เตารอฮ์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เตารอฮ์ (อาหรับ: توراة) ทับศัพท์เป็นภาษาไทยว่า เตารอฮ์ หรือ เตารอต เป็นชื่อภาษาอาหรับสำหรับ คัมภีร์โทราห์ ภายใต้บริบทของมันในฐานะคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม ที่ชาวมุสลิม เชื่อว่าอัลลอฮ์ทรงประทานให้แก่ นบีในหมู่อิสราเอลเมื่อกล่าวถึงความเชื่อจากเตารอฮ์ ชาวมุสลิมไม่เพียงระบุกับโทราห์ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนังสืออื่น ๆ ของพระคัมภีร์ฮีบรู เช่นเดียวกับงานเขียนของทัลมุด และ มิดรัชชิม
แท้จริงเราได้ให้อัตเตารอฮ์ลงมา โดยที่ในนั้นมีข้อแนะนำและแสงสว่าง ซึ่งบรรดานบีที่สวามิภักดิ์ได้ใช้อัตเตารอฮ์ตัดสินบรรดาผู้ที่เป็นยิว และบรรดาผู้ที่รู้แล้วในอัลลอฮ์ และนักปราชญ์ทั้งหลายก็ได้ใช้อัตเตารอฮ์ ตัดสิน ด้วย เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาได้รับมอบหมายให้รักษาไว้ (นั่นคือ) คัมภีร์ของอัลลอฮ์ และพวกเขาก็เป็นพยานยืนยันในคัมภีร์นั้นด้วย ดังนั้นพวกเจ้า จงอย่ากลัวมนุษย์แต่จงกลัวข้าเถิด และจงอย่าแลกเปลี่ยนบรรดาโองการของข้ากับราคาอันเล็กน้อย และผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้แหละคือผู้ปฏิเสธการศรัทธา
ในอัลกุรอาน
แก้คำว่า เตารอฮ์ กล่าวไว้ 18 ครั้งในอัลกุรอาน และชื่อของนบีมูซาถูกกล่าวถึง 136 ครั้งในอัลกุรอาน ไม่มีที่ใดในอัลกุรอานเขียนไว้ว่านบีมูซาเพียงผู้เดียวได้รับเตารอฮ์ แต่ตรงกันข้ามมีเขียนไว้ในอัลกุรอานว่านบีคนอื่นก็ใช้กฎหมายจากเตารอฮ์
ตามคัมภีร์กุรอาน อายะฮ์ที่มีคำสั่งของอัลลอฮ์คือ เตารอฮ์
และอย่างไรเล่าที่พวกเขาจะให้เจ้าตัดสินทั้ง ๆ ที่พวกเขามี อัตเตารอฮ์อยู่ ซึ่งในนั้นมีข้อตัดสินของอัลลอฮ์อยู่แล้วแล้วพวกเขาก็ผินหลังให้ หลังจากนั้น ชนเหล่านี้หาใช่เป็นผู้ศรัทธาไม่
— กุรอาน, ซูเราะฮ์ที่ 5 (อัลมาอิดะฮ์), อายะฮ์ที่ 43[2]
กฎหมายที่กล่าวถึงในอัลกุรอาน (5:45) :
และเราได้บัญญัติแก่พวกเขาไว้ในคัมภีร์นั้นว่า ชีวิตด้วยชีวิต และตาด้วยตา และจมูกด้วยจมูก และหูด้วยหู และฟันด้วยฟัน และบรรดาบาดแผลก็ให้มีการชดเชยเยี่ยงเดียวกัน และผู้ใดให้การชดเชยนั้นเป็นทาน มันก็เป็นสิ่งลบล้างบาปของเขา และผู้ใดมิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้แหละคือผู้อธรรม
— กุรอาน, ซูเราะฮ์ที่ 5 (อัลมาอิดะฮ์), อายะฮ์ที่ 45[3]
ในทำนองเดียวกันมีการกล่าวถึงในอพยพ:
23ถ้าหากมีอันตราย ก็ให้วินิจฉัยดังนี้คือชีวิตแทนชีวิต 24ตาแทนตา ฟันแทนฟัน มือแทนมือ เท้าแทนเท้า 25รอยไหม้แทนรอยไหม้ แผลแทนแผล รอยช้ำแทนรอยช้
— พระคัมภีร์, พระธรรมอพยพ, บทที่ 21, ข้อที่ 23-25[4]
ตาม 7:157 นบีมุฮัมมัดเขียนเกี่ยวกับทั้ง อินญีล (ข่าวประเสริฐ) การวะฮีย์ต่อ นบีอีซา (เยซู) และเตารอฮ์
