เอ็น-ไนโตรโซไดเมทิลามีน

เอ็น-ไนโตรโซไดเมทิลามีน (N-Nitrosodimethylamine; NDMA) หรือที่เรียกว่า ไดเมทิลไนโตรซามีน (dimethylnitrosamine; DMN) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรทั่วไป (CH3)2NNO เป็นหนึ่งในสารพื้นฐานที่สุดในกลุ่มขนาดใหญ่ของสารประกอบ เอ็น-ไนโตรซามีน ลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลืองซึ่งระเหยง่าย เอ็นดีเอ็มเอได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากการเป็นพิษต่อตับสูงและเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง[2]

N-Nitrosodimethylamine
Skeletal formula of N-nitrosodimethylamine
ชื่อ
Preferred IUPAC name
N,N-Dimethylnitrous amide
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.000.500 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 200-549-8
KEGG
MeSH Dimethylnitrosamine
RTECS number
  • IQ0525000
UNII
UN number 3382
  • InChI=1S/C2H6N2O/c1-4(2)3-5/h1-2H3 ☒N
    Key: UMFJAHHVKNCGLG-UHFFFAOYSA-N ☒N
  • CN(C)N=O
คุณสมบัติ
C2H6N2O
มวลโมเลกุล 74.083 g·mol−1
ลักษณะทางกายภาพ น้ำมันสีเหลือง[1]
กลิ่น จาง, ลักษณะเฉพาะ[1]
ความหนาแน่น 1.005 กรัม/มิลลิลิตร
จุดเดือด 153.1 องศาเซลเซียส; 307.5 องศาฟาเรนไฮต์; 426.2 เคลวิน
290 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร (ที่ 20 °C)
log P −0.496
ความดันไอ 700 Pa (ที่ 20 °C)
1.437
อุณหเคมี
1.65 MJ/mol
ความอันตราย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS/OSH):
อันตรายหลัก
สารก่อมะเร็ง,[1] เป็นพิษร้ายแรง
GHS labelling:
The skull-and-crossbones pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS) The health hazard pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS) The environment pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
อันตราย
H301, H330, H350, H372, H411
P260, P273, P284, P301+P310, P310
NFPA 704 (fire diamond)
NFPA 704 four-colored diamondHealth 4: Very short exposure could cause death or major residual injury. E.g. VX gasFlammability 2: Must be moderately heated or exposed to relatively high ambient temperature before ignition can occur. Flash point between 38 and 93 °C (100 and 200 °F). E.g. diesel fuelInstability 0: Normally stable, even under fire exposure conditions, and is not reactive with water. E.g. liquid nitrogenSpecial hazards (white): no code
4
2
0
จุดวาบไฟ 61.0 องศาเซลเซียส (141.8 องศาฟาเรนไฮต์; 334.1 เคลวิน)
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC):
37.0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ทางปาก, หนูทดลอง)
NIOSH (US health exposure limits):
PEL (Permissible)
OSHA-Regulated Carcinogen[1]
REL (Recommended)
Ca[1]
IDLH (Immediate danger)
Ca [N.D.][1]
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

อุบัติการณ์ แก้

น้ำดื่ม แก้

สิ่งที่มากกว่าข้อกังวลทั่วไปคือ เอ็นดีเอ็มเอถูกผลิตขึ้นได้โดยการบำบัดน้ำด้วยกระบวนการเติมคลอรีนหรือด้วยสารฆ่าเชื้อคลอรามีน คำถามคือปริมาณที่เกิดขึ้น ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐ ระดับที่อนุญาตคือ 10 นาโนกรัม/ลิตร ส่วนรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา กำหนดมาตรฐานไว้ที่ 9 นาโนกรัม/ลิตร ปัญหาอาจเกิดมากขึ้นสำหรับน้ำรีไซเคิลที่มีสารไดเมทิลามีน[3] นอกจากนี้เอ็นดีเอ็มเอสามารถก่อตัวหรือถูกกรองระหว่างการบำบัดน้ำโดยใช้เรซินแลกเปลี่ยนประจุลบ[4]

การปนเปื้อนเอ็นดีเอ็มเอในน้ำดื่มเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นพิเศษ จากความเข้มข้นเพียงเล็กน้อยแต่เป็นอันตราย ความยากลำบากในการตรวจจับที่ระดับความเข้มข้นนี้ และความยากลำบากในการกำจัดออกจากน้ำดื่ม ซึ่งไม่สามารถกำจัดออกโดยใช้ถ่านกัมมันต์และปนเปื้อนในดินได้ง่าย

