เชเลียบินสค์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เชเลียบินสค์ (รัสเซีย: Челя́бинск; ออกเสียง: ) เป็นนครในประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางการปกครองของแคว้นเชเลียบินสค์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้น อยู่ห่างจากเมืองเยคาเตรินบุร์กทางทิศใต้ 210 กิโลเมตร (130 ไมล์) อยู่ทางทิศตะวันออกของเทือกเขายูรัล บนฝั่งแม่น้ำมิอัส (รัสเซีย: Река Миасс; บัชกอร์ต: Мейәс йылғаһы) บนเขตแดนระหว่างทวีปยุโรปและเอเชีย[10][11][12]
เชเลียบินสค์ | |
---|---|
การถอดเสียงอื่น | |
บาทวิถีใจกลางนครเชเลียบินสค์ | |
พิกัด: 55°09′17″N 61°22′33″E / 55.15472°N 61.37583°E | |
ประเทศ | รัสเซีย |
หน่วยองค์ประกอบ | แคว้นเชเลียบินสค์ |
สถาปนา | พ.ศ. 2279[2] |
การปกครอง | |
• องค์กร | สภาเมือง[3] |
• นายกเทศมนตรี[5] | นาตาลียา โคโตวา[4] |
ความสูง | 220 เมตร (720 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโนครัวปี 2010)[6] | |
• ทั้งหมด | 1,130,132 คน |
• ประมาณ (2018)[7] | 1,202,371 (+6.4%) คน |
• อันดับ | อันดับ 9 ในปี 2010 |
สถานะการบริหาร | |
• เมืองศูนย์กลางทางการบริหารของ | แคว้นเชเลียบินสค์[1], นครเชเลียบินสค์[1] |
สถานะเทศบาล | |
• เมืองศูนย์กลางทางการบริหารของ | เทศบาลนครเชเลียบินสค์[1] |
รหัสไปรษณีย์[8] | 454xxx |
รหัสโทรศัพท์ | +7 351[9] |
รหัส OKTMO | 75701000001 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติศาสตร์
แก้อารยธรรมเวทโบราณ
แก้นักโบราณคดีได้ค้นพบซากปรักหักพังของเมืองโบราณ อาร์คาอิม (รัสเซีย: Аркаим) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเมืองเชเลียบินสค์ มีรายงานว่ามีสิ่งบ่งชี้ถึงอารยธรรมที่ก้าวหน้าของแหล่งกำเนิดอารยธรรมอินโด-เวท ซึ่งมีอายุอย่างน้อย 4,000 ปีในอาร์คาอิม[13]
แหล่งโบราณคดีนี้เป็นที่รู้จักของนักโบราณคดีชาวรัสเซียเป็นเวลาอย่างน้อย 70 ปี ในฐานะแหล่งวัฒนธรรม ซินตัชตา-เปตรอฟกา-อาร์คาอิม (รัสเซีย: Синташта-Петровка-Аркаим) ของชาวอารยันโบราณ แต่ก็มักจะไม่ได้รับการพิจารณาในการให้ทุนเพื่อศึกษาวิจัยจากองค์กรด้านประวัติศาสตร์ของแองโกล-อเมริกัน พื้นที่วัฒนธรรมซินตัชตา-เปตรอฟกา ทอดยาวไปตามทางตะวันออกของเทือกเขายูรัลในทุ่งหญ้าสเตปป์ยูเรเชียนที่กว้างใหญ่กว่า 400 กม. ทางใต้ของเชเลียบินสค์ และไปทางทิศตะวันออกประมาณ 200 กม. มีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการยอมรับว่าอยู่ในกลุ่มนี้ 23 แหล่ง การฝังศพของแหล่งวัฒนธรรมซินตัชตา และที่พบในแหล่งอื่น ๆ ของอาร์คาอิมนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในรายละเอียด การฝังศพของแหล่งนี้ให้หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับพิธีกรรมฝังศพในคัมภีร์ฤคเวท และคัมภีร์อเวสตะ และด้วยเหตุนี้อารยธรรมนี้จึงถูกเรียกว่า อินโด-อิราเนียน[14]
แหล่งอารยธรรมเหล่านี้ถูกเรียกว่า "เมือง" และส่วนใหญ่ถูกค้นพบผ่านภาพถ่ายทางอากาศ เมืองเหล่านี้ถูกวางผังในรูปทรงกลม, สี่เหลี่ยมหรือรูปไข่ ในขณะที่มีเพียงสองเมืองเท่านั้นคือที่อาร์คาอิม และซินตัชตา ที่ถูกขุดค้นเป็นหลัก ทั้งสองเมืองมีลักษณะเป็นป้อมปราการ มีการเชื่อมต่อบ้านและมีหลักฐานมากมายเกี่ยวกับโลหการ[14] การขุดค้นหลุมฝังศพที่แหล่งซินตัชตา ได้ให้หลักฐานทางโบราณคดีหลายแง่มุมของพิธีฝังศพที่ถูกบันทึกอยู่ในตำราของฤคเวท และอเวสตะ[14]
