เจ้าหญิงเม็ตเตอ-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์

เจ้าหญิงเม็ตเตอ-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์[1] (ประสูติ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2516, พระนามเดิม เม็ตเตอ มาริต เช็สเซิม เฮออิบิ) พระวรชายาในเจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ กับสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์

เจ้าหญิงเม็ตเตอ-มาริต
มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์
ประสูติ19 สิงหาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
คริสเตียนซันน์ ประเทศนอร์เวย์
พระสวามีเจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์
พระบุตร
ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค
พระบิดาสเว็น อูลัฟ เฮออิบี
พระมารดามาริต เช็สเซิม
ศาสนาคริสตจักรแห่งนอร์เวย์

พระประวัติ แก้

เจ้าหญิงเม็ตเตอ มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ณ เมืองคริสเตียนซันน์ ประเทศนอร์เวย์ มีพระนามเดิมว่า เม็ตเตอ มาริต เช็สเซิม เฮออิบิ เป็นธิดาของนายสเว็น อูลัฟ เฮออิบี กับนางมาริต เช็สเซิม ต่อมาบิดาและมารดาของพระองค์ได้หย่าขาดจากกัน บิดาของพระองค์ได้สมรสใหม่กับนางเรนาเทอ บาร์ชการ์ด มีพระขนิษฐาและพระเชษฐาสองคน พระองค์เติบโตที่เมืองคริสเตียนซันน์ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ หนึ่งในพระเชษฐาต่างบิดาของพระองค์คือ ทรอนด์ เบินต์เซิน ได้เสียชีวิตลงในเหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554[2][3]

พระองค์เข้าศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนโอแดร์เนิส และเข้าศึกษาในโรงเรียนวังการัตตา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ในฐานะนักเรียนแลกเปลี่ยน ต่อมาพระองค์ได้ศึกษาต่อในโรงเรียนคริสติอันซันด์และสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2537 ต่อมาได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเอกชนบยอร์นเนิส และสอบเบื้องต้นในมหาวิทยาลัยอักแดร์ ประเทศนอร์เวย์[4]

ชีวิตส่วนพระองค์ แก้

 
มกุฎราชกุมาร พระสวามี และเจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดรา พระราชธิดา

เม็ตเตอ มาริต ชีส์เซม เฮออิบี ได้รู้จักกับมกุฎราชกุมารโฮกุนครั้งแรกผ่านทางเพื่อนของทั้งสองฝ่ายใน พ.ศ. 2542[5] ในขณะนั้นเธอเป็นบริกรหญิงที่มีลูกติด คือ มาริอุส บอร์ก เฮออิบี อายุ 4 ขวบ จากความสัมพันธ์กับชายคนหนึ่งที่ต้องโทษในคดียาเสพติด[6][7] และมีข่าวลือว่าเม็ตเตอ มาริต "ที่ผ่านมาเธอเป็นที่รู้จักในนามของนักเต้นออสโลและมีเรื่องราวเกี่ยวกับยาเสพติด" เธอได้เข้ารับการรักษาเพื่อบำบัดสารเสพติดและมีประวัติว่าเป็นนักเที่ยวหนัก[6][8]

อย่างไรก็ตามทั้งสองได้มีพิธีหมั้นขึ้น ท่ามกลางความรู้สึกของชาวนอร์เวย์ที่คิดว่ามกุฎราชกุมารทรงเลือกพระคู่หมั้นไม่เหมาะสม[9] เนื่องจากว่าพระคู่หมั้นนั้นผ่านการมีบุตรมาแล้ว รวมไปถึงปัญหายาเสพติด นอกจากนี้บิดาของบุตรที่เธอเลี้ยงนั้นได้รับโทษในเรือนจำเนื่องจากปัญหายาเสพติด[9] โดยในงานแถลงข่าวเปิดใจของว่าที่มกุฎราชกุมารี เธอได้กล่าวว่า อดีตที่ผ่านมาในช่วงวัยรุ่นของเธอมันทำให้เธอเข้มแข็งมากกว่าวัยรุ่นทั่วไป[9]