ระดับความเข้มของรังสีเหนือม่วงที่ค่อนข้างสูงในช่วงความยาวคลื่น 200 ถึง 260 นาโนเมตรสามารถทำลายพันธะ N–N ดังนั้นจึงอาจนำมาใช้เพื่อลดระดับของเอ็นดีเอ็มเอได้ นอกจากนี้การกรองระบบรีเวิร์สออสโมซิสสามารถกำจัดเอ็นดีเอ็มเอได้ประมาณร้อยละ 50[5]

เนื้อสัตว์แปรรูปประเภทเนื้อหมัก แก้

พบเอ็นดีเอ็มเอในระดับต่ำในอาหารบริโภคของมนุษย์จำนวนมาก รวมทั้งเนื้อสัตว์ที่หมักเกลือ (cured meat) ปลา และเบียร์ เช่นเดียวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบและการสูดดมควันบุหรี่[4][6]

เชื้อเพลิงจรวด แก้

ไดเมทิลไฮดราซีนที่ไม่สมมาตร (UDMH) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงจรวด เป็นสารตั้งต้นที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับเอ็นดีเอ็มเอ

(CH3)2NNH2 + 2O → (CH3)2NNO + H2O

น้ำบาดาลใกล้จุดปล่อยจรวดมักพบมีปริมาณเอ็นดีเอ็มเอในระดับสูง[5]

การควบคุม แก้

สหรัฐ แก้

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) ระบุว่าความเข้มข้นสูงสุดที่ยอมรับได้ของเอ็นดีเอ็มเอในน้ำดื่มคือ 7 นาโนกรัม/ลิตร[7] ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 อีพีเอไม่ได้กำหนดระดับสารปนเปื้อนสูงสุดตามกฎระเบียบ (MCL) สำหรับน้ำดื่ม

เอ็นดีเอ็มเอในปริมาณสูง "มีพิษต่อตับซึ่งมีศักยภาพที่อาจทำให้เกิดพังผืดของตับ" ในหนูทดลอง[8] มีการรายงานผลที่ชัดเจนในการเหนี่ยวนำเนื้องอกของตับในหนูทดลองหลังจากได้รับเอ็นดีเอ็มเอในปริมาณต่ำเป็นเวลานาน[9] ผลกระทบที่เป็นพิษต่อมนุษย์นั้นอนุมานได้จากการทดลองกับสัตว์ แต่ยังไม่มีผลการทดลองที่เป็นที่ยอมรับ

เอ็นดีเอ็มเอถูกจัดประเภทเป็นสารอันตรายอย่างยิ่งในสหรัฐ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 302 ของกฎหมายการวางแผนฉุกเฉินและสิทธิชุมชนของสหรัฐ [en] (42 U.S.C. 11002) และอยู่ภายใต้ข้อกำหนดการรายงานที่เข้มงวดโดยโรงงานที่ผลิต จัดเก็บ หรือใช้ในปริมาณมาก[10]

สหภาพยุโรป แก้

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ยาเพื่อการใช้งานของมนุษย์ (CHMP) ขององค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ได้ออกความเห็นที่ต้องการกำหนดให้บริษัทต่าง ๆ ดำเนินมาตรการเพื่อจำกัดการมีอยู่ของสารกลุ่มไนโตรซามีนในยาของมนุษย์ให้มากที่สุดและเพื่อรับรองระดับของสิ่งเจือปนเหล่านี้จะไม่เกินขีดจำกัดที่กำหนดไว้[11][12] ไนโตรซามีนจัดอยู่ในประเภทที่น่าจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ขีดจำกัดของไนโตรซามีนในยาถูกกำหนดโดยใช้มาตรฐานที่ตกลงกันในระดับสากล (ICH M7(R1)) โดยพิจารณาจากการสัมผัสตลอดชีวิต[11] โดยทั่วไปผู้คนไม่ควรมีความเสี่ยงตลอดชีวิตของโรคมะเร็งที่เกิน 1 ใน 100,000 จากไนโตรซามีนในยาที่ใช้[11]

หน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรปเริ่มตระหนักถึงไนโตรซามีนในยาในช่วงกลางปี ​​พ.ศ. 2561 และดำเนินการด้านกฎระเบียบ รวมถึงการเรียกคืนยาและการหยุดการใช้สารออกฤทธิ์จากผู้ผลิตบางราย[11] ต่อมาการตรวจสอบของคณะกรรมการซีเอชเอ็มพี ของยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่มมีชื่อสามัญลงท้ายว่า "-ซาร์แทน" (-sartan) ในปี พ.ศ. 2562 นำไปสู่ข้อกำหนดใหม่สำหรับการผลิตยากลุ่มซาร์แทน ในขณะที่การทบทวนยาแรนิทิดีนในปี พ.ศ. 2563 แนะนำให้ระงับการใช้ยาแรนิทิดีนทั่วทั้งสหภาพยุโรป[11]

เคมี แก้

จากการศึกษาด้วยผลึกวิทยารังสีเอกซ์โมเลกุลแกน C2N2O ของเอ็นดีเอ็มเอเป็นแบบระนาบ ไนโตรเจนอะตอมกลางจับกับกลุ่มเมทิลสองกลุ่มและกลุ่ม NO โดยมีมุมพันธะ 120° ความยาวพันธะ N-N และ N-O คือ 1.32 และ 1.26 อังสตรอมตามลำดับ[13]

เอ็นดีเอ็มเอก่อรูปจากสารประกอบที่มีไดเมทิลามีนหลายชนิด เช่น การไฮโดรไลซิสของไดเมทิลฟอร์มาไมด์ ไดเมทิลลามีนไวต่อการเกิดออกซิเดชันต่อไดเมทิลไฮดราซีนที่ไม่สมมาตร ซึ่งจะออกซิไดซ์ในอากาศเป็นเอ็นดีเอ็มเอ[14]

ในห้องปฏิบัติการเอ็นดีเอ็มเอสามารถสังเคราะห์ได้โดยปฏิกิริยาของกรดไนตรัสกับไดเมทิลามีน

HONO + (CH3)2NH → (CH3)2NNO + H2O

กลไกการก่อมะเร็งเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการกระตุ้นการเผาผลาญซึ่งส่งผลให้เกิดเมทิลไดอะโซเนียมซึ่งเป็นสารนำอัลคาลอยด์[2]

 
การกระตุ้นการเผาผลาญของเอ็นดีเอ็มเอมีความเกี่ยวข้องกับสาเหตุของมะเร็ง[2]

การใช้เป็นยาพิษ แก้

มีหลายเหตุการณ์ที่เอ็นดีเอ็มเอถูกใช้โดยเจตนาเพื่อวางยาพิษบุคคลอื่นซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน ในปี พ.ศ. 2521 ครูในเมืองอุล์ม ประเทศเยอรมนีตะวันตก ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในข้อหาพยายามฆ่าภรรยาของเขาโดยวางยาพิษโดยใส่เอ็นดีเอ็มเอลงในแยมและป้อนให้เธอ ทั้งภรรยาและครูเสียชีวิตในเวลาต่อมาด้วยภาวะตับวาย[15][16]

ในปี พ.ศ. 2521 สตีเวน รอย ฮาร์เปอร์ได้ฉีดเอ็นดีเอ็มเอลงในขวดน้ำมะนาวที่บ้านของครอบครัวจอห์นสันในเมืองโอมาฮา รัฐเนแบรสกา เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ดูแอน จอห์นสัน อายุ 30 ปีและแชด เชลตัน อายุ 11 เดือนเสียชีวิต ฮาร์เปอร์ถูกตัดสินประหารชีวิตจากอาชญากรรมของเขา แต่เขาได้ฆ่าตัวตายในคุกก่อนที่จะถูกประหาร[17]

ในคดีวางยาพิษฟู่ตั้น [en]ในปี พ.ศ. 2556 หวง หยาง (黄洋) นักศึกษาแพทย์ระดับบัณฑิตศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟู่ตั้นในนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ตกเป็นเหยื่อของการวางยาพิษ ซึ่งหวงถูกวางยาโดยหลิน เซินฮ่าว (林森浩) เพื่อนร่วมห้องของเขา ซึ่งได้ใส่เอ็นดีเอ็มเอลงในเครื่องทำน้ำเย็นในห้องพักของพวกเขา หลินอ้างว่าเขาแค่ต้องการทำเป็นเรื่องตลกของวันเมษาหน้าโง่เท่านั้น เขาได้รับโทษประหารชีวิตและถูกประหารในปี พ.ศ. 2558[18]

ในปี พ.ศ. 2561 เอ็นดีเอ็มเอถูกนำมาใช้ในการพยายามวางยาพิษที่มหาวิทยาลัยควีนในเมืองคิงส์ตัน รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา[19]

การปนเปื้อนของยา แก้

ในปี พ.ศ. 2561 และอีกครั้งในปี 2562 มีการเรียกเก็บยาวาลซาร์แทนของหลายบริษัทเนื่องจากการปนเปื้อนด้วยเอ็นดีเอ็มเอ[20][21] ในปี พ.ศ. 2562 มีการเรียกเก็บยาแรนิทิดีนทั่วโลกเนื่องจากการปนเปื้อนเอ็นดีเอ็มเอ[22] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้เริ่มทดสอบตัวอย่างยารักษาโรคเบาหวาน เมตฟอร์มินสำหรับการปนเปื้อนเอ็นดีเอ็มเอ[23] การประกาศของเอฟดีเอเกิดขึ้นหลังจากการเรียกคืนเมตฟอร์มินสามรุ่นในประเทศสิงคโปร์ และคำขอขององค์การยาแห่งสหภาพยุโรปให้ผู้ผลิตยาทำการทดสอบหาเอ็นดีเอ็มเอ[24][25]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 มีการพบเอ็นดีเอ็มเอในผลิตภัณฑ์ยาแรนิทิดีนจากผู้ผลิตหลายราย ส่งผลให้มีการเรียกเก็บคืน[26][27][28] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 แรนิทิดีนถูกถอนออกจากตลาดในสหรัฐ[27][29] ถูกระงับการจำหน่ายในสหภาพยุโรป[30]และออสเตรเลียเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเอ็นดีเอ็มเอ[31]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 มีการเรียกคืนยาประเภท 2 ตามรัฐบัญญัติสารควบคุม (Controlled Substances Act) สำหรับเมตฟอร์มินไฮโดรคลอไรด์ 500 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร (สารละลายสำหรับรับประทาน) ของบริษัท Rosemont Pharmaceuticals ซึ่งวางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 เนื่องจากมีการระบุระดับของเอ็นดีเอ็มเอที่สูงกว่าที่ยอมรับได้[32]