ผู้คนในวัฒนธรรมซินตัชตา คาดว่าพูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของกลุ่มภาษาอินโด-อิราเนียน สิ่งบ่งชี้นี้มีพื้นฐานอยู่บนความคล้ายคลึงกันระหว่าง หลายส่วนของคัมภีร์ฤคเวทซึ่งเป็นข้อความทางศาสนาของอินเดีย ซึ่งได้รวมเพลงสวดอินโด-อิราเนียนโบราณที่บันทึกไว้ในพระเวทภาษาสันสกฤต กับพิธีกรรมฝังศพของวัฒนธรรมซินตัชตา ที่ถูกเปิดเผยโดยนักโบราณคดี[15]
ประวัติศาสตร์ยุครัสเซียสมัยใหม่
แก้ป้อมปราการแห่งเชเลียบา ซึ่งต่อมาเมืองได้ใช้ชื่อนี้ในการก่อตั้ง ได้สร้างขึ้นในสถานที่ตั้งของหมู่บ้านเชเลียบีของชาวแบชเคียร์ (บัชกอร์ต: Силәбе, Siläbe) โดยนายพันอเล็กซี เตฟเคเลฟ (คุตลู-มูฮัมเหม็ด) (ตาตาร์: Qotlımөxəmmət Mameş uğlı Təfkilev) ในปี พ.ศ. 2279[2] เพื่อป้องกันเส้นทางการค้าโดยรอบจากการโจมตีที่อาจเป็นไปได้โดยชาวแบชเคียร์นอกกฎหมาย ในช่วงการจลาจลของปูกาเชฟ (รัสเซีย: Восстание Пугачёва) ป้อมปราการยืนหยัดต่อต้านการโจมตีโดยกองกำลังกบฏในปี พ.ศ. 2317 แต่ในที่สุดก็ถูกยึดครองเป็นเวลาหลายเดือนในปี พ.ศ. 2318 ในปี พ.ศ. 2325 ในฐานะส่วนหนึ่งของเขตอุปราชแห่งอูฟา (รัสเซีย: Уфимское наместничество) ซึ่งต่อมาถูกปฏิรูปให้เป็นจังหวัดอาเรนบุร์ก (รัสเซีย: Оренбургская губерния) เชเลียบินสค์กลายเป็นเขตการปกครองและในที่สุดก็ได้รับสถานะเมืองและชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. 2330
จนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เชเลียบินสค์ เป็นเมืองเล็ก ๆ ในชนบท ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 ทางรถไฟสาย ซามารา-ซลาเตาสต์ เสร็จสมบูรณ์ซึ่งเชื่อมต่อกับมอสโกและส่วนที่เหลือของรัสเซียภาคพื้นยุโรป นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2435 การก่อสร้างทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียจากเมืองเชเลียบินสค์เริ่มต้นขึ้นและในปี พ.ศ. 2439 ก็เชื่อมโยงกับเมืองเยคาเตรินบุร์ก เชเลียบินสค์กลายเป็นศูนย์กลางสำหรับการย้ายถิ่นฐานไปยังไซบีเรีย ในเวลาสิบห้าปีมีกว่าสิบห้าล้านคน ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบของประชากรชาวรัสเซีย เดินทางผ่านเชเลียบินสค์ บางคนตั้งรกรากอยู่ในเชเลียบินสค์ ซึ่งทำให้เมืองมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ในเชเลียบินสค์ สำนักงานศุลกากรได้มีการจัดตั้ง "จุดแบ่งแยกพิกัดศุลกากร" ข้าวและชาปลอดภาษีที่ถูกส่งไปยังส่วนภาคพื้นยุโรปของประเทศ นำไปสู่การเกิดขึ้นของโรงสีและการจัดตั้งโรงงานบรรจุชา ในไม่ช้าเชเลียบินสค์เริ่มเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ประชากรที่อาศัยอยู่เพิ่มขึ้นถึง 20,000 คนในปี พ.ศ. 2440, เพิ่มเป็น 45,000 คนในปี พ.ศ. 2456 และเป็น 70,000 คนในปี พ.ศ. 2460 ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเปลี่ยนสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 คล้ายคลึงกับเมืองในสหรัฐอเมริกา เชเลียบินสค์จึงถูกเรียกว่า "ชิคาโกเบื้องหลังทิวเขายูรัล"[16]
ในช่วงแผนห้าปีแรกของคริสต์ทศวรรษ 1930 เชเลียบินสค์มีการเติบโตทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว สถานประกอบการหลายแห่งรวมถึงโรงงานประกอบรถแทรกเตอร์เชเลียบินสค์ และโรงงานโลหการเชเลียบินสค์ ถูกสร้างขึ้นในเวลานี้ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โจเซฟ สตาลิน ตัดสินใจย้ายโรงงานการผลิตส่วนใหญ่ของสหภาพโซเวียต ไปยังสถานที่ที่อยู่ห่างไกลจากการรุกคืบของกองทัพเยอรมันที่กำลังจะมาถึงในปลายปี พ.ศ. 2484 ซึ่งนำอุตสาหกรรมใหม่และแรงงานนับพันมาสู่เชเลียบินสค์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการผลิตรถถัง ที-34 และเครื่องยิงจรวดคัตยูชาภายในเมือง ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้ผลิตรถถัง 18,000 คันและเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับรถถัง 48,500 เครื่องรวมทั้งกระสุนมากกว่า 17 ล้านนัด ในช่วงเวลานั้น เชเลียบินสค์ ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า แทงโกกราด หรือเมืองแห่งรถถัง โรงงานหมายเลข 185 ของเอส. เอ็ม. คิรอฟ ถูกย้ายมาจากเลนินกราดเพื่อผลิตรถถังหนัก ซึ่งถูกย้ายต่อไปยังเมืองออมสค์ หลังจากปี พ.ศ. 2505
เหตุการณ์ดาวตก พ.ศ. 2556
แก้ไม่นานหลังจากรุ่งสาง เวลาท้องถิ่นประมาณ 9:20 นาฬิกา (YEKT; UTC+5) ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เกิดการแตกระเบิดขนาดใหญ่ของสะเก็ดดาวตก (อังกฤษ: Superbolide meteor) ที่เคลื่อนที่ลงมาด้วยความเร็ว 60,000[17]- 69,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40,000[17]- 42,900 ไมล์ต่อชั่วโมง)[18] เหนือเทือกเขายูรัล มีการระเบิดที่ระดับความสูง 29.7 กิโลเมตร (18.5 ไมล์หรือ 97,000 ฟุต)[18]
ดาวตกได้สร้างแสงสว่างวาบชั่วขณะหนึ่งที่สว่างราวกับดวงอาทิตย์ และสร้างคลื่นกระแทกที่ทำให้ผู้คนบาดเจ็บกว่าพันคน เศษเล็กเศษน้อยตกอยู่รอบ ๆ และในเมืองเชเลียบินสค์ วาดิม กาเลสนิคอฟ โฆษกกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่ามีผู้คน 1,100 รายเรียกความช่วยเหลือทางการแพทย์หลังเกิดเหตุการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรักษาอาการบาดเจ็บจากกระจกแตกจากการระเบิด ผู้หญิงคนหนึ่งประสบเหตุกระดูกสันหลังหัก[19] กาเลสนิคอฟ ยังกล่าวอีกว่าหลังคาที่โรงงานสังกะสีขนาดประมาณ 600 ตารางเมตร (6,500 ตารางฟุต) ได้ถล่มลงมา โฆษกหญิงคนหนึ่งของกระทรวงฉุกเฉินบอกกับสื่อมวลชนที่ติดตามว่ามีฝนดาวตก แต่กระนั้นโฆษกหญิงของกระทรวงอีกคนหนึ่ง อ้างกับสำนักข่าวอินเตอร์แฟกซ์ว่าเป็นดาวตกดวงเดียว[20][21][22] ขนาดได้รับการประมาณที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เมตร (66 ฟุต) ที่มีมวล 12,000–13,000 เมตริกตัน[23] พลังของการระเบิดนั้นอยู่ที่ประมาณ 500 กิโลตันของทีเอ็นที (ประมาณ 1.8 เพตาจูล) ซึ่งเป็นพลังงาน 20-30 เท่ามากกว่าที่ปล่อยจากระเบิดปรมาณูเหนือเมืองฮิโรชิมา เมืองสามารถหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บล้มตายและการทำลายล้างสูงเนื่องจากการระเบิดเกิดในชั้นบรรยากาศระดับสูง
สถานะหน่วยการบริหารและเทศบาล
แก้เชเลียบินสค์ เป็นศูนย์กลางการปกครองของแคว้น[1] ภายในกรอบของการแบ่งเขตการปกครองของประเทศรัสเซีย นครเชเลียบินสค์ เป็นหน่วยการปกครองที่มีสถานะเทียบเท่ากับเขตการปกครองอื่น[1] ในฐานะที่เป็นเทศบาล นครเชเลียบินสค์ มีสถานะเป็นเทศบาลนครเชเลียบินสค์[1] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 เขตของนครเชเลียบินสค์เจ็ดเมือง ได้รับการรับรองสถานะตามกฎหมาย[24]
ภูมิศาสตร์
แก้เชเลียบินสค์ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขายูรัล ห่างจากเยคาเตรินบุร์กไปทางใต้ 199 กม. ระดับความสูงจากน้ำทะเล 200–250 เมตร
เมืองถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยแม่น้ำมิอัสซึ่งถือเป็นพรมแดนระหว่างเทือกเขายูรัลและไซบีเรีย ซึ่งลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่มีเนินเขาหินแกรนิตเตี้ย ๆ ของเทือกเขายูรัลทางด้านตะวันตกและหินตะกอนชั้นล่างของที่ราบไซบีเรียตะวันตกอยู่ทางทิศตะวันออก
"สะพานเลนินกราด" เชื่อมต่อทั้งสองด้านดังนั้นจึงเรียกว่า "สะพานแห่งเทือกเขายูรัลกับไซบีเรีย" เชเลียบินสค์ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม "ประตูสู่ไซบีเรีย"[25]
เช่นเดียวกับกรุงโรม, คอนสแตนติโนเปิล และมอสโก กล่าวกันว่าเชเลียบินสค์ตั้งอยู่บนเนินเขาทั้งเจ็ด[26]
ภูมิอากาศ
แก้เมืองมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นฤดูร้อนภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน: Dfb) แบบทางตอนเหนือไกลกว่าแบบที่พบในทุ่งหญ้าแพรรีของแคนาดา อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (-14 °C / 6.6 °F) ถึงกระนั้นเดือนกรกฎาคมมีค่าเฉลี่ยค่อนข้างเย็น (19 °C / 66.7 °F) และค่าเฉลี่ยประจำปีอยู่เหนือศูนย์องศาเซลเซียสเล็กน้อย (3 °C / 37.8 °F) ซึ่งแสดงว่ายังมีค่าพอประมาณอยู่บ้าง ช่วงของความแตกต่างที่มากที่สุดกล่าวว่ามีช่วงถึง 70 °C / 158 °F อ้างได้ว่าเป็นแบบอย่างของภูมิอากาศแถบละติจูดกลางในทวีปใหญ่เช่นยูเรเชีย[27]
การตกของหยาดน้ำฟ้าสูงสุดมีความถี่สูงในฤดูร้อนและลดลงในฤดูหนาว เดือนกรกฎาคมมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่สูงสุดเฉลี่ย 87 มม. / 3.44" และเดือนมกราคมเป็นเดือนที่แล้งที่สุดมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 15 มม. / 0.6" ปริมาณน้ำฝนประจำปีโดยรวมทั้งหมดคือ 16.9" และดังนั้นจึงเข้าใกล้กับสภาพภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง ในหนึ่งปีมี 119 วันที่ฝนตก แต่เดือนแรกของปีบันทึกเฉลี่ยเพียงสามวัน[27]
ข้อมูลภูมิอากาศของเชเลียบินสค์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 4.9 (40.8) |
5.6 (42.1) |
19.9 (67.8) |
34.9 (94.8) |
39.9 (103.8) |
39.9 (103.8) |
39.9 (103.8) |
39.9 (103.8) |
34.9 (94.8) |
24.9 (76.8) |
14.9 (58.8) |
9.9 (49.8) |
39.9 (103.8) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | -10.5 (13.1) |
-7.9 (17.8) |
1.0 (33.8) |
10.6 (51.1) |
20.3 (68.5) |
23.9 (75) |
25.2 (77.4) |
23.6 (74.5) |
17.2 (63) |
9.3 (48.7) |
-0.4 (31.3) |
-6.9 (19.6) |
8.8 (47.8) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | -14.9 (5.2) |
-13.4 (7.9) |
-4.8 (23.4) |
4.7 (40.5) |
12.1 (53.8) |
18.3 (64.9) |
19.3 (66.7) |
17.1 (62.8) |
10.9 (51.6) |
4.1 (39.4) |
-5.2 (22.6) |
-11.1 (12) |
3.0 (37.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -19.0 (-2.2) |
-18.9 (-2) |
-9.3 (15.3) |
-0.3 (31.5) |
7.9 (46.2) |
12.9 (55.2) |
14.5 (58.1) |
13.5 (56.3) |
7.6 (45.7) |
1.3 (34.3) |
-5.9 (21.4) |
-14.6 (5.7) |
−0.9 (30.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -49.9 (-57.8) |
-44.9 (-48.8) |
-44.9 (-48.8) |
