โรคถ้ำมอง[1] (อังกฤษ: Voyeurism) หรือ ความชอบแอบดู หรือ การแอบดู เป็นความสนใจหรือข้อประพฤติทางเพศที่จะแอบดูคนอื่นทำการในที่ลับ เช่นถอดเสื้อผ้า มีกิจกรรมทางเพศ หรือการอื่น ๆ ที่ปกติพิจารณาว่าเป็นเรื่องควรทำเป็นการส่วนตัว[2] คนแอบดูปกติจะไม่ทำอะไรโดยตรงกับบุคคลที่เป็นเป้า ผู้บ่อยครั้งจะไม่รู้ว่ากำลังถูกแอบดู จุดสำคัญของการแอบดูก็คือการเห็น แต่อาจจะรวมการแอบถ่ายรูปหรือวิดีโอ[ต้องการอ้างอิง]

ภาพ "Mercury and Herse" จากชุดจิตรกรรมฝาผนัง The Loves of the Gods โดยจิตรกรชาวอิตาลี Jacopo Caraglio ที่แสดงเทพเมอร์คิวรีกับ Herse ลอบดู Aglaulus

คำภาษาอังกฤษมาจากคำฝรั่งเศสว่า voyeur ซึ่งหมายความว่า "บุคคลที่ดู" คนแอบดูชายมักจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Peeping Tom" ซึ่งเป็นคำมาจากตำนานของ Lady Godiva ซึ่งเป็นหญิงที่ขี่ม้าเปลือยกายไปในเวลากลางคืน เพื่อขอการปลดเปลื้องหนี้ภาษีจากสามีของเธอสำหรับคนเช่าที่ดินของเขา โดยมีชายคนหนึ่งมองเห็น[3] แต่ว่า จริง ๆ แล้ว คำนี้มักจะใช้กับชายที่แอบดูคนอื่น และโดยทั่วไปไม่ใช่ในที่สาธารณะเหมือนอย่างในตำนาน

เทคนิค

แก้
 
ตัวอย่างภาพถ่ายที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านอกพิสัยการเห็น

แม้ว่ากล้องจารกรรมที่เล็กขนาดนาฬิกาห้อยกระเป๋าจะมีตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1880[4] เริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ความก้าวหน้าในการทำของให้เล็กลงและของอิเล็กทรอนิกส์ ได้เพิ่มสมรรถภาพกล้องขนาดเล็ก (ซึ่งบ่อยครั้งเรียกว่า "spy cameras" หรือกล้องจารกรรม) ทั้งโดยคุณภาพและราคาของกล้อง ให้ดีขึ้นมาก กล้องดิจิตัลสำหรับผู้บริโภคปัจจุบันเดี๋ยวนี้เล็กมากจนกระทั่งว่า ถ้าเป็นทศวรรษก่อน ๆ ก็จะเรียกว่า กล้องจารกรรม และกล้องมือถือดิจิตัลที่ละเอียดเกินกว่า 20 ล้านพิกเซลก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมือถือโดยมากที่ใช้ในปัจจุบันก็จะเป็นกล้องถ่ายด้วย

มีอุปกรณ์เก็บภาพบางอย่างที่สามารถถ่ายภาพผ่านวัตถุที่ปรากฏทึบในแสงปกติ เช่น เสื้อผ้า อุปกรณ์เช่นนี้ สร้างภาพโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่นอกพิสัยการเห็น ทั้งกล้องรังสีอินฟราเรดและกล้องรังสีเทราเฮิรตซ์สามารถสร้างภาพทะลุเสื้อผ้า แต่ว่า รูปเช่นนี้ต่างจากที่มองเห็นด้วยแสงปกติ[5][6]

ประเด็นการแพทย์

แก้

นิยาม

แก้
โรคถ้ำมอง
Voyeurism
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F65.3
ICD-9302.82

สมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association) ได้จัดหมวดหมู่รูปแบบจินตนาการ ความอยาก และพฤติกรรมแบบถ้ำมองว่าเป็นโรคกามวิปริตในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-IV) ถ้าบุคคลนั้นประพฤติตามความอยาก หรือว่าความอยากและจินตนาการทางเพศเช่นนั้น ทำให้เกิดความทุกข์และความขัดข้องในความสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างสำคัญ[7] ในคู่มือสากลคือ ICD-10 นี้จัดเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับความชอบใจทางเพศ (disorder of sexual preference)[8] DSM-IV นิยาม voyeurism ว่าเป็นการดู "คนที่ไม่สงสัย ปกติเป็นคนแปลกหน้า ที่เปลือย หรือกำลังถอดเสื้อผ้า หรือกำลังมีกิจกรรมทางเพศ"[9] แต่ว่าการวินิจฉัยเช่นนี้ จะไม่ให้ต่อบุคคลที่เกิดอารมณ์ทางเพศปกติ โดยเพียงแต่เห็นความเปลือยหรือกิจกรรมทางเพศเท่านั้น คือ จะได้วินิจฉัยเช่นนี้ อาการดังกล่าวต้องเกิดเป็นเวลากว่า 6 เดือน และบุคคลนั้นต้องมีอายุเกินกว่า 18 ปี[10]

มุมมองประวัติศาสตร์

แก้

มีงานวิจัยน้อยมากเกี่ยวกับความชอบแอบดู งานปริทัศน์ทบทวนวรรณกรรมในปี 1976 พบสิ่งที่ตีพิมพ์เพียงแค่ 15 งาน[11] แม้ว่าจะมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นหลังจากนั้น แต่ว่าก็ยังมีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับประเด็นนี้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกใจ ถ้าพิจารณาถึงการเพิ่มการใช้คำภาษาอังกฤษว่า voyeur (คนแอบดู) และพิจารณาขนาดกลุ่มคนที่อาจจะทำอะไรเช่นนี้ ตามประวัติแล้ว คำนี้ ใช้โดยเฉพาะต่อคนที่เข้ากับคำพรรณนาของ DSM แต่ว่าภายหลัง สังคมก็ได้ยอมรับการใช้คำนี้โดยหมายถึงใครก็ได้ที่ดูชีวิตส่วนตัวของคนอื่น แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเพศ[12] เช่น คำนี้ได้ใช้โดยเฉพาะกับรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีโชว์และสื่ออื่น ๆ ที่ให้โอกาสดูชีวิตของคนอื่นได้ นี่เป็นการเปลี่ยนการใช้คำที่หมายถึงกลุ่มประชากรที่จำเพาะโดยมีรายละเอียดที่จำเพาะ ไปหมายถึงประชากรทั่วไปโดยมีความหมายคลุมเครือ

ทฤษฎีที่มีน้อยนิดเกี่ยวกับเหตุของความชอบแบบนี้มาจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซึ่งเสนอว่า ความชอบแอบดูมีเหตุจากความล้มเหลวในช่วงวัยเด็กที่จะยอมรับความวิตกกังวลในการสูญเสียความเป็นชาย (castration anxiety) และดังนั้นโดยผลที่สืบเนื่องกัน จึงมีเหตุจากความล้มเหลวที่จะพยายามเป็นเหมือนกับพ่อ[9] (คือถ้าเด็ก "ยอมรับความวิตกกังวล" ก็จะพยายามเลิกความรู้สึกทางเพศที่มีต่อแม่ แล้วใช้พ่อเป็นตัวอย่างทำตามให้เป็นเหมือนพ่อ)

ความชุก

แก้

การแอบดูมีความชุกสูงในกลุ่มประชากรที่ศึกษาโดยมาก แม้ว่าตอนแรกจะเชื่อว่า มีจำกัดเพียงแค่ชนกลุ่มน้อยในประชากรทั้งหมด แต่ความคิดนี้เปลี่ยนไปหลังจากนักเพศวิทยาคนดัง ศ.ดร.แอลเฟร็ด คินซีย์ ค้นพบว่า 30% ของชายชอบใจการร่วมเพศโดยเปิดไฟ[9] แม้ว่าพฤติกรรมนี้จะไม่ได้พิจารณาว่าเป็นการแอบดูโดยมาตรฐานการวินิจฉัยปัจจุบัน แต่ในสมัยนั้น ความประพฤติที่ปกติและที่ผิดปกติยังไม่ได้จำแนก

