เซบูแปซิฟิก
เซบูแปซิฟิก (อังกฤษ: Cebu Pacific) เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติฟิลิปปินส์ ที่มีฐานการบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อากีโน ในเมโทรมะนิลา และที่ท่าอากาศยานนานาชาติมัคตัน–เซบู ในนครเซบู โดยถือเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในทวีปเอเชีย ก่อตั้งใน พ.ศ. 2531[4] โดยในปัจจุบันมีให้บริการทั้งเที่ยวบินภายในและระหว่างประเทศ โดยมีจุดหมายปลายทางในประเทศ 37 แห่ง และต่างประเทศ 27 แห่งใน 15 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
| |||||||
ก่อตั้ง | 26 สิงหาคม ค.ศ. 1988 (36 ปี)[2] | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 8 มีนาคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) | ||||||
AOC # | 2009002[3] | ||||||
ฐานการบิน | |||||||
สะสมไมล์ | โกรีวาร์ด | ||||||
พันธมิตรการบิน | แวลูอัลไลแอนซ์ | ||||||
บริษัทลูก |
| ||||||
ขนาดฝูงบิน | 72 | ||||||
จุดหมาย | 62 (รวมสายการบินลูก) | ||||||
บริษัทแม่ | เจจีซัมมิตโฮลดิ้ง | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ปาไซ ประเทศฟิลิปปินส์ | ||||||
เว็บไซต์ | www |
เซบูแปซิฟิกเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ โดยอ้างอิงจากจำนวนผู้โดยสารที่บินในเส้นทางภายในประเทศและต่างประเทศในปี ค.ศ. 2010 แซงหน้าสายการบินคู่แข่งฟิลิปปินส์แอร์ไลน์[5]
เซบูเปซิฟิกเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของแวลูอัลไลแอนซ์
กิจการองค์กร
แก้สายการบินลูก
แก้- เซบโก
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 ไทเกอร์แอร์ฟิลิปปินส์เปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น เซบโก เป็นครั้งที่สี่เพื่อสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทเกอร์แอร์ฟิลิปปินส์ในฐานะสายการบินในเครือของเซบูแปซิฟิก ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 เซบโก ส่งคืนแอร์บัส เอ320 จำนวน 5 เครื่องไปยังเซบูแปซิฟิก และหลังจากนั้นได้แระจำการ เอทีอาร์ 72-500 และ -600 แทน[6]
จุดหมายปลายทาง
แก้ปัจจุบันเซบูแปซิฟิคมีเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางภายในประเทศ 36 แห่งและจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศ 26 แห่งใน 16 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สายการบินมีเครือข่ายเส้นทางภายในประเทศที่กว้างขวางที่สุดในฟิลิปปินส์
พันธมิตรทางการบิน
แก้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 เซบูแปซิฟิคได้กลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของแวลูอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านสายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก[7] โดยเข้าร่วมกับสมาชิกผู้บุกเบิกอื่นๆคือ สกู๊ตของสิงค์โปร์, เจจูแอร์ของเกาหลีใต้, นกแอร์ของประเทศไทย,และเซบโก[8] ปัจจุบันเซบูแปซิฟิกยังเป็นสายการบินฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่เป็นสมาชิกของพันธมิตรสายการบิน
ฝูงบิน
แก้ฝูงบินปัจจุบัน
แก้ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 เซบูแปซิฟิกมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[9][10][11]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร[12] | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ320-200 | 20 | — | 180 | |
แอร์บัส เอ320นีโอ | 21 | 6 | 188 | |
แอร์บัส เอ321-200 | 7 | — | 230 | |
แอร์บัส เอ321นีโอ | 15 | 110 | 236[13] | ใช้การจัดเรียงห้องโดยสารแบบแอร์บัสเคบินเฟลกซ์ สั่งซื้อเพิ่มเติม 102 ลำพร้อม 50 สิทธิการสั่งซื้อในเครื่องบินตระกูลเอ320นีโอ เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2024[14] |
แอร์บัส เอ321เอ็กซ์แอลอาร์ | — | 10 | รอประกาศ | เริ่มส่งมอบในปี ค.ศ. 2024[15] |
แอร์บัส เอ330-900 | 9 | 7 | 459 | รวมแอร์บัส เอ330-900 ลำต้นแบบ (RP-C3906) |
