เรือป้องกันชายฝั่งรัสเซียแอดมิรัลเซเนียวิน

แอดมิรัลเซเนียวิน (รัสเซีย: Адмирал Сенявин) เป็นเรือป้องกันชายฝั่งชั้นแอดมิรัลอูชาคอฟที่สร้างขึ้นสำหรับกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซียในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 มันเป็นหนึ่งในแปดเรือประจัญบานก่อนเดรดนอตของรัสเซียที่ถูกเข้ายึดโดยกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นจากรัสเซียในช่วงสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1904–1905 ต่อมามันได้เข้าประจำการในกองทัพเรือญี่ปุ่นภายใต้ชื่อมิชิมะ (見島) จนกระทั่งถูกจมในฐานะเป้าหัดยิงในปี ค.ศ. 1936

อดีตเรือประจัญบานป้องกันชายฝั่งรัสเซียแอดมิรัลเซเนียวิน ซึ่งต่อมากลายเป็นมิชิมะของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประวัติ
จักรวรรดิรัสเซีย
ชื่อแอดมิรัลเซเนียวิน
อู่เรือบอลติกเวิกส์ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย
ปล่อยเรือ2 สิงหาคม ค.ศ. 1892
เดินเรือแรก22 สิงหาคม ค.ศ. 1894
เข้าประจำการค.ศ. 1896
Stricken28 พฤษภาคม ค.ศ. 1905
ความเป็นไปตกเป็นทรัพย์เชลยของญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น
ชื่อมิชิมะ
ส่งมอบเสร็จค.ศ. 1905
เข้าประจำการ6 มิถุนายน ค.ศ. 1905
Stricken10 ตุลาคม ค.ศ. 1935
ความเป็นไปถูกจมในฐานะเป้าหัดยิงเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1936
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: เรือป้องกันชายฝั่งชั้นแอดมิรัลอูชาคอฟ
ขนาด (ระวางขับน้ำ):
ความยาว: ความยาวเรือที่แนวน้ำ 84.6 ม. (277 ฟุต 7 นิ้ว)
ความกว้าง: 15.88 ม. (52 ฟุต 1 นิ้ว)
กินน้ำลึก: 5.49 ม. (18 ฟุต)
ระบบขับเคลื่อน: เครื่องจักรไอน้ำทูชาฟต์ วีทีอี, 5,250 แรงม้าเพลา (3,910 กิโลวัตต์); หม้อไอน้ำ 4 ตัว
ความเร็ว: 16 นอต (30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
พิสัยเชื้อเพลิง:
  • 260 ตันเทียบเท่าถ่านหิน;
  • 3,000 ไมล์ทะเล (6,000 กิโลเมตร) ที่ 10 นอต (19 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อัตราเต็มที่: 406 นาย
ยุทโธปกรณ์:

ตามที่สร้างขึ้น:

ปืนขนาด 254 มม. (10 นิ้ว) จำนวน 4 กระบอก
ปืนขนาด 120 มม. (4.7 นิ้ว) จำนวน 4 กระบอก
ปืนขนาด 47 มม. (1.9 นิ้ว) จำนวน 10 กระบอก
ปืนขนาด 37 มม. (1.5 นิ้ว) จำนวน 12 กระบอก
ท่อยิงตอร์ปิโดขนาด 450 มม. (18 นิ้ว) จำนวน 4 ท่อ

ในฐานะมิชิมะ:

ปืนขนาด 254 มม. (10 นิ้ว) จำนวน 4 กระบอก
ปืนขนาด 152 มม. (6 นิ้ว) จำนวน 6 กระบอก
ปืนฮอท์ชคิส 47 มม. (1.9 นิ้ว) จำนวน 2 กระบอก
สิ่งป้องกัน:

ประจำการรัสเซีย แก้

แรกเริ่มเดิมที เรือลำนี้ได้รับมอบหมายให้ประจำการกองเรือบอลติก ซึ่งต่อมา มันได้รับการจัดประเภทใหม่ให้เป็นเรือป้องกันชายฝั่ง

เรือป้องกันชายฝั่งชั้นแอดมิรัลอูชาคอฟที่ล้าสมัยทั้งสาม (แอดมิรัลอูชาคอฟ, แอดมิรัลอะพรักซิน และแอดมิรัลเซเนียวิน) ถูกปฏิเสธไม่ให้รวมอยู่ในกองเรือรบแปซิฟิกที่สอง ซึ่งรวบรวมโดยพลเรือเอก ซีโนวี โรเชสต์เวนสกี เพื่อเสริมกำลังกองเรือรบรัสเซียที่มีอยู่ในพอร์ตอาร์เธอร์หลังการปะทุของสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น เนื่องจากโรเชสต์เวนสกีรู้สึกว่าพวกมันไม่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการบลู-วอเตอร์ที่รุนแรงเช่นนี้[1] อย่างไรก็ตาม เรือทั้งสามได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของกองเรือรบแปซิฟิกที่สามของพลเรือเอกเนโบกาตอฟ ซึ่งต่อมาได้ถูกส่งไปเสริมกำลังโรเชสต์เวนสกีในการเดินทางไปยังตะวันออกไกลนับแต่ความวุ่นวายทางการเมืองหลังจากการจากไปของเขา กองเรือรบแปซิฟิกที่สามนี้ได้เคลื่อนผ่านคลองสุเอซและสองกองเรือรบรัสเซียได้นัดพบกันที่อ่าวกัมรัญหลังจากการล่องเรือ ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในนาม "การเดินทางของผู้ถูกสาป" และจากที่นั่น โรเชสต์เวนสกีได้กำหนดเส้นทางผ่านทะเลจีนใต้ไปยังช่องแคบเกาหลี ที่ซึ่งพวกเขาถูกพบโดยฝ่ายญี่ปุ่น

ในผลของยุทธนาวีที่ช่องแคบสึชิมะ (27–28 พฤษภาคม ค.ศ. 1905) เรือทั้งสามลำรอดชีวิตจากช่วงแรกของการสู้รบในตอนเย็นของวันที่ 27 พฤษภาคม ส่วนใหญ่เนื่องมาจากญี่ปุ่นมุ่งความพยายามไปที่เรือประจัญบานสมัยใหม่ของโรเชสต์เวนสกี (จดจ่อในกองพลที่หนึ่งและสองของกองเรือรบรัสเซีย) และการทำลายล้างเกือบทั้งหมดในเวลาต่อมาทำให้กองเรือรัสเซียไม่เหลือชิ้นดี ส่วนกองพลที่สามของเนโบกาตอฟส่วนใหญ่สามารถอยู่ด้วยกันได้ในช่วงกลางคืน แม้ว่าเรือพี่น้องของแอดมิรัลเซเนียวินอย่างแอดมิรัลอูชาคอฟจะพลัดหลงจากรูปขบวนและถูกญี่ปุ่นจม เช้าวันที่ 28 พฤษภาคม ได้มีการพบผู้รอดชีวิตชาวรัสเซียซึ่งถูกล้อมรอบไปด้วยกองกำลังของญี่ปุ่นที่ไม่ได้รับความเสียหาย และเนโบกาตอฟก็ยอมจำนน ด้วยเหตุนี้ เรือแอดมิรัลเซเนียวิน และเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน จึงถูกเข้ายึดในฐานะทรัพย์เชลยศึก[2]

หมายเหตุ แก้

  1. Captain Peter Hore, Battleships, p. 115.
  2. Eric Grove, Big Fleet Actions, pp. 29-45.

อ้างอิง แก้

  • Burt, R.A. Japanese Battleships, 1897–1945.
  • Gibbons, Tony. The Complete Encyclopedia of Battleships and Battlecruisers.
  • Hore, Peter (2005). Battleships. Anness Publishing Ltd. ISBN 0-7548-1407-6.
  • Jentsura, Hansgeorg (1976). Warships of the Imperial Japanese Navy, 1869-1945. Naval Institute Press. ISBN 0-87021-893-X.
  • Schencking, J. Charles (2005). Making Waves: Politics, Propaganda, And The Emergence Of The Imperial Japanese Navy, 1868-1922. Stanford University Press. ISBN 0-8047-4977-9.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้