งานวิจัยต่อ ๆ มาแสดงว่า ชาย 65% เคยแอบดู ซึ่งแสดงนัยว่า พฤติกรรมนี้แพร่กระจายไปทั่วในกลุ่มประชากรทั่วไป[9] และโดยเข้ากับผลที่พบนี้ มีงานวิจัยที่พบว่า การแอบดูเป็นพฤติกรรมทางเพศผิดกฎหมายที่สามัญที่สุดทั้งในกลุ่มคนไข้และกลุ่มประชากรทั่วไป[13] และพบด้วยว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยชาย 42% ที่ไม่เคยถูกตัดสินว่าผิดในอาชญากรรมเคยแอบดูคนอื่นในสถานการณ์ที่เกี่ยวกับเพศ ส่วนงานวิจัยก่อนหน้านั้นแสดงว่า ชาย 54% มีจินตนาการเกี่ยวกับการแอบดู และ 42% ได้เคยแอบดูแล้วจริง ๆ[14]

งานวิจัยระดับชาติปี 2006 ของประเทศสวีเดนพบว่า กลุ่มประชากรทั้งชายหญิงในอัตรา 7.7% เคยแอบดู[15] นอกจากนั้นแล้ว ยังเชื่อกันว่า การแอบดูเกิดขึ้นประมาณ 150 เท่าของที่มีรายงานทางตำรวจ[15] งานวิจัยปี 2006 นี้ แสดงด้วยว่าการแอบดูเกิดร่วมกับการแสดงอนาจาร (exhibitionism) ในระดับสูง คือพบว่า คนที่แอบดู 63% รายงานว่าได้แสดงอนาจารด้วย[15]

ลักษณะของคนแอบดู

แก้

เนื่องจากความชุกสูงของการแอบดูในสังคม คนที่แอบดูจึงมีความต่าง ๆ กันมาก แต่ว่า ก็ยังมีแนวโน้มว่าใครมีโอกาสที่จะแอบดูสูงกว่า แต่ว่า สถิติเหล่านี้ใช้กับคนที่ผ่านเกณฑ์ของ DSM ไม่ใช่กับคนในแนวคิดปัจจุบันที่กล่าวไว้ก่อนแล้ว

งานวิจัยเบื้องต้นแสดงว่า คนแอบดูมีสุขภาพจิตดีกว่าคนโรคกามวิปริตอื่น ๆ[11] คือเทียบกับกลุ่มอื่นที่ศึกษาแล้ว คนแอบดูมีโอกาสน้อยกว่าที่จะเป็นคนติดเหล้าหรือยาเสพติด งานวิจัยต่อจากนั้นแสดงว่า เทียบกับคนประชากรทั่วไป (ไม่ใช่คนมีโรคกามวิปริต) คนแอบดูมีโอกาสที่จะมีปัญหาทางจิต ดื่มเหล้าและใช้ยาเสพติด และมีความต้องการทางเพศสูงกว่าโดยทั่วไป[15] งานวิจัยนี้ยังแสดงด้วยว่า คนแอบดูมีคู่นอนมากกว่าเทียบต่อปี และมีโอกาสที่จะมีคู่เพศเดียวกันสูงกว่ากลุ่มประชากรทั่วไป[15]

ทั้งงานวิจัยก่อน ๆ และต่อ ๆ มาพบว่า คนแอบดูมักจะร่วมเพศเป็นครั้งแรกโดยมีอายุมากกว่า[11][15] แต่งานวิจัยอื่น ๆ กลับพบว่า คนแอบดูไม่มีประวัติทางเพศที่แตกต่างจากคนอื่น ๆ[14] คนแอบดูที่ไม่ได้เป็นผู้แสดงอนาจารด้วย มักจะมีฐานะทางสังคมเศรษฐกิจที่สูงกว่าคนที่แสดงอนาจาร[15]