ผลกระทบต่อระบบทางชีวภาพ แก้

มีการศึกษาพบว่าเอ็นดีเอ็มเอรบกวนกระบวนการสังเคราะห์อาร์จินีน การดูแลรักษาจีโนมในไมโตคอนเดรีย และการซ่อมแซมความเสียหายของดีเอ็นเอในยีสต์[33]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0461". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  2. 2.0 2.1 2.2 Tricker, A.R.; Preussmann, R. (1991). "Carcinogenic N-nitrosamines in the Diet: Occurrence, Formation, Mechanisms and Carcinogenic Potential". Mutation Research/Genetic Toxicology. 259 (3–4): 277–289. doi:10.1016/0165-1218(91)90123-4. PMID 2017213.
  3. David L. Sedlak; Rula A. Deeb; และคณะ (มกราคม–กุมภาพันธ์ 2005). "Sources and Fate of Nitrosodimethylamine and Its Precursors in Municipal Wastewater Treatment Plants". Water Environment Research: Emerging Micropollutants in Treatment Systems. 77 (1): 32–39. doi:10.2175/106143005X41591. JSTOR 25045835. PMID 15765933. S2CID 9690388.
  4. 4.0 4.1 Najm, I.; Trussell, R. R. (2001). "NDMA Formation in Water and Wastewater". Journal American Water Works Association. 93 (2): 92–99. doi:10.1002/j.1551-8833.2001.tb09129.x. ISSN 0003-150X. S2CID 93202942.
  5. 5.0 5.1 Mitch, W. A.; Sharp, J. O.; และคณะ (2003). "N-Nitrosodimethylamine (NDMA) as a Drinking Water Contaminant: A Review". Environmental Engineering Science. 20 (5): 389–404. CiteSeerX 10.1.1.184.204. doi:10.1089/109287503768335896.
  6. Hecht, Stephen S. (1998). "Biochemistry, Biology, and Carcinogenicity of Tobacco-Specific N-Nitrosamines†". Chemical Research in Toxicology. 11 (6): 559–603. doi:10.1021/tx980005y. PMID 9625726.
  7. Andrzejewski, P.; Kasprzyk-Hordern, B.; Nawrocki, J. (2005). "The hazard of N-nitrosodimethylamine (NDMA) formation during water disinfection with strong oxidants". Desalination. 176 (1–3): 37–45. doi:10.1016/j.desal.2004.11.009.
  8. George, J.; Rao, K. R.; Stern, R.; Chandrakasan, G. (2001). "Dimethylnitrosamine-induced liver injury in rats: the early deposition of collagen". Toxicology. 156 (2–3): 129–138. doi:10.1016/S0300-483X(00)00352-8. PMID 11164615.
  9. Peto, R.; Gray, R.; Brantom, P.; Grasso, P. (1991). "Dose and Time Relationships for Tumor Induction in the Liver and Esophagus of 4080 Inbred Rats by Chronic Ingestion of N-Nitrosodiethylamine or N-Nitrosodimethylamine" (PDF). Cancer Research. 51 (23 Part 2): 6452–6469. PMID 1933907.
  10. "40 C.F.R.: Appendix A to Part 355—The List of Extremely Hazardous Substances and Their Threshold Planning Quantities" (PDF) (July 1, 2008 ed.). Government Printing Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2011.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 "EMA finalises opinion on presence of nitrosamines in medicines". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 9 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2020. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
  12. "Nitrosamine impurities". European Medicines Agency (EMA). สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2020. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
  13. Krebs, Bernt; Mandt, Jürgen (1975). "Kristallstruktur des N-Nitrosodimethylamins". Chemische Berichte (ภาษาเยอรมัน). 108 (4): 1130–1137. doi:10.1002/cber.19751080419.
  14. Mitch, William A.; Sedlak, David L. (2002). "Formation of N-Nitrosodimethylamine (NDMA) from Dimethylamine during Chlorination". Environmental Science & Technology. 36 (4): 588–595. Bibcode:2002EnST...36..588M. doi:10.1021/es010684q. PMID 11878371.
  15. "Ein teuflischer Plan: Tod aus dem Marmeladeglas" (ภาษาเยอรมัน).
  16. Karsten Strey (1 มีนาคม 2015). Die Welt der Gifte (ภาษาเยอรมัน) (2 ed.). Lehmanns Media. p. 193. ISBN 978-3-86541-728-2.
  17. Roueché, Berton (25 มกราคม 1982). "The Prognosis for this Patient is Horrible". The New Yorker. pp. 57–71. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2021.
  18. "15 days log in hospital". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2013.
  19. "Man admits poisoning fellow researcher in Kingston". The Kingston Whig Standard. 1 ธันวาคม 1969. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2021.
  20. "FDA Updates and Press Announcements on Angiotensin II Receptor Blocker (ARB) Recalls (Valsartan, Losartan, and Irbesartan)". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 7 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2019.
  21. "EMA reviewing medicines containing valsartan from Zhejiang Huahai following detection of an impurity: some being recalled across the EU". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 17 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2019. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
  22. BBC Staff (29 กันยายน 2019). "Sale of heartburn drug suspended over cancer fears". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2019.
  23. "FDA Updates and Press Announcements on NDMA in Metformin". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 2 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2020.
  24. Lauerman, John (4 ธันวาคม 2019). "Diabetes Drugs Latest to Be Targeted for Carcinogen Scrutiny". Bloomberg Business. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2020.
  25. Koenig, D. (6 ธันวาคม 2019). "FDA Investigating Metformin for Possible Carcinogen". Medscape. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2019.
  26. "Health Canada assessing NDMA in ranitidine". Health Canada. 13 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2019.
  27. 27.0 27.1 "Questions and Answers: NDMA impurities in ranitidine (commonly known as Zantac)". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 11 ตุลาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2019.   บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  28. "EMA to review ranitidine medicines following detection of NDMA". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 13 September 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2019. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
  29. "FDA Requests Removal of All Ranitidine Products (Zantac) from the Market". U.S. Food and Drug Administration (Press release). 1 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2020.   บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  30. "Suspension of ranitidine medicines in the EU". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 30 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2020. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
  31. "Ranitidine". Therapeutic Goods Administration (TGA). 2 เมษายน 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2020.
  32. "Class 2 Medicines Recall: Rosemont Pharmaceuticals Limited, Metformin Hydrochloride 500mg/5ml Oral Solution, PL 00427/0139, EL (21)A/20". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2021.
  33. Ogbede, J.U.; Giaever, G.; Nislow, C. (2021). "A genome-wide portrait of pervasive drug contaminants". Scientific Reports. 11: 12487. doi:10.1038/s41598-021-91792-1.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้