เทศมณฑลของประเทศโรมาเนีย

เทศมณฑลหรือฌูเด็ตส์ (โรมาเนีย: județ) เป็นหน่วยการบริหารระดับแรกของประเทศโรมาเนียร่วมกับเทศบาลบูคาเรสต์ โดยในประเทศโรมาเนียจะมีเทศมณฑล 41 แห่ง (ไม่นับบูคาเรสต์) เทศมณฑลเหล่านี้ยังใช้เป็นชื่อเรียกหน่วยย่อยเพื่อการจัดเก็บข้อมูลทางสถิติ (NUTS) ระดับที่สามหรือ NUTS-3 ภายในสหภาพยุโรปด้วย เทศมณฑลจะมีฐานะเป็นรัฐบาลท้องถิ่นด้วย ชื่อของเทศมณฑลมักจะตั้งตามแม่น้ำสายสำคัญ หรือเมืองสำคัญภายในเทศมณฑลนั้น

เทศมณฑล
หมวดหมู่รัฐเดี่ยว
ที่ตั้ง โรมาเนีย
ก่อตั้งค.ศ. 1859
จำนวน41 เทศมณฑล (ณ ค.ศ. 2022)
ประชากร210,177 คน (กอวัสนา) –
772,348 คน (ยัช)/
1,883,425 คน (บูคาเรสต์)
พื้นที่228 ตร.กม. (บูคาเรสต์)/
1,583 ตร.กม. (อิลฟอฟ) –
8,697 ตร.กม. (ตีมิช)
การปกครองผู้ว่าการเทศมณฑลและสภาเทศมณฑล
หน่วยการปกครองเมืองและชุมชน

การแบ่งหน่วยการบริหารในลักษณะฌูเด็ตส์สามารถสืบย้อนไปได้ถึงสมัยราชรัฐวอลเลเกียและมอลเดเวียในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งในมอลเดเวียสมัยนั้นจะเรียกว่า ซีนุต (ținut) ภายหลังจากที่ราชรัฐมอลเดเวียและวอลเลเกียรวมกันใน ค.ศ. 1859 ระบบหน่วยการบริหารตั้งแต่นั้นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับจังหวัดของประเทศฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ระบบหน่วยการบริหารนี้เปลี่ยนแปลงหลายครั้ง และจำนวนเทศมณฑลก็เปลี่ยนแปลงหลายครั้งเช่นกัน โดยในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะมี 71 เทศมณฑล แต่ต่อมาลดลงเหลือเพียง 39 หลังจาก ค.ศ. 1968 การปรับปรุงครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1997

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งประเทศโรมาเนีย ประชากรเฉลี่ยต่อเทศมณฑลทั้ง 41 แห่งอยู่ที่ประมาณ 445,000 คน โดยเทศมณฑลยัชมีประชากรมากที่สุด (772,000 คน) ส่วนเทศมณฑลกอวัสนามีประชากรน้อยที่สุด (210,000 คน) ในขณะที่พื้นที่เฉลี่ยเท่ากับ 5,809 ตารางกิโลเมตร โดยเทศมณฑลตีมิชมีพื้นที่มากที่สุด (8,697 ตารางกิโลเมตร) และเทศมณฑลอิลฟอฟมีพื้นที่น้อยที่สุด (1,583 ตารางกิโลเมตร) อย่างไรก็ตาม เทศบาลบูคาเรสต์ซึ่งมีฐานะเท่ากับเทศมณฑลนั้นมีประชากรมากกว่าทุกเทศมณฑล (1,883,425 คน) แต่มีพื้นที่น้อยกว่า (228 ตารางกิโลเมตร)

