แคว้นสุพรรณภูมิ

(เปลี่ยนทางจาก แคว้นสุพรรณบุรี)

สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ดินแดนสุวรรณภูมิ อาณาจักรสุพรรณภูมิ หรือ แคว้นสุพรรณภูมิ เป็นแคว้นของชนชาติไทยในอดีต มีมาก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา โดยมีเมืองอู่ทองเป็นเมืองหลวง

การกำเนิด แก้

สืบเนื่องจากพระเจ้าไชยสิริ กษัตริย์โยนกเชียงแสน ครองเมืองชัยปราการ (เมืองฝาง) อพยพผู้คนหนีการโจมตีจากพวกมอญลงมาทางใต้ บรรดาเชื้อพระวงศ์และผู้คนต่างที่อพยพลงมาด้วยได้พากันแยกย้ายไปตั้งบ้านเมืองของตนอยู่ตามแคว้นต่าง ๆ โดยมีเมืองใหญ่ ๆ 2 เมืองคือ เมืองอโยธยา แคว้นละโว้ และเมืองอู่ทอง แคว้นสุพรรณภูมิ ต่อมา พระเจ้าไชยสิริทรงขยายอาณาเขตไปทางใต้และได้ปกครองแคว้นศิริธรรมราช[1] และได้ตั้งเมืองนครศิริธรรมราช (นครศรีธรรมราช) เป็นเมืองหลวง

ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ในช่วง พ.ศ. 1843-พ.ศ. 1893 เมืองอู่ทองอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แต่มีหลายความคิดเกี่ยวกับเมืองสุพรรณภูมิ เช่น ต้นกำเนิดของพระเจ้าอู่ทองที่ยังคงมีความไม่ชัดเจน[2] การปกครองแคว้นสุพรรณภูมิควบคู่ไปกับการปกครองอาณาจักรสุโขทัย ในช่วงหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ภายหลังแคว้นสุพรรณภูมิได้ถูกลดความสำคัญลงเป็นหัวชั้นเมืองเอก (เมืองหน้าด่าน) เท่านั้น การปกครองจะมีการแต่งตั้งผู้ปกครองที่มีเชื้อสายราชวงศ์ทั้งทางสุโขทัยและอยุธยามาปกครองโดยมีตำแหน่ง "เจ้าเมืองอู่ทอง" ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองแคว้นสุพรรณภูมิสำหรับพระราชโอรสมักเรียกตามตำแหน่งสกุลยศว่า "ขุนหลวง" ในลักษณะคล้ายกับเมืองพิษณุโลกสองแคว และปกครองเมืองสรรค์ (แพรกศรีราชา) นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยาต้องทรงแต่งตั้งพระชายาผู้สืบเชื้อสายจากผู้ครองอาณาจักรสุพรรณภูมิในตำแหน่ง "ท้าวอินทรสุเรนทร" ด้วย

ผู้ปกครอง แก้

  • พระยาอู่ทอง - พระราชบิดาในขุนหลวงพะงั่วและพระสสุระ (พ่อตา) ของพระเจ้าอู่ทองในช่วงก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา (มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง)

รายพระนามพระมหากษัตริย์ ที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุพรรณภูมิ แก้

  • สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ - ทรงปกครองแคว้นสุพรรณภูมิก่อนทรงย้ายไปตั้งพระนครใหม่ที่เมืองอยุธยา
  • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ - มีพระนามเดิมว่า ขุนหลวงพะงั่ว เป็นพระเชษฐาของพระมเหสีในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ และได้ครองเมืองสุพรรณบุรี เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เสด็จสวรรคต พระองค์ได้นำกำลังจากเมืองสุพรรณบุรีมาประชิดกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระราเมศวรได้อัญเชิญพระองค์เข้าเมืองแล้วถวายพระราชสมบัติให้ พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ. 1913 เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 1931
  • สมเด็จพระอินทราชา - สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีนครินทราธิราช หรือ สมเด็จพระนครินทราธิราช แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านก็เชื่อว่าพระองค์คือ พระศรีเทพาหูราช

อ้างอิง แก้

  1. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ.ประวัติศาสตร์ไทย หน้า 525 - 527.
  2. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ.ประวัติศาสตร์ไทย ตำนานพระเจ้าอู่ทอง หน้า 535.

บทอ่านเพิ่มเติม แก้