แหวนแห่งอำนาจ เป็นของวิเศษในเรื่องแต่งปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีบทบาทสำคัญในนิยายลอร์ดออฟเดอะริงส์

ผู้ครอบครองแหวนทั้ง 3 เผ่าพันธุ์

ประวัติ

แก้

แหวนแห่งอำนาจในเรื่องมีทั้งหมด 20 วง สร้างขึ้นในยุคที่สองของมิดเดิลเอิร์ธ โดยเอลฟ์ช่างผู้มีฝีมือเป็นเลิศแห่งนครเอเรกิออน นามว่า เคเลบริมบอร์ (Celebrimbor) ผู้เป็นหลานของเฟอานอร์ ได้สร้างแหวนขึ้นสำหรับมนุษย์และคนแคระเป็นเบื้องแรก จำนวน 16 วง ภายใต้การกำกับดูแลและถ่ายทอดความรู้จากเซารอน ซึ่งจำแลงร่างมาในนาม 'อันนาทาร์' (ชื่อนี้แปลว่า 'เจ้าแห่งของกำนัล') เคเลบริมบอร์ยังสร้างแหวนสำหรับพวกเอลฟ์ขึ้นอีก 3 วง โดยที่เซารอนมิได้รู้เห็นในการสร้างนั้น เหตุนี้แหวนเอลฟ์ทั้งสามจึงบริสุทธิ์จากอำนาจชั่วร้าย

หลังจากนั้น เซารอนได้ลอบสร้างแหวนวงสุดท้ายที่ชื่อ แหวนเอกธำมรงค์ (The One Ring) โดยใช้ไฟจากภูเขามรณะ (เมาท์ดูม) ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางอาณาจักรมอร์ดอร์ โดยแบ่งพลังบางส่วนของเขาลงไปด้วย จึงทำให้เป็นแหวนที่มีอำนาจสูงสุด สามารถมีอำนาจเหนือจิตใจของผู้สวมแหวนแห่งอำนาจที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้ภายใต้การกำกับของเขา ดังนั้นเซารอนจึงมีอำนาจเหนือแหวนแห่งคนแคระ และแหวนแห่งมนุษย์ ทว่าเขาไม่สามารถบังคับแหวนแห่งเอลฟ์ได้ เพราะเขาไม่มีส่วนในการสร้างแหวนทั้งสาม อย่างไรก็ดี เนื่องจากแหวนเอลฟ์ทั้งสามถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยความรู้จากเซารอน ดังนั้นหากแหวนเอกธำมรงค์ถูกทำลายไป อำนาจของแหวนเอลฟ์ก็จะสลายไปด้วย

บทกวีในเรื่องที่กล่าวถึงแหวนทั้งหมด คือ

Three Rings for the Elven-Kings under the sky,

Seven for the Dwarf-lords in their halls of stone,
Nine for Mortal Men Doomed to die,
One for the Dark Lord on his dark throne

In the Land of Mordor where the shadows lie.

หากแปลเป็นภาษาไทยว่า

แหวนสามวงแด่กษัตริย์พรายใต้แผ่นฟ้า,

เจ็ดวงแด่เจ้าชาวแคระในท้องพระโรงศิลา,
เก้าวงนั้นหนาแด่มนุษย์ผู้ไร้นิรันดร์,
วงเดียวแด่เจ้าแห่งอสูรผู้ครองบัลลังก์ดำ

ในแดนมรณะแห่งมอร์ดอร์ที่เงานั้นยังคงอยู่.

รายละเอียดและผู้ครอบครอง

แก้

แหวนทั้ง 20 วงมีดังนี้

เป็นแหวนที่มีอำนาจมากที่สุดในแหวนแห่งอำนาจ ผู้ที่เคยครอบครอง

แหวนสามวงดังกล่าวเป็นแหวนที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นอันดับท้ายสุด ซึ่งเป็นแหวนที่เซารอนปรารถนาจะครอบครองมากที่สุด เพราะผู้ที่ครอบครองมันจะสามารถรักษาอาการผิดปกติ ชะลอความเสื่อมถอยของกาลเวลา และยืดเวลาจากความเหนื่อยล้าที่มีต่อโลก แต่ว่าเซารอนค้นหาพวกมันไม่พบ เนื่องจากมันถูกส่งไปอยู่ในมือของเหล่าผู้ทรงปัญญา ผู้เก็บซ่อนมันเอาไว้และไม่เคยใช้มันอย่างเปิดเผย ในขณะที่เซารอนมีแหวนประมุขอยู่ ดังนั้นแหวนทั้งสามวงจึงยังคงอยู่โดยไร้มลทิน เป็นเพราะว่า เคเลบริมบอร์ เป็นผู้สร้างพวกมันขึ้นมาเองแต่เพียงผู้เดียว มือของเซารอนไม่เคยได้สัมผัส แต่อย่างไรก็ตาม พวกมันก็ยังคงเป็นแหวนบริวารของเอกธำมรงค์เช่นเดียวกัน ประกอบด้วย

เป็นแหวนที่พวกเอลฟ์มอบให้แก่เผ่าคนแคระ (ไม่มีระบุในตำนานว่า พวกเอลฟ์มอบแหวนให้คนแคระอย่างไร) แหวนกลุ่มนี้ไม่มีพลังในทางชั่วร้าย แหวนทั้งเจ็ดของคนแคระนั้น เป็นแหวนที่ถูกสร้างขึ้นมาตามการควบคุมของเซารอน เช่นเดียวกับแหวนทั้งเก้าของมนุษย์ ตัวแหวนทำด้วยทองคำ หัวแหวนประดับด้วยอัญมณีแตกต่างกันไปแต่ละวง แหวนหนึ่งในเจ็ดถูกสร้างขึ้นมาก่อนแหวนวงอื่น และช่างเอลฟ์ก็ได้มอบให้กับ ดูรินที่สาม กษัตริย์แห่งคาซัดดูม อาณาจักรของคนแคระ ส่วนแหวนอีกหกวงที่เหลือนั้นเซารอนเป็นผู้มอบให้กับกษัตริย์ของคนแคระต่างๆ ด้วยมือของตนเอง พลังของแหวนทำให้ผู้ครอบครองมั่งคั่งร่ำรวยมากขึ้น แต่แหวนทำให้ความโลภอยู่เหนือทุกสิ่งในจิตใจของพวกเขา แต่อย่างไรก็ตามแผนการของเซารอน ที่หวังจะให้บรรดากษัตริย์ตกเป็นทาสของแหวน ไม่เป็นไปตามคาด เนื่องจากคนแคระนั้นแข็งกร้าวและดื้อด้าน พวกเขาจะต่อต้านการครอบงำของผู้อื่นจนถึงที่สุด ยิ่งกว่านั้นความคิดจิตใจของพวกคนแคระก็ยากจะหยั่งถึง พอ ๆ กับที่ไม่สามารถทำให้กลายเป็นเงามืดได้ พวกเขาจะใช้แหวนเพียงเพื่อการค้นหาความมั่งคั่งเท่านั้น ดังนั้นพวกคนแคระจึงไม่กลายเป็นภูตแหวนเหมือนกับมนุษย์ เซารอนจึงคิดที่จะรวบรวมเอาแหวนคืนจากพวกเขา เซารอนชิงแหวนคืนมาได้สองวง อีกสี่วงถูกทำลายและถูกกินโดยมังกร ส่วนหนึ่งวงที่เหลืออยู่นั้นถูกเก็บเป็นความลับไว้ที่คาซัดดูม และสืบต่อมาเรื่อยจนกระทั่งถูกพวกออร์คโจมตี พร้อมกับการหายไปของแหวนวงสุดท้าย แต่ความจริงก็ปรากฏว่าแหวนนั้นถูกสืบทอดให้ทายาทก่อนที่คาซัดดูมจะพินาศ จนในที่สุดเซารอนก็พบผู้ครอบครอง และได้แหวนคืนที่โดลกุลดัวร์

เป็นแหวนที่พวกเอลฟ์มอบให้กับราชามนุษย์เก้าองค์ ภายหลังได้เป็นผู้ที่ได้รับแหวนได้ชีวิตอมตะ กลายเป็นภูตแหวน (Ringwraith) และภักดีต่อเซารอน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  • เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน, ลอร์ดออฟเดอะริงส์, ลอนดอน: ฮาร์เปอร์คอลลินส์.
  • คริสโตเฟอร์ โทลคีน, Unfinished Tales, ลอนดอน: ฮาร์เปอร์คอลลินส์.