หนังสือโยบ (อังกฤษ: Book of Job; /b/; Biblical Hebrew: אִיּוֹב, อักษรโรมัน: ʾĪyyōḇ) หรือเรียกโดยย่อว่า โยบ (อังกฤษ: Job) เป็นหนังสือที่ปรากฏในส่วนเคทูวีม ("ข้อเขียน") ของคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นเล่มแรกของหนังสือกวีนิพนธ์ในพันธสัญญาเดิมของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์[1] นักวิชาการโดยทั่วไปเห็นพ้องว่าหนังสือโยบเขียนขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 7 และ 3 ก่อนคริสตกาล[2] หนังสือโยบกล่าวถึงเทวยุติธรรม (theodicy; อธิบายว่าทำไมพระเจ้าจึงทรงยอมให้มีสิ่งชั่วร้ายในโลก) ผ่านประสบการณ์ของตัวละครเอกที่มีชื่อเดียวกับหนังสือคือโยบ[3] โยบเป็นผู้มั่งคั่งและยำเกรงพระเจ้า มีชีวิตที่สะดวกสบายและมีครอบครัวใหญ่ พระเจ้าตรัสถามความเห็นของซาตาน (הַשָּׂטָן, haśśāṭān, 'แปลว่า ปฏิปักษ์') เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ของโยบ ซาตานทูลว่าโยบจะหันเหไปจากพระเจ้าหากต้องสิ้นเนื้อประดาตัว ไร้ครอบครัว และไร้ทรัพย์สิน พระเจ้าทรงยอมให้ซาตานทำให้โยบเป็นเช่นนั้นเพื่อพิสูจน์ว่าซาตานคิดผิด ส่วนที่เหลือของหนังสือเป็นเรื่องเกี่ยวกับการโต้ตอบของโยบที่ปกป้องตัวจากคำกล่าวหาของเพื่อน ๆ ที่ไม่เห็นอกเห็นใจ และเรื่องอำนาจสูงสุดของพระเจ้าเหนือธรรมชาติ

Papyrus Oxyrhynchus 3522: มีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 1 มีเนื้อหาบางส่วนของโยบ 42 ที่แปลเป็นภาษากรีก

โครงสร้าง แก้

 
ม้วนหนังสือโยบในภาษาฮีบรู

หนังสือโยบประกอบด้วยบทนำและบทส่งท้ายที่เขียนด้วยร้อยแก้วเป็นกรอบล้อมบทกวีและบทพูดตรงกลาง[4] โดยทั่วไปมองว่ากรอบที่เป็นเรื่องเล่าเป็นแก่นหลักดั้งเดิมของหนังสือ แล้วขยายความด้วยบทสนทนาและวาทกรรมเชิงกวี และส่วนของหนังสืออย่างคำกล่าวของเอลีฮูและบทกวีสรรเสริญปัญญาในบทที่ 28 เป็นส่วนแทรกช่วงท้าย แต่มุมมองล่าสุดมีแนวโน้มจะมุ่งความสนใจไปที่ความเป็นเอกภาพในการเรียบเรียงของหนังสือ[5]

  1. บทนำ: ใน 2 ฉาก ฉากแรกบนโลก ฉากที่ 2 บนฟ้าสวรรค์[6]
  2. บทพูดเปิดของโยบ:[7] นักวิชาการบางคนมองว่าเป็นสะพานเชื่อมระหว่างบทนำและบทสนทนา และคนอื่น ๆ มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนา[8] และบทสนทนา 3 รอบระหว่างโยบและเพื่อน 3 คน[9] – รอบที่ 3 ไม่สมบูรณ์ บทพูดที่คาดหวังว่าโศฟาร์จะพูดได้ถูกแทนที่ด้วยบทกวีสรรเสริญปัญญาในบทที่่ 28[10]
  3. สามบทพูด:
    • บทกวีสรรเสริญปัญญา[a][8]
    • บทพูดปิดของโยบ[20]
    • และ คำพูดของเอลีฮู[21]
  4. สองพระดำรัสโดยพระเจ้า[22] และการตอบสนองของโยบ
  5. บทส่งท้าย – โยบกลับสู่สภาพดี[23]

หมายเหตุ แก้

  1. บทที่ 28[19] เดิมอ่านในฐานะส่วนหนึ่งในคำพูดของโยบ ปัจจุบันนักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่าเป็นบทคั่นที่แยกต่างหากด้วยเสียงของผู้เล่าเรื่อง

อ้างอิง แก้

  1. Hartley 1988, p. 3.
  2. Kugler & Hartin 2009, p. 193.
  3. Lawson 2004, p. 11.
  4. Bullock 2007, p. 87.
  5. Walton 2008, p. 343.
  6. โยบ 1–2
  7. โยบ 3
  8. 8.0 8.1 Walton 2008, p. 333.
  9. โยบ 4–27
  10. Kugler & Hartin 2009, p. 191.
  11. โยบ 4–7
  12. โยบ 8–10
  13. โยบ 12–14
  14. โยบ 15–17
  15. โยบ 18-19
  16. โยบ 20-21
  17. โยบ 22–24
  18. โยบ 25–27
  19. โยบ 28
  20. โยบ 29–31
  21. โยบ 32–37
  22. โยบ 38:1–40:2 และ โยบ 40:6–41:34, 42:7–8
  23. โยบ 42:9–17

บรรณานุกรม แก้

อ่านเพิ่มเติม แก้

  • Michael Wise, Martin Abegg Jr, and Edward Cook (1996), The Dead Sea Scrolls: A New Translation, Harper San Francisco paperback 1999, ISBN 0-06-069201-4 (contains the non-biblical portion of the scrolls)
  • Stella Papadaki-Oekland, Byzantine Illuminated Manuscripts of the Book of Job, ISBN 2-503-53232-2

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า
สุภาษิต
หนังสือโยบ
(ปัญญานิพนธ์หรือปรีชาญาณ)
คัมภีร์ฮีบรู
ถัดไป
เพลงซาโลมอน
ก่อนหน้า
เอสเธอร์
หนังสือโยบ
(ปัญญานิพนธ์หรือปรีชาญาณ)
พันธสัญญาเดิม
ของโปรแตสแตนต์
ถัดไป
สดุดี
ก่อนหน้า
2 มัคคาบี
หนังสือโยบ
(ปัญญานิพนธ์หรือปรีชาญาณ)
พันธสัญญาเดิม
ของโรมันคาทอลิก
ถัดไป
สดุดี
ก่อนหน้า
3 มัคคาบี
หนังสือโยบ
(ปัญญานิพนธ์หรือปรีชาญาณ)
พันธสัญญาเดิม
ของอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ถัดไป
สดุดี