“คือบรรดาผู้ปฏิบัติตามเราะซูล ผู้เป็นนบีที่เขียนอ่านไม่เป็นที่พวกเขา พบเขาถูกจารึกไว้ ณ ที่พวกเขา ทั้งในเตารอฮ์ และในอินญีลโดยที่เขา จะใช้พวกเขาให้กระทำในสิ่งที่ชอบและห้ามพวกเขามิให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบและจะอนุมัติให้แก่พวกเขาซึ่งสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และจะให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขา ซึ่งสิ่งที่เลวทั้งหลาย และจะปลดเปลื้องออกจากพวกเขา ซึ่งภาระหนักของพวกเขาและห่วงคอ ที่ปรากฏอยู่บนพวกเขา ดังนั้นบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา และให้ความสำคัญแก่เขาและช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามแสงสว่าง ที่ถูกประทานลงมาแก่เขาแล้วไซร้ ชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่สำเร็จ”
— กุรอาน, ซูเราะฮ์ที่ 7 (อัลอะอ์รอฟ), อายะฮ์ที่ 157[5]
เตารอฮ์ถูกกล่าวถึงว่าเป็นที่รู้จักโดย นบีอีซา ใน 5:110
จงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮ์ ตรัสแก่อีซาบุตรของมัรยัมว่า จงรำถึงความโปรดปรานของข้าที่มีต่อเจ้า และมารดาของเจ้า ขณะที่ข้าได้สนับสนุนเจ้า ด้วยวิญญาณอันบริสุทธิ์ โดยที่เจ้าพูดกับประชาชน ขณะที่อยู่ในเปล แลบะขณะที่อยู่ในวัยกลางคน และขณะที่ข้าได้สอนเจ้า ซึ่งคัมภีร์และความมุ่งหมายแห่งบัญญัติศาสนาและเตารอฮ์และอินญีล และขณะที่เจ้าสร้างขึ้นจากดินดั่งรูปนกด้วยอนุมัติของข้า แล้วเจ้าเป่าเข้าไปในรูปนกนั้น มันก็กลายเป็นนก ด้วยอนุมัติของข้า และที่เจ้าทำให้คนตาบอดแต่กำเนิด และคนเป็นโรคผิวหนังหาย ด้วยอนุมัติของข้า และขณะที่เจ้าทำให้บรรดาคนตายออกมา ด้วยอนุมัติของข้า และขณะที่ข้าได้ยับยั้งและหันเหวงศ์วานอิสรออีลออกจากเจ้า เมื่อเจ้านำบรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งมายังพวกเขาแล้วบรรดาผู้ฝ่าฝืนในหมู่พวกเขาก็กล่าวว่า สิ่งนี้ มิใช่อื่นใด นอกจากมายากลอันชัดแจ้งเท่านั้น
— กุรอาน, ซูเราะฮ์ที่ 5 (อัลมาอิดะฮ์), อายะฮ์ที่ 110 [6]
ข้อความอ้างอิงบางส่วนซ้ำมาจากหนังสือเล่มอื่น ๆ ของพระคัมภีร์ฮีบรู ตัวอย่างนี้คือ 48:29
มุฮัมมัดเป็นเราะซูลของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธศรัทธา เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขาเอง เจ้าจะเห็นพวกเขาเป็นผู้รูกั๊วะ ผู้สุญูด โดยแสวงหาคุณความดีจากอัลลอฮฺและความโปรดปราน (ของพระองค์) เครื่องหมายของพวกเขาอยู่บนใบหน้าของพวกเขาเนื่องจากร่องรอยแห่งการสุญูด นั่นคืออุปมาของพวกเขาที่มีอยู่ในอัตเตารอฮ์ และอุปมาของพวกเขาที่มีอยู่ในอัลอินญีล ประหนึ่งเมล็ดพืชที่งอกหน่อหรือกิ่งก้านของมันออกมาแล้วทำให้มันงอกงาม แล้วมันก็เติบโตแข็งแรงและทรงตัวอยู่ได้บนลำต้นของมัน นำความปลื้มปิติมาให้แก่ผู้หว่าน เพื่อที่พระองค์จะก่อความโกรธแค้นแก่พวกปฏิเสธศรัทธา เพราะพวกเขา (มุสลิมีน) และอัลลอฮฺทรงสัญญาบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลายในหมู่พวกเขาว่าจะได้รับการอภัยโทษและรางวัลอันใหญ่หลวง
สิ่งนี้สามารถพูดซ้ำได้จาก สดุดี :
เขาเป็นเหมือนต้นไม้ที่ปลูกไว้ริมธารน้ำ ซึ่งเกิดผลตามฤดูกาล และใบก็ไม่เหี่ยวแห้ง ทุกอย่างที่เขาทำก็จำเริญขึ้น
— พระคัมภีร์, สดุดี, บทที่ 1, ข้อที่ 3[8]
ขอให้มีข้าวอุดมในแผ่นดิน ให้มันแกว่งไกวรวงอยู่บนยอดเขาทั้งหลาย ขอให้ผลของแผ่นดินเหมือนเลบานอน และให้คนบานออกมาจากนคร เหมือนหญ้าในทุ่งนา
— พระคัมภีร์, สดุดี, บทที่ 72, ข้อที่ 16[9]
มันยังออกผลเมื่อแก่แล้ว มันมีน้ำเลี้ยงเต็มและเขียวสดอยู่
— พระคัมภีร์, สดุดี, บทที่ 92, ข้อที่ 14[10]
โทราห์ยังได้รับการอธิบายว่าเป็นงานที่สนับสนุนอัลกุรอานและเป็นแนวทางจากอัลลอฮ์ [11]
ครั้นเมื่อสัจธรรมจากเราได้มายังพวกเขา พวกเขากล่าวว่า “ทำไมเขา (มุฮัมมัด) จึงมิได้รับเยี่ยงกับที่มูซาได้รับเล่า ?” ก็พวกเขามิได้ปฏิเสธสิ่งที่ถูกประทานให้แก่มูซามาก่อนดอกหรือ ? พวกเขากล่าวว่า “ทั้งสองคือเวทมนตร์ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน” และว่า “เราเป็นผู้ปฏิเสธทั้งสิ้น” จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) “ดังนั้น พวกท่านจงนำคัมภีร์สักเล่มหนึ่งจากอัลลอฮ์ ที่ถูกต้องเหมาะสมยิ่งกว่าทั้งสอง เพื่อฉันจะได้ปฏิบัติตามมัน หากพวกท่านเป็นผู้สัตว์จริง”
— กุรอาน, 28:48-49
ในหะดีษ
แก้นบีมุฮัมมัดอ้างอิงเตารอฮ์อยู่บ่อย ๆ ท่านกล่าวว่า มูซาเป็นหนึ่งในนบี ไม่กี่คนที่ได้รับการวะฮีย์โดยตรงจากอัลลอฮ์ นั่นคือไม่มีมะลาอิกะฮ์คอยแทรกแซง มีอยู่ครั้งหนึ่ง มีบันทึกว่าชาวยิวบางคนต้องการให้ท่านนบีตัดสินใจว่าจะจัดการกับพี่น้องของตนที่ล่วงประเวณี อย่างไร อบูดาวูด บันทึก:
รายงานจากอิบน์ อุมัร:
ชาวยิวกลุ่มหนึ่งมาเชิญ ท่านเราะซูล (ศ็อลฯ) ดังนั้น ท่านเราะซูล (ศ็อลฯ) จึงไปเยี่ยมยังโรงเรียนของพวกเขา
พวกเขากล่าวว่า: อะบูลกอศิม ชายคนหนึ่งของเราได้ล่วงประเวณีกับ ดังนั้นจงตัดสินลงโทษพวกเขา พวกเขาวางเบาะสำหรับ ท่านเราะซูล (ศ็อลฯ) ซึ่งนั่งบนนั้น และกล่าวว่า จงนำคัมภีร์เตารอฮ์มา จากนั้นพวกเขาจึงนำมา จากนั้นท่านก็ดึงเบาะออกจากด้านล่างและวางเตารอฮ์ไว้บนนั้นโดยกล่าวว่า: ข้าศรัทธาในตัวท่านและในพระองค์ผู้ทรงวะฮีย์แก่ท่าน จากนั้นท่านกล่าวว่า: นำผู้รอบรู้ในหมู่พวกท่านมาให้ข้า ... จากนั้นมีชายหนุ่มคนหนึ่งถูกพาตัวมา จากนั้นท่านเราะซูลก็กล่าวถึงประเพณีการปาหินที่เหลือซึ่งคล้ายกับประเพณีที่ส่งโดยมาลิกจากนาฟี (หะดีษหมายเลข 4431)— อะบูดาวูด, สุนัน อะบูดาวูด[12]