หนังสืออพยพ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
หนังสืออพยพ[1][2] (อังกฤษ: Exodus; ฮีบรู: ואלה שמות [Ve-eleh shemot]; กรีก: Ἔξοδος) เป็นหนังสือเล่มที่สองในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม และเป็นเล่มที่สองในหมวดเบญจบรรณ ซึ่งเชื่อกันว่าโมเสสเป็นผู้เขียนขึ้น
คำว่า "อพยพ" แปลจากภาษาอังกฤษซึ่งแปลอีกทอดจากภาษากรีก โดยหมายถึง การแยกออกจากกัน แต่ในภาษาฮีบรู มาจากคำขึ้นต้นซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "ต่อไปนี้เป็นชื่อของ..."
หนังสืออพยพประกอบด้วยเนื้อหาที่อาจสรุปย่อได้ดังนี้
- การทรงเรียกโมเสส และการปลดแอกชาวอิสราเอลจากความเป็นทาส (บทที่ 1-12)
- การเดินทางออกจากอียิปต์ ไปยังภูเขาซีนาย (บทที่ 13-18)
- พระบัญญัติที่พระเจ้าทรงบัญชาต่ออิสราเอล (บทที่ 19-24)[3]
- การกำหนดแบบสำหรับสร้างพลับพลา แท่นบูชา เครื่องและอุปกรณ์พลับพลา (บทที่ 25-31)
- เหตุการณ์สร้างวัวทองคำ (บทที่ 31-34)
- การสร้างพลับพลา แท่นบูชา เครื่องและอุปกรณ์พลับพลา (บทที่ 35-40)
การปลดแอกอิสราเอล
แก้สถานการณ์ของอิสราเอลในอียิปต์
แก้ภายหลังการเสียชีวิตของโยเซฟ หลายชั่วคนต่อมา กลับสิ้นสุดความรุ่งเรืองของอิสราเอลในอียิปต์ แรกเริ่มยาโคบและบรรดาลูกหลานนั้นเดินทางเข้ามาในอียิปต์เพียง 70 คน แต่ต่อมาได้ขยายพงศ์พันธุ์เป็นจำนวนมาก เมื่อฟาโรห์องค์ต่อมาเห็นว่าชาวอิสราเอลซึ่งเป็นคนต่างชาติในแผ่นดินอียิปต์มีมากเกินไป จึงตั้งนายงานและเกณฑ์ให้คนอิสราเอลเป็นทาส ทำงานสร้างเมืองเก็บราชสมบัติให้แก่ฟาโรห์ ณ เมืองปิธม และเมืองราอัมเสส ถึงแม้ทำงานหนักเท่าใด ชาวอิสราเอลยังคงเพิ่มทวียิ่งขึ้น ฟาโรห์จึงสั่งให้ฆ่าเด็กผู้ชายชาวอิสราเอลที่เกิดใหม่ทุกคน โดยให้นำไปทิ้งในแม่น้ำไนล์ มีเพียงเด็กผู้หญิงเท่านั้นจึงมีชีวิตรอดได้[4]
กำเนิดโมเสส
แก้แม้ฟาโรห์มีคำสั่งให้ฆ่าเด็กชายเกิดใหม่ของอิสราเอลทุกคน แต่ในเผ่าเลวีมีครอบครัวหนึ่งได้คลอดลูกชาย และซ่อนบุตรไว้จนโตขึ้นถึงวัยที่ไม่สามารถซ่อนต่อไป จึงนำเด็กลงในตะกร้าสานชันยาอย่างดี ไปวางไว้ในกอปรือริมแม่น้ำ ธิดาฟาโรห์มาพบขณะลงสรงน้ำ จึงเก็บไปเลี้ยง และประทานชื่อว่า โมเสส แม้โมเสสถูกเลี้ยงดูโดยธิดาฟาโรห์ แต่ยังมีใจผูกพันกับชาวอิสราเอล
พระเจ้าทรงเรียกโมเสส
แก้ครั้งหนึ่งโมเสสพลั้งมือฆ่าชาวอียิปต์ที่ข่มเหงชายชาวอิสราเอล โมเสสจึงหนีความผิดไปเป็นคนเลี้ยงแพะอยู่เมืองมีเดียน และที่นั้น โมเสสก็ได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้า ให้เป็นผู้นำชาวอิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์[5]