-29.9 (-21.8) |
-19.9 (-3.8) |
-4.9 (23.2) |
0.1 (32.2) |
0.1 (32.2) |
-9.9 (14.2) |
-24.9 (-12.8) |
-39.9 (-39.8) |
-44.9 (-48.8) |
−49.9 (−57.8) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 17 (0.67) |
16 (0.63) |
19 (0.75) |
27 (1.06) |
47 (1.85) |
55 (2.17) |
87 (3.43) |
44 (1.73) |
41 (1.61) |
30 (1.18) |
26 (1.02) |
21 (0.83) |
430 (16.93) |
ความชื้นร้อยละ | 85 | 77 | 76 | 66 | 61 | 64 | 69 | 71 | 73 | 73 | 82 | 83 | 73 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 0.1 | 0.3 | 4 | 10 | 15 | 19 | 17 | 16 | 16 | 10 | 6 | 1 | 114 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย | 18 | 16 | 15 | 6 | 1 | 0.3 | 0 | 0 | 1 | 6 | 15 | 19 | 97 |
แหล่งที่มา 1: Pogoda.ru.net[28] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: World Meteorological Organization (เฉพาะจำนวนวันที่มีหยาดน้ำฟ้า)[29] |
ภูมิทัศน์ของเมือง
แก้สถาปัตยกรรม
แก้สถาปัตยกรรมของเชเลียบินสค์ ได้รับการหล่อหลอมผ่านประวัติศาสตร์ของเมือง โดยการเปลี่ยนแปลงของยุคประวัติศาสตร์ในการพัฒนาของรัสเซียก่อนการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2460 เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการค้าขาย มีอาคารร้านค้าจำนวนมากในรูปแบบสถาปัตยกรรมตามคตินิยมสรรผสานและแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ซึ่งมีองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมรัสเซียยุคฟื้นฟู โดยบางส่วนได้รับการเก็บรักษาไว้บริเวณถนนคีรอฟกา ซึ่งเป็นถนนที่สงวนไว้สำหรับคนเดินเท้า
การพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มในปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 การก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่นั้นมาพร้อมกับการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย และอาคารสาธารณะแห่งใหม่ในรูปแบบสถาปัตยกรรมตามแนวศิลปะเค้าโครง (อังกฤษ: Constructivist architecture) บริเวณของสถาปัตยกรรมในแนวทางนี้ทั้งหมดสามารถพบเห็นได้ในพื้นที่ของโรงงานแทรกเตอร์เชเลียบินสค์ (รัสเซีย: Челябинский тракторный завод; ЧТЗ)[30]
ในช่วงปลายยุคคริสต์ทศวรรษ 1930 ยุคใหม่เริ่มขึ้นในเมืองโดยการเริ่มต้นการก่อสร้างอาคารอนุสาวรีย์ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคสังคมนิยมของสตาลิน บริเวณใจกลางเมืองและถนนสายกลางถูกสร้างขึ้นในรูปแบบนี้อย่างมีนัยสำคัญ[31]
อีก 60 ปีต่อมามีการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยทรงสูงอย่างหนาแน่น เนื่องจากประชากรของเมืองเพิ่มขึ้นเป็นประมาณหนึ่งล้านคน มีการบันทึกบนแผนที่ถึงบริเวณที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่เรียกว่า "เซเวโร-ซาปาด" (รัสเซีย: Северо-запад; เหนือ-ตะวันตก)
ด้วยการปฏิรูปตลาดในยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 ทำให้เมืองเริ่มก่อสร้างอาคารสำนักงานเพื่อธุรกิจและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ในแบบสถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่และรูปแบบสถาปัตยกรรมไฮเทค
สวนสาธารณะ