ประวัติ

แก้
 
เทศมณฑล 71 แห่งของประเทศโรมาเนียระหว่าง ค.ศ. 1925 และ ค.ศ. 1940
 
แผนที่แสดงเทศมณฑลในปัจจุบันซ้อนทับกับเทศมณฑลในสมัยระหว่างสงคราม

การแบ่งหน่วยการบริหารออกเป็นฌูเด็ตส์ (ในราชรัฐวอลเลเกีย) และซีนุต (ในราชรัชมอลเดเวีย) สามารถสืบย้อนไปได้ถึงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14[note 1][1][2][3] แต่ละฌูเด็ตส์ หรือซีนุต จะปกครองโดยฌูเด (jude) หรือปือร์เกอลับ (pârcălab) ซึ่งได้รับมอบอำนาจด้านบริหารและตุลาการ ระบบดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลมาจากการบริหารในช่วงปลายจักรวรรดิไบแซนไทน์[3][4] ในขณะที่ทรานซิลเวเนียแบ่งออกเป็นราชเทศมณฑลซึ่งปกครองโดย comes และมีอำนาจด้านบริหารและตุลาการเช่นกัน[3]

หลังจากที่ราชรัฐมอลเดเวียและวอลเลเกียรวมกันใน ค.ศ. 1859 หน่วยการบริหารก็ได้รับการปรับปรุงโดยอิงรูปแบบจากประเทศฝรั่งเศส โดยใช้ฌูเด็ตส์เป็นหน่วยหลักในการบริหาร[5][6] ซึ่งยังคงใช้มาตลอดยกเว้นช่วงระหว่าง ค.ศ. 1950 และ ค.ศ. 1968 แต่ละเทศมณฑลหรือฌูเด็ตส์จะปกครองโดยเปรเฟกต์ (prefect) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดกระทรวงกิจการภายในและเป็นตัวแทนของรัฐบาลโรมาเนีย เทียบได้กับตำแหน่ง "ผู้ว่าการ" และนอกจากนี้เปรเฟกต์หรือผู้ว่าการยังดำรงตำแหน่งบริหารสำหรับพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของสภาท้องถิ่นด้วย[5][6] แต่ละฌูเด็ตส์ยังเคยแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นปลาเซอ (plasă) ซึ่งปกครองโดยเปรตอร์ (pretor) แต่ยกเลิกไปใน ค.ศ. 1948[7]

สองปีหลังจากที่ประเทศโรมาเนียประกาศใช้รัฐธรรมนูญโรมาเนีย ค.ศ. 1923 ได้มีการปรับปรุงหน่วยการบริหารในพื้นที่ที่ถูกผนวกเข้ามาใหม่ได้แก่ทรานซิลเวเนีย บูโควีนา และเบสซาเรเบียให้สอดคล้องกับหน่วยการบริหารในราชอาณาจักรโรมาเนียเก่า โดยเขตแดนของเทศมณฑลต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง และจำนวนเทศมณฑลเพิ่มขึ้นเป็น 71 แห่งจนถึงช่วงเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง[6]

ใน ค.ศ. 1938 พระเจ้าคาโรลที่ 2 ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยให้แก้ไขกฎหมายการบริหารโดยยึดตามหลักลัทธิฟาสซิสต์[8] ซีนูตุล (ținutul) หรือ "แคว้น" จำนวน 10 แห่งได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยการบริหารระหว่างประเทศและเทศมณฑล แต่ละแคว้นจะปกครองโดยเรซีเดนซีเรกัล (rezidenți regal) หรือข้าหลวงซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยตรงจากกษัตริย์ เขตแดนเทศมณฑลยังคงเดิม[5][9] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองมีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนเกิดขึ้นหลายครั้ง การปกครองระดับนี้จึงไม่เสถียรนัก และการปกครองระดับฌูเด็ตส์จึงได้รับการฟื้นฟูกลับมาอีกครั้ง[5] ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1941 และ ค.ศ. 1944 โรมาเนียยังครอบครองพื้นที่บริเวณระหว่างแม่น้ำนีสเตอร์และแม่น้ำบูฮ์ใต้ซึ่งมีชื่อว่าเขตผู้ว่าการทรานส์นีสเตรีย ประกอบด้วย 13 เทศมณฑล[10]

หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนียเข้าปกครองประเทศใน ค.ศ. 1945 พรรคคอมมิวนิสต์ได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารไปใช้ตามสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1950 ก่อนจะเปลี่ยนกลับมาเป็นระบบเดิมใน ค.ศ. 1968[11] อย่างไรก็ตาม จำนวนเทศมณฑลที่รื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ลดลงจาก 56 ในช่วงสมัยระหว่างสงครามเหลือเพียง 39 เทศมณฑลเท่านั้น[12]

ใน ค.ศ. 1981 เทศมณฑลจูร์จูและเทศมณฑลเกอเลอรัชแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลยาลอมิตซาและอดีตเทศมณฑลอิลฟอฟ[12] ต่อมาใน ค.ศ. 1997 เทศมณฑลอิลฟอฟซึ่งเคยถูกลดฐานะลงไปขึ้นกับเทศบาลบูคาเรสต์เป็นเวลากว่าสองทศวรรษได้รับการจัดตั้งขึ้นมาใหม่[13][14] เส้นเขตแดนเทศมณฑลอื่น ๆ ที่กำหนดตั้งแต่ ค.ศ. 1968 ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม อำนาจหน้าที่ของเทศมณฑลได้เปลี่ยนแปลงไปหลังจากการปฏิรูปการปกครองในช่วงทศวรรษ 1990[5][6]

ในปัจจุบันประเทศโรมาเนียมี 41 เทศมณฑล และ 1 เทศบาล (ได้แก่เทศบาลบูคาเรสต์) ทั้ง 42 หน่วยถือเป็นหน่วยย่อยระดับที่สามสำหรับการบันทึกข้อมูลสถิติของสหภาพยุโรป[15] แต่ละเทศมณฑลจะแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเมืองหรือออรัช (oraș) และชุมชนหรือกอมูเนอ (comună) เมืองบางเมืองยังมีฐานะเป็นเทศบาลหรือมูนีชีปียู (municipiu) ด้วย ผู้ว่าการเทศมณฑลหรือเปรเฟกต์จะมีอำนาจบริหารสูงสุดภายในเขตเทศมณฑล ในขณะที่สภาเทศมณฑลซึ่งได้รับเลือกจากประชาชนทุกสี่ปีจะมีอำนาจจำกัดในการบริหาร[16] ในขณะที่อำนาจตุลาการจะบังคับใช้โดยศาล ซึ่งเขตศาลของประเทศโรมาเนียก็จะยึดตามเขตเทศมณฑลเช่นกันเพื่อไม่ให้เกิดความซับซ้อนในการแยกใช้อำนาจ[5]

เทศมณฑลในปัจจุบัน

แก้
 
เทศมณฑลของประเทศโรมาเนียในปัจจุบัน
เทศมณฑล
ชื่อภาษาโรมาเนีย
ที่ตั้งตัวเทศมณฑล
ที่มาของชื่อ
[note 2][17]
ภูมิภาค
รหัสไอเอสโอ
[note 3]
รหัสไปรษณีย์
[note 4][18]
รหัสพื้นที่โทรศัพท์
[note 5][19]
รหัส NUTS
[note 6][20]
ประชากร
(ค.ศ. 2011)[21]
พื้นที่
(ตร.กม.)
[22]
แผนที่
กลุฌ
 
Cluj กลุฌ-นาปอกา
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ตะวันตกเฉียงเหนือ CJ 40 64 RO113 691,106 6,672  
กอนสตันซา
 
Constanța กอนสตันซา
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ตะวันออกเฉียงใต้ CT 90 41 RO223 684,082 7,104  
กอร์ฌ
 
