แพคิเซอฟาโลซอรัส

แพคิเซอฟาโลซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Late Cretaceous, 70–66Ma
แพคิเซอฟาโลซอรัส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับใหญ่: ไดโนซอเรีย
อันดับ: ออร์นิทิสเชียน
อันดับฐาน: แพคิเซอฟาโลซอร์เรีย
วงศ์: แพคิเซอฟาโลซอร์อิเดีย
สกุล: แพคิเซอฟาโลซอรัส
Brown & Schlaikjer, 1943
Species
ชื่อพ้อง
List
  • Tylosteus ornatus
    Leidy, 1872 (rejected name)
  • Troodon wyomingensis
    Gilmore, 1931
  • Pachycephalosaurus grangeri
    Brown & Schlaikjer, 1943
  • Pachycephalosaurus reinheimeri
    Brown & Schlaikjer, 1943
  • Stenotholus kohleri
    Giffin, Gabriel & Johnson, 1988[1]
  • ?Stygimoloch spinifer
    Galton & Sues, 1983
  • ?Dracorex hogwartsia
    Bakker et al., 2006

แพคิเซอฟาโลซอรัส (อังกฤษ: Pachycephalosaurus เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˌpækɨˌsɛfələˈsɔrəs/) เป็นไดโนเสาร์หัวแข็ง หรือแพคิเซอฟาโลซอร์ชนิดหนึ่ง ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีหัวหนาถึง 25 เซนติเมตร ซึ่งน่าจะมีไว้ต่อสู้หรือป้องกันตัว ฟอสซิลของค้นพบที่รัฐไวโอมิง ในปี ค.ศ. 1931 โดยนักล่าฟอสซิลชื่อกิลมอร์ แพคิเซอฟาโลซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 70-65 ล้านปีก่อน มีญาติอย่างพรีโนเซฟาลี และดราโกเร็กซ์

หัวประหลาด

แก้

แพคิเซอฟาโลซอรัสมีกระดูกส่วนหัวหนาถึง 25 เซนติเมตร หรือ 12 นิ้ว ส่วนคอต่อกับส่วนล่างของกะโหลก ไม่ใช่หลังหัวเหมือนกับสัตว์เลื้อยคลานทั่วไป เมื่อก้มหัวคอจะตรงเป็นแนวเดียวกับกระดูกสันหลัง ซึ่งเหมาะสำหรับรับแรงกระแทก ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าน่าจะมีไว้ใช้เพื่อต่อสู้แย่งตัว หรือมีไว้ใช้เพื่อป้องกันตัวจากนักล่าเช่นไทแรนโนซอรัส

แต่ บ็อบ เบ็กเกอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์โต้แย้งว่า กะโหลกของแพคิเซอฟาไม่แข็งพอที่จะใช้ต่อสู้ แต่ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญเชื่อเขา เนื่องจากสมองของแพคิเซอฟาโลซอรัสและไดโนเสาร์หัวแข็งมีขนาดเล็ก และถ้าสมองเล็กก็หมายถึงสมองจะได้รับการกระทบเทือนน้อยกว่าสมองใหญ่

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  1. Giffin, Emily B.; Gabriel, Diane L.; Johnson, Rolf E. (22 January 1988). "A New Pachycephalosaurid Hell Creek Formation of Montana". Journal of Vertebrate Paleontology. Taylor & Francis, Ltd. 7 (4): 398–407. สืบค้นเมื่อ 13 November 2020.