แอสตาแซนทิน
แอสตาแซนทิน (อังกฤษ: astaxanthin) เป็นสารแคโรทีนอยด์กลุ่มแซนโทฟิลล์ ลักษณะเป็นของแข็งสีชมพูถึงม่วงเข้ม ไม่ละลายน้ำ มีสูตรเคมีคือ C40H52O4 มีมวลโมเลกุล 596.8 g/mol[3] แอสตาแซนทินเป็นสารไฮโดรคาร์บอนกลุ่มเทอร์พีนที่มีโครงสร้างเป็นเส้นตรง ประกอบด้วยไอโซพรีน 8 หมู่ ร่วมกับหมู่ฟังก์ชันคีโตนและไฮดรอกซิล ทั้งหมดเชื่อมด้วยพันธะคู่ 13 พันธะ โดยพันธะคู่เหล่านี้เป็นแบบคอนจูเกต (พันธะเดี่ยวสลับกับพันธะคู่) ทำให้สามารถดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันได้มาก[4] แอสตาแซนทินมีตำแหน่งไครัล 2 ตำแหน่งที่ตำแหน่ง 3- และ 3′ ส่งผลให้มีสเตอริโอไอโซเมอร์ (สูตรเคมีเหมือนกัน แต่การจัดเรียงอะตอมต่างกัน) 3 แบบ ซึ่งทั้งหมดสามารถพบได้ในธรรมชาติ[5] ชื่อแอสตาแซนทินมาจากการรวมคำระหว่างแอสตาซิน (astacin) กลุ่มเอนไซม์ที่ได้จากเครย์ฟิชยุโรป (Astacus astacus) กับคำภาษากรีก ξανθός (xanthos) แปลว่าสีเหลือง[6]
ชื่อ | |
---|---|
IUPAC name
3,3′-dihydroxy-β,β-carotene-4,4′-dione
| |
Systematic IUPAC name
(6S)-6-Hydroxy-3-[(1E,3E,5E,7E,9E,11E,13E,15E,17E)-18-[(4S)-4-hydroxy-2,6,6-trimethyl-3-oxo-1-cyclohexenyl]-3,7,12,16-tetramethyloctadeca-1,3,5,7,9,11,13,15,17-nonaenyl]-2,4,4-trimethyl-1-cyclohex-2-enone | |
ชื่ออื่น
β-Carotene-4,4'-dione, 3,3'-dihydroxy-, all-trans-; (3S,3'S)-Astaxanthin; (3S,3'S)-Astaxanthin; (3S,3'S)-all-trans-Astaxanthin; (S,S)-Astaxanthin; Astaxanthin, all-trans-; all-trans-Astaxanthin; trans-Astaxanthin [1]
| |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
เคมสไปเดอร์ | |
ECHA InfoCard | 100.006.776 |
เลขอี | E161j (colours) |
ผับเคม CID
|
|
UNII | |
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
| |
คุณสมบัติ | |
C40H52O4 | |
มวลโมเลกุล | 596.84 g/mol |
ลักษณะทางกายภาพ | ผงของแข็งสีแดง |
ความหนาแน่น | 1.071 g/mL [2] |
จุดหลอมเหลว | 216 องศาเซลเซียส (421 องศาฟาเรนไฮต์; 489 เคลวิน)[2] |
จุดเดือด | 774 องศาเซลเซียส (1,425 องศาฟาเรนไฮต์; 1,047 เคลวิน)[2] |
ความสามารถละลายได้ | 30 g/L ใน DCM; 10 g/L ใน CHCl3; 0.5 g/L ใน DMSO; 0.2 g/L ในแอซีโทน |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
สาหร่ายและเห็ดราสังเคราะห์แอสตาแซนทินจากโมเลกุลของไอโซเพนเทนิลไพโรฟอสเฟตจับกับไดเมทิลแอลลิลไพโรฟอสเฟต แล้วกลายเป็นเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟต (GGPP) จากนั้น GGPP จะสลายกลายเป็นไฟโตอีน ไลโคปีน และบีตา-แคโรทีนตามลำดับ หากบีตา-แคโรทีนถูกเอนไซม์คีโตเลสสลายจะกลายเป็นเอคีนีโนน แต่หากถูกเอนไซม์ไฮโดรเลสสลายจะกลายเป็นคริปโทแซนทิน ทั้งเอคีนีโนนและคริปโทแซนทินจะถูกเอนไซม์สองชนิดนี้สลายไปเรื่อย ๆ จนได้แอสตาแซนทิน[7] เมื่อนกฟลามิงโก ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ หรือสัตว์พวกกุ้งกั้งปูกินสาหร่ายหรือเคยที่มีแอสตาแซนทินเข้าไป จะทำให้เปลือกนอก ขนหรือเนื้อมีสีชมพู[8] เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ แอสตาแซนทินซึ่งละลายในไขมันจะจับกับกรดน้ำดี ก่อนจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก[9] องค์การอนามัยโลกรายงานปริมาณการได้รับแอสตาแซนทินที่เหมาะสมในแต่ละวันอยู่ที่ 0.34–0.85 มิลลิกรัม/วัน[10]