ทั้งสองได้อภิเษกสมรสกันเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2544 โดยจัดขึ้นในกรุงออสโล[7] พิธีล่าช้าไปหนึ่งชั่วโมงเนื่องจากเจ้าสาวร่ำไห้ตลอดทั้งพิธี[7] โดยเม็ตเตอ มาริตสวมชุดคลุมผ้าไหมสีขาวยาว 20 ฟุต ส่วนมกุฎราชกุมารฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงทหาร สายสะพายและเหรียญ[6] โดยมกุฎราชกุมารเฟรเดอริกแห่งเดนมาร์ก เป็นเพื่อนเจ้าบ่าว[5] เบตินา และเอมิลี สวันสตรอม, คามิลลา และแอนนิเคน เบอร์เนย และตูวา เฮออิบี เป็นเพื่อนเจ้าสาว[10] นางสาวเม็ตเตอ มาริต ได้รับการสถาปนาเป็น มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์[6] ทั้งมกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารี พร้อมด้วยเด็กชายมาริอุส โอรสนอกสมรสในมกุฎราชกุมารี ได้ปรากฏตัวบริเวณระเบียงของพระราชวังท่ามกลางการยิงสลุต และวงดนตรีเล่นเฉลิมฉลอง[11] ทั้งสองมีพระราชโอรส-ธิดา ด้วยกัน 2 พระองค์ ได้แก่

  1. เจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดรา ประสูติเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2547
  2. เจ้าชายสแวร์เรอ มักนุส ประสูติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2548

และเมื่อภายหลังการอภิเษกสมรสเข้ามาในพระราชวงศ์นั้น พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านยาเสพติด พระองค์ทรงถูกกดดันเป็นอย่างมาก เนื่องจากพระองค์ทรงมีภูมิหลังมิดีนัก ด้วยเคยทรงมีพระโอรสมาแล้วก่อนอภิเษกกับ เจ้าฟ้ามกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ แต่แล้วพระองค์ก็ทรงทำให้ประชาชนทั่วประเทศเห็นอกเห็นใจ และผู้เป็นแรงกำลังสำคัญในการที่ทำให้เจ้าฟ้ามกุฎราชกุมารและนางสาวเม็ตเตอ-มาริต คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ และ สมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ สมเด็จพระบรมราชชนกนาถ และ สมเด็จพระราชชนนี ของพระสวามี รวมทั้ง เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอแห่งนอร์เวย์ พระเชษฐภคินีเพียงพระองค์เดียวของพระสวามี

พระเกียรติยศ แก้

พระอิสริยยศ แก้

  • นางสาวเม็ตเตอ มาริต เช็สเซิม เฮออิบิ (19 สิงหาคม พ.ศ. 2516 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2544)
  • เจ้าหญิงเม็ตเตอ มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์ (25 สิงหาคม พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เจ้าหญิงเม็ตเตอ มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์[ลิงก์เสีย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  2. Dailymail.com - Norway's royal family touched by tragedy: Crown Princess's step-brother was killed in island gun massacre
  3. โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เผยพี่ชายเจ้าหญิงนอร์เวย์ตายในเหตุกราดยิง[ลิงก์เสีย]
  4. Biography HRH Crown Princess Mette Marit
  5. 5.0 5.1 "Tears of joy from Crown Prince Haakon as he makes Mette-Marit his future queen". Hellomagazine.com. 25 August 2001. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Gibbs, Walter (26 August 2001). "Uncommon Royal Couple Exchange Vows in Norway". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Norwegian prince ties the knot". BBC News. BBC.com. 25 August 2001. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  8. Porter, Darwin (2009). Frommer's Norway. Hoboken, New Jersey: Wiley Publishing, Inc. p. 144. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  9. 9.0 9.1 9.2 Hello profile of the Crown Princess
  10. "The Royal Wedding". Official website of the Norwegian royal family. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-10. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  11. Williams, Carol J. (26 August 2001). "A Fiord Fairy Tale Comes True for Single Mom, Crown Prince". Los Angeles Times. LATimes.com. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  12. Royal House web page on Crown Princess Mette-Marit's decorations (นอร์เวย์) Retrieved 5 November 2007

แหล่งข้อมูลอื่น แก้