แผ่นดินไหวนำ หรือทับศัพท์ว่า ฟอร์ช็อก (อังกฤษ: foreshock) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (แผ่นดินไหวหลัก) ที่มีความเกี่ยวข้องกันทั้งในช่วงเวลาและพื้นที่ โดยชื่อเรียกของการเกิดแผ่นดินไหว ทั้งแผ่นดินไหวนำ, แผ่นดินไหวหลัก หรือแผ่นดินไหวตาม จะเกิดขึ้นตามลำดับของเหตุการณ์[1]

การเกิดขึ้น แก้

กรณีของแผ่นดินไหวนำที่ได้รับการตรวจประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์มาจากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่[2] และประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์สำหรับความรุนแรงที่มากกว่า 7 แมกนิจูด[3] โดยอาจเกิดขึ้นก่อนเพียงไม่กี่นาทีหรืออาจเป็นวันก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวหลัก ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวในเกาะสุมาตรา พ.ศ. 2545 ที่ได้รับการจัดให้เป็นแผ่นดินไหวนำของแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ที่เกิดขึ้นในภายหลัง นานกว่าสองปี[4]

บางเหตุการณ์ของการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ (ที่ระดับมากกว่า 8 แมกนิจูด) จะไม่เกิดแผ่นดินไหวนำ เช่น แผ่นดินไหวในประเทศอินเดียและจีน พ.ศ. 2493 [3]

อ้างอิง แก้

  1. Gates, A.; Ritchie, D. (2006). Encyclopedia of Earthquakes and Volcanoes. Infobase Publishing. p. 89. ISBN 978-0-8160-6302-4. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.
  2. National Research Council (U.S.). Committee on the Science of Earthquakes (2003). "5. Earthquake Physics and Fault-System Science". Living on an Active Earth: Perspectives on Earthquake Science. Washington D.C.: National Academies Press. p. 418. ISBN 978-0-309-06562-7. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.
  3. 3.0 3.1 Kayal, J.R. (2008). Microearthquake seismology and seismotectonics of South Asia. Springer. p. 15. ISBN 978-1-4020-8179-8. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.
  4. Vallée, M. (2007). "Rupture Properties of the Giant Sumatra Earthquake Imaged by Empirical Green's Function Analysis" (PDF). Bulletin of the Seismological Society of America. 97 (1A): S103–S114. Bibcode:2007BuSSA..97S.103V. doi:10.1785/0120050616. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.