แก้เชเลียบินสค์มีสวนสาธารณะสิบเจ็ดแห่ง แห่งที่ใหญ่ที่สุดคือหนึ่งในสวนสาธารณะที่ดีที่สุดในรัสเซีย - ซุนตรานีปาร์ค (รัสเซีย: Центральный парк; Central Park) หรือปาร์คกาการินา (รัสเซีย: Парк Гагарина) ซึ่งตั้งชื่อตามยูริ กาการิน นักบินอวกาศคนแรกของโลกที่เดินทางกลับถึงพื้นโลกอย่างปลอดภัย[32] พื้นที่ของสวนเป็นการอนุรักษ์ป่าในเมืองซึ่งประกอบด้วยหมู่ต้นสนและหินแกรนิต มีทิวทัศน์ที่งดงามของเหมืองหินเก่าหลายแห่งซึ่งจมอยู่ใต้น้ำ
การศึกษา
แก้มีมหาวิทยาลัยมากกว่าสิบแห่งในเชเลียบินสค์ เช่น ที่เก่าแก่ที่สุดคือมหาวิทยาลัยการเกษตรของรัฐภูมิภาคยูรัลใต้ (รัสเซีย: ЮУрГАУ) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2473, สถาบันศิลปะของรัฐภูมิภาคยูรัลใต้ในนามปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี (รัสเซีย: ЮУрГИИ) เป็นต้น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เชเลียบินสค์กลายเป็นศูนย์กลางหลักในการศึกษาสายอาชีพของภูมิภาคยูรัลทั้งหมด[33]
เศรษฐกิจ
แก้เชเลียบินสค์เป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญของรัสเซีย อุตสาหกรรมหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลหะวิทยาและเครื่องจักรกลทหาร ที่มีชื่อเสียงเช่นโรงงานผลิตเหล็กกล้าของบริษัท "Mechel", โรงงานประกอบรถแทรกเตอร์เชเลียบินสค์, โรงงานสังกะสีเชเลียบินสค์ ซึ่งผลิต 60% ของผลผลิตสังกะสีของรัสเซียและ 2% ของโลก, บริษัทเชเลียบินสค์เครื่องจักรสำหรับงานก่อสร้างถนนผู้ผลิตรถบรรทุกกระบะยกเท (อังกฤษ: Dump truck) "Terex"[34]
เมืองยังเป็นที่ตั้งของบริษัทอุตสาหกรรมเกษตร "Makfa" ผู้ผลิตพาสตารายใหญ่ที่สุดของรัสเซียและเป็นหนึ่งในห้าของผู้ผลิตพาสตารายใหญ่ที่สุดของโลก, บริษัทผลิตรองเท้า "Unichel" เป็นผู้ผลิตรองเท้ารายใหญ่ที่สุดในรัสเซีย
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเชเลียบินสค์ มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่, กิจกรรมการธนาคารและการประกันภัย, ศูนย์โลจิสติกส์, การท่องเที่ยว และมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หลายแห่งเปิดดำเนินกิจการ
การคมนาคม
แก้ระบบขนส่งสาธารณะของเชเลียบินสค์ มีระบบเครือข่ายรถประจำทาง, ระบบรถรางไฟฟ้า และทรอลลีบัส รวมถึงบริการรถโดยสารส่วนตัวร่วม (รัสเซีย: маршрутка; Marshrutka) และมีบริษัท รถแท็กซี่หลายแห่ง
เชเลียบินสค์เริ่มก่อสร้างเครือข่ายรถไฟใต้ดิน (รัสเซีย: Челябинский метрополитен; อังกฤษ: Chelyabinsk Metro) สามเส้นทางในปี พ.ศ. 2535[35] (กำหนดเปิดดำเนินการ พ.ศ. 2568)[36]
ท่าอากาศยานเชเลียบินสค์เป็นสนามบินที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างไป 18 กม. ทางทิศเหนือของเมือง
วัฒนธรรม
แก้มีพิพิธภัณฑ์เก้าแห่งในเชเลียบินสค์ พิพิธภัณฑ์ภูมิภาคเชเลียบินสค์[37] ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2456 มีสิ่งจัดแสดงประมาณ 300,000 ชิ้น มีการแสดงโบราณวัตถุของวัฒนธรรมอาร์คาอิม "ดินแดนแห่งเมือง" อายุระหว่าง 3 ถึง 2 พันปีก่อนคริสต์ศักราช, มีการจัดแสดงชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของอุกาบาตเชเลียบินสค์ ซึ่งมีน้ำหนัก 570 กก., นิทรรศการอาวุธที่ได้รับการตกแต่งที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ซึ่งสร้างจากโรงงานในเมืองซลาเตาสต์, นิทรรศการศิลปะเหล็กหล่อจากเมืองคาสลี (รัสเซีย: Касли́)[38] เป็นต้น
เมืองพี่น้องและเมืองแฝด
แก้เชเลียบินสค์ มีความร่วมมือเป็นเมืองพี่น้องและเมืองแฝดกับ[39][40]
- ฮาร์บิน, จีน (พ.ศ. 2555)
- นอตทิงแฮมเชอร์, สหราชอาณาจักร (พ.ศ. 2543)
- รามลา, อิสราเอล (พ.ศ. 2543)
- อุรุมชี, จีน (พ.ศ. 2547)
- โคลัมเบีย, เซาท์แคโรไลนา, สหรัฐอเมริกา[41] (พ.ศ. 2538)
- ซานโตโดมิงโก, โดมินิกัน (พ.ศ. 2562)
และเป็นเมืองพันธมิตรรัสเซียกับ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Постановление Законодательного Собрания Челябинской области №161 от 25 мая 2006 г. "Об утверждении перечня муниципальных образований (административно-территориальных единиц) Челябинской области и населённых пунктов, входящих в их состав (Resolution #161 of the Legislative Assembly of Chelyabinsk Oblast of May 25, 2006 On Adoption of the List of the Municipal Formations (Administrative-Territorial Units) of Chelyabinsk Oblast and of the Inhabited Localities in Their Composition)
- ↑ 2.0 2.1 "Chelyabinsk - Russia". สืบค้นเมื่อ September 21, 2017.
- ↑ "Челябинская городская Дума" [Chelyabinsk City Council]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-01-11.
- ↑ "Гордума Челябинска выбрала нового мэра" (ภาษารัสเซีย). РБК. 2019-11-19. สืบค้นเมื่อ 2019-11-24.
- ↑ "Глава города Челябинска" [The head of the city of Chelyabinsk]. Администрация Города Челябинска. 2018-11-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
- ↑ Russian Federal State Statistics Service (2011). "Всероссийская перепись населения 2010 года. Том 1" [2010 All-Russian Population Census, vol. 1]. Всероссийская перепись населения 2010 года (2010 All-Russia Population Census) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
- ↑ "26. Численность постоянного населения Российской Федерации по муниципальным образованиям на 1 января 2018 года". สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2019.
- ↑ "Information about central postal office" (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03.
- ↑ Ministry of Telecom and Mass Communications of the Russian Federation. "Russian Federation (country code +7) Communication of 26.X.2016" (PDF). ITU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-13. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
- ↑ "Investing in Chelyabinsk city". Invest in Russia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ February 14, 2013.
- ↑ "Murzina" (PDF).
- ↑ "Invest in Ural". Invest in Ural. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ February 14, 2013.
- ↑ "Ancient Aryan civilization achieved incredible technological progress 40 centuries ago". Pravda.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Basu, Dipak (2017). India as an Organization: Volume One. London: Palgrave Macmillan. p. 23. ISBN 978-3-319-53372-8.
- ↑ Anthony, D. W. (2007). The Horse, the Wheel, and Language. Princeton, NJ: Princeton University Press. pp. 408–411. ISBN 978-0-691-05887-0.
- ↑ "Челябинск: Ворота в Сибирь и Зауральский Чикаго". Портал Челябинская область. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-18. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
- ↑ 17.0 17.1 Atkinson, Nancy (15 February 2013). "Airburst Explained: NASA Addresses the Russian Meteor Explosion". Universe Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2013.
- ↑ 18.0 18.1 Popova, Olga P.; Jenniskens, Peter; และคณะ (2013). "Chelyabinsk Airburst, Damage Assessment, Meteorite Recovery, and Characterization". Science. 342 (6162): 1069–1073. Bibcode:2013Sci...342.1069P. doi:10.1126/science.1242642. hdl:10995/27561. PMID 24200813. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2014.
- ↑ "Meteorite hits Russian Urals: Fireball explosion wreaks havoc, up to 1,200 injured (PHOTOS, VIDEO)". RT. February 15, 2013.
- ↑ Plait, Phil (February 15, 2013). "Breaking: Huge Meteor Blazes Across Sky Over Russia; Sonic Boom Shatters Windows [UPDATED]". Slate. สืบค้นเมื่อ February 15, 2013.
- ↑ "Meteor strikes Earth in Russia's Urals". Pravda. สืบค้นเมื่อ February 15, 2013.
- ↑ "400 Injured by Meteorite Falls in Russian Urals". Associated Press. สืบค้นเมื่อ February 15, 2013.
- ↑ Schiermeier, Quirin (6 November 2013). "Risk of massive asteroid strike underestimated". Nature News. Nature Publishing Group. doi:10.1038/nature.2013.14114. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2013.
- ↑ Законодательное Собрание Челябинской области. Закон №706-ЗО от 10 июня 2014 г. «О статусе и границах Челябинского городского округа и внутригородских районов в его составе». Вступил в силу со дня официального опубликования. Опубликован: "Южноуральская панорама", №87 (спецвыпуск №24), 14 июня 2014 г. (Legislative Assembly of Chelyabinsk Oblast. Law #706-ZO of June 10, 2014 On the Status and Borders of Chelyabinsky Urban Okrug and the City Districts It Comprises. Effective as of the day of the official publication.).
- ↑ "История Челябинска - от крепости до железнодорожной станции" (ภาษารัสเซีย). Портал Челябинская область. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-31. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
- ↑ "Холмы Челябинска". Электронное периодическое издание Mediazavod.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2014. สืบค้นเมื่อ July 9, 2014.
- ↑ 27.0 27.1 "Chelyabinsk, Russia Köppen Climate Classification (Weatherbase)". Weatherbase. สืบค้นเมื่อ 2018-11-13.
- ↑ "Weather and Climate (Погода и Климат – Климат Челябинска)" (ภาษารัสเซีย). Pogoda.ru.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-22. สืบค้นเมื่อ December 13, 2012.
- ↑ "World Weather Information Service – Cheljabinsk". World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-17. สืบค้นเมื่อ December 13, 2012.
- ↑ "Конструктивизм в архитектуре Челябинска" (ภาษารัสเซีย).
- ↑ "Сталинский ампир".
- ↑ "Парк Гагарина в Челябинске попал в топ-5 лучших в России".
- ↑ "На Урале".
- ↑ "В Челябинске начали производство 100-тонных самосвалов".
- ↑ "О компании" (ภาษารัสเซีย). Челябметрострой. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-07.
- ↑ СМИ: метро в Челябинске достроят за 80 млрд рублей
- ↑ "About the museum". The State Museum of the South Ural History.
- ↑ Inna Peshkova (January 1982). "KASLI - Synonymous with iron casting". Soviet Life. No. 304. Embassy of the Union of the Soviet Socialist Republics in the USA. pp. 60–63.
- ↑ "Города-побратимы". Администрация Челябинска. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-22. สืบค้นเมื่อ 2020-01-13.
- ↑ "Нихао – Здравствуйте! Челябинск и Харбин стали городами-побратимами". Ура.ру. 18 July 2012.
- ↑ "Sister cities". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2013. สืบค้นเมื่อ July 5, 2013.
- ↑ Cities with over 1 million population Rosstat
- ↑ Cities with population between 500,000 and 1 million Rosstat
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Chelyabinsk city portal (ในภาษารัสเซีย)
- Челябинск – столица Южного Урала – ข้อมูลเกี่ยวกับเชเลียบินสค์
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Chelyabinsk". สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.