แหล่งธรรมชาติของแอสตาแซนทินที่ใช้ในอุตสาหกรรม ได้แก่ เคยแปซิฟิก (Euphausia pacifica), เคยแอนตาร์กติก (Euphausia superba), กุ้งแดงแอตแลนติก-แปซิฟิก (Pandalus borealis) และสาหร่ายน้ำจืดชนิด Haematococcus pluvialis แอสตาแซนทินสามารถสังเคราะห์ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่าง cis-3-methyl-2-penten-4-yn-1-ol กับ C10-dialdehyde ผ่านปฏิกิริยาวิททิก[11] เมื่อใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร แอสตาแซนทินจะมีเลขอีคือ E161j แอสตาแซนทินใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และสารเพิ่มสีในกุ้ง ปู ปลาแซลมอน และไข่แดง[9][12][13] แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐจะระบุให้แอสตาแซนทินทั้งจากธรรมชาติและสังเคราะห์นั้น "ยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย"[14][15] แต่ประโยชน์ทางการแพทย์และผลข้างเคียงยังไม่เป็นที่สรุป[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ SciFinder Web (accessed Sep 28, 2010). Astaxanthin (472-61-7) Name
- ↑ 2.0 2.1 2.2 SciFinder Web (accessed Sep 28, 2010). Astaxanthin (472-61-7) Experimental Properties.
- ↑ "Astaxanthin". ChemicalBook. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- ↑ Borowitzka, Michael A.; Beardall, John; Raven, John A. (March 21, 2016). The Physiology of Microalgae. New York City, United States: Springer. p. 545. ISBN 9783319249452.
- ↑ Bjerkeng, Bjørn (1997). "Chromatographic Analysis of Synthesized Astaxanthin—A Handy Tool for the Ecologist and the Forensic Chemist?". The Progressive Fish-Culturist. 59 (2): 129–140. doi:10.1577/1548-8640(1997)059<0129:caosaa>2.3.co;2. ISSN 0033-0779.
- ↑ "Definition of Astaxanthin". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- ↑ Barredo, Jose; García-Estrada, Carlos; Kosalkova, Katarina; Barreiro, Carlos (2017-07-30). "Biosynthesis of Astaxanthin as a Main Carotenoid in the Heterobasidiomycetous Yeast Xanthophyllomyces dendrorhous". Journal of Fungi. 3 (3): 44. doi:10.3390/jof3030044. ISSN 2309-608X. PMC 5715937. PMID 29371561.
- ↑ Scotter, Michael J. (2015). Colour Additives for Foods and Beverages. Amsterdam, Netherlands: Elsevier. p. 15. ISBN 9781782420200.
- ↑ 9.0 9.1 Ambati, Ranga Rao; Phang, Siew-Moi; Ravi, Sarada; Aswathanarayana, Ravishankar Gokare (2014-01-07). "Astaxanthin: Sources, Extraction, Stability, Biological Activities and Its Commercial Applications—A Review". Marine Drugs (ภาษาอังกฤษ). 12 (1): 128–152. doi:10.3390/md12010128. PMC 3917265. PMID 24402174.
- ↑ Leray, Claude (2014). Lipids: Nutrition and Health. Boca Raton, Florida, United States: CRC Press. p. 126. ISBN 9781482242317.
- ↑ Ashford's Dictionary of Industrial Chemicals, 3rd Edition, 2011, p. 984, ISBN 095226742X.
- ↑ Astaxanthin and Health and Wellness in Animals. astaxanthin.org
- ↑ Wilson, Debra Rose (October 23, 2017). "7 Health Claims About Astaxanthin". Healthline. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- ↑ Astaxanthin wins full GRAS status. Nutraingredients-usa.com. Retrieved on 2013-04-25.
- ↑ Algatechnologies gets GRAS for AstaPure astaxanthin. Foodnavigator-usa.com. Retrieved on 2013-04-25.
- ↑ "Call for data relevant to the safety assessment of Astaxanthin in the framework of Regulation 2283/2015". European Food Safety Authority. 25 July 2018. สืบค้นเมื่อ 16 January 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แอสตาแซนทิน
- "แอสตาแซนทิน (astaxanthin)". Pobpad.