งานวิจัยแสดงว่า โดยเหมือนกับโรคกามวิปริตอื่น ๆ การแอบดูสามัญในชายมากกว่าในหญิง[15] แต่ก็มีงานวิจัยที่พบว่า ทั้งชายและหญิงรายงานว่าตนมีโอกาสที่จะแอบดูพอ ๆ กัน[16] แต่ความแตกต่างระหว่างเพศจะสูงกว่าถ้าให้โอกาสการแอบดูจริง ๆ ถึงกระนั้น โดยเปรียบเทียบแล้ว มีงานวิจัยน้อยมากในเรื่องการแอบดูในผู้หญิง จึงมีข้อมูลน้อยมาก และกรณีศึกษาหนึ่งจากบรรดางานศึกษาที่น้อยนิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับหญิงที่เป็นโรคจิตเภทด้วย ซึ่งจำกัดการแสดงนัยทั่วไปในกลุ่มประชากรทั่วไป[17]

มุมมองปัจจุบัน

แก้

ทฤษฎี Lovemap เสนอว่า การแอบดูมีอยู่ เพราะการดูคนอื่นเปลือยกายได้เปลี่ยนจากพฤติกรรมทางเพศขั้นทุติยภูมิ มาเป็นพฤติกรรมทางเพศแบบปฐมภูมิ[16] ซึ่งเป็นการแทนที่ความต้องการทางเพศ ทำให้การแอบดูคนอื่นกลายเป็นวิธีหลักในการได้ความพอใจทางเพศ

นอกจากนั้นแล้ว การแอบดูยังสัมพันธ์กับความผิดปกติแบบย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder ตัวย่อ OCD) และเมื่อใช้วิธีการรักษาเดียวกับ OCD พฤติกรรมแอบดูจะลดลงได้อย่างสำคัญ[18]

การบำบัดรักษา

แก้

โดยประวัติแล้ว มีการบำบัดการแอบดูหลายวิธี รวมทั้ง จิตวิเคราะห์ จิตบำบัดกลุ่ม (group psychotherapy) และ aversion therapy ซึ่งล้วนแต่มีผลสำเร็จที่จำกัด[11] มีหลักฐานด้วยว่า สื่อลามกอนาจารสามารถใช้ช่วยบำบัดการแอบดู โดยเป็นหลักฐานสำหรับไอเดียว่า ประเทศที่มีการตรวจพิจารณาสื่อลามกอนาจารมีระดับการแอบดูสูง[19] นอกจากนั้นแล้ว การเปลี่ยนการแอบดู ไปเป็นการดูสื่อลามกอนาจารที่โจ่งแจ้ง คือดูรูปเปลือยในนิตยสารเพลย์บอย ได้ใช้เป็นการบำบัดอย่างสำเร็จผลมาแล้ว[20] งานวิจัยเหล่านี้แสดงว่า สื่อลามกอนาจารสามารถใช้เป็นตัวสนองความต้องการจะแอบดูโดยไม่ต้องทำผิดกฎหมาย

การแอบดูยังบำบัดได้ด้วยยาระงับอาการทางจิตและยาแก้ซึมเศร้าแบบต่าง ๆ แต่ว่า กรณีศึกษาที่แสดงผลเช่นนี้ มีตัวอย่างเป็นคนไข้ที่มีปัญหาทางจิตอย่างอื่นหลายอย่าง และดังนั้น การรักษาด้วยการใช้ยาอย่างเข้มอาจจะไม่จำเป็นสำหรับคนแอบดูโดยมาก[21]

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีผลสำเร็จในการรักษาการชอบแอบดูโดยใช้วิธีบำบัดความผิดปกติแบบย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder) และมีตัวอย่างการให้ยาฟลูอ็อกเซทีน แก่คนไข้แล้วบำบัดพฤติกรรมการแอบดูเหมือนกับพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ[12][18]

