แผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น ค.ศ. 1983 (ญี่ปุ่น: 日本海中部地震) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 เวลา 11:59 น. ตามเวลาท้องถิ่น แผ่นดินไหวมีขนาด 7.8 เกิดขึ้นในทะเลญี่ปุ่นทางตะวันตกของเมืองโนชิโระ จังหวัดอากิตะ ห่างจากแผ่นดินประมาณ 100 กม. มีผู้เสียชีวิต 104 ราย แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้เกิดสึนามิซัดตามแนวชายฝั่งโดยเฉพาะจังหวัดอาโอโมริและจังหวัดอากิตะและชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรโนโตะ คลื่นสึนามิที่สูงกว่า 10 เมตร พัดทำลายท่าเรือประมงเมืองวาจิมะบนคาบสมุทรโนโตะได้รับการออกอากาศทางโทรทัศน์ ในบางพื้นที่มีคลื่นสูงเกินกว่า 10 เมตร สึนามิยังส่งผลกระทบไปยังเกาหลีใต้

แผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น ค.ศ. 1983
日本海中部地震
เวลาสากลเชิงพิกัด1983-05-26 02:59:59
รหัสเหตุการณ์ ISC577008
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น26 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526)
เวลาท้องถิ่น11:59:57
ระยะเวลา60 วินาที
ขนาด7.8 Mw[1]
ความลึก24 กิโลเมตร (15 ไมล์)
ศูนย์กลาง40°27′43″N 139°06′07″E / 40.462°N 139.102°E / 40.462; 139.102
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบประเทศญี่ปุ่น จังหวัดอาโอโมริ จังหวัดอากิตะ
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้VIII (อย่างรุนแรง)

ชินโดะ 5+
สึนามิมี
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 104 คน, บาดเจ็บ 324 คน [2]

เปลือกโลก

แก้

ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะฮนชูตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพื้นที่เปลือกโลกภาคพื้นสมุทรเกิดขึ้นโดยแอ่งโค้งด้านหลังที่ก่อตัวขึ้นในยุคชาเชียนจนถึงสมัยไมโอซีนตอนกลาง แอ่งตะกอนที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดรอยเลื่อนขยาย ปัจจุบันพื้นที่กําลังถูกเปลี่ยนรูปโดยเกิดจากการแปรสัณฐานแรงขับทำให้เกิดการผกผันของแอ่งก่อนหน้าจากกระบวนการเหล่านี้ทำให้เกิดการคดโค้งโก่งงอของหิน[3] มีการคาดการว่าชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะฮนชูเป็นเขตย่อยใหม่ที่จะอุบัติขึ้นในอนาคต[1] แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความเป็นไปของแผ่นโอค็อตสค์และตําแหน่งที่แม่นยําของรอยต่อระหว่างแผ่นในทะเลญี่ปุ่นยังคงมีอยู่[4][5]

ภาพรวมและความรุนแรงของแผ่นดินไหว

แก้

แผ่นดินไหวในครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในทะเลญี่ปุ่น และเกิดความเสียหายจากคลื่นสึนามิสูงเกิน 10 เมตรเป็นอย่างมากในจังหวัดอากิตะ จังหวัดอาโอโมริ และจังหวัดยามางาตะ โดยเฉพาะจังหวัดอากิตะซึ่งได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงมีผู้เสียชีวิต 79 ราย และในประเทศญี่ปุ่นมีผู้เสียชีวิตรวม 104 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งร้อยคนเกิดจากสึนามิ และสี่คนเกิดจากแผ่นดินไหว[6] มีอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายกว่า 3,049 หลัง เรือกว่า 706 ถูกน้ำพัดหายไป [6] มูลค่าความเสียหายทั้งหมดประมาณ 51,800 ล้านเยน[7]

สถานที่วัดความรุนแรงแผ่นดินไหวได้ 4 ขึ้นไปมีดังนี้ [8]

ความรุนแรง (มาตราชินโดะ) จังหวัด เมือง
5 อาโอโมริ ฟุกาอุระมุตสึ
อากิตะ อากิตะ
4 อาโอโมริ อาโอโมริฮาจิโนเฮะฮิโรซากิ
ฮกไกโด โมริมาจิเอซาชิ
อิวาเตะ โมริโอกะ
ยามางาตะ ซากาตะ

ในเมืองโนชิโระเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่สุดขณะนั้นยังไม่มีการติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหว คาดว่าแผ่นดินไหวมีความรุนแรงระดับ 5 หรือมากกว่านั้น

ก่อนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ได้มีแผ่นดินไหวนำในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 เวลาประมาณ 22:49 น. ขนาด 5 แมกนิจูด และเกิดแผ่นดินไหวนำขนาดเล็กต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 [9] แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวตามที่รู้สึกได้ 211 ครั้ง และรู้สึกไม่ได้อีก 828 ครั้ง จนถึงวันที่ 1 มิถุนายน เวลา 00.00 น. และในวันที่ 9 มิถุนายน เวลา 21:49 น. เกิดแผ่นดินไหวตามอีกครั้งขนาด 6.1 ต่อมาในวันที่ 9 มิถุนายน เวลา 22:04 น. เกิดแผ่นดินไหวตามขนาด 5.9 แผ่นดินไหวตามครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน เวลา 15:25 น. ขนาด 7.1 และเกิดสึนามิตามมาจากแผ่นดินไหวตามครั้งนี้ด้วย

ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นประกาศตั้งชื่อแผ่นดินไหวครั้งนี้ว่า "แผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่นตอนกลาง" ชื่อนี้มักถูกสื่อนำไปใช้เพื่อความสะดวก

ธรณีวิทยา

แก้

แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นใกล้กับรอยต่อระหว่างเปลือกโลกในบริเวณส่วนโค้งของหมู่เกาะญี่ปุ่นชนกับแผ่นเปลือกโลกในทะเลญี่ปุ่นซึ่งทอดตัวจากเกาะซาฮาลินไปจนถึงชายฝั่งจังหวัดนีงาตะ [10] เมื่อมีการศึกษาในปีต่อ ๆ มาแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่รูปแบบการเกิดคลื่นไหวสะเทือนจะใกล้เคียงกับแผ่นดินไหวประเภทขอบเขตแผ่นเปลือกโลก [11] จากการศึกษาพบว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่คล้ายกับครั้งนี้เมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อน [11]

เกาะคูโรกูชิมะซึ่งมีแนวปะการังที่มีความยาว 50 ม. และกว้าง 13 ม. อยู่ห่างจากชายฝั่งหมู่บ้านอิวาซากิ อำเภอนิชิสึการุ จังหวัดอาโอโมริประมาณ 40 กม. คาดว่าจะทรุดตัวต่ำลงประมาณ 30 ซม. ถึง 40 ซม. ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นผลกระทบจากแผ่นดินไหว [12]

ความเสียหาย

แก้

แผ่นดินไหวสั่นสะเทือนนานประมาณ 60 วินาที รอยเลื่อนของแผ่นดินไหวเป็นแบบย้อนกลับ[2] ความเสียหายจากแผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นดินเหลว[13] ทำให้บ้านเรือนพังเสียหายและเกิดอุบัติเหตุทางถนนและทางรถไฟเป็นจำนวนมาก แผ่นดินเหลวสร้างความเสียหายอย่างมากในญี่ปุ่นนับตั้งแต่แผ่นดินไหวในจังหวัดนีงาตะ ค.ศ. 1964 มีการออกคำเตือนสึนามิ 14 นาทีหลังจากที่เกิดแผ่นดินไหว คลื่นลูกแรกมาถึงชายฝั่ง 12 นาทีหลังจากแผ่นดินไหวโดยมีความสูงสูงสุด 14.9 เมตร สึนามิมาถึงเกาหลีใต้ประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหวทำให้มีผู้เสียชีวิตสามคนในเกาหลีใต้

วิดีโอการเคลื่อนที่ของสึนามิหลังจากแผ่นดินไหว (คลิกเพื่อดูวิดีโอ)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Kanamori, H.; Astiz L. (1985). "The 1983 Akita-Oki Earthquake (Mw=7.8) and its Implications for Systematics of Subduction Earthquakes" (PDF). Earthquake Prediction Research. 3: 305–317. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 December 2013. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
  2. 2.0 2.1 National Geophysical Data Center. "Comments for the Significant Earthquake". สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
  3. Sato, H.; Yoshida T.; Takaya I.; Sato T.; Ikeda Y. & Umino N. (2004). "Late Cenozoic tectonic development of the back arc region of central northern Honshu, Japan, revealed by recent deep seismic profiling". Journal of the Japanese Association for Petroleum Technology. 69 (2): 145–154. doi:10.3720/japt.69.145. ISSN 0370-9868. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2012. สืบค้นเมื่อ 10 June 2010.
  4. Seno, Tetsuzo; Sakurai, Taro; Stein, Seth (1996). "Can the Okhotsk plate be discriminated from the North American plate?". Journal of Geophysical Research. 101 (B5): 11305–11315. Bibcode:1996JGR...10111305S. doi:10.1029/96JB00532.
  5. Apel, E. V.; Bürgmann, R.; Steblov, G.; Vasilenko, N.; King, R.; Prytkov, A (2006), "Independent active microplate tectonics of northeast Asia from GPS velocities and block modeling" (PDF), Geophysical Research Letters, 33 (L11303): L11303, Bibcode:2006GeoRL..3311303A, doi:10.1029/2006GL026077, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-13, สืบค้นเมื่อ 2012-06-26
  6. 6.0 6.1 宇佐美 龍夫(2003)『最新版 日本被害地震総覧 416‐2001』東京大学出版会
  7. 日本海中部地震 被害の概要 เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 防災科学技術研究所
  8. 気象庁 (บ.ก.). "震度データベース検索". สืบค้นเมื่อ 2021/07/13. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 弘前大学構内で観測された日本海中部地震の加速度記録 เก็บถาวร 2015-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 弘前大学理学部(地震予知連絡会会報 第31巻)
  10. 第199回地震予知連絡会(2013年5月30日)議事概要 p.23PDF 地震予知連絡会
  11. 11.0 11.1 第199回地震予知連絡会重点検討課題「日本海で発生する地震と津波」概要(北海道大)PDF 地震予知連絡会 会報第90巻
  12. 山科健一郎, 中村一明, 福留高明 ほか、「1983年日本海中部地震による久六島の沈下」 地震 第2輯 1985年 38巻 1号 p.81-91, doi:10.4294/zisin1948.38.1_81
  13. "国立国会図書館デジタルコレクション - エラー" (PDF). dl.ndl.go.jp (ภาษาญี่ปุ่น).