รวม | 72 | 133 |
เซบูแปซิฟิกมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 4.6 ปี
ฝูงบินในอดีต
แก้เซบูแปซิฟิกเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
เครื่องบิน | จำนวน | เริ่มประจำการ | ปลดประจำการ | เครื่องบินทดแทน | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ319-100 | 10 | 2005 | 2018 | แอร์บัส เอ320นีโอ | ขายให้แก่อัลลีเจียนต์แอร์ | [16] |
แอร์บัส เอ330-300 | 8 | 2013 | 2024 | แอร์บัส เอ330-900 | ขายให้แก่หลายสายการบิน | |
เอทีอาร์ 72-500 | 6 | 2008 | 2015 | ไม่มี | โอนย้ายไปยังเซบโก | |
โบอิง 757-200 | 3 | 2000 | 2006 | แอร์บัส เอ320-200 | [17] | |
แมคดอนเนลล์ดักลาส ดีซี-9-30 | 19 | 1996 | 2006 | แอร์บัส เอ320-200 | หนึ่งลำตกในเที่ยวบินที่ 387 | [17] |
อ้างอิง
แก้- ↑ "JO 7340.2J Contractions" (PDF). Federal Aviation Administration. 10 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ "Company Information; Cebu Air, Inc". Philippine Stock Exchange Inc. (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2020.
- ↑ "ACTIVE/CURRENT AOC HOLDERS" (PDF). Civil Aviation Authority of the Philippines. 30 พฤษภาคม 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2023.
- ↑ "Call Center / Guest Services / Product Ideas เก็บถาวร 1 เมษายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Cebu Pacific. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2010.
- ↑ Thomas, Geoffrey (9 มิถุนายน 2010). "Cebu Pacific Now Philippines' Largest Airline". Air Transport World (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2016.
- ↑ "Tigerair Philippines rebranded to Cebgo". rappler.com. 11 พฤษภาคม 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2022.
- ↑ "Cebu Pacific Air – Why everyone flies". cebupacificair.com. 2 ตุลาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2022.
- ↑ "Cebu Pacific, 7 other budget airlines form alliance". rappler.com. 16 พฤษภาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2022.
- ↑ "Our Fleet". Cebu Pacific (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 พฤษภาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2021.
- ↑ "Orders and deliveries (updated monthly)". Airbus (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2024.
- ↑ "Cebu Pacific Airlines Fleet Details". Airfleets. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2023.
- ↑ "Cebu Pacific Upgauges with 460-Seat A330neo, 240-Seat A321XLR and 194-Seat A320neo". The Blue Swan Daily (ภาษาอังกฤษ). 21 มิถุนายน 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2019.
- ↑ "Philippines Domestic Market: Airport Constraints Restrict Growth". Centre for Aviation (ภาษาอังกฤษ). 5 พฤษภาคม 2018.
- ↑ Yu, Lance Spencer (2 กรกฎาคม 2024). "Cebu Pacific picks Airbus for biggest aircraft order in PH history". Rappler. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2024.
- ↑ Waldron, Greg (19 ธันวาคม 2019). "Cebu Pacific Firms Order for 15 A320neo Aircraft". Flight Global (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2019.
- ↑ "Cebu Pacific to sell more A319 aircraft in line with fleet upgrade". PortCalls Asia. 16 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2022.
- ↑ 17.0 17.1 Dela Peña, Zinnia B. (7 พฤษภาคม 2005). "Cebu Pacific needs $400M for fleet expansion". The Philippine Star. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- Official holidays website เก็บถาวร 23 พฤศจิกายน 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน