เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ชุด)

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (อังกฤษ: The Lord of the Rings) เป็นภาพยนตร์ชุดของภาพยนตร์ไตรภาคแนวมหากาพย์แฟนตาซีผจญภัยกำกับโดย ปีเตอร์ แจ็กสัน สร้างจากนวนิยายเขียนโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ภาพยนตร์ชุดประกอบด้วย อภินิหารแหวนครองพิภพ (2001), ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ (2002) และ มหาสงครามชิงพิภพ (2003) ภาพยนตร์ชุดสร้างและจัดจำหน่ายโดย นิวไลน์ซินีมา และร่วมสร้างกับ วิงนัตฟิล์มส์ ซึ่งเป็นการสร้างร่วมกันระหว่างบริษัทสัญชาตินิวซีแลนด์และสหรัฐ ภาพยนตร์ชุดมีนักแสดงจำนวนมาก ประกอบด้วย เอไลจาห์ วูด, เอียน แม็กเคลเลน, ลิฟ ไทเลอร์, วิกโก มอร์เทนเซน, ฌอน แอสติน, เคต แบลนเชตต์, จอห์น ริส-เดวีส์, คริสโตเฟอร์ ลี, บิลลี บอยด์, โดมินิก โมนาแฮน, ออร์แลนโด บลูม, ฮิวโก วีฟวิง, แอนดี เซอร์กิสและฌอน บีน

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
กำกับปีเตอร์ แจ็กสัน
บทภาพยนตร์
สร้างจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพแอนดรูว์ เลสนี
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบฮาเวิร์ด ชอร์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายนิวไลน์ซินีมา
วันฉาย2001–2003
ความยาวทั้งหมด (3 เรื่อง):
  • 558 นาที (ฉบับโรงภาพยนตร์)
  • 686 นาที (ฉบับขยาย)
ประเทศ
  • นิวซีแลนด์
  • สหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้างทั้งหมด (3 เรื่อง):
281 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงินทั้งหมด (3 เรื่อง):
2.981 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาพยนตร์ชุดดำเนินเรื่องในโลกสมมติของ มิดเดิลเอิร์ธ โดยติดตามการเดินทางของฮอบบิท ชื่อ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ โดยเขาและคณะพันธมิตรออกเดินทางโดยมีภารกิจคือทำลาย เอกธำมรงค์ เพื่อโค่นล้มอำนาจของจอมมารมืดเซารอน ผู้สร้างแหวนดังกล่าว ต่อมาคณะพันธมิตรได้แยกทางกัน โดยโฟรโดเดินทางร่วมกับแซมและกอลลัม ในภารกิจเดิม ในขณะเดียวกัน อารากอร์น รัชทายาทที่ถูกเนรเทศของกอนดอร์ ร่วมกับ เลโกลัส, กิมลี, โบโรเมียร์, เมอร์รี, ปิ๊ปปิ้นและพ่อมดแกนดัล์ฟ ได้รวบรวมเหล่าอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธให้เข้าร่วมในสงครามแหวน เพื่อช่วยเหลือโฟรโดด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจของเซารอน

ภาพยนตร์ทั้งสามเรื่องนั้นมีการถ่ายทำต่อเนื่อง สถานที่ถ่ายทำทั้งหมดคือประเทศนิวซีแลนด์ บ้านเกิดของปีเตอร์ แจ็กสัน โดยถ่ายทำตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ถึง 22 ธันวาคม ค.ศ. 2000 และมีการถ่ายซ่อมตั้งแต่ ค.ศ. 2001 ถึง 2004 เป็นหนึ่งในโครงการภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่และทะเยอทะยานที่สุดที่เคยมีมา ด้วยทุนสร้าง 281 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพยนตร์เรื่องแรกฉายรอบปฐมทัศน์ที่ จัตุรัสโอเดียนเลสเตอร์ ใน ลอนดอน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2001 ภาพยนตร์เรื่องที่สองฉายรอบปฐมทัศน์ที่ โรงภาพยนตร์ซิกฟิลด์ ใน นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2002 และภาพยนตร์เรื่องที่สามฉายรอบปฐมทัศน์ที่ โรงภาพยนตร์เอ็มบะซี ใน เวลลิงตัน เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2003 ภาพยนตร์ฉบับขยายของแต่ละเรื่อง วางจำหน่ายในรูปแบบโฮมวิดีโอ โดยจำหน่ายหลังภาพยนตร์ฉายในโรงภาพยนตร์หนึ่งปี

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ชุดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดที่เคยสร้างมา และยังประสบความสำเร็จในด้านการเงิน โดยเป็น ภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่เก้า ด้วยจำนวนเงิน 2.981 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ภาพยนตร์แต่ละเรื่องได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์และได้รับรางวัลมากมาย โดยภาพยนตร์ชุดได้รับรางวัลออสการ์ 17 รางวัลจากการเข้าชิงทั้งหมด 30 สาขา

ภาพยนตร์

แก้

อภินิหารแหวนครองพิภพ

แก้

ในยุคที่สองของมิดเดิลเอิร์ธ ลอร์ดแห่งเอลฟ์, คนแคระและมนุษย์ ได้รับแหวนแห่งอำนาจ โดยพวกเขาไม่รู้ว่า เซารอนได้หลอมเอกธำมรงค์ในเมาท์ดูม และได้ใส่พลังอำนาจของเขาเกือบทั้งหมดลงไปในแหวน เพื่อให้เขามีอำนาจครอบงำแหวนวงอื่น ๆ และจะได้พิชิตมิดเดิลเอิร์ธ พันธมิตรสุดท้ายของมนุษย์และเอลฟ์ ต่อสู้กับกองกำลังของเซารอนใน มอร์ดอร์ อิซิลดูร์แห่งกอนดอร์ ตัดนิ้วของเซารอนที่สวมแหวน ทำให้ร่างกายของเขาถูกทำลาย ยุคที่สามของมิดเดิลเอิร์ธเริ่มต้นหลังเซารอนพ่ายแพ้ครั้งแรก อิซิลดูร์ ผู้เก็บที่แหวนของเซารอนไว้เป็นของตัวเอง อิทธิพลของแหวนเริ่มครอบงำจิตใจของเขา ต่อมา เขาถูกฆ่าโดย ออร์ก และแหวนสูญหายไปในแม่น้ำเป็นเวลา 2,500 ปี จนกระทั่งถูกพบและครอบครองโดย กอลลัม ด้วยอิทธิพลของแหวน ทำให้เขามีอายุ 500 ปี ต่อมา แหวนถูกพบโดยฮอบบิท ชื่อ บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ โดยที่เขาไม่รู้ประวัติของมัน

หกสิบปีต่อมา บิลโบฉลองวันเกิดครบรอบ 111 ปี ของเขาใน ไชร์ และได้พบกับเพื่อนเก่าของเขา แกนดัล์ฟ พ่อมดเทา อีกครั้ง บิลโบเปิดเผยว่าเขาตั้งใจจะออกจากไชร์ เพื่อไปผจญภัยครั้งสุดท้าย เขาทิ้งมรดกของเขา รวมถึง แหวน ให้กับหลานชายของเขา โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ แกนดัล์ฟสืบสวนที่มาแหวน จนค้นพบความจริงของแหวนและรู้ข่าวว่ากอลลัมถูกจับกุมและถูกทรมานโดยออร์กของเซารอน กอลลัมพูดสองคำระหว่างที่เขาถูกทรมาน: "ไชร์" และ "แบ๊กกิ้นส์" แกนดัล์ฟกลับมาและเตือนโฟรโดให้ออกจากไชร์ ในขณะที่โฟรโดและ แซมไวส์ แกมจี เพื่อนและคนสวนของเขากำลังเดินทาง แกนดัล์ฟเดินทางไป ไอเซนการ์ด เพื่อพบกับ ซารูมาน พ่อมดขาว แต่รู้ว่าเขาได้เข้าร่วมกองกำลังกับเซารอน เขาได้ส่ง นาซกูล ทาสรับใช้ที่ไม่ตายเก้าตนไปตามหาโฟรโด

โฟรโดกับแซม พบกับปิบปินกับแมร์รี เพื่อนฮอบบิทของพวกเขา ทั้งสี่คนหลบหนีนาซกูลก่อนที่จะเดินทางมาถึง บรี ที่ซึ่งแกนดัล์ฟได้นัดพบ อย่างไรก็ตาม แกนดัล์ฟ ไม่มาตามนัด เนื่องจากเขาถูกจับคุมขังโดยซารูมาน เหล่าฮอบบิทได้การช่วยเหลือจากผู้พิทักษ์ไพร ชื่อว่า สไตรเดอร์ โดยเขาสัญญาว่าจะพาพวกเขาไปยัง ริเวนเดลล์ อย่างไรก็ตาม พวกเขาถูกดักซุ่มโจมตีโดยนาซกูลบนเวเทอร์ท็อป และ วิชคิง ผู้นำของเหล่านาซกูล แทงโฟรโดด้วยดาบมอร์กูล อาร์เวน เอลฟ์และคู่หมั้นของสไตรเดอร์ ช่วยเหลือโฟรโดและเรียกน้ำท่วมเพื่อกวาดเหล่านาซกูลออกไป อาร์เวนพาโฟรโดไปริเวนเดลล์และเขาได้รับการรักษา โฟรโดพบกับแกนดัล์ฟ โดยเขาหลบหนีจากไอเซนการ์ดสำเร็จ ด้วยความช่วยเหลือจาก ไกวเฮียร์ พญาอินทรี คืนนั้น สไตรเดอร์พบกับอาร์เวนอีกครั้ง และพวกเขายืนยันความรักที่มีต่อกัน ลอร์ด เอลรอนด์ พ่อของอาร์เวน จัดการประชุมขึ้นและตัดสินว่าแหวนต้องถูกทำลายในเมาท์ดูม โฟรโดอาสาเป็นคนถือแหวน โดยร่วมเดินทางกับ แกนดัล์ฟ, แซม, แมร์รี, ปิบปิน, เอลฟ์ เลโกลัส, คนแคระ กิมลี, โบโรเมียร์และสไตรเดอร์ ซึ่งแท้จริงแล้ว เขาคือ อารากอร์น ทายาทแห่งอิซิลดูร์และกษัตริย์โดยชอบธรรมแห่งกอนดอร์ บิลโบซึ่งตอนนี้พักอยู่ที่ริเวนเดลล์ ได้ให้ สติง ดาบของเขากับโฟรโด

คณะพันธมิตรแห่งแหวน ออกเดินทางผ่านภูเขาคาราดราส แต่ซารูมานได้เรียกพายุ บังคับให้เหล่าคณะพันธมิตร ต้องเดินทางผ่านเหมืองแห่งมอเรีย หลังพบว่าเหล่าคนแคระแห่งมอเรียถูกฆ่าทั้งหมด คณะพันธมิตรถูกโจมตีโดยออร์กและโทรลถ้ำ พวกเขาต่อสู้และหลบหนีไปได้ แต่เผชิญหน้ากับ หายนะแห่งดูริน, บัลร็อกซึ่งอาศัยอยู่ในเหมือง แกนดัล์ฟทำให้บัลร็อกตกลงไปในเหวอันกว้างใหญ่ แต่มันก็ลากเขาลงไปในความมืดด้วย คณะพันธมิตรเดินทางมาถึง ลอธลอริเอน ปกครองโดยราชินีเอลฟ์ กาลาเดรียล และสามีของเธอ เคเลบอร์น กาลาเดรียลบอกโฟรโดเป็นการส่วนตัวว่า มีเพียงเขาเท่านั้นที่สามารถทำภารกิจนี้สำเร็จและหนึ่งในเพื่อนของเขาจะพยายามแย่งแหวน ขณะเดียวกัน ซารูมานได้สร้างกองกำลัง อูรุก-ไฮ เพื่อตามล่าและฆ่าคณะพันธมิตร

คณะพันธมิตรเดินทางโดยแม่น้ำไปยัง พาร์ท กาเลน โฟรโดเดินออกไปจากกลุ่มและเผชิญหน้ากับโบโรเมียร์ที่พยายามจะแย่งชิงแหวน คณะพันธมิตรถูกซุ่มโจมตีโดยอูรุก-ไฮ แมร์รีกับปิบปินถูกจับ โบโรเมียร์ถูกทำร้ายบาดเจ็บสาหัสโดย เลิร์ตซ์ หัวหน้าอูรุก-ไฮ เมื่ออารากอร์นมาถึง เขาฆ่าเลิร์ตซ์และดูโบโรเมียร์เสียชีวิต โฟรโดตัดสินใจเดินทางไปมอร์ดอร์คนเดียว เพราะกลัวว่าแหวนจะครอบงำเพื่อนของเขา แต่อนุญาตให้แซมติดตามไปกับเขาด้วย หลังได้ยินสัญญาของแซมเคยให้ไว้กับแกนดัล์ฟ อารากอร์น, เลโกลัสและกิมลี ตัดสินใจไปช่วยเหลือแมร์รีกับปิบปิน

ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ

แก้

มหาสงครามชิงพิภพ

แก้

นักแสดงและทีมงาน

แก้
ภาพยนตร์ไตรภาคประกอบด้วยนักแสดงนำเป็นจำนวนมาก ได้แก่ (เรียงตามตัวอักษรและจากซ้ายไปขวา) ฌอน แอสติน, ณอน บีน, เคต แบลนเชตต์, ออร์แลนโด บลูม, บิลลี บอยด์, คริสโตเฟอร์ ลี, วิกโก มอร์เทนเซน, เอียน แม็กเคลเลน, โดมินิก โมนาแฮน, จอห์น ริส-เดวีส์, แอนดี เซอร์กิส, ลิฟ ไทเลอร์, คาร์ล เออร์บัน, ฮิวโก วีฟวิงและเอไลจาห์ วูด

การคัดเลือกนักแสดง

แก้

แจ็กสันเริ่มการสนทนาเชิงนามธรรมเกี่ยวกับการคัดเลือกนักแสดงระหว่างการพัฒนาบทกับมิราแม็กซ์[1] แจ็กสัน, วอลช์และโบเยนส์ รวบรวมรายชื่อนักแสดงที่ต้องการ ประกอบด้วย เคต แบลนเชตต์ สำหรับบทบาท กาลาเดรียล และ เอียน โฮล์ม สำหรับบทบาท บิลโบ[2] ฟิลิปปา โบเยนส์ สงสัยว่า แพทริก สจ๊วร์ต จะเหมาะกับบทของแกนดัล์ฟหรือไม่ เธอจึงดูเทปการแสดงของเขาที่แสดงตรงข้ามกับเอียน แม็กเคลเลน และเธอก็ได้แนะนำแม็กเคลเลนให้กับแจ็กสัน[3] แม็กเคลเลนกลายเป็นตัวเลือกแรกของแจ็กสันสำหรับบทบาทแกนดัล์ฟ[4] คริสโตเฟอร์ ลี อยากแสดงเป็นแกนดัล์ฟ เขาส่งภาพถ่ายของเขาในชุดพ่อมดให้กับแจ็กสัน[5] แต่แจ็กสันตัดสินใจว่าเขาจะแสดงเป็นซารูมานที่สมบูรณ์แบบแทน

มิราแม็กซ์ต้องการนักแสดงที่มีชื่อเป็นที่รู้จักสำหรับบทบาทแกนดัล์ฟ โดยแนะนำ แมกซ์ ฟอน ซีโดวหรือพอล สโกฟีลด์ และต้องการดาราอเมริกัน มีการพูดถึง มอร์แกน ฟรีแมน ด้วย[1][6] เมื่อนิวไลน์เข้ามารับช่วงต่อ พวกเขาแนะนำ คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์หรือฌอน คอนเนอรี สำหรับบทบาทแกนดัล์ฟ (ทั้งคู่ต่างปฏิเสธบทดังกล่าว)[7] และปฏิเสธ ริชาร์ด แฮร์ริส เมื่อชื่อของเขาปรากฏขึ้น เมื่อฟอน ซีโดวถามถึงบทบาทอื่น ๆ ตัวแทนของเขาบอกว่าพวกเขากำลังมองหานักแสดงชาวอังกฤษ[8]

แจ็กสันกำลังมองหาตัวเลือกสำรองสำหรับบทบาทต่าง ๆ ขณะที่เขากำลังคัดเลือกนักแสดง ได้แก่ ลูซี ลอว์เลสส์และนิโคล คิดแมน สำหรับบทบาท กาลาเดรียล, แอนโทนี ฮ็อปกินส์หรือซิลเวสเตอร์ แมกคอย (ได้รับการคัดเลือกนักแสดงใหม่เป็นราดากาสต์) สำหรับบทบาท บิลโบ, พอล สโกฟีลด์, เจเรมี ไอเอินส์, มัลคอล์ม แมคโดเวลล์หรือทิม เคอร์รี สำหรับบทบาท ซารูมาน[9] ทอม เบเกอร์, ทอม วิลกินสัน, แซม นีล, เบอร์นาร์ด ฮิลล์ (ได้รับการคัดเลือกให้แสดงเป็นเธโอเดนแทน)[3] และปีเตอร์ โอทูล,[10] และนักแสดงวัยชราหลายคนที่เข้ามาออดิชันสำหรับบทบาทอื่น ๆ เช่น แพทริก แมกูเวนและแอนโทนี ฮ็อปกินส์

มิราแม็กซ์และแจ็กสันเจรจากับเซอร์ แดเนียล เดย์-ลูวิส สำหรับบทบาท อารากอร์น โดยเริ่มต้นจาก "การคาดเดาทางอินเทอร์เน็ตอย่างเพ้อฝัน"[7] ว่าเดย์-ลูอิสได้รับการติดต่อสำหรับบทนี้หลายครั้ง แม้ว่าในที่สุดแจ็กสันจะสอบถามเกี่ยวกับเขา แจ็กสันเลือก สจวร์ต ทาวน์เซนด์ ซึ่งสตูดิโอมองว่าเขายังเด็กเกินไป หลังจากเริ่มถ่ายทำ แจ็กสันเห็นด้วยและตัดสินใจหานักแสดงคนใหม่ พวกเขาติดต่อ วิกโก มอร์เทนเซน แต่ยังได้พูดคุยกับ รัสเซล โครว์ (ก่อนหน้านี้ เขาเคยเข้ามาออดิชันสำหรับบทบาทโบโรเมียร์) เผื่อเอาไว้เป็นตัวเลือกสำรอง [11]

แพทริก แมกูเวน เป็นตัวเลือกแรกสำหรับบทบาท เดเนธอร์ เมื่อแจ็กสันพบกับเขา เขานั้น "ค่อนข้างอารมณ์เสีย"[12] และพวกเขาติดต่อ โดนัลด์ ซัทเทอร์แลนด์และจอห์น ริส-เดวีส์ ในที่สุด จอห์น โนเบิล ก็ได้รับเลือกให้แสดงในบทบาทดังกล่าว เดวีส์ได้รับเลือกใหม่ให้แสดงเป็นกิมลี แทนที่ บิลลี คอนโนลลี (ได้รับเลือกให้แสดงเป็นเดน), โรเบิร์ต เทรบอร์และทิโมธี สปอลล์ ในระหว่างการพูดคุยกับมิราแม็กซ์ มีชื่อของเลียม นีสันปรากฏขึ้นมา[1] สำหรับบทบาทโบโรเมียร์ แต่เขาปฏิเสธ แดเนียล เคร็ก เข้ามาออดิชันบทบาทดังกล่าว นิวไลน์แนะนำ นิโคลัส เคจ แต่แจ็กสันปฏิเสธ[7] และเลือก ณอน บีน

นักแสดง

แก้

รายชื่อนักแสดงผู้ให้เสียงและแสดงเป็นตัวละครที่ปรากฏในภาพยนตร์ฉบับขยาย[13][14][15]

ตัวละคร
อภินิหารแหวนครองพิภพ ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ มหาสงครามชิงพิภพ
คณะพันธมิตร
โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ เอไลจาห์ วูด
อารากอร์น วิกโก มอร์เทนเซน
โบโรเมียร์ ฌอน บีน
เมอเรียด็อค "แมร์รี" แบรนดี้บั๊ก โดมินิก โมนาแฮน
แซมไวส์ แกมจี ฌอน แอสติน
แกนดัล์ฟ เอียน แม็กเคลเลน
กิมลี จอห์น ริส-เดวีส์
เลโกลัส ออร์แลนโด บลูม
เปเรกริน "ปิ๊ปปิ้น" ตุ๊ก บิลลี บอยด์
เดอะไชร์และบรี
บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ เอียน โฮล์ม เอียน โฮล์ม
นางเบรสเกอร์เดิล ลอริ ดันจี
บาร์ลิมัน บัตเตอร์เบอร์ เดวิด เวเธอร์ลีย์
โรซี คัตตอน ซาราห์ แมคลาวด์ ซาราห์ แมคลาวด์
แกฟเฟอร์ แกมจี นอร์แมน ฟอร์ซี นอร์แมน ฟอร์ซี
เอเลนอร์ แกมจี อเล็กซานดรา แอสติน
ผู้คุมประตูบรี มาร์ติน แซนเดอร์สัน
ฟาร์เมอร์ แมกกอต คาเมรอน โรดส์
โอลด์ นุกส์ บิล จอห์นสัน
เอเวอราร์ด พราวด์ฟุต โนเอล แอปเปิลบี โนเอล แอปเปิลบี
นางพราวด์ฟุต เมแกน เอ็ดเวิร์ด
โอโธ แซกวิลล์ ปีเตอร์ คอร์รีแกน
โลบีเลีย แซกวิลล์-แบ๊กกิ้นส์ เอลิซาเบธ มูดี
เทด แซนดีแมน ไบรอัน ซาเจนต์
ริเวอร์เดลและลอธลอเรียน
อาร์เวน ลิฟ ไทเลอร์
เคเลบอร์น มาร์ตัน โซคัส มาร์ตัน โซคัส
เอลรอนด์ ฮิวโก วีฟวิง
ฟิกวิธ เบรต แมกเคนซี เบรต แมกเคนซี
กาลาเดรียล เคต แบลนเชตต์
ฮัลเดียร์ เครก ปาร์คเกอร์
รูมอล์ ยาร์น เบนซัน
ไอเซนการ์ดและมอร์ดอร์
กอลลัม/สมีกอล แอนดี เซอร์กิส
กอร์แบก สตีเฟน อัวร์
กอธมอก ลอว์เรนซ์ มาโคอาเร
เครก ปาร์คเกอร์ (เสียง)
กริมา เวิร์มทัง แบรด ดอริฟ
กริชนาก สตีเฟน อัวร์
ลูร์ตซ ลอว์เรนซ์ มาโคอาเร
เมาฮูร์ รอบบี มากาซิวา
แอนดี เซอร์กิส (เสียง)
เมาธ์ออฟเซารอน บรูซ สเปนซ์
เอกธำมรงค์ แอลัน ฮาเวิร์ด (เสียง) แอลัน ฮาเวิร์ด (เสียง)
ซารูมาน คริสโตเฟอร์ ลี
เซารอน ซาลา เบเกอร์
แอลัน ฮาเวิร์ด (เสียง)
ซาลา เบเกอร์
แอลัน ฮาเวิร์ด (เสียง)
ชากราต ปีเตอร์ เทต
ชากู เจด โบรฟี
สนากา เจด โบรฟี
แอนดี เซอร์กิส (เสียง)
อูกลูก นาแธเนียล ลีส์
วิชคิงแห่งอังก์มาร์ เบรนต์ แมคอินไทร์
แอนดี เซอร์กิส (เสียง)
ลอว์เรนซ์ มาโคอาเร
โรฮานและกอนดอร์
แดมรอด อลิสแตร์ บราวนิง
เดเนธอร์ จอห์น โนเบิล
เอโอแมร์ คาร์ล เออร์บัน
เอโอเธน แซม คอเมอรี
เอโอวีน มิแรนดา ออตโท
ฟาราเมียร์ เดวิด เวนแฮม
ฟรีดา โอลิเวีย เทนเนต
เกมลิง บรูซ ฮอปกินส์
กริมโบลด์ บรูซ ฟิลลิปส์
ฮามา จอห์น ลีก์
เฮเลธ คาลัม กิตตินส์
ไอโรลาส เอียน ฮิจส์
กษัตริย์แห่งความตาย พอล โนเรลล์
มาดริล จอห์น บาก
มอร์เวน รอบิน มัลคอล์ม
เธโอเดน เบอร์นาด ฮิลล์
เธโอเดรด แพริส ฮาว สตรูว
ทรีเบียร์ด จอห์น ริส-เดวีส์ (เสียง)
บุคคลในประวัติศาสตร์
ดีกอล โทมัส รอบินส์ (เฉพาะมือ) โทมัส รอบินส์
เอเลนดิล ปีเตอร์ แมกเคนซี
กิลกาลัด มาร์ก เฟอร์กูสัน
อิซิลดูร์ แฮร์รี ซินแคลร์ แฮร์รี ซินแคลร์