เบื้องต้นโมเสสพยายามหลบเลี่ยงการทรงเรียกของพระเจ้าด้วยเหตุผลนานาประการ กระทั่งจำยอมด้วยฤทธิ์เดชพระเจ้า จึงได้เข้าไปอียิปต์ตามพระประสงค์ของพระเจ้า โดยพระเจ้าทรงให้อาโรนและมีเรียน พี่ชายและพี่สาวของโมเสสเป็นผู้คอยช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ของโมเสสท่ามกลางชาวอิสราเอล
โมเสสจึงเข้าไปทูลขอให้ฟาโรห์ปล่อยอิสราเอลเป็นอิสระถึง 10 ครั้ง และฟาโรห์ปฏิเสธทุกครั้ง แต่ละครั้งที่ฟาโรห์ปฏิเสธ พระเจ้าก็ทรงมอบภัยพิบัติแก่อียิปต์รวม 10 ครั้ง ในครั้งสุดท้ายฟาโรห์จึงยอมปล่อยให้อิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์ได้[6]
อพยพ
แก้ขณะอพยพออกจากอียิปต์นั้น นับเฉพาะผู้ชายได้ทั้งสิ้นประมาณหกแสนคน ไม่รวมผู้หญิง เด็ก และคนต่างชาติที่ขอติดตามไปด้วย
รวมเวลาที่อิสราเอลอาศัยในแผ่นดินอียิปต์ เป็นเวลา 430 ปี ทั้งนี้เป็นไปตามคำพยากรณ์ที่พระเจ้าประทานให้แก่อับราฮัม เมื่อออกจากอียิปต์ พระเจ้าทรงให้ผู้ชายทุกคนที่ยังมิได้เข้าสุหนัต ให้ถือพิธีเข้าสุหนัต เพื่อแสดงตนว่าได้เข้าเป็นชนชาติอิสราเอลด้วยแล้ว จึงถือปฏิบัติตั้งแต่นั้นมา และเฉพาะผู้ที่ได้เข้าสุหนัตแล้วเท่านั้นที่เข้าร่วมพิธีปัสคาได้
นอกจากนี้ ยังมีกำหนดการถวายสัตว์หัวปี เพื่อเป็นเครื่องถวายบูชา เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติในอียิปต์ที่พระเจ้าทรงนำบุตรหัวปีของอียิปต์ไป จนเป็นเหตุให้อิสราเอลได้เป็นไทอีกด้วย
ในการอพยพของอิสราเอล ข้ามทะเลทรายครั้งนี้ กินเวลากว่า 40 ปี มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลในหมวดเบญจบรรณถึง 5 เล่มด้วยกัน
เสาเมฆ และเสาเพลิง
แก้เมื่ออิสราเอลออกเดินทางจากอียิปต์นั้น ต้องผ่านเส้นทางที่เป็นทะเลทรายอันร้อนระอุ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินผ่านเมืองที่มีผู้คนอาศัย (ในสมัยก่อนการยกพลผ่านเมืองอาจก่อให้เกิดสงครามได้) เมื่อออกเดินทางพระเจ้าเสด็จนำทางพวกเขาในเวลากลางวันด้วยเสาเมฆ และในเวลากลางคืนด้วยเสาเพลิง ให้เขามีแสงสว่างเพื่อได้เดินทางได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสาเมฆและเสาเพลิง มิได้คลาดจากเบื้องหน้าประชากรเลย[7]
ข้ามทะเลแดง
แก้เมื่ออิสราเอลออกเดินทางจากอียิปต์ไปแล้วนั้น ฟาโรห์และเหล่าขุนนางก็เปลี่ยนความคิด ต้องการให้คนอิสราเอลกลับมาเป็นทาสดังเดิม จึงได้จัดทัพออกติดตามอิสราเอล ในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า ฟาโรห์ ทรงจัดเตรียมรถรบอย่างดี 600 คัน กับรถรบทั้งหมดในอียิปต์ ติดตามอิสราเอลไป