อาชญาวิทยา

แก้

การแอบดูคนที่ไม่ยินยอมเป็นรูปแบบของทารุณกรรมทางเพศ (sexual abuse)[22][23][24][25] และเมื่อมีความสนใจในบุคคลเป้าหมายคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ พฤติกรรมอาจจะกลายเป็นการติดตามแบบก่อกวน (stalking)

สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐอเมริกายืนยันโดยอาศัยข้อมูลจากผู้ทำผิดทางเพศแบบรุนแรงว่า บุคคลบางคนที่ทำอาชญากรรมแบบเป็นเหตุรำคาญ (เช่น การแอบดู) มีความโน้มเอียงที่จะทำอาชญากรรมรุนแรงประเภทอื่น ๆ[26] นักวิจัยของสำนักงานเสนอว่า คนแอบดูมีโอกาสมากกว่าที่จะมีลักษณะที่สามัญ แต่ไม่ใช่ทั่วไป ในบรรดาบุคคลผู้ทำผิดทางเพศ ที่ต้องใช้เวลาและความพยายามมากที่จะจับเหยื่อหรือสร้างรูปของเหยื่อ ผู้จะวางแผนอย่างเป็นระบบในการเลือกและเตรียมอุปกรณ์ และบ่อยครั้งให้ความใส่ใจกับรายละเอียดอย่างพิถีพิถัน[27]

แต่ไม่มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับสถิติทางประชากรของผู้แอบดู

สถานะทางกฎหมาย

แก้

การแอบดูไม่ได้ผิดกฎหมายแบบคอมมอนลอว์ คือในประเทศที่ใช้คอมมอนลอว์ จะผิดกฎหมายก็ต่อเมื่อออกกฎหมายโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศแคนาดา การแอบดูยังไม่ผิดกฎหมายในคดี "Frey v. Fedoruk et al" ในปี 1947 ในคดีนั้น ศาลสูงสุดแคนาดาปี 1950 ตัดสินว่า ศาลไม่สามารถทำการแอบดูให้เป็นอาชญากรรมโดยจัดมันว่าเป็นการทำลายความสงบ และรัฐสภาจะต้องทำให้มันผิดกฎหมายอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งรัฐสภาแคนาดาไม่ได้ทำจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2005[28]

ในบางประเทศ การแอบดูเป็นอาชญากรรมทางเพศ ยกตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักร การแอบดูโดยไม่ยินยอมกลายเป็นความผิดอาญาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2004[29] ในคดีปี 2006 R v Turner[30] จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการศูนย์กีฬาได้ถ่ายวิดีโอหญิง 4 คนอาบน้ำในห้อง แต่ไม่มีอะไรที่จะชี้ว่าจำเลยได้ให้คนอื่นดูหรือส่งให้คนอื่น จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิด ต่อมา ศาลอุทธรณ์ได้คงยืนการตัดสินให้จำคุก 9 เดือนเพื่อสะท้อนความร้ายแรงของการทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจ และผลเสียหายทางใจต่อเหยื่อ

อีกคดีหนึ่งในปี 2010 คือ "R v Wilkins"[31] ที่จำเลยชายได้ถ่ายวิดีโอการร่วมเพศกับคู่รัก 5 คนเพื่อดูเป็นการส่วนตัว มีการตัดสินให้จำคุก 8 เดือน และให้ลงทะเบียนผู้ทำผิดทางเพศ ซึ่งจะแสดงชื่อของจำเลยเป็นเวลา 10 ปี

ในคดีปี 2013 ชายจำเลยถูกตัดสินว่าผิดในข้อหาการแอบดู หลังจากที่ได้หลอกนักเรียนอายุ 18 ให้ไปที่หอเช่า ที่เขาได้ถ่ายวิดีโอโดยใช้กล้องที่ซ่อนไว้ 4 กล้อง โดยให้เธอแต่งตัวเป็นเด็กนักเรียน และตั้งท่าเพื่อถ่ายภาพก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเธอ จำเลยถูกตัดสินจำคุก 16 เดือนซึ่งรวมข้อหาความผิดอื่น ๆ[32]

ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา การแอบถ่ายวิดีโอเป็นความผิดในรัฐ 9 รัฐ[ต้องการอ้างอิง] และบางครั้งให้ลงทะเบียนผู้ทำผิดว่า เป็นคนทำผิดทางเพศ กฎหมายเกี่ยวกับการแอบดู สัมพันธ์กับกฎหมายละเมิดภาวะเฉพาะส่วนตัว[33] แต่จำเพาะเจาะจงในเรื่องการดูแลสอดส่องแบบซ่อนเร้น (surreptitious surveillance) แบบที่ผิดกฎหมายโดยไม่ได้รับความยินยอม และการบันทึกที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งการแพร่สัญญาณ การเผยแพร่ การตีพิมพ์ หรือการขายสิ่งที่บันทึก ในสถานที่และในเวลาที่บุคคลหนึ่ง ๆ สามารถคาดหวังอย่างสมเหตุผลเพื่อจะมีภาวะเฉพาะส่วนตัว และเข้าใจอย่างสมเหตุผลว่า ตนจะไม่ถูกถ่ายรูปหรืออัดวิดีโอโดย "อุปกรณ์ภาพเชิงกล ดิจิตัล หรืออิเล็กทรอนิกส์, กล้องหรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่สามารถอัด เก็บ และส่งภาพที่สามารถใช้เพื่อดูบุคคลนั้น"[34]

ประเทศซาอุดีอาระเบียห้ามขายโทรศัพท์กล้องทั่วประเทศในเดือนเมษายน 2004 แต่ต่อมายกเลิกการห้ามในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ส่วนบางประเทศ เช่นเกาหลีใต้และญี่ปุ่นบังคับให้โทรศัพท์กล้องที่ขายในประเทศต้องส่งเสียงที่ฟังได้ชัดเจนเมื่อถ่ายภาพ โดยปี 2015 ประเทศสิงคโปร์ได้ตัดสินคดีแอบดูใต้กระโปรงที่ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีช่วย เป็นโทษสูงสุดคือจำขังเป็นระยะเวลา 1 ปีและปรับ ในข้อหาหมิ่นประมาทความสุภาพเรียบร้อยของหญิง[35]

ส่วนการลอบถ่ายรูปโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่ถือว่าเป็นการแอบดู แม้ว่าอาจจะผิดกฎหมายหรือมีการควบคุมในบางประเทศ

ในปี 2013 รัฐสภาอินเดียปรับปรุงกฎหมายให้การแอบดูเป็นอาชญากรรม[36] ผู้ละเมิดกฎหมายแอบดูอาจถูกจำ 1-3 ปีในการทำผิดครั้งแรกและถูกปรับ ส่วนการทำผิดครั้งต่อไปอาจถูกจำ 3-7 ปีและถูกปรับ

 
จิตรกรรม Candaules, King of Lydia, Shews his Wife by Stealth to Gyges, One of his Ministers, as She Goes to Bed (แปลรวบรัดว่า พระราชาแสดงพระชายาต่ออำมาตย์เมื่อทรงขึ้นบรรทม) โดย William Etty

ส่วนในประเทศไทย ไม่มีกฎหมายกำหนดโทษสำหรับการแอบดูโดยเฉพาะ[37][38] แต่มีกฎหมายประมวลอาญามาตราที่ 397 ที่กำหนดว่า

ผู้ใด ในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่น หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

— ประมวลกฎหมายอาญาไทย มาตรา 397[39]

ส่วนในบ้านส่วนตัว ผู้ทำผิดสามารถต้องความผิดอาญาฐานบุกรุกได้[38]

