อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค
อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย ฮังการี โครเอเชีย และโบฮีเมีย (เยอรมัน: Otto von Habsburg; พระนามเต็ม: ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ อ็อทโท โรแบร์ท มารีอา อันโทน คาร์ล มัคส์ ไฮน์ริช ซิคส์ทุส ซาเวอร์ เฟลิคส์ เรนาทุส ลูทวิช กาเอทาน พีอุส อิกนาทซีอุส ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน, Franz Joseph Otto Robert Maria Anton Karl Max Heinrich Sixtus Xaver Felix Renatus Ludwig Gaetan Pius Ignatius von Habsburg-Lorraine; 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) ทรงเป็นอดีตประมุขแห่งราชวงศ์ของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี หรือออสเตรีย ฮังการี เช็กเกีย โครเอเชีย สโลวีเนีย สโลวาเกีย และบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย (สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 4 แห่งฮังการี) และ จักรพรรดินีซีต้าแห่งออสเตรีย พระองค์ทรงเป็นอดีตสมาชิกของสภายุโรป สมาคมคริสเตียนแห่งบาวาเรีย และทรงเคยเป็นประธานสหภาพแพนยุโรปนานาชาติ (International Paneuropean Union) อีกด้วย
พระราชประวัติแก้ไข
ขณะทรงพระเยาว์แก้ไข
อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์คเป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 และจักรพรรดินีซิตาแห่งออสเตรีย (พระนามเดิม: เจ้าหญิงซิต้าแห่งบูร์บง-ปาร์มา) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ณ วิลล่า วอร์ทอลล์ซ ใน ไรเชเนาว์ แอนด์ เดอ แรกซ์ ประเทศออสเตรีย พระองค์ทรงเข้าพิธีจุ่มศีล มื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 โดยพระคาร์ดินัลฟรันทซ์ เซเวอร์ นากัล อาร์ชบิชอปแห่งเวียนนา บิดาทูนหัวคือ พระอัยกาของพระองค์ จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย (แทนพระองค์ อาร์ชดยุกฟรันทซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย-เอสต์) ส่วนมารดาทูนหัวคือ พระอัยกีของพระองค์ เจ้าหญิงมาเรีย แอนโตเนียแห่งโปรตุเกส
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 สมเด็จพระอัยกาของพระองค์สวรรคต ทำให้พระราชบิดาของพระองค์ทรงเถลิงวัลย์ราชสมบัติ เป็นจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 ทำให้พระองค์ทรงเป็นมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี แต่เมื่อปี พ.ศ. 2461 ซึ่งเป็นจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 1 ราชวงศ์ถูกล้มล้าง ทำให้เกิดสาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐฮังการีขึ้น ทำให้ราชวงศ์จำต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างแดน แต่เมื่อประเทศฮังการีได้สถาปนาเป็นราชอาณาจักรอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่มีราชวงศ์มาเป็นองค์พระประมุข ทำให้มิกโลช โฮร์ตี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนจนถึงปี พ.ศ. 2487 ทำให้ฮังการีเป็นราชอาณาจักรโดยปราศจากพระมหากษัตริย์
ช่วงเวลาการลี้ภัยแก้ไข
ราชวงศ์ได้ใช้เวลาของการลี้ภัยที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเกาะมาไดร่าของประเทศโปรตุเกสซึ่งเกาะนี้เป็นสถานที่ที่จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 พระบิดาเสด็จสรรคตกระทันหันเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2465 ทำให้พระองค์ทรงต้องสืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุแค่ 10 พรรษาเท่านั้น ในขณะนั้นทางรัฐบาลออสเตรียได้ประกาศขับไล่ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คและทำการยึดทรัพย์สินของราชวงศ์มาเป็นสมบัติของชาติ โดยเรียกเหตุการณ์นั้นว่า ฮับส์บูร์เกอร์เกเซตซ์ (Habsburgergesetz) เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2462
พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคาทอลิกลอยเวน ประเทศเบลเยี่ยม โดยพระองค์ทรงศึกษาภาควิชาสังคมศาสตร์ และ รัฐศาสตร์
ช่วงเวลาการต่อต้านนาซีแก้ไข
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค ทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา หลังจากทรงลี้ภัยจากประเทศเบลเยี่ยมและประเทศฝรั่งเศสกับพระราชมารดา และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ โดยที่พระญาติของพระองค์ เจ้าชายแมกซ์ ดยุกแห่งโฮเฮนเบอร์ก และเจ้าชายเออเนสต์แห่งโฮเฮนเบอร์กทรงถูกจับกุมในกรุงเวียนนา โดยคณะรัฐประหารและถูกนำไปที่ศูนย์บัญชาการจนถึงสงครามสิ้นสุดลง ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆก็เสด็จลี้ภัย หวังจะพึ่งพาประเทศพันธมิตรเช่น เบลเยี่ยม และฝรั่งเศส แต่เมื่อฝรั่งเศสถูกคุกคาม ราชวงศ์ก็เป็นอันต้องลี้ภัยไปยังประเทศโปรตุเกส โดยมีอริสติเดส เด ซลซา เมนเดส หนึ่งในคณะทูตของโปรตุเกสประจำเมืองบอร์ดูกซ์ ให้การช่วยเหลือ ในความเป็นผู้รักชาติอย่างแรงกล้าของพระองค์ พระองค์ทรงต่อต้านและขับไล่ทหารนาซีอย่างรุนแรงเมือ่ปีพ.ศ. 2481 หลังจากสงคราม พระองค์ทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ประเทศฝรั่งเศสและประเทศสเปน
แนวโน้มการหวนคืนครองบัลลังก์แก้ไข
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีบุคคลบางกลุ่มได้จัดให้มีการชุมนุมเรียกร้องการฟื้นฟูสถาปนา พระราชวงศ์ออสเตรีย-ฮังการี ขึ้น ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อเวลา 9 นาฬิกา ต่อมาเวลา 18 นาฬิกาที่กรุงเวียนนา ก็มีการชุมนุมเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูสถาปนาพระราชวงศ์ให้กลับมาครองบัลลังก์ และยังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในออสเตรีย และฮังการีอีกด้วย การชุมนุมนี้มีขึ้น ณ ใจกลางกรุงเวียนนา โดยมีหัวข้อชุมนุมเรียกร้องเป็นภาษาเยอรมันว่า 89 Jahre Republik Sind Genug! แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า 89 Years are enough for the Republic: 89 ปี...มากพอแล้วสำหรับการเป็นสาธารณรัฐ การชุมนุมของบุคคลบางกลุ่มในทั้ง 2 ประเทศนี้ ทำให้มีการประชุมอย่างเร่งด่วนในรัฐสภาทั้งในออสเตรียและฮังการี และประธานาธิบดีของทั้ง 2 ประเทศต่างได้หารือกันอีกด้วย อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏว่าการชุมนุมดังกล่าวส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมที่เป็นรูปธรรมใดๆ ทั้งสิ้น หลังจากเวลาผ่านไปกว่า 3 ปีเศษภายหลังการชุมนุมดังกล่าว ทั้งสาธารณรัฐออสเตรียและฮังการีต่างยังคงยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและสาธารณรัฐไว้ได้อย่างมั่นคง และไม่มีทีท่าว่าประเทศทั้งสองซึ่งต่างก็เป็นรัฐอธิปไตยโดยสมบูรณ์แล้ว จะหวนกลับมารวมกันเป็นประเทศเดียวกันอีกได้แต่ประการใด แม้จนกระทั่งเมื่ออ็อทโท ฟ็อน ฮับสบูร์ก เสด็จสวรรคตไปแล้วในปี พ.ศ. 2554 ก็ยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่า ทั้งออสเตรียและฮังการีจะสามารถหวนกลับไปสู่การปกครองระบอบราชาธิปไตยได้อีกเลย
การอภิเษกสมรสแก้ไข
อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์คทรงอภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงเรกีนาแห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสและพระธิดารวม 7 พระองค์ และยังมีพระราชนัดดารวมทั้งหมด 23 พระองค์
- อาร์ชดัชเชส อันเดรอา (ประสูติ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2496) ทรงอภิเษกสมรสกับเคานต์คาร์ล ยูเจน แห่งไนปเปร์ก มีพระโอรส 3 พระองค์ พระธิดา 2 พระองค์
- อาร์ชดัชเชส โมนีคา (ประสูติ 13 กันยายน พ.ศ. 2497) ทรงอภิเษกสมรสกับ หลุยส์ เดอ คาซาโนวา คานดานาส์ ยี บารอน, ดยุกแห่งซานตาแองเจโล, มาเควสแห่งเอลเค้, เค้านท์แห่งโลโดซ่า, และแกรนด์ดีแห่งสเปน ซึ่งทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของเจ้าหญิงหลุยส์ซ่า เทเรซาแห่งสเปน มีพระโอรส 4 พระองค์
- อาร์ชดัชเชส มีชาเอลา (ประสูติ 13 กันยายน พ.ศ. 2497) เป็นพระขนิษฐาฝาแฝดกับอาร์ชดัชเชสโมนิก้า ทรงอภิเษกสมรสครั้งแรกกับ เอริค เตรัน เดอ แอนติน มีพระโอรส 2 พระองค์ และพระธิดา 1 พระองค์ ภายหลังทรงหย่าและสมรสใหม่กับเค้านท์ฮัมเบอร์สแห่งคาเกเน็ค
- อาร์ชดัชเชส กาบรีลา (ประสูติ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499) ทรงอภิเษกสมรสกับคริสเตียน เมสเตอร์ ภายหลังทรงหย่าเมื่อพ.ศ. 2540 มีพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 2 พระองค์
- อาร์ชดัชเชส วัลบูร์กา (ประสูติ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2500) ทรงอภิเษกสมรสกับเคานต์อาร์ชิบาล์ด ดักลาส มีพระโอรส 1 พระองค์
- อาร์ชดยุกคาร์ลแห่งออสเตรีย (ประสูติ 11 มกราคม พ.ศ. 2504) ทรงอภิเษกสมรสกับ บารอเนส ฟรานเชสกา ทิสเซน-บอร์เนอมิสซา มีพระธิดา 2 พระองค์ และพระโอรส 1 พระองค์
- อาร์ชดยุก จอร์จ (ประสูติ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2507) ทรงอภิเษกสมรสกับ ดัชเชสอีไลก้า เฮเลน จูทต้า เซเลเมนตีน แห่งโอลเดนเบอร์ก มีพระธิดา 2 พระองค์ และ พระโอรส 1 พระองค์
สวรรคตแก้ไข
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงเรกีนาแห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน พระวรชายาในปี พ.ศ. 2553 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็ทรงหยุดการปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะ ซึ่งพระองค์เสด็จสวรรคตด้วยพระชนมายุ 98 พรรษา ในวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ณ บ้านพักส่วนพระองค์ในพ็อกกิง, เยอรมนี ทั้งนี้โฆษกส่วนพระองค์ยังกล่าวด้วยว่าพระองค์สวรรคต "อย่างสงบและไร้ซึ่งความเจ็บปวดขณะบรรทม" โดยพระองค์มีพระชนมายุยืนยาวกว่าพระอนุชาเฟลิกซ์, พระโอรสธิดาอีก 7 พระองค์, พระนัดดาอีก 22 พระองค์ และพระปนัดดาอีก 2 พระองค์[1]
ท่ามกลางคำไว้อาลัยจากทั่วทั้งยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย, ไฮน์ซ ฟิสเชอร์ ได้ขนานนามพระองค์ว่าเป็น "ประชาชนผู้ภักดีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย" ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วพระราชวงศ์ฮาพส์บวร์คทุกพระองค์ถูกห้ามเข้าประเทศ จนกระทั่งพระองค์ทรงแถลงสละตำแหน่งผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ออสเตรีย-ฮังการี พระราชวงศ์ทุกพระองค์จึงสามารถเสด็จเข้าออกประเทศอีกครั้ง ทั้งนี้นายฟิสเชอร์ยังได้กล่าวอีกด้วยว่าความสัมพันธ์ของพระองค์กับรัฐบาลสาธารณรัฐนิยม "ได้ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นในช่วงทศวรรษหลังที่ผ่านมา"[1]
ราชตระกูลแก้ไข
อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค | พระชนก: จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: อาร์ชดยุกอ็อทโท ฟรันทซ์แห่งออสเตรีย |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: อาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิกแห่งออสเตรีย |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: เจ้าหญิงมาเรีย แอนนันซิเอต้าแห่งทู ซิชิลีส์ | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: เจ้าหญิงมาเรีย โยเซฟ่าแห่งซัคเซิน |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์ชแห่งซัคเซิน | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: เจ้าหญิงมาเรีย แอนนาแห่งโปรตุเกส | |||