เมื่อกองทัพอียิปต์ติดตามมาจวนถึงแล้วนั้น ฝ่ายอิสราเอล กำลังตั้งค่ายอยู่ริมทะเลแดง โมเสสได้กล่าวกับชนชาติอิสราเอลว่า "อย่ากลัวเลย จงยืนนิ่งอยู่ คอยดูความรอดจากพระยาห์เวห์ ซึ่งทรงทำเพื่อพวกท่านในวันนี้ เพราะคนอียิปต์ที่เห็นในวันนี้ พวกท่านจะไม่ได้เห็นอีกตลอดไป พระยาห์เวห์จะทรงรบแทนท่านทั้งหลาย พวกท่านจงสงบอยู่เถิด"[8] แล้วพระเจ้าทรงสั่งให้โมเสสยกไม้เท้าขึ้นเหนือทะเล ทำให้ทะเลนั้นแหวกออก น้ำก็ตั้งเป็นเหมือนกำแพงสำหรับอิสราเอลทั้งซ้ายและขวา และคนอิสราเอลนั้นเดินข้ามทะเลไปได้ และเสาเมฆซึ่งอยู่ข้างหน้า ก็กลับมาอยู่ข้างหลังเขา คือระหว่างพลโยธาอียิปต์ และพลโยธาอิสราเอล เมื่ออิสราเอลข้ามผ่านทะเลแดงไปแล้ว พระเจ้าทรงบัญชาให้โมเสสยื่นมือออกไปเหนือทะเล น้ำทะเลไหลกลับคืนมาท่วมคนอียิปต์[9]
มานา
แก้เมื่ออิสราเอลรอดพ้นจากอียิปต์ได้ ต้องเดินทางท่ามกลางทะเลทรายซึ่งแห้งแล้งและกันดารอาหาร พระเจ้าจึงทรงประทานอาหารตกลงมาจากท้องฟ้า และทรงอนุญาตให้อิสราเอลเก็บกินได้พอกินเฉพาะวันหนึ่งเท่านั้น หากเก็บไว้เกินก็เน่าเป็นหนอนและบูดเหม็น แต่ในวันที่หก อนุญาตให้เก็บเป็นสองเท่า เพราะในวันสะบาโตพระเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้กระทำกิจการใด ๆ
อาหารที่พระเจ้าประทานมานั้น อิสราเอล เรียกว่า "มานา" เป็นเม็ดขาวเหมือนเมล็ดผักชี มีรสเหมือนขนมแผ่นผสมน้ำผึ้ง พระเจ้าทรงประทานมานาในเวลาเช้า มานาปรากฏขึ้นหลังจากน้ำค้างระเหย แต่พอแดดร้อนจัดมานาก็ละลายไป
พระเจ้าทรงประทานมานา ให้แก่ อิสราเอล ตลอดระยะเวลา 40 ปี ที่เดินทางอยู่ในทะเลทราย จนกระทั่งออกเดินทางถึงยังชายแดนแคว้นคานาอัน[10]
โมเสสพบพระเจ้า
แก้ภายหลังจากอิสราเอลเดินทางออกจากอียิปต์ได้ 3 เดือน ก็มาถึงภูเขาซีนาย พระเจ้าทรงให้โมเสสนำความไปแจ้งแก่อิสราเอลว่า "...ถ้าพวกเจ้าฟังเสียงเราจริง ๆ และรักษาพันธสัญญาของเราไว้ พวกเจ้าจะเป็นของล้ำค่าของเราที่เราเลือกสรรจากท่ามกลางชนชาติทั้งปวง เพราะแผ่นดินทั้งสิ้นเป็นของเรา พวกเจ้าจะเป็นอาณาจักรปุโรหิต และเป็นชนชาติบริสุทธิ์สำหรับเรา..."[11] และอิสราเอลก็ทูลตอบว่า "ทุกอย่างที่พระยาห์เวห์ตรัสนั้น พวกข้าพเจ้าจะทำตาม"[12] ดังนั้น พระเจ้าจึงทรงเรียกโมเสสให้ขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าบนภูเขาซีนายเพื่อรับธรรมบัญญัติจากพระเจ้า
แต่งตั้งอาโรนเป็นปุโรหิต
แก้พระเจ้าทรงให้โมเสสแต่งตั้งอาโรนและบุตรของอาโรน เป็นปุโรหิต ทำหน้าที่ถวายเครื่องเผาบูชาแด่พระเจ้า ซึ่งประกอบด้วยแท่นเผาบูชา และแท่นเครื่องหอม สิ่งของที่ถวายบูชาประจำวันได้แก่
- ลูกแกะอายุหนึ่งขวบ จำนวนสองตัว สำหรับตอนเช้าหนึ่งตัว และสำหรับตอนเย็นหนึ่งตัว
- ยอดแป้ง เคล้าน้ำม้นมะกอก
- เหล้าองุ่น
วัวทองคำ
แก้โมเสสขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าบนภูเขาซีนาย เป็นเวลา 40 วัน 40 คืน มิได้ลงมาจากภูเขาเลย และทรงประทานแผ่นพระโอวาทสองแผ่นเป็นแผ่นศิลาจารึกด้วยพระหัตถ์ของพระเจ้า[13]