Gorj ตือร์กูฌิว
 
แม่น้ำฌิว[note 7] ตะวันตกเฉียงใต้ GJ 21 53 RO412 341,594 5,572  
กอวัสนา
 
Covasna สฟึนตูกียอร์กีเย
 
แม่น้ำกอวัสนา กลาง CV 52 67 RO123 210,177 3,707  
การัช-เซเวริน
 
Caraș-Severin เรชิตซา
 
อดีตเทศมณฑลการัชและอดีตเทศมณฑลเซเวริน ตะวันตก CS 32 55 RO422 295,579 8,532  
กาลัตส์
 
Galați กาลัตส์
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ตะวันออกเฉียงใต้ GL 80 36 RO224 536,167 4,465  
เกอเลอรัช
 
Călărași เกอเลอรัช
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ใต้ CL 91 42 RO312 306,691 5,087  
จูร์จู
 
Giurgiu จูร์จู
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ใต้ GR 08 46 RO314 281,422 3,544  
ซาตูมาเร
 
Satu Mare ซาตูมาเร
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ตะวันตกเฉียงเหนือ SM 44 61 RO115 344,360 4,420  
ซีบิว
 
Sibiu ซีบิว
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล กลาง SB 55 69 RO126 397,322 5,432  
ซูชาวา
 
Suceava ซูชาวา
 
แม่น้ำซูชาวา ตะวันออกเฉียงเหนือ SV 72 30 RO215 634,810 8,553  
เซอลัฌ
 
Sălaj ซาเลิว
 
แม่น้ำเซอลัฌ ตะวันตกเฉียงเหนือ SJ 45 60 RO116 224,384 3,867  
ดอลฌ์
 
Dolj กรายอวา
 
แม่น้ำฌิว[note 8] ตะวันตกเฉียงใต้ DJ 20 51 RO411 660,544 7,425  
ดึมบอวิตซา
 
Dâmbovița ตือร์กอวิชเต
 
แม่น้ำดึมบอวิตซา ใต้ DB 13 45 RO313 518,745 4,056  
ตีมิช
 
Timiș ตีมีชออารา
 
แม่น้ำตีมิช ตะวันตก TM 30 56 RO424 683,540 8,692  
ตุลชา
 
Tulcea ตุลชา
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ตะวันออกเฉียงใต้ TL 82 40 RO225 213,083 8,484  
เตเลออร์มัน
 
Teleorman อาเลกซันดรียา
 
แม่น้ำเตเลออร์มัน ใต้ TR 14 47 RO317 380,123 5,788  
เนอัมตส์
 
Neamț ปียาตราเนอัมตส์
 
แม่น้ำเนอัมตส์ ตะวันออกเฉียงเหนือ NT 61 33 RO214 470,766 5,897  
บราชอฟ
 
Brașov บราชอฟ
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล กลาง BV 50 68 RO122 549,217 5,361  
บอตอชัน
 
Botoșani บอตอชัน
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ตะวันออกเฉียงเหนือ BT 71 31 RO212 412,626 4,987  
บาเกิว
 
Bacău บาเกิว
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ตะวันออกเฉียงเหนือ BC 60 34 RO211 616,168 6,622  
บิสตริตซา-เนอเซอวุด
 
Bistrița-Năsăud บิสตริตซา
 
แม่น้ำบิสตริตซาและเมืองเนอเซอวุด ตะวันตกเฉียงเหนือ BN 42 63 RO112 286,225 5,358  
บีฮอร์
 
Bihor ออราเดอา
 
ชุมชนบีฮารียา ตะวันตกเฉียงเหนือ BH 41 59 RO111 575,398 7,539  
บูคาเรสต์
 
București (เทศบาลบูคาเรสต์)
[note 9]
ชื่อสกุลบูกูร์ (Bucur)[23] บูกูเรชต์-อิลฟอฟ B 01–06
[note 10]
1x
[note 11]
RO321 1,883,425 240  
บูเซิว
 
Buzău บูเซิว
 
แม่น้ำบูเซิว ตะวันออกเฉียงใต้ BZ 12 38 RO222 451,069 6,101  
เบรอยีลา
 
Brăila เบรอยีลา
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ตะวันออกเฉียงใต้ BR 81 39 RO221 321,212 4,766  
ปราฮอวา
 
Prahova ปลอเยชต์
 
แม่น้ำปราฮอวา ใต้ PH 10 44 RO316 762,886 4,715  
มารามูเรช
 
Maramureș บายามาเร
 
ภูมิภาคทางประวัติศาสตร์มารามูเรช ตะวันตกเฉียงเหนือ MM 43 62 RO114 478,659 6,303  
มูเรช
 
Mureș ตือร์กูมูเรช
 
แม่น้ำมูเรช กลาง MS 54 65 RO125 550,846 6,705  
เมเฮดินตส์
 
Mehedinți ดรอเบตา-ตูร์นูเซเวริน
 
ชุมชนเมฮาดียา ตะวันตกเฉียงใต้ MH 22 52 RO413 265,390 4,942  
ยัช
 
Iași ยัช
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ตะวันออกเฉียงเหนือ IS 70 32 RO213 772,348 5,477  
ยาลอมิตซา
 
Ialomița สลอบอซียา
 
แม่น้ำยาลอมิตซา ใต้ IL 92 43 RO315 274,148 4,455  
วรันชา
 
Vrancea ฟอกชัน
 
เทศมณฑลชื่อเดียวกันในสมัยกลาง[24][note 12] ตะวันออกเฉียงใต้ VN 62 37 RO226 340,310 4,854  
วัสลุย
 
Vaslui วัสลุย
 
แม่น้ำวัสลุย ตะวันออกเฉียงเหนือ VS 73 35 RO216 395,499 5,317  
วึลชา
 
Vâlcea รึมนีกูวึลชา
 
เทศมณฑลชื่อเดียวกันในสมัยกลาง[1][note 13] ตะวันตกเฉียงใต้ VL 24 50 RO415 371,714 5,764  
ออลต์
 
Olt สลาตีนา
 
แม่น้ำออลต์ ตะวันตกเฉียงใต้ OT 23 49 RO414 436,400 5,503  
อัลบา
 
Alba อัลบายูลียา
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล กลาง AB 51 58 RO121 342,376 6,250  
อาร์เจช
 
Argeș ปีเตชต์
 
แม่น้ำอาร์เจช ใต้ AG 11 48 RO311 612,431 6,822  
อารัด
 
Arad อารัด
 
เมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑล ตะวันตก AR 31 57 RO421 430,629 7,746  
อิลฟอฟ
 
Ilfov บุฟตียา
 
แม่น้ำอิลฟอฟ บูกูเรชต์-อิลฟอฟ IF 07 1x
[note 11]
RO322 388,738 1,564  
ฮาร์กีตา
 
Harghita มีเยร์กูเรอาชุก
 
เทือกเขาฮาร์กีตา กลาง HR 53 66 RO124 310,867 6,637  
ฮูเนดออารา
 
Hunedoara เดวา
 
เมืองฮูเนดออารา ตะวันตก HD 33 54 RO423 418,565 7,072  

หมายเหตุ

แก้
  1. ฌูเด็ตส์ มาจากภาษาละตินว่า judicium ส่วน ซีนุต น่าจะมาจากภาษาละตินว่า tenutum
  2. ชื่อเทศมณฑลในปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะมาจากชื่อแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านเขตเทศมณฑล ในบางกรณีชื่อเมืองที่ตั้งตัวเทศมณฑลหรือเมืองสำคัญอื่นอาจจะตั้งชื่อตามแม่น้ำสายเดียวกันด้วย
  3. รหัส ISO 3166-2:RO ซึ่งใช้เป็นรหัสสำหรับจดทะเบียนรถยนต์และนิยมใช้เป็นอักษรย่อโดยทั่วไปด้วย
  4. รหัสไปรษณีย์ในประเทศโรมาเนียจะใช้รูปแบบ xxyzw โดย xx คือรหัสเทศมณฑล ในขณะที่ y z และ w จะระบุเมือง ถนน ส่วนของถนน หรือแม้แต่อาคาร
  5. หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานในประเทศโรมาเนียจะใช้รูปแบบ +40-abb-xxx-xxx โดย 40 คือรหัสประเทศโรมาเนีย bb คือรหัสพื้นที่ และ a คือรหัสสำหรับผู้ให้บริการ โดย 2 หมายถึงรอมเตเลกอมซึ่งเป็นอดีตผู้ให้บริการระดับประเทศ 3 หมายถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานรายอื่น และ 7 หมายถึงหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ อย่างไรก็ตาม หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ได้ใช้รหัสพื้นที่
  6. รหัสพื้นที่จะใช้รูปแบบ ROxyz โดย x หมายถึงภูมิภาคใหญ่ y หมายถึงภูมิภาคย่อยหรือภูมิภาคการพัฒนาซึ่งอาจจะเป็น 1 หรือ 2 และ z หมายถึงรหัสเทศมณฑล
  7. กอร์ฌย่อมาจาก "กอราฌิว" (Gora Jiu) หรือฌิวภูเขา เนื่องจากเทศมณฑลกอร์ฌตั้งอยู่พื้นที่สูงริมแม่น้ำฌิว
  8. ดอลฌ์ย่อมาจาก "ดอลูฌิว" (Dolu Jiu) หรือฌิวหุบเขา เนื่องจากเทศมณฑลดอลฌ์ตั้งอยู่พื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำฌิว
  9. บูคาเรสต์ไม่ใช่เทศมณฑล แต่เป็นเทศบาลที่มีฐานะเท่ากับเทศมณฑล
  10. เนื่องจากกรุงบูคาเรสต์มีประชากรมาก จึงต้องแบ่งออกเป็นหกเขตสำหรับการไปรษณีย์
  11. 11.0 11.1 บูคาเรสต์และเทศมณฑลอิลฟอฟใช้รหัสเดียวกัน แต่เนื่องจากประชากรมีเป็นจำนวนมาก ทำให้รหัสพื้นที่ของบูคาเรสต์และอิลฟอฟเหลือเพียง "1" หลักเดียว และตามด้วยหมายเลขอื่นอีกเจ็ดหลัก แทนที่จะมีรหัสพื้นที่สองหลักและหมายเลขอื่นหกหลักเหมือนเทศมณฑลอื่น
  12. วรัน เป็นคำในภาษาพื้นเดิม เชื่อกันว่าหมายถึง "ป่า" หรือ "ภูเขา"
  13. วึลชา ในภาษาโรมาเนียแปลว่าหุบเขาแคบ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Primele atestari documentare ale judetului Valcea (First Historical Mentions of Vâlcea County)" (ภาษาโรมาเนีย). National Institute of Statistics (Romania). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20. สืบค้นเมื่อ 2010-01-23.
  2. Cornel Șomâcu (2009-09-09). "De la sat la județ în istoria Olteniei (From Village to County in the History of Oltenia)" (ภาษาโรมาเนีย). Vertical. ISSN 1841-6063. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 Cosmin Dariescu (2008). "21: Organizarea administrativ-teritorială a Țării Românești și a Moldovei în evul mediu (21: Administrative Divisions in Wallachia and Moldavia in the Middle Ages)". Istoria statului și dreptului românesc din antichitate până la Marea Unire (History of Romanian State and Law from Antiquity until the Unification) (ภาษาโรมาเนีย). C.H. Beck. pp. 47–51. ISBN 978-973-115-337-7.
  4. Cosmin Dariescu (2008). "16: Domnia în Țările Române medievale (16: Rulers in the Romanian Principalities in the Middle Ages)". Istoria statului și dreptului românesc din antichitate până la Marea Unire (History of Romanian State and Law from Antiquity until the Unification) (ภาษาโรมาเนีย). C.H. Beck. pp. 35–39. ISBN 978-973-115-337-7.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "Scurtă privire istorică (Short View on History)" (ภาษาโรมาเนีย). Instituția Prefectului județul Argeș. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-20. สืบค้นเมื่อ 2010-01-22.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 2003–2005 National Human Development Report: Local Governance in Romania (PDF) (Report). United Nations Development Programme. p. 35. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  7. Valeriu Nicolescu. "Un ținut de legendă, județul Buzău (A legendary Land, Buzau County)" (ภาษาโรมาเนีย). Buzau.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-14. สืบค้นเมื่อ 2010-01-22.
  8. Günther H. Tontsch (2000). "Juristische Literatur zur rumänischen Verwaltungsgeschichte im 19. und 20. Jahrhundert (Law Literature on the Romanian Administrative History in the 19th and 20th Centuries)". Jahrbuch für Europäische Verwaltungsgeschichte (Yearbook of European Administrative History) (ภาษาเยอรมัน). Vol. 12. Baden-Baden: Nomos Verlag. p. 285. ISSN 0937-7107.
  9. Ioan Scurtu; Theodora Stănescu-Stanciu; Georgiana Margareta Scurtu (2002). "8.7. Decret-lege pentru reforma electorală (Law Decree for electoral reform)". Istoria românilor între anii 1918–1940 (The History of the Romanians in 1918–1940) (ภาษาโรมาเนีย). University of Bucharest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-22. สืบค้นเมื่อ 2014-07-13.
  10. Anatol Petrenci (2006). Basarabia în timpul celui de-al doilea război mondial: 1939–1945 (Bessarabia During the Second World War: 1939–1945) (ภาษาโรมาเนีย). Chișinău, Moldova: Ed. Prut Internațional. ISBN 978-9975-69-049-2.
  11. "Istoria Banatului – În linii mari (History of Banat – A Quick View)" (ภาษาโรมาเนีย). Vestul.ro. 2008-09-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-10-22.
  12. 12.0 12.1 Petre Mihai Bacanu (2010-03-11). "Cum ar trebui să arate harta redesenată a României? (How Should Romania's Redrawn Map Look Like?)". România Liberă (ภาษาโรมาเนีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-01. สืบค้นเมื่อ 2010-08-29.
  13. "Prezentarea Judetului Ilfov (Overview of Ilfov County)" (PDF) (ภาษาโรมาเนีย). National Institute of Statistics (Romania). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-06-23. สืบค้นเมื่อ 2010-08-01.
  14. "Istoria Ilfov (History of Ilfov)" (ภาษาโรมาเนีย). Camera de Comert si Industrie a Judetului Ilfov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
  15. "Nomenclature of territorial units for statistics – Introduction". Eurostat. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  16. "CEMR – Members – Romania". Council of European Municipalities and Regions. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  17. "Istoria numelor județelor din România. De unde provine denumirea regiunii în care locuiți" (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 2013-01-30.
  18. "Postal code search" (ภาษาโรมาเนีย). Compania Nationala Posta Romania SA. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  19. "List of the county prefixes in Romania" (ภาษาโรมาเนีย). National Regulatory Authority for Communications and Information Technology (Romania). 2005-04-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  20. "Publications Office, European Union, EU". Simap – Information about European public procurement. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-27. สืบค้นเมื่อ 2010-08-29.

  21. Population at the Censuses of 1948, 1956, 1966, 1977, 1992, 2002 and 2011 – By Localities and Counties (Report) (ภาษาโรมาเนีย). National Institute of Statistics (Romania). 2013-07-04. pp. 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (XLS)เมื่อ 2013-09-29. สืบค้นเมื่อ 2013-07-06.
  22. Romanian Statistical Yearbook 2017 (PDF) (Report). National Institute of Statistics (Romania). 2018. p. 17. สืบค้นเมื่อ 2018-06-07.
  23. "DEX online – Search: "bucura"". Romanian Etymological Dictionary 1958–1966 (ภาษาโรมาเนีย). Dexonline.ro. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
  24. "Județul Vrancea (Vrancea County)" (ภาษาโรมาเนีย). National Institute of Statistics (Romania). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้