วงศ์ย่อยเสือใหญ่

(เปลี่ยนทางจาก เสือใหญ่ (สัตว์))
วงศ์ย่อยเสือใหญ่
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนตอนปลาย - สมัยโฮโลซีน
สมาชิกวงศ์ย่อยเสือใหญ่ (จากซ้าย): เสือจากัวร์, เสือดาว, สิงโต, เสือโคร่ง, เสือดาวหิมะ และ เสือลายเมฆ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
วงศ์ย่อย: Pantherinae
Pocock, 1917
สกุล
ชื่อพ้อง
  • Neofelina Kalandadze & Rautian, 1992
  • Neofelinae Kretzoi, 1929
  • Pantherini Kalandadze, 1992

วงศ์ย่อยเสือใหญ่ หรือ วงศ์ย่อยเสือ (อังกฤษ: Panther, Big cat) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pantherinae

ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์ย่อยนี้ คือ เป็นเสือขนาดใหญ่ ที่อุ้งตีนมีซองหุ้มเล็บได้ทั้งหมด ในลำคอมีกระดูกกล่องเสียงชิ้นกลางดัดแปลง มีลักษณะเป็นแถบเส้นเอ็นสั่นไหวได้ดี จึงสามารถใช้ส่งเสียงร้องดัง ๆ ได้ ที่เรียกว่า คำราม[1]

จากการศึกษาพบว่า วงศ์ย่อยนี้แยกออกมาจากวงศ์ย่อย Felinae เมื่อ 60 ล้านปีก่อน และจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอพบว่า เสือดาวหิมะ เป็นรากฐานของเสือในวงศ์ย่อยนี้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามีจีโนมที่แตกต่างกันของเสือและแมวในวงศ์นี้[2] [3] [4]

โดยเสือที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 7 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา และพบเพียงชนิดเดียวในทวีปอเมริกาใต้

การจำแนก แก้

สกุล สายพันธุ์ บัญชีแดงไอยูซีเอ็นสถานะ และ การกระจาย
Panthera Oken, 1816 เสือโคร่ง (P. tigris) (Linnaeus, 1758)

EN

สิงโต (P. leo) (Linnaeus, 1758)[5]

VU

เสือจากัวร์ (P. onca) (Linnaeus, 1758)

NT

เสือดาว (P. pardus) (Linnaeus, 1758)

VU

เสือดาวหิมะ (P. uncia) (Schreber, 1775)

VU

Neofelis Gray, 1867 เสือลายเมฆ (N. nebulosa) (Griffith, 1821)

VU

เสือลายเมฆบอร์เนียว (N. diardi) (Cuvier, 1823)

VU

ชากฟอสซิล แก้

[6]

== แก้

อ้างอิง แก้

  1. "แมวลายหินอ่อน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-10-12.
  2. Johnson, W.E., Eizirik, E., Pecon-Slattery, J., Murphy, W.J., Antunes, A., Teeling, E., O'Brien, S.J. (2006). "The Late Miocene radiation of modern Felidae: A genetic assessment" (abstract). Science 311 (5757): 73–77
  3. Lei Wei, Xiaobing Wu and Zhigang Jiang (2008) The complete mitochondrial genome structure of snow leopard Panthera uncia Molecular Biology Reports 36(5): 871–878[ลิงก์เสีย]
  4. "Li Yu, Qing-wei Li, Ryder, O.A., Ya-ping Zhang (2004) Molecular Phylogenetics and Evolution 33: 694–705" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2012-10-12.
  5. Linnaeus, C. (1758). "Felis leo". Caroli Linnæi Systema naturæ per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis. Vol. Tomus I (decima, reformata ed.). Holmiae: Laurentius Salvius. p. 41.
  6. จาก itis.gov (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้