ฝ่ายประชาชนเห็นโมเสสไม่ลงมาจากภูเขา จึงพากันปรึกษาอาโรนให้สร้างพระใหม่ให้พวกเขา เพราะเห็นว่าโมเสสนั้นหายไปนานแล้ว อาโรนจึงให้ชาวอิสราเอลนำทองคำมารวมกัน และหล่อเป็นรูปโคหนุ่ม และนับถือโคหนุ่มนั้นเป็นพระเจ้า และจัดงานเลี้ยงฉลองกัน
ฝ่ายพระเจ้าตรัสสั่งโมเสสว่า "เจ้าจงลงไปเถิด ด้วยว่าชนชาติของเจ้า...ได้ทำความเสื่อมเสียมากแล้ว..." โมเสสจึงลงมาจากภูเขาพร้อมด้วยศิลาทั้งสองแผ่น และเมื่อลงมาถึงที่ค่ายพัก โมเสสพบกับงานเฉลิมฉลอง และการบูชาโคหนุ่ม จึงโกรธและโยนแผ่นศิลาทิ้งตกแตกที่เชิงภูเขา แล้วท่านสั่งให้นำรูปโคหนุ่มนั้นเผาและบดเป็นผงโรยลงในน้ำ บังคับให้ชนชาติอิสราเอลดื่ม[14]
แผ่นศิลาชุดที่สอง
แก้เสร็จการสะสาง โมเสสจึงขึ้นไปเข้าเฝ้าพระเจ้าอีก และครั้งนี้พระเจ้าทรงประกาศพระนามของพระองค์ว่า "พระยาห์เวห์" และทรงให้โมเสสสกัดแผ่นศิลาชุดที่สองขึ้น[15]
เมื่อโมเสสได้ลงจากภูเขา และถือแผ่นพระโอวาทลงมาด้วย เมื่อลงมานั้น โมเสสไม่ทราบว่าผิวหน้าของตนทอแสงเพราะพระเจ้าทรงสนทนากับท่านและได้รับพระสิริจากพระองค์ เมื่ออาโรนและอิสราเอลเห็นหน้าของท่านทอแสงก็กลัวไม่กล้าเข้ามาใกล้ ท่านจึงเรียกเขามาและให้บัญญัติแก่อิสราเอลตามที่พระเจ้าตรัสแก่ท่าน[16]
การสร้างพลับพลา
แก้ในครั้งนั้น พระเจ้าทรงบัญชาให้สร้างพลับพลา ขึ้นเป็นสถานนมัสการพระองค์ ซึ่งประกอบด้วย หีบแห่งพันธสัญญา โต๊ะ คันประทีป แท่นบูชาทองสัมฤทธิ์ แท่นเผาเครื่องหอม แท่นเผาเครื่องเผาบูชา ขัน ลานพลับพลา ชุดปุโรหิต น้ำมันหอม และเครื่องโลหะสำหรับใช้ในสถานนมัสการ โมเสสทำตามทุกประการ
เมื่อสามารถสร้างสถานนมัสการเสร็จสิ้น ก็ถวายเครื่องเผาบูชา และเครื่องธัญบูชา แล้วจึงออกเดินทางต่อไป ตลอดการเดินทางนั้นมีเมฆปกคลุมอยู่ หากเมฆนั้นถูกยกขึ้นเมื่อใด ชนชาติอิสราเอลก็ยกเดินต่อไป แต่หากว่าเมฆนั้นมิได้ถูกยกขึ้นไป เขาก็ไม่ออกเดินทางเลย[17]
เทียบช่วงเวลา
แก้ในหนังสืออพยพได้กล่าวถึงช่วงเวลาตั้งแต่เมื่อโยเซฟเสียชีวิต ไปจนถึงการสร้างพลับพลา ที่นมัสการพระเจ้า ซึ่งนับรวมระยะเวลาได้ประมาณ 145 ปี โดยยึดจากคำพยากรณ์ที่พระเจ้าตรัสแก่อับราฮัมว่า อิสราเอลไปอยู่ในแผ่นดินอียิปต์ 430 ปี[18]
นอกจากนี้ ยังมีบุคคลหลายฝ่ายได้พยายามปรับปรุงข้อมูลของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในหนังสืออพยพนี้ โดยมุ่งเน้นที่หาคำตอบสำหรับ
- ระยะเวลาต่าง ๆ
- มานา คืออะไร
- พระนามของฟาโรห์ที่พระคัมภีร์กล่าวถึง
- วันที่อิสราเอลอพยพออกจากอียิปต์
- วันที่กำแพงเมืองเยรีโคถล่ม (ในหนังสือโยชูวา)
- ฯลฯ
เหล่านี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และไม่มีบทสรุปที่แน่นอน ข้อถกเถียงโดยมากมุ่งเน้นถึงประเด็นพระนามของฟาโรห์เป็นสำคัญ
