูลโมริ, ตระกูลริวโซจิ และตระกูลชิมาสุ รวมถึงตระกูลเล็ก ๆ อย่างตระกูลอากิซุกิ เป็นต้น
การสงครามกับตระกูลโมริ
แก้เนื่องจาก โออุจิ โยชินากะ ซึ่งเป็นน้องชายคนรองของเขา ได้เสียชีวิตในระหว่างการรบกับโมริ โมโตนาริที่แคว้นนางาโตะ ทำให้โซริงต้องยกทัพเพื่อหวังล้างแค้นให้แก่น้องชาย โดยได้รับความช่วยเหลือจากพวกโปรตุเกส โดยทั้งสองฝ่ายได้ทำสงครามกันที่ปราสาทโมจิ สงครามครั้งนั้นกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ.1558 ถึง ค.ศ.1562 ซึ่งสงครามจบลงด้วยการที่โชกุนโยชิเทรุเป็นคนกลางในการสงบศึก ถึงแม้ว่าตัวเขาจะไม่ได้ทำสงครามกับโมริโดยตรง แต่เขาก็ได้สนับสนุนอาหารและอาวุธให้แก่กลุ่มที่ต้องการทำลายตระกูลโมริ อาทิเช่น การสนับสนุนโออุจิ เทรุฮิโระในการก่อกบฏในปี ค.ศ.1568 และ การสนับสนุนกองทัพกู้ชาติแห่งตระกูลอะมาโงะที่นำโดยอะมาโงะ คัตสึฮิสะและยามานากะ ชิกะโนะสุเกะ
การสงครามกับตระกูลริวโซจิ
แก้ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1570 โซริงได้ทำสงครามกับริวโซจิ ทากาโนบุที่จังหวัดซางะ (ยุทธการอิมายามะ) ซึ่งสงครามจบลงในเดือนกันยายน ด้วยชัยชนะของตระกูลริวโซจิ ส่วนฝ่ายโอโตโมะได้พ่ายแพ้
การสงครามกับตระกูลชิมาสุ
แก้การสงครามนี้ถือว่าเป็นจุดที่เริ่มบั่นทอนความมั่นคงทางกองทัพของโอโตโมะ โดยในปี ค.ศ.1578 ฝ่ายโอโตโมะได้พ่ายแพ้ในการรบที่มิมิงาวะ และผลจากความพ่ายแพ้ครั้งนั้น ทำให้รายได้ของโอโตโมะลดลงไปมาก เนื่องจากท่าเรือได้ถูกเรือรบของชิมาสุ โยชิฮิสะเข้าปิดล้อมเอาไว้ ทำให้ทำการค้าไม่ได้เลย
กองทัพชิมาสุเข้าบุกรุกชายแดนของโอโตโมะมาเรื่อย ๆ จนสถานการณ์ย่ำแย่ลงในปี ค.ศ.1585 เมื่อปราสาทอิวายะได้ถูกชิมาสุ ทาดะนากะตีแตกพ่าย และทำให้ทากาฮาชิ โจอุนซึ่งเป็นทหารเอกของโซริงทำการเซ็ปปุกุ โซริงจึงตัดสินใจขอความช่วยเหลือจากโทโยโตมิ ฮิเดโยชิเพื่อแลกกับความอยู่รอดของตระกูล ฮิเดโยชิรับคำขอร้องจากโซริง และส่งทหารเข้ามาช่วยไว้ทันกาล
การเสียชีวิต
แก้หลังจากที่กองทัพโทโยโตมิได้มาถึงเกาะคิวชู โซริงก็ได้ป่วยเป็นโรคไข้สากใหญ่ และเสียชีวิตด้วยอายุ 57 ปี
อ้างอิง
แก้- Turnbull, Stephen (1998). The Samurai Sourcebook. Cassell & Co. p. 215,266–269. ISBN 1854095234.
- 外山幹夫 『大友宗麟』 吉川弘文館〈人物叢書〉、1975年。ISBN 978-4642051392。
- 芥川竜男『大友宗麟のすべて』新人物往来社、1986年。