ในสื่อ

แก้

ภาพยนตร์ที่มีการแอบดูเป็นโครงเรื่องรวมทั้ง หน้าต่างชีวิต (1954) วรรณกรรมเช่นไลท์โนเวล โรงเรียนป่วน ก๊วนคนบ๊อง มีตัวละครคือนายสึจิยะ โคตะ เป็นจอมลามกชอบก้มส่องกางเกงในสาว ๆ พอเห็นแล้วเลือดกำเดาจะพุ่งออกเป็นเอกลักษณ์ พกกล้องถ่ายรูปติดตัวตลอด

ในศาสนาพุทธ

แก้

ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงห้ามการอุปสมบทแก่บัณเฑาะก์ โดยพระบัญญัติว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันคือบัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

อรรถกถานิยามบัณเฑาะก์ไว้ 5 ประเภท รวมทั้ง "อุสุยยบัณเฑาะก์" ซึ่งกล่าวไว้ว่า

ฝ่ายบัณเฑาะก์ใดเห็นอัชฌาจารของชนเหล่าอื่น เมื่อความริษยาเกิดขึ้นแล้ว ความเร่าร้อน (ทางเพศ) จึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ ชื่อว่า อุสุยยบัณเฑาะก์

— สมันตปาสาทิกา อรรถกถาสำหรับพระวินัยปิฎก[41]

แต่อุสุยยบัณเฑาะก์เป็นบัณเฑาะก์ที่ไม่ห้ามบรรพชาตามอรรถกถากุรุนที[41]