ทีมงาน

แก้
ทีมงาน
อภินิหารแหวนครองพิภพ ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ มหาสงครามชิงพิภพ
กำกับภาพยนตร์ ปีเตอร์ แจ็กสัน
อำนวยการสร้าง แบร์รี เอ็ม. ออสบอร์น, ปีเตอร์ แจ็กสัน, ฟราน วอลช์และทิม แซนเดอร์สFOTR
เขียนบทภาพยนตร์ ฟราน วอลช์, ฟิลิปปา โบเยนส์, ปีเตอร์ แจ็กสันและสตีเฟน ซินแคลร์TT
แต่งดนตรีประกอบ ฮาเวิร์ด ชอร์
กำกับภาพ แอนดรูว์ เลสนี
ตัดต่อ จอห์น กิลเบิร์ตFOTR ไมเคิล ฮอร์ตันTT เจมี เซลเคิร์กROTK
ออกแบบงานสร้าง แดน เฮนนาห์และแกรนต์ เมเจอร์
ออกแบบแนวคิด แอลัน ลีและจอห์น ฮาว
ออกแบบเครื่องแต่งการ นกิลา ดิกสันและริชาร์ด เทย์เลอร์
หัวหน้างานเทคนิคพิเศษ จิม ไรเจิล
บริษัทผู้สร้าง นิวไลน์ซินีมาและวิงนัตฟิล์มส
บริษัทผู้จัดจำหน่าย นิวไลน์ซินีมา
FOTR.^ เขาทำงานเฉพาะใน อภินิหารแหวนครองพิภพ
TT.^ เขาทำงานเฉพาะใน ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ
ROTK.^ เขามีชื่อในเครดิตเป็นผู้ตัดต่อใน มหาสงครามชิงพิภพ

ก่อนจะเป็นภาพยนตร์

แก้

จุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจเกิดขึ้นเมื่อ ปีเตอร์ แจ็กสัน ได้เห็นภาพยนตร์การ์ตูน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฉบับของราล์ฟ บัคชิ ปี ค.ศ.1978 จากนั้นเขาได้อ่านหนังสือเรื่องนี้ระหว่างการเดินทางบนรถไฟจากเวลลิงตัน ไปยังโอ๊คแลนด์ ขณะเมื่ออายุ 17 ปี แล้วแจ็กสันก็คิดว่า "ผมรอไม่ไหวที่จะให้ใครมาทำหนังเรื่องนี้ ผมอยากเห็นมัน!"

ปี ค.ศ.1995 หลังจากแจ็กสันทำเรื่อง The Frighteners จบลง เขาก็เริ่มคิดถึงโครงการ "เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์" เวลานั้นคอมพิวเตอร์กราฟิกแสดงให้เห็นผลสำเร็จเป็นอย่างดีแล้วจากภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค ปาร์ค ดังนั้น แจ็กสัน กับ แฟรน วอลช์ เพื่อนและคู่ชีวิต จึงจัดทีมขึ้นและไปนำเสนอโครงการแก่บริษัท มิราแมกซ์ (Miramax) เพื่อเจรจาเรื่องลิขสิทธิ์กับ Saul Zaentz ซึ่งเป็นผู้ถือสิทธิ์ในการดัดแปลงหนังสือ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ เดอะฮอบบิท โดยจะสร้างภาพยนตร์ "เดอะฮอบบิท" หนึ่งตอน และ "เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์" สองตอน แต่ปรากฏว่า Saul Zaentz ไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิ์ในการจัดจำหน่าย เดอะฮอบบิท ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ที่ไม่ค่อยลงตัวทำให้แจ็กสันต้องหันไปรับงานสร้าง "คิงคอง" ของค่ายยูนิเวอร์แซล ไปพลางก่อน แต่ในปี 1997 ทางยูนิเวอร์แซลยกเลิกโครงการสร้าง "คิงคอง" ไปชั่วคราว แจ็กสันกับวอลช์จึงหันมาศึกษาเนื้อเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ อย่างจริงจัง และเขียนบทภาพยนตร์ภาคแรกขึ้นมา

พวกเขาตั้งใจว่าภาพยนตร์ตอนแรกจะเป็น Lord of the Rings - The Fellowship of the Ring, The Two Towers และภาพยนตร์ตอนที่สองจะเป็น The Return of the King โดยภาคแรกจะจบลงที่ ซารูมานตาย แกนดัล์ฟกับปิ๊ปปิ้นเดินทางไปมินัสทิริธ โดยในบทร่างแรกยังมี กลอร์ฟินเดล เอลลาดาน เอลโรเฮียร์ และราดากัสต์ ปรากฏอยู่ด้วย เขานำบทชุดแรกและรายละเอียดโครงการไปเสนอให้แก่ผู้บริหารของมิราแมกซ์ คือฮาร์วี่และบ๊อบ ไวน์สไตน์ ผู้ไม่เคยอ่านหนังสือเรื่องนี้มาก่อน ทั้งสองพอใจและตกลงให้ทุนสร้างในวงเงิน 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[16]

กลางปี ค.ศ.1997 แจ็กสันได้ ฟิลิปปา โบเยนส์ มาร่วมในทีมเขียนบทเพิ่มเติม โบเยนส์เป็นแฟนตัวยงของหนังสือเรื่องนี้ พวกเขาใช้เวลาเกือบ 14 เดือนเขียนบทภาพยนตร์ทั้งสองตอนขึ้นใหม่โดยปรับแก้หลายครั้ง เช่น ตัดลอธลอริเอนออก ให้กาลาเดรียลมาร่วมในที่ประชุมของเอลรอนด์ รวมถึงเดเนธอร์ พ่อของโบโรเมียร์ ก็เดินทางมาริเวนเดลล์ด้วย เปลี่ยนกลอร์ฟินเดลออก ให้อาร์เวนเป็นคนมาช่วยโฟรโดแทนและเป็นคนสังหารวิชคิง รวมถึงการเขียนฉากต่อเนื่องในการสู้กับโทรลล์ถ้ำของเหล่าพันธมิตรแห่งแหวน

เวลาเดียวกันนั้น ตัวแทนจากมิราแมกซ์ได้ไปเยือนนิวซีแลนด์ ผลประเมินบอกว่าภาพยนตร์สองตอนนี้จะต้องใช้เงินลงทุนมากขึ้นสองเท่า กลายเป็น 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมิราแมกซ์ไม่สามารถสนับสนุนเงินทุนขนาดนั้นได้ แต่โครงการได้เริ่มไปแล้ว และได้จ่ายเงินไปแล้วถึง 15 ล้านเหรียญ ดังนั้นทางมิราแมกซ์จึงสั่งให้ยุบรวมภาพยนตร์สองตอนให้กลายเป็นตอนเดียว โดยให้ตัดฉากที่บรีและเฮล์มสดีพออก รวมโรฮันกับกอนดอร์เป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วให้เอโอวีนเป็นน้องสาวของโบโรเมียร์ และตัดเหตุการณ์ในริเวนเดลล์กับมอเรียให้สั้นลง การแก้ไขเนื้อเรื่องจำนวนมากทำให้แจ็กสันไม่พอใจและหยุดพักโครงการชั่วคราว ส่วนมิราแมกซ์ก็เรียกร้องว่าชิ้นงานต้นแบบที่เวต้าเวิร์คชอปจัดทำไว้ จะต้องตกเป็นสมบัติของเขา

