โยบ 7 (อังกฤษ: Job 7) เป็นบทที่ 7 ของหนังสือโยบในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] ไม่ทราบว่าผู้เขียนหนังสือโยบเป็นใคร นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเขียนขึ้นราวศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสกาล[3][4] บทที่ 7 ของหนังสือโยบบันทึกคำกล่าวของโยบ เป็นส่วนหนึ่งของส่วนบทสนทนาของหนังสือที่ประกอบด้วยโยบ 3:1-31:40[5][6]

โยบ 7
หนังสือโยบทั้งเล่มในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008) จากฉบับสำเนาเก่า
หนังสือหนังสือโยบ
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเคทูวีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู3
หมวดหมู่Sifrei Emet
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์18

ต้นฉบับ แก้

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 21 วรรค

พยานต้นฉบับ แก้

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B;  B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK:  S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A;  A; ศตวรรษที่ 5)[8]

วิเคราะห์ แก้

โครงสร้างของหนังสือเป็นดังต่อไปนี้:[9]

  • บทนำ (บทที่ 1–2)
  • บทสนทนา (บทที่ 3–31)
  • การตัดสิน (32:1–42:6)
  • บทส่งท้าย (42:7–17)

ในโครงสร้างนี้ บทที่ 7 ถูกรวมอยู่ในส่วนบทสนทนาที่มีโครงสร้างดังต่อไปนี:[10]

  • การแช่งตนเองและการคร่ำครวญให้ตนเองของโยบ (3:1–26)
  • รอบที่หนึ่ง (4:1–14:22)
    • เอลีฟัส (4:1–5:27)
    • โยบ (6:1–7:21)
      • โยบกล่าวกับเพื่อน ๆ (6:1–30)
        • เค้าโครงคำบ่นของโยบ (6:1–7)
        • คำร้องขอของโยบ (6:8–13)
        • ความล้มเหลวของเพื่อน ๆ ในการดูแล (6:14–23)
        • คำท้าทายถึงเพื่อน ๆ (6:24–30)
      • โยบทูลต่อพระเจ้า (7:1–21)
        • ความยากลำบากของชีวิตมนุษย์ (7:1–8)
        • ความมีอายุสั้นของชีวิตมนุษย์ (7:9–16)
        • ทำไม? นานเท่าใด? (7:17–21)
    • บิลดัด (8:1–22)
    • โยบ (9:1–10:22)
    • โศฟาร์ (11:1–20)
    • โยบ (12:1–14:22)
  • รอบที่สอง (15:1–21:34)
  • รอบที่สาม (22:1–27:23)
  • บทคั่น – บทกวีสรรเสริญปัญญา (28:1–28)
  • การสรุปของโยบ (29:1–31:40)

ส่วนบทสนทนาเขียนด้วยรูปแบบบทกวีที่มีวากยสัมพันธ์และไวยากรณ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว[5] บทที่ 6 และ 7 บันทึกคำตอบของโยบหลังคำพูดแรกของเอลีฟัส (ในบทที่ 4 และ 5) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก:[11]

  • โยบ 6: โยบตอบคำพูดที่เข้าใจผิดของเอลีฟัส
  • โยบ 7: โยบทูลต่อพระเจ้า[11]

รูปแบบที่สนทนากับเพื่อน ๆ ก่อนและจึงหันไปทูลต่อพระเจ้าเป็นรูปแบบการพูดของโยบต่อทั้งบทสนทนา[11]

บทที่ 7 เป็น 'กวีนิพนธ์ที่สมดุล' ประกอบด้วย 3 ส่วน แต่ละส่วนประกบหน้าหลังด้วยคำกล่าวเปิดเกี่ยวกับสภาวะของมนุษย์และคำกล่าวปิดที่ทูลคร่ำครวญต่อพระเจ้า:[12]

ส่วน# วรรค คำกล่าวเปิด คำกล่าวปิด
1 1–8 1–2 7–8
2 9–16 9–10 15–16
3 17–21 17–18 21

การเปลี่ยนจุดเน้นของคำกล่าวของโยบปรากฏชัดเจนในวรรค 7-8 ดังนั้น "พระองค์" ในวรรค 12, 14, 16 และ 21 จึงเป็นที่ชัดเจนว่าเป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 ที่หมายถึงพระยาห์เวห์[13]

 
"โยบผู้ทนทุกข์" โดย Gerard Seghers (ค.ศ. 1591–1651)

ความยากลำบากของชีวิตมนุษย์ (7:1–8) แก้

ความมีอายุสั้นของชีวิตมนุษย์ (7:9–16) แก้

คำถามว่าทำไม? และนานเท่าใด? (7:17–21) แก้

ดูเพิ่ม แก้

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: ปฐมกาล 1, ปฐมกาล 2, โยบ 1, โยบ 6
  • อ้างอิง แก้

    1. Halley 1965, pp. 243–244.
    2. Holman Illustrated Bible Handbook. Holman Bible Publishers, Nashville, Tennessee. 2012.
    3. Kugler & Hartin 2009, p. 193.
    4. Crenshaw 2007, p. 332.
    5. 5.0 5.1 Crenshaw 2007, p. 335.
    6. Wilson 2015, p. 18.
    7. Würthwein 1995, pp. 36–37.
    8. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    9. Wilson 2015, pp. 17–23.
    10. Wilson 2015, pp. 18–21.
    11. 11.0 11.1 11.2 Wilson 2015, p. 55.
    12. Wilson 2015, pp. 59–60.
    13. Wilson 2015, p. 59.

    บรรณานุกรม แก้

    • Alter, Robert (2010). The Wisdom Books: Job, Proverbs, and Ecclesiastes: A Translation with Commentary. W.W. Norton & Co. ISBN 978-0393080735.
    • Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 9780195288810.
    • Crenshaw, James L. (2007). "17. Job". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 331–355. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
    • Estes, Daniel J. (2013). Walton, John H.; Strauss, Mark L. (บ.ก.). Job. Teach the Text Commentary Series. United States: Baker Publishing Group. ISBN 9781441242778.
    • Farmer, Kathleen A. (1998). "The Wisdom Books". ใน McKenzie, Steven L.; Graham, Matt Patrick (บ.ก.). The Hebrew Bible Today: An Introduction to Critical Issues. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0-66425652-4.
    • Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
    • Kugler, Robert; Hartin, Patrick J. (2009). An Introduction to the Bible. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-4636-5.
    • Walton, John H. (2012). Job. United States: Zondervan. ISBN 9780310492009.
    • Wilson, Lindsay (2015). Job. United States: Wm. B. Eerdmans Publishing Company. ISBN 9781467443289.
    • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

    แหล่งข้อมูลอื่น แก้