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. "Voyeurism", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, โรคถ้ำมอง
  2. Hirschfeld, M. Sexual anomalies and perversions: Physical and psychological development, diagnosis and treatment (new and revised ed.). London: Encyclopaedic Press.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ต้องการเลขหน้า]
  3. DNB 1890
  4. "Secret watch camera, c.1886". D-log.info. 2007-04-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-11-29.[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง?]
  5. "New security camera can 'see' through clothes". CNN. 2008-04-16.
  6. Lugmayr, Luigi (2008-03-09). "ThruVision T5000 T-Ray Camera sees through Clothes". I4U. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-15. สืบค้นเมื่อ 2016-03-28.
  7. "BehaveNet Clinical Capsule: Voyeurism". Behavenet.com. สืบค้นเมื่อ 2011-11-29.
  8. "ICD-10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-14. สืบค้นเมื่อ 2008-09-13.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Metzl, Jonathan M. (2004). "Voyeur Nation? Changing Definitions of Voyeurism, 1950-2004". Harvard Review of Psychiatry. 12 (2): 127–31. doi:10.1080/10673220490447245. PMID 15204808.
  10. Staff, PsychCentral. "Voyeuristic Disorder Symptoms". PsychCentral. สืบค้นเมื่อ 2015-04-16.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Smith, R. Spencer (1976). "Voyeurism: A review of literature". Archives of Sexual Behavior. 5 (6): 585–608. doi:10.1007/BF01541221. PMID 795401.
  12. 12.0 12.1 Metzl, Jonathan (2004). "From scopophilia to Survivor: A brief history of voyeurism". Textual Practice. 18 (3): 415–34. doi:10.1080/09502360410001732935.
  13. "The DSM Diagnostic Criteria for Exhibitionism, Voyeurism, and Frotteurism" (PDF). Niklas Langstrom. สืบค้นเมื่อ 2013-04-04.
  14. 14.0 14.1 Templeman, Terrel L.; Stinnett, Ray D. (1991). "Patterns of sexual arousal and history in a "normal" sample of young men". Archives of Sexual Behavior. 20 (2): 137–50. doi:10.1007/BF01541940. PMID 2064539.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 15.6 15.7 Långström, Niklas; Seto, Michael C. (2006). "Exhibitionistic and Voyeuristic Behavior in a Swedish National Population Survey". Archives of Sexual Behavior. 35 (4): 427–35. doi:10.1007/s10508-006-9042-6. PMID 16900414.
  16. 16.0 16.1 Rye, B. J.; Meaney, Glenn J. (2007). "Voyeurism: It Is Goodas Long as We Do Not Get Caught". International Journal of Sexual Health. 19: 47–56. doi:10.1300/J514v19n01_06.
  17. Hurlbert, David (1992). "Voyeurism in an adult female with schizoid personality: A case report". Journal of Sex Education & Therapy.[ต้องการเลขหน้า]
  18. 18.0 18.1 Abouesh, Ahmed; Clayton, Anita (1999). "Compulsive voyeurism and exhibitionism: A clinical response to paroxetine". Archives of Sexual Behavior. 28 (1): 23–30. doi:10.1023/A:1018737504537. PMID 10097802.
  19. Rincover, Arnold (1990). "Can Pornography Be Used as Treatment for Voyeurism?". Toronto Star.[ต้องการเลขหน้า]
  20. Jackson, B (1969). "A case of voyeurism treated by counterconditioning". Behaviour Research and Therapy. 7 (1): 133–4. doi:10.1016/0005-7967(69)90058-8. PMID 5767619.
  21. Becirovic, E.; Arnautalic, A.; Softic, R.; Avdibegovic, E. (2008). "Case of Successful treatment of voyeurism". European Psychiatry. 23: S200. doi:10.1016/j.eurpsy.2008.01.317.
  22. "Sexual Violence: Definitions". CDC.gov. สืบค้นเมื่อ 2014-10-17.
  23. "Child Sexual Abuse Fact Sheet: For Parents, Teachers, and Other Caregivers" (PDF). National Child Traumatic Stress Network. สืบค้นเมื่อ 2014-10-17.
  24. "Sexual Assault Fact Sheet". Womenshealth.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-27. สืบค้นเมื่อ 2014-10-17.
  25. "What Is Child Sexual Abuse?" (PDF). National Sexual Violence Resource Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2014-10-17.
  26. Hazelwood, R.R.; Warren, J. (1989-02). "The Serial Rapist: His Characteristics and Victims". FBI Law Enforcement Bulletin: 18–25. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  27. "The Criminal Sexual Sadist". FBI. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-11. สืบค้นเมื่อ 2016-03-28.
  28. "Criminal Code (R.S.C., 1985, c. C-46) s 162".
  29. "Sexual Offences Act 2003". Legislation.gov.uk. section 67.
  30. (2006) All ER (D) 95 (Jan)
  31. "BBC Radio producer jailed over sex tapes". BBC. 2010-03-04.
  32. Brown, Jonathan; Philby, Charlotte; Milmo, Cahal (2013-07-19). "Computer consultant Mark Lancaster jailed for 16 months for voyeurism and trafficking after using 'sex for fees' website to dupe student into having sex with him". The Independent. London.
  33. "Invasion of Privacy Law & Legal Definition". Definitions.uslegal.com. สืบค้นเมื่อ 2011-11-29.
  34. "Stephanie's Law". Criminaljustice.state.ny.us. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ 2011-11-29.
  35. Chong, Elena. "Marketing manager jailed 18 weeks for upskirt videos". Straits Times. สืบค้นเมื่อ 2015-12-01.
  36. "Criminal Law (Amendment) Act, 2013" (PDF). Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-17. สืบค้นเมื่อ 2013-04-16.
  37. "คดีถ้ำมอง". ปรึกษาทนายความ. 2014-10-19.[ลิงก์เสีย]
  38. 38.0 38.1 Pete (2009-11-10). "ถ้ำมอง". รวมมิตรกฎหมาย. ข้อความ 1.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  39. "ประมวลกฎหมายอาญาไทย (ฉบับปรับปรุงเป็นปัจจุบัน)/ภาค ๓". wikisource. มาตรา ๓๙๗ (ข่มเหงรังแกผู้อื่นในที่สาธารณะ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-17. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
  40. "พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 6 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาคที่ 1", E-Tipitaka 2.1.2 (2010), p. 308 (พระบาลี)
  41. 41.0 41.1 "พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 6 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาคที่ 1", E-Tipitaka 2.1.2 (2010), pp. 309–310 (อรรถกถา)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้