แจ็กสันเที่ยวตระเวนไปตามค่ายหนังต่างๆ ทั่วฮอลลีวู้ดเป็นเวลาถึง 4 สัปดาห์ พร้อมกับวิดีโอต้นแบบความยาว 30 นาที จนกระทั่งเขาไปถึงบริษัท นิวไลน์ ซีนีม่า ผู้บริหารโรเบิร์ต เชย์ ถามว่าทำไมเขาจึงทำหนังเพียงแค่สองตอน ในเมื่อหนังสือเขียนเอาไว้สามตอน ทางนิวไลน์ฯ ต้องการให้สร้างภาพยนตร์ขึ้นมาเป็นไตรภาค ดังนั้นแจ็กสันกับทีมจึงต้องกลับไปเขียนบทใหม่

การขยายภาพยนตร์ออกเป็นสามตอนทำให้สามารถสร้างสรรค์รายละเอียดได้ดียิ่งขึ้น พวกเขาจัดลำดับการนำเสนอใหม่ไม่ตรงกับหนังสือนัก (เพราะลักษณะการบรรยายในหนังสือจะจับความเป็นส่วนๆ และเล่าย้อนเหตุการณ์ที่เกิดกับตัวละครอีกกลุ่มหนึ่งในภายหลังแม้เหตุการณ์จะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน) โดยเลือกให้ 'ภารกิจของโฟรโด' เป็นหัวใจหลักของเรื่อง และ 'เรื่องของอารากอร์น' เป็นซับพล็อตหลัก เหตุการณ์ในรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องกับพล็อตหลักจะถูกตัดทิ้งไป เช่นเรื่องของ ทอม บอมบาดิล และเรื่องการรบที่ไชร์ เป็นต้น การจัดเรียงลำดับการนำเสนอใหม่ทำให้พวกเขาต้องเพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่างที่โทลคีนไม่ได้ให้รายละเอียดไว้ในฉบับหนังสือ เช่นรายละเอียดในการสงคราม เป็นต้น

พวกเขายังปรับแก้ตัวละครเพื่อเพิ่มมิติในการนำเสนอ เช่น อารากอร์น เดเนธอร์ และทรีเบียร์ด มีปัจจัยขัดแย้งภายในตัวแตกต่างไปจากฉบับหนังสือ กาลาเดรียล เอลรอนด์ และฟาราเมียร์ ถูกทำให้หม่นขึ้น เพิ่มความน่าสงสารให้กับโบโรเมียร์กับกอลลัม เอาฉากแอ็คชั่นของกลอร์ฟินเดลกับเออร์เคนบรันด์ มาใส่ให้กับอาร์เวนและเอโอแมร์แทน บทพูดสำคัญในหนังสือก็นำมาจัดเรียงใหม่ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ โดยมีการสลับสถานที่และตัวละครผู้พูดบ้าง อย่างไรก็ดี ตัวละครอาร์เวน ซึ่งตามแผนแรกวางไว้ว่าจะให้เป็นเจ้าหญิงนักรบ ก็ได้รับการปรับแก้ให้เป็นเจ้าหญิงสูงศักดิ์ผู้ส่งเพียงแรงใจมายังแนวหน้าเหมือนดังความเดิมในหนังสือ

การออกแบบ

แก้
บทความหลัก : งานออกแบบในภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

แจ็กสันเริ่มจัดทำสตอรี่บอร์ดของภาพยนตร์ทั้งสามภาคกับ คริสเตียน ริเวอร์ส ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1997 และมอบหมายให้ทีมงานของเขาไปจัดเตรียมโลก "มิดเดิลเอิร์ธ" ให้พร้อม เวลาเดียวกัน แจ็กสันว่าจ้างให้เพื่อนร่วมงานเก่าแก่ ริชาร์ด เทย์เลอร์ เจ้าของเวต้าเวิร์คชอป สตูดิโอเล็กๆ ในนิวซีแลนด์ รับผิดชอบงานออกแบบหลักห้าส่วนได้แก่ เสื้อเกราะ เครื่องอาวุธ แต่งหน้า สัตว์ประหลาด และฉากขนาดย่อม[17] เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1997 ศิลปินนักวาดภาพจากผลงานของโทลคีนผู้มีชื่อเสียงสองคน คือ อลัน ลี และ จอห์น ฮาว ได้เข้ามาร่วมงานกับโครงการ และได้สร้างภาพจากจินตนาการในหนังสือให้ออกมาชัดเจนยิ่งขึ้น แกรนต์ เมเจอร์ ได้รับมอบหมายให้สร้างภาพแบบร่างของคนทั้งสองให้ออกมาเป็นโมเดลของจริง

แจ็กสันให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่างในการทำงาน เขาต้องการให้โลกมิดเดิลเอิร์ธในภาพยนตร์ดูสมจริงสมจังที่สุด ตัวอย่างเช่น การสร้างเมืองฮอบบิตันขึ้นใหม่ในฟาร์มแห่งหนึ่ง โดยการลงทุนปลูกหญ้าและต้นไม้ต่างๆ ล่วงหน้าเป็นเวลานานนับปี การออกแบบสัดส่วนสัตว์ประหลาดเช่น ปีกของเฟลบีสต์ จะต้องสมเหตุสมผลว่ามันบินได้ด้วยปีกนั้นจริงๆ เวต้าเวิร์คชอปสร้างเสื้อเกราะกว่า 48,000 ตัว คันธนู 500 คัน ลูกศรนับหมื่นดอก และเท้าฮอบบิทกว่า 1800 คู่ เพื่อใช้ประกอบในการแสดง รวมถึงฉากในภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นในสัดส่วนต่างๆ เพื่อใช้ถ่ายทำกับตัวละครในแบบต่างๆ เป็นต้น

การถ่ายทำ

แก้
บทความหลัก : การถ่ายทำภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

การถ่ายทำภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ถ่ายทำในประเทศนิวซีแลนด์ทั้งหมดพร้อมกันทั้งสามภาค ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ.1999 จนถึงวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ.2000 เป็นเวลารวมทั้งสิ้น 274 วัน หลังจากนั้นมีการถ่ายซ่อมเล็กๆ น้อยๆ ในระหว่างปี 2001 ถึง 2004 ใช้สถานที่ถ่ายทำทั้งหมดถึง 150 แห่ง[18] ใช้กองถ่ายทำทั้งหมด 7 กอง โดยแจ็กสันคุมกองหลัก และมีผู้กำกับกองอื่นๆ อีกได้แก่ จอห์น แมคฮัฟฟี่, จอฟฟ์ เมอร์ฟี่, แฟรน วอลช์, แบร์รี่ ออสบอร์น, ริค พอร์รัส และผู้ช่วยผู้กำกับอีกหลายคน โดยกองถ่ายย่อยจะส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมมาแสดงผลบนจอมอนิเตอร์ของแจ็กสันที่กองถ่ายหลัก เพื่อให้เขาตรวจสอบผล บางครั้งกองถ่ายภาพยนตร์ต้องไปตั้งกองถ่ายทำในสถานที่ห่างไกลในนิวซีแลนด์ที่ไม่มีถนนเข้าถึง และสภาพอากาศอันแปรปรวนในนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นเกาะกลางมหาสมุทร ทำให้ทีมงานต้องเตรียมชุดยังชีพติดตัวไว้เสมอเผื่อกรณีฉุกเฉินหากเฮลิคอปเตอร์ไม่สามารถมารับพวกเขากลับเข้าเมืองได้ทันเวลา

เทคนิคพิเศษ

แก้
บทความหลัก : เทคนิคพิเศษในภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

ภาพยนตร์ภาคแรกมีการถ่ายทำฉากเทคนิคพิเศษ 540 ช็อต ภาคที่สอง 799 ช็อต และภาคสุดท้ายถ่ายทำเทคนิคพิเศษถึง 1488 ช็อต (รวมทั้งสิ้น 2730 ช็อต) เมื่อนับรวมกับเนื้อเรื่องส่วนขยายหรือ Extended Editions มีฉากพิเศษรวมทั้งสิ้น 3420 ช็อต ในตอนเริ่มต้นโครงการ ภาพยนตร์ใช้นักเทคนิคพิเศษทางภาพ 260 คน และต้องเพิ่มจำนวนทีมงานขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อถ่ายทำไปถึงภาคที่สอง คือศึกหอคอยคู่กู้พิภพ หัวหน้าทีมงานเทคนิคพิเศษคือ จิม ไรเจิล (Jim Rygiel) และ แรนดี้ คุก (Randy Cook) พวกเขาต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อให้ได้ภาพเทคนิคพิเศษออกมาดังต้องการในเวลาอันรวดเร็ว ให้ทันกับจินตนาการของแจ็กสันที่วิ่งฉิว เช่น ฉากสำคัญๆ ในศึกเฮล์มสดีพเกือบทั้งหมดสร้างขึ้นภายในเวลาหกสัปดาห์สุดท้ายของช่วง post-production ของศึกหอคอยคู่กู้พิภพ งานอันเร่งรีบนี้ยังเกิดขึ้นอีกครั้งในหกสัปดาห์สุดท้ายของช่วง post-production ของกษัตริย์คืนบัลลังก์

Post-Production

แก้

ดนตรีประกอบ

แก้

โฮวาร์ด ชอร์ เป็นผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ทั้งสามภาค เขาได้รับว่าจ้างเข้าร่วมทีมงานในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2000 จากนั้นจึงได้ไปเยี่ยมชมการถ่ายทำและการตัดต่อภาพยนตร์ ดนตรีประกอบชุดแรกบันทึกเสียงในเวลลิงตัน[19] แต่ดนตรีประกอบเรื่องที่เหลือทั้งหมดบันทึกเสียงที่ Watford Town Hall และมิกซ์เสียงที่ Abbey Road Studios ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

วงดนตรี London Philharmonic Orchestra เป็นผู้บรรเลงดนตรีประกอบทั้งหมด โดยมีนักดนตรีและศิลปินอีกมากมายร่วมงานด้วย เช่น เบน เดล แมสโตร, เอนยา, เรเน่ เฟลมมิง, เซอร์ เจมส์ กัลเวย์ และ แอนนี่ เล็นนอกซ์ นักแสดงบางคนก็ร่วมบันทึกเสียงด้วย เช่น บิลลี บอยด์ วิกโก มอร์เทนเซ่น ลิฟ ไทเลอร์ มิรันดา ออตโต และตัวปีเตอร์ แจ็กสันเอง คำร้องในบทเพลงหลายบทประพันธ์โดย แฟรน วอลช์ และฟิลิปปา โบเยนส์ จากนั้น เดวิด ซาโล จึงแปลงไปเป็นภาษาของโทลคีน สำหรับเพลงจบของภาพยนตร์ตอนที่สาม คือ Into the West แจ็กสันและวอลช์ ตั้งใจมอบให้เป็นของขวัญแด่เพื่อนรุ่นน้อง คาเมรอน ดันแคน ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี ค.ศ. 2003[20]

การตอบรับ

แก้

บ็อกซ์ออฟฟิศ

แก้
ภาพยนตร์ วันฉายในสหรัฐ ทำเงินในบ็อกซ์ออฟฟิศ อันดับสูงสุด ทุนสร้าง อ้างอิง
สหรัฐและแคนาดา ประเทศอื่น ทั่วโลก สหรัฐและแคนาดา ทั่วโลก
อันดับ สูงสุด อันดับ สูงสุด
อภินิหารแหวนครองพิภพ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2001 (2001-12-19) $315,710,750 $581,979,322 $897,690,072 78 9 64 5 $93 ล้าน [21][22]
ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2002 (2002-12-18) $342,551,365 $604,943,730 $947,495,095 57 7 56 4 $94 ล้าน [23][24]
มหาสงครามชิงพิภพ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-17) $377,845,905 $768,185,007 $1,146,030,912 45 6 24 2 $94 ล้าน [25][26]
ทั้งหมด $1,036,108,020 $1,955,108,059 $2,991,216,079 $281 ล้าน [หมายเหตุ 1]
  1. แหล่งข้อมูลอื่นนอกเหนือจาก บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ ที่อ้างอิงถึงทุนสร้างของไตรภาคที่ 281 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ เดอะนิวยอร์กไทมส์,[27] ดิอินดีเพ็นเดนต์,[28][29] เดอะเทลิกราฟ,[30] บิสซิเนสอินไซเดอร์,[31] คอลไลเดอร์,[32] และ อินดีไวร์.[33][34]