อ้างอิง
แก้- ↑ หนังสืออพยพ, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ "หนังสืออพยพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-28. สืบค้นเมื่อ 2012-08-29.
- ↑ ดูเพิ่มเติมในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ
- ↑ หนังสืออพยพ บทที่ 1, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ บทที่ 2-3, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ บทที่ 4-12, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ 13:17-22, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ 14:13-14, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ 14:21-31, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ บทที่ 16, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ 19:5-6, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ 19:8, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ บทที่ 31, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ บทที่ 32, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ บทที่ 33-34, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ 33:29-35, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสืออพยพ บทที่ 20-40, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสือปฐมกาล 3:17, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
ดูเพิ่ม
แก้- บุคคล
- โมเสส
- โยเซฟ (บุตรยาโคบ)
- ปุโรหิต
- เหตุการณ์
- อื่น ๆ
บุตรของยาโคบ ตามชื่อภรรยา (ญ = บุตรสาว) (ตัวเลขในวงเล็บคือลำดับของการเกิด) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เลอาห์ | รูเบน (Reuben) (1) | สิเมโอน (Simeon) (2) | เลวี (Levi) (3) | ดีนาห์ (Dinah) (ญ) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยูดาห์ (Judah) (4) | อิสสาคาร์ (Issachar) (9) | เศบูลุน (Zebulun) (10) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราเชล | โยเซฟ (Joseph) (11) | เบนยามิน (Benjamin) (12) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เอฟราอิม บุตรโยเซฟ (11.1) | มนัสเสห์ บุตรโยเซฟ (11.2) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บิลลาห์ (สาวใช้นางราเชล) |
ดาน (Dan) (5) | นัฟทาลี (Naphtali) (6) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศิลปาห์ (สาวใช้นางเลอาห์) |
กาด (Gad) (7) | อาเชอร์ (Asher) (8) |
ก่อนหน้า หนังสือปฐมกาล |
หนังสืออพยพ คัมภีร์ฮีบรู / พันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ |
ถัดไป หนังสือเลวีนิติ |