เซปทัวจินต์ (อังกฤษ: Septuagint, /ˈsɛptjuəɪnt/ sep-tew-ə-jint)[1] บางครั้งเรียกในชื่อ พันธสัญญาเดิมภาษากรีก (อังกฤษ: Greek Old Testament) หรือ สารบบเจ็ดสิบ (อังกฤษ: The Translation of the Seventy; กรีกโบราณ: Ἡ μετάφρασις τῶν Ἑβδομήκοντα, อักษรโรมัน: Hē metáphrasis tôn Hebdomḗkonta) และมักใช้อักษรย่อว่า LXX[2] เป็นคัมภีร์ฮีบรูฉบับแปลเป็นภาษากรีกจากต้นฉบับภาษาฮีบรูที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่[3][4] ชื่อเต็มของเซปทัวจินต์ในภาษากรีกมาจากเรื่องราวที่บันทึกในจดหมายของอาริสเตียสถึงฟิโลกราตีสว่า "กฎหมายชาวยิว" ได้รับการแปลเป็นภาษากรีกตามพระบัญชาของฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัส (285–247 ก่อนคริสตกาล) โดยผู้แปลชาวฮีบรู 72 คน ซึ่งมาจากแต่ละเผ่าของสิบสองเผ่าของชาวอิสราเอล เผ่าละ 6 คน[5][6][7]

เซปทัวจินต์
ชิ้นส่วนของเซปทัวจินต์: สดมภ์ของข้อความตัวอักษรอันเชียลจาก 1 แอสดราส ใน โคเดกซ์​วาติกานุส ประมาณ ค.ศ. 325–350 พื้นฐานของฉบับภาษากรีกและฉบับแปลภาษาอังกฤษของเซอร์แลนเซอล็อต ชาลส์ ลี เบรนตัน
รู้จักในชื่อ
วันที่เขียนประมาณ ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล
ภาษาภาษากรีกคอยนี

นักวิชาการคัมภีร์ไบเบิลเห็นพ้องกันว่าห้าเล่มแรกของคัมภีร์ฮีบรูได้รับการแปลจากภาษาฮีบรูไบเบิลเป็นภาษากรีกคอยนีโดยชาวยิวที่อาศัยในราชอาณาจักรทอเลมี ซึ่งอาจอยู่ในช่วงต้นหรือช่วงกลางของศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล[8] หนังสือที่หลงเหลืออยู่น่าจะแปลในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล[4][9][10] ฉบับแปลหรือถอดความเป็นภาษาแอราเมอิกของคัมภีร์ไบเบิลก็ทำขึ้นในช่วงยุคพระวิหารที่สอง[11]

มีคนเพียงไม่กี่คนที่สามารถพูดภาษาฮีบรู และยิ่งน้อยลงไปอีกที่สามารถอ่านภาษาฮีบรูได้ในช่วงยุคพระวิหารที่สอง ภาษากรีกคอยนี[3][12][13][14]และภาษาแอราเมอิกเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดของชุมชนชาวยิวในยุคนั้น เซปทัวจินต์จึงสนองความต้องการของชุมชนชาวยิวในยุคนั้น[8][15]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Wells, John C. (2008). Longman Pronunciation Dictionary (3rd ed.). Longman. ISBN 978-1-4058-8118-0.
  2. Greek Orthodox Archdiocese of America (2022). "About Septuagint.Bible". The Septuagint: LXX - The Greek Translation of the Hebrew Scriptures. New York: Greek Orthodox Archdiocese of America. สืบค้นเมื่อ 25 December 2022.
  3. 3.0 3.1 Stefon, Matt (2011). Judaism: History, Belief, and Practice. The Rosen Publishing Group, Inc. p. 45. ISBN 978-1615304875.
  4. 4.0 4.1 Petruzzello, Melissa (3 November 2022). "Septuagint". Encyclopædia Britannica. Chicago, Illinois: Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ 25 December 2022.
  5. Aristeas of Marmora (1904). The Letter Of Aristeas, translated into English. แปลโดย St. John Thackeray, Henry. London: Macmillan and Company, Limited. pp. 7–15.
  6. Tractate Megillah 9 (9a)
  7. Tractate Soferim 1 (1:7-8)
  8. 8.0 8.1 Ross, William A. (15 November 2021). "The Most Important Bible Translation You've Never Heard Of". Articles. Scottsdale, Arizona: Text & Canon Institute of the Phoenix Seminary. สืบค้นเมื่อ 25 December 2022.
  9. Beckwith, Roger T. (2008). The Old Testament Canon of the New Testament Church: and its Background in Early Judaism. Eugene, Oregon: Wipf and Stock. pp. 382, 383. ISBN 978-1606082492.
  10. Tov, Emanuel (1988). "The Septuagint". ใน Mulder, Martin Jan; Sysling, Harry (บ.ก.). Mikra: text, translation, reading, and interpretation of the Hebrew Bible in ancient Judaism and early Christianity. Philadelphia: Fortress Press. pp. 161–2. ISBN 0800606043.
  11. van Staalduine-Sulman, Eveline (2020). "Simeon the Just, the Septuagint and Targum Jonathan". ใน Shepherd, David James; Joosten, Jan; van der Meer, Michaël (บ.ก.). Septuagint, Targum and Beyond: Comparing Aramaic and Greek Versions from Jewish Antiquity. Supplements to the Journal for the Study of Judaism. Vol. 193. Leiden, Netherlands: Brill Publishers. p. 327. ISBN 978-9004416727.
  12. แม่แบบ:Cite Collins Dictionary
  13. "Koine". Dictionary.com Unabridged (Online). n.d.
  14. "Koine". Merriam-Webster Dictionary.
  15. Toy, Crawford Howell; Gottheil, Richard (1906). "Bible Translations: The Septuagint". The Jewish Encyclopedia. New York: Funk & Wagnalls. สืบค้นเมื่อ 25 December 2022.

อ่านเพิ่มเติม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

General

Texts and translations