รางวัล

แก้
 
เอียน แม็กเคลเลน ได้รับหลายรางวัลจากการแสดงของเขาในบทบาท แกนดัล์ฟ รวมไปถึงการเสนอชื่อเข้าชิงในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 74
ภาพยนตร์ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์[35][36][37]
สาขา
งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 74 งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 75 งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 76
อภินิหารแหวนครองพิภพ ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ มหาสงครามชิงพิภพ
ภาพยนตร์ เสนอชื่อเข้าชิง เสนอชื่อเข้าชิง ชนะ
ผู้กำกับ เสนอชื่อเข้าชิง ชนะ
บทภาพยนตร์ดัดแปลง เสนอชื่อเข้าชิง ชนะ
นักแสดงสมทบชาย เสนอชื่อเข้าชิง[a]
กำกับศิลป์ เสนอชื่อเข้าชิง เสนอชื่อเข้าชิง ชนะ
กำกับภาพ ชนะ
ออกแบบเครื่องแต่งกาย เสนอชื่อเข้าชิง ชนะ
ลำดับภาพ เสนอชื่อเข้าชิง เสนอชื่อเข้าชิง ชนะ
แต่งหน้า ชนะ ชนะ
ดนตรีประกอบ ชนะ ชนะ
เพลงประกอบ เสนอชื่อเข้าชิง[b] ชนะ[c]
ลำดับเสียง ชนะ
บันทึกเสียง[d] เสนอชื่อเข้าชิง เสนอชื่อเข้าชิง ชนะ
เทคนิคพิเศษ ชนะ ชนะ ชนะ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "Peter Jackson Rebukes Harvey Weinstein's Denial On Ashley Judd & Mira Sorvino". 15 December 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2020.
  2. Nathan 2018, p. 270.
  3. 3.0 3.1 Nathan 2018, pp. 303–309
  4. "Ian McKellen talks on Gandalf's last day". The One Ring. 29 November 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2019.
  5. Robert W. Pohle Jr., Douglas C. Hart, Rita Pohle Baldwi (2017). The Christopher Lee Film Encyclopedia. Rowman & Littlefield. p. 155. ISBN 978-0-8108-9270-5.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Nathan 2018, p. 1103
  7. 7.0 7.1 7.2 Nathan 2018, pp. 296–302
  8. "Max von Sydow As Gandalf?". The One Ring. 11 April 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2020.
  9. "Lord of the Rings/The Hobbit trilogies (Peter Jackson 1999–2011)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2020.
  10. Riding, Alan (2 September 2007). "Every Inch a King (and Buff, Too)". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2018.
  11. Nathan 2018, pp. 328–345
  12. Nathan 2018, pp. 314–328
  13. "The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring". Yahoo! Movies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2007. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
  14. "The Lord of the Rings: The Two Towers". Yahoo! Movies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2007. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
  15. "The Lord of the Rings: The Return of the King". Yahoo! Movies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2007. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
  16. ไบรอัน ซิบลี่ย์ (2006). "Quest for the Ring", Peter Jackson: A Film-maker's Journey, ลอนดอน: สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์คอลลินส์ ISBN 0-00-717558-2
  17. ดีวีดี เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ : อภินิหารแหวนครองพิภพ, แผ่นพิเศษ (Extended Version), นิวไลน์ ซีนีม่า
  18. ไบรอัน ซิบลี่ย์ (2002), The Making of the Movie Trilogy, สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์คอลลินส์
  19. The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring Appendices [DVD]. New Line Cinema.
  20. The Lord of the Rings: The Return of the King "Appendices" [DVD]. New Line Cinema.
  21. "The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring (2001)". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  22. The Fellowship of the Ring peak positions
  23. "The Lord of the Rings: The Two Towers (2002)". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  24. The Two Towers peak positions
  25. "The Lord of the Rings: The Return of the King (2003)". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  26. The Return of the King peak positions
  27. Johnson, Ross (27 June 2005). "The Lawsuit of the Rings". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2015. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019. The "Rings" film trilogy, produced for an aggregate $281 million, has made more than $4 billion in retail sales from worldwide film exhibition, home video, soundtracks, merchandise and television showings, and cleared more than $1 billion for New Line after payments to profit participants, according to one of Mr. Jackson's lawyers, Peter Nelson.
  28. Griffiths, Katherine (28 June 2005). "Director of Lord of the Rings says he is still owed $100m". The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2019. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019. They were made for a total of $281m, with much of the filming taking place in Jackson's native New Zealand.
  29. Sheperd, Jack (15 November 2017). "Lord of the Rings set to become the most expensive TV show of all time". The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2017. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019. With a price tag of $1 billion, that would also put the series way above the budget of the movies: all three of Peter Jackson's Lord of the Rings films cost $281 million, before advertising.
  30. Swaine, Jon (10 October 2010). "The Hobbit 'could be most expensive film ever made'". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2010. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019. It would also mean The Hobbit's final price-tag would be approaching twice that of the entire Lord of the Rings trilogy, which cost $281 million (£177 million).
  31. Acuna, Kirsten (19 October 2012). "Will The Multi-Million Dollar Budget Of 'The Hobbit' Pay Off?". Business Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2012. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019. Bear in mind, the total estimated budget for the original three films is set at $281 million.
  32. Chitwood, Adam (22 October 2014). "THE HOBBIT Movies Cost $745 Million, But That's Okay Because They've Already Made Nearly $2 Billion". Collider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2014. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019. The Lord of the Rings trilogy, for example, cost around $281 million not adjusting for inflation.
  33. Nordine, Michael (19 March 2018). "Amazon Is Spending as Much as $500 Million on Its 'Lord of the Rings' Series — Report". IndieWire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2018. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019. The original film trilogy, released between 2001–03, came with a comparatively modest price tag of $281 million, whereas the more recent "Hobbit" trilogy cost a reported $623 million.
  34. Kohn, Eric (25 April 2019). "Elijah Wood On Amazon's $1 Billion 'Lord of the Rings' Investment: 'That's Crazy to Me'". IndieWire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2019. สืบค้นเมื่อ 5 July 2019. Jackson's combination of cutting-edge CGI and a flair for classical fantasy transformed J.R.R. Tolkien's novels into an epic trilogy that ultimately grossed $2.92 billion worldwide off a combined budget of roughly $281 million.
  35. "The 74th Academy Awards (2002) Nominees and Winners". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. 24 March 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2012.
  36. "The 75th Academy Awards (2003) Nominees and Winners". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. 23 March 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2012.
  37. "The 76th Academy Awards (2004) Nominees and Winners". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. 29 February 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2012.

แหล่งอ้างอิง

แก้
  • Nathan, Ian (2018). Anything You Can Imagine: Peter Jackson and the Making of Middle Earth. HarperCollins. ISBN 978-0008192501.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้