โยบ 3 (อังกฤษ: Job 3) เป็นบทที่ 3 ของหนังสือโยบในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] ไม่ทราบว่าผู้เขียนหนังสือโยบเป็นใคร นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเขียนขึ้นราวศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสกาล[3][4] บทที่ 3 ของหนังสือโยบเป็นส่วนหนึ่งของส่วนบทสนทนาของหนังสือที่ประกอบด้วยโยบ 3:1-31:40[5][6]

โยบ 3
หนังสือโยบทั้งเล่มในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008) จากฉบับสำเนาเก่า
หนังสือหนังสือโยบ
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเคทูวีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู3
หมวดหมู่Sifrei Emet
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์18

ต้นฉบับ แก้

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 26 วรรค

พยานต้นฉบับ แก้

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B;  B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK:  S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A;  A; ศตวรรษที่ 5)[8]

วิเคราะห์ แก้

โครงสร้างของหนังสือเป็นดังต่อไปนี้:[9]

  • บทนำ (บทที่ 1–2)
  • บทสนทนา (บทที่ 3–31)
  • การตัดสิน (32:1–42:6)
  • บทส่งท้าย (42:7–17)

ในโครงสร้างนี้ บทที่ 3 ถูกรวมอยู่ในส่วนบทสนทนาที่มีโครงสร้างดังต่อไปนี:[10]

  • การแช่งตนเองและการคร่ำครวญให้ตนเองของโยบ (3:1–26)
    • การแช่งตนเองของโยบ (3:1–10)
    • การคร่ำครวญให้ตนเองของโยบ (3:11–26)
  • รอบที่หนึ่ง (4:1–14:22)
  • รอบที่สอง (15:1–21:34)
  • รอบที่สาม (22:1–27:23)
  • บทคั่น – บทกวีสรรเสริญปัญญา (28:1–28)
  • การสรุปของโยบ (29:1–31:40)

ส่วนบทสนทนาเขียนด้วยรูปแบบบทกวีที่มีวากยสัมพันธ์และไวยากรณ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว[5]

โยบแช่งวันเกิดของตน (3:1–10) แก้

หลังจากบทนำที่เขียนด้วยร้อยแก้วในบทที่ 12 ผู้เล่าเรื่องของหนังสือก็ขาดบทบาทไปจนกระทั่งกลับมาในบทที่ 42 จึงไม่มีผู้ตีความที่จะอธิบายบทสนทนาระหว่างกลุ่มผู้พูด และผู้อ่านต้องตั้งใจติดตามแนวความคิดของบทสนทนาด้วยตนเอง[11] ภายหลังจากเจ็ดวันผ่านไปนับตั้งแต่เพื่อนสามคนของโยบมาถึง ในที่สุดโยบก็ปลดปล่อย 'อารมณ์อันอดกลั้น' ของตนออกมา โดยการแช่งวันเกิดของตนเอง (วรรค 2–10) ก่อนจะหันมาตั้งคำถามในวรรค 11–26[11] ในทุกคำที่โยบพูด โยบไม่ได้แช่งพระเจ้าโดยตรงตามที่ซาตานคาดไว้ (1:11)[11] หรือตามที่ภรรยาของเขาแนะนำ (2:9)[12] ไม่มีอะไรใน "คำแช่งตนเอง" ของโยบที่ขัดแย้งกับความเชื่อในพระเจ้าของโยบ[13] คำพูดของโยบเป็นที่เข้าใจได้ดีที่สุดว่าเป็นเสียงร้องอันขมขื่นแห่งความทุกข์หรือการทักท้วงถึงสภาวะลำบากที่ตนประสบอยู่ โดยยังคงรักษาความเชื่อในท่ามกลางประสบการณ์อันงุนงงสับสน มากกว่าจะแช่งเพื่อทำลายการทรงสร้าง เพราะไม่สามารถบรรลุผล[12]

 
"'โยบ โดย Léon Bonnat (ค.ศ. 1880)

วรรค 1 แก้

ต่อมา โยบอ้าปากแช่งวันเกิดของตน[14]
  • "แช่ง": จากภาษาฮีบรู: קָלַל, qalal[15] คำภาษาฮีบรูโดยปกติของ "แช่ง" ในที่นี้ใช้แทนการเกลื่อนคำ בָרַךְ, barak ("อวยพร"; เทียบกับ 2:5) ซึ่งใช้เมื่อพระเจ้าทรงเป็นกรรมของคำกริยา[16] นี่เป็นการแช่งครั้งเดียวที่โยบพูด แม้ว่าตลอดทั้งเล่มของหนังสือ โยบเกือบจะแช่งพระเจ้า (ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ซาตานคาดหวังในโยบ 2:5) แต่โยบก็ไม่เคยทำเช่นนั้นเลยจนถึงท้ายที่สุด[17]
  • "วันเกิดของตน": แปลจากภาษาฮีบรู: יוֹמֽוֹ, yō-w-mōw[15] ซึ่งมีความหมายโดยตรงตามตัวอักษรว่า "วันของตน" ในบริบทนี้จึงชัดเจนว่าโยบหมายถึง "วันที่ถือกำเนิด"[18] ในฉบับภาษาภาษาซีรีแอก (Peshitta) อ่านว่า “วันซึ่งตนถือกำเนิด”[19]

วรรค 4 แก้

[โยบกล่าวว่า] ขอให้วันนั้นเป็นความมืด
ขอพระเจ้าจากเบื้องบนอย่าเอาพระทัยใส่วันนั้น
หรืออย่าให้แสงสว่างส่องในวันนั้น[20]
  • "ขอให้[วันนั้น]เป็นความมืด": แปลจากภาษาฮีบรู: יהי חשך, yə-hî ḥō-šeḵ[21] เป็นข้อความที่ตรงกันข้ามกับปฐมกาล 1:3[22] เมื่อพระเจ้าตรัสว่า "จงเกิดความสว่าง" (ฮีบรู: יהי אור, yə-hî ’ō-wr[23]) ใน "วันที่หนึ่ง" เพื่อบรรยายถึงความปรารถนาของโยบให้ "วันที่หนึ่งของตน" เป็นความมืด และเนื่องจากพระเจ้าเท่านั้นที่ทรงมีพระอำนาจที่จะทรงกระทำเช่นนั้นได้ โยบเสริมว่าขอ "พระเจ้าจากเบื้องบน" อย่าทรงคำนึงถึงวันนั้น[24]
  • "ส่อง": แปลจากคำกริยาภาษาעָלָ֣יו, ‘ā-lāw[21] ซึ่งเป็นคำ Hiphil ของ יָפַע, yafaʿ ซึ่่งมีความหมายในที่นี้ว่า "ทำให้ส่องแสง"[25] ประธานของกริยานี้เป็นคำที่ปรากฏครั้งเดียวตลอดคัมภีร์ไบเบิลคือ נְהָרָה, neharah, “แสง” ซึ่งมาจากคำกริยา נָהַר, nahar, “ส่องแสง” (เทียบกับ อิสยาห์ 60:5)[25]

การคร่ำครวญให้ตนเองของโยบ (3:11–26) แก้

การคร่ำครวญของโยบในส่วนนี้แบ่งได้เป็น 2 ส่วนย่อย:[16]

  • โยบแสดงความปรารถนาว่าเขาไม่อยากเกิดมา แต่ออกจากครรภ์แล้วไปแดนคนตายทันที (3:11–19)
  • โยบหันไปกล่าวถึงความทุกข์ยากในปัจจุบัน (3:20–26)[16]

แต่ละส่วนย่อยขึ้นต้นด้วยคำภาษาฮีบรู לָ֤מָּה, lām-māh, "ทำไม"[26]

การคร่ำครวญเติมเต็มให้กับการร้องแช่งในช่วงต้น (วรรค 1–10) ด้วยชุดคำถามเชิงวาทศิลป์ โดยโต้แย้งเรื่องที่ตนเกิดมา (วรรค 10) โอกาสแรกสุดที่เขามีเพื่อจะหลบหนีจากชีวิตแห่งความทุกข์ยากนี้จะต้องมีตั้งแต่แรกเกิด (วรรค 11–12, 16) ในขณะที่วรรค 13–19 โยบคือว่าความตายเป็น 'การลงไปสู่การหลับใหลอย่างสงบ ณ สถานที่ที่ไร้ปัญหา'[27] ภายหลังพระยาห์เวห์ทรงตั้งคำถามของพระองค์ต่อโยบ (โยบ 38–41) ซึ่งทำให้โยบตระหนักว่าโยบเพิกเฉยต่อวิถีทางของพระยาห์เวห์[28]

วรรค 11 แก้

[โยบกล่าวว่า] ทำไมข้าไม่ตายเสียตั้งแต่ออกจากครรภ์?
ทำไมข้าไม่ออกจากครรภ์มารดาแล้วสิ้นใจ?"[29]

ทั้งสองครึ่งวรรคของวรรคนี้ใช้บุพบทวลี ("ออกจากครรภ์" ในทั้งสองครึ่งวรรค; ครึ่งวรรคแรกมีความหมายตรงตัวว่า "จากครรภ์" ครึ่งวรรคหลังมีความหมายตรงตัวว่า "จากท้องที่ข้าออกมา") ทั้งในสองครึ่งวรรคมีความหมายในเชิง "ปรากฏออกมาจากครรภ์"[30]

'รูปคู่ของความตาย' ในทั้งสองครึ่งวรรคของวรรคนี้ ("ตาย", "สิ้นใจ") ตรงกันข้ามกับ 'สองสัญลักษณ์ของชีวิต' ในวรรค 12 ("หัวเข่ารับข้าไว้", "หัวนมให้ข้าดูด")[31]

ดูเพิ่ม แก้

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: ปฐมกาล 1, โยบ 1, โยบ 2, เยเรมีย์ 20
  • อ้างอิง แก้

    1. Halley 1965, p. 243.
    2. Holman Illustrated Bible Handbook. Holman Bible Publishers, Nashville, Tennessee. 2012.
    3. Kugler & Hartin 2009, p. 193.
    4. Crenshaw 2007, p. 332.
    5. 5.0 5.1 Crenshaw 2007, p. 335.
    6. Wilson 2015, p. 18.
    7. Würthwein 1995, pp. 36–37.
    8. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    9. Wilson 2015, pp. 17–23.
    10. Wilson 2015, pp. 18–21.
    11. 11.0 11.1 11.2 Estes 2013, p. 20.
    12. 12.0 12.1 Wilson 2015, p. 43.
    13. Wilson 2015, pp. 41, 43.
    14. โยบ 3:1 THSV11
    15. 15.0 15.1 Job 3:1 Hebrew Text Analysis. Biblehub.
    16. 16.0 16.1 16.2 Walton 2012, p. 118.
    17. Walton 2012, pp. 118–119.
    18. หมายเหตุ [d] ของโยบ 3:1 ใน NET Bible
    19. Szpek, Heidi M. "Translation Technique in the Peshitta to Job" (SBLDS), apud หมายเหตุ [d] ของโยบ 3:1 ใน NET Bible
    20. โยบ 3:4 THSV11
    21. 21.0 21.1 Job 3:4 Hebrew Text Analysis. Biblehub.
    22. Walton 2012, p. 119.
    23. Genesis 1:3 Hebrew Text Analysis. Biblehub.
    24. หมายเหตุ [b] ของโยบ 3:4 ใน NET Bible
    25. 25.0 25.1 หมายเหตุ [d] ของโยบ 3:4 ใน NET Bible
    26. Wilson 2015, p. 44.
    27. หมายเหตุ [a] ของโยบ 3:11 ใน NET Bible
    28. Estes 2013, p. 22.
    29. โยบ 3:11 THSV11
    30. หมายเหตุ [e] ของโยบ 3:11 ใน NET Bible
    31. Wilson 2015, p. 45.

    บรรณานุกรม แก้

    • Alter, Robert (2010). The Wisdom Books: Job, Proverbs, and Ecclesiastes: A Translation with Commentary. W.W. Norton & Co. ISBN 978-0393080735.
    • Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 9780195288810.
    • Crenshaw, James L. (2007). "17. Job". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 331–355. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
    • Estes, Daniel J. (2013). Walton, John H.; Strauss, Mark L. (บ.ก.). Job. Teach the Text Commentary Series. United States: Baker Publishing Group. ISBN 9781441242778.
    • Farmer, Kathleen A. (1998). "The Wisdom Books". ใน McKenzie, Steven L.; Graham, Matt Patrick (บ.ก.). The Hebrew Bible Today: An Introduction to Critical Issues. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0-66425652-4.
    • Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
    • Kugler, Robert; Hartin, Patrick J. (2009). An Introduction to the Bible. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-4636-5.
    • Walton, John H. (2012). Job. United States: Zondervan. ISBN 9780310492009.
    • Wilson, Lindsay (2015). Job. United States: Wm. B. Eerdmans Publishing Company. ISBN 9781467443289.
    • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

    แหล่งข้อมูลอื่น แก้