พระชนนี: จักรพรรดินีซีต้าแห่งออสเตรีย |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: ดยุกโรแบร์ทที่ 1 แห่งปาร์มา |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ดยุกชาร์ลส์ที่ 3 แห่งปาร์มา | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าหญิงหลุยส์ มารี เทเรสแห่งฝรั่งเศส | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าหญิงมาเรีย แอนโตเนียแห่งโปรตุเกส |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: สมเด็จพระราชาธิบดีมิเกลที่ 1 แห่งโปรตุเกส | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าหญิงอาเดลเลดแห่งโลเวนสไตน์-เวอร์เธ็ม-โรเซนเบิร์ก |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 Staff writers (4 July 2011). "Death of former 'kaiser in exile' and last heir to Austro-Hungarian throne". The Irish Times. สืบค้นเมื่อ 2011-07-05.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค |
- Erzherzog Dr. Otto von Habsburg (Autorisierte Ehrenseite)
- An essay on Republicanism vs Monarchism by Otto เก็บถาวร 2001-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Video interview of Otto von Habsbourg (French) European NAvigator
- Habsburg Biographies
- Habsburg Resource Centre on SurnameWeb
- http://www.ac.wwu.edu/~stephan/Rulers/hapsburg3.html เก็บถาวร 2003-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Genealogical tree of the house of Habsburg (up until Maria Theresia)
- An Online Gotha - House of Habsburg-Lothringen (Maria Theresia's decendants} เก็บถาวร 2008-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Hapsburg Monarchy (Wickham Steed, 1913) เก็บถาวร 2006-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) eLibrary Austria Project full text (ebook)
- Genealogy of the Habsburgs from Genealogy.eu
- Hier finden Sie den Link zur Internet-Videoplattform "Youtube", auf welcher der Beitrag der Nachrichtensendung "Zeit im Bild" des österreichischen Republiksfernsehens abrufbar ist
- Auch in der "großen weiten Welt" finden sich Nachrichten über unser Projekt - sogar auf US-amerikanischen und indischen (!) Seiten[ลิงก์เสีย]
- Nicht sonderlich seriös für ein angebliches Qualitätsblatt - im Vorfeld schreibt die deutsche "Die Welt" vom "mächtigen Häufchen" und spielt damit die Zahl der Monarchisten in Österreich künstlich herunter
- Habsburg: Restoration?
- http://in.news.yahoo.com/071112/43/6n4wh.html
ก่อนหน้า | อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 | จักรพรรดิแห่งออสเตรีย – ตำแหน่งในนาม – (1 เมษายน ค.ศ. 1922 - 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2011) |
คาร์ล ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ | ||
จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 | กษัตริย์แห่งฮังการีและโบฮีเมีย – ตำแหน่งในนาม – (1 เมษายน ค.ศ. 1922 - 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2011) |
คาร์ล ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ |