สมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์

สมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์ หรือที่เรียกว่า สมัยโบราณแห่งอียิปต์ หรือ สมัยไธนิส (มาจากเมืองไธนิส, บ้านเกิดของผู้ปกครอง)[1] เป็นยุคของอียิปต์โบราณที่เกิดขึ้นหลังจากการรวมอียิปต์บนและอียิปต์ล่างในราว 3150 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งจะเอารวมราชวงศ์ที่หนึ่งและราชวงศ์ที่สอง ซึ่งกินเวลาตั้งแต่การสิ้นสุดของวัฒนธรรมทางโบราณคดีนะกอดะฮ์ที่ 3 จนถึง ราว 2686 ปีก่อนคริสตกาล หรือช่วงเวลาเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรเก่า[2] เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์ที่หนึ่ง เมืองหลวงของอียิปต์ได้ย้ายจากเมืองไธนิสไปยังเมืองเมมฟิส โดยมีอาณาจักรอันเป็นปึกแผ่นที่ปกครองโดยสมมติเทวราชแห่งอียิปต์ เมืองอไบดอสในทางตอนใต้ยังคงเป็นศูนย์กลางหลักของศาสนาอียิปต์โบราณ จุดเด่นของอารยธรรมอียิปต์โบราณ เช่น ศิลปะอียิปต์ สถาปัตยกรรมอียิปต์ และแง่มุมต่างๆ ของศาสนาอียิปต์โบราณ ได้ก่อตัวขึ้นในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์

สมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์

ป. 3150 ปีก่อนคริสตกาลป. 2686 ปีก่อนคริสตกาล
เมืองหลวงไทนิส, หลังจากนั้น เมมฟิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองราชาธิปไตย
ฟาโรห์ 
• ป. 3129 ปีก่อนคริสตกาล
นาร์เมอร์ (พระองค์แรก)
• ป. 2690 ปีก่อนคริสตกาล
คาเซคเอมวี (พระองค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• เริ่มต้น
ป. 3150 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ป. 2686 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
อียิปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์

ก่อนหน้าการรวมอาณาจักรอียิปต์ ดินแดนแถบนี้เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านอิสระ ในช่วงราชวงศ์แรกๆ และประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของอียิปต์หลังจากนั้น ดินแดนนี้จึงเป็นที่รู้จักในนาม "สองดินแดน" (หมายถึงอียิปต์บนและล่าง) ฟาโรห์ทรงจัดตั้งการบริหารประเทศและแต่งตั้งข้าหลวง และโครงสร้างอาคารของการปกครองกลาง ซึ่งมักจะเป็นวิหารกลางแจ้งที่สร้างด้วยไม้หรือหินทราย อักษรอียิปต์โบราณที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏขึ้นก่อนหน้าช่วงเวลานี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยทราบถึงภาษาพูดที่ใช้

การพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม แก้

N16
N16
tȝwy 'สองดินแดน'
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

ประมาณ 3,600 ปีก่อนคริสตกาล สังคมอียิปต์สมัยยุคหินใหม่ตามสายแม่น้ำไนล์นั้นมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมในการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์[3] ไม่นานหลังจาก 3,600 ปีก่อนคริสตกาล สังคมอียิปต์เริ่มเติบโตและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วไปสู่ความเป็นอารยธรรม[4] เครื่องปั้นดินเผารูปแบบใหม่และโดดเด่นซึ่งเกี่ยวข้องกับเครื่องปั้นดินเผาในใต้ของเลวานไทน์ก็ปรากฏขึ้น และการใช้ทองแดงอย่างกว้างขวางกลายเป็นเรื่องธรรมดาในช่วงเวลานี้[4] กระบวนการสร้างอิฐตากแห้งของชาวเมโสโปเตเมีย และหลักการสร้างสถาปัตยกรรม รวมถึงการใช้ซุ้มประตูและผนังช่องเพื่อการตกแต่ง ซึ่งกลายเป็นที่นิยม[4]

ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม กระบวนการของการรวมสังคมและเมืองต่างๆ ของแม่น้ำไนล์ตอนบนหรืออียิปต์บนจึงเกิดขึ้น ในเวลาเดียวกัน สังคมในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์หรืออียิปต์ล่างก็ผ่านกระบวนการรวมตัวชุมชนและเมืองแล้วเช่นกัน[4] สงครามระหว่างอียิปต์บนและอียิปต์ล่างจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง[4] ในรัชสมัยของฟาโรห์นาร์เมอร์ในอียิปต์บน พระองค์ทรงเอาชนะศัตรูของพระองค์ที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ และรวมอาณาจักรอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าไว้ด้วยกันภายใต้การปกครองเดียวกัน[5] ฟาโรห์นาร์เมอร์ได้ปรากฏอยู่บนแผ่นศิลาเป็นภาพที่พระองค์สวมมงกุฏคู่ ซึ่งประกอบด้วยดอกบัว ซึ่งเป็นตัวแทนของอียิปต์บนและต้นกก ซึ่งเป็นตัวแทนของอียิปต์ล่าง โดยเป็นสัญลักษณ์แห่งการปกครองที่เป็นเอกภาพของทั้งสองส่วนของอียิปต์ที่ตามมาด้วยผู้ปกครองที่ขึ้นมาครองราชย์ต่อทั้งหมด ในตำนาน การรวมอาณาจักรของอียิปต์ที่พรรณาว่าเทพเจ้านกเหยี่ยวที่มีพระนามว่าฮอรัส ซึ่งเป็นตัวแทนของอียิปต์ล่างอียิปต์ล่าง ได้ทรงพิชิตและปราบเทพเจ้าเซต ซึ่งเป็นตัวแทนของอียิปต์บน[6] ความเป็นกษัตริย์อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะดำรงอยู่ในอียิปต์ต่อไปอีกสามพันปี ได้รับการสถาปนาอย่างมั่นคงเพื่อเป็นพื้นฐานในการปกครองของอียิปต์[7] การรวมตัวกันของสังคมตามแม่น้ำไนล์ยังเชื่อมโยงกับการสิ้นสุดของช่วงเวลาที่มีชื้นในแอฟริกา

พิธีศพสำหรับชาวนาที่ยากจยคงจะเหมือนกับในสมัยก่อนราชวงศ์ แต่ผู้มีอันจะกินนั้นจะต้องการบางอย่างในพิธีมากกว่านี้ ดังนั้น ชาวอียิปต์จึงเริ่มสร้างมาสตาบา ซึ่งกลายเป็นต้นแบบสำหรับสิ่งก่อสร้างในสมัยราชอาณาจักรเก่าในเวลาต่อมา เช่น พีระมิดขั้นบันได การเกษตรธัญพืชและการรวมศูนย์ก็มีส่วนทำให้อาณาจักรเจริญรุ่งเรืองในอีก 800 ปีข้างหน้า

ดูเหมือนว่าอียิปต์กลายเป็นปึกแผ่นในฐานะเจ้าของพื้นที่ทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจอย่างแน่นอนก่อนหน้าที่ฟาโรห์พระองค์แรกจะทรงขึ้นครองบัลลังก์ในเมืองเมมฟิสของอียิปต์ล่างนานพอสมควร การรวมตัวกันทางการเมืองก็ดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป บางทีอาจจะใช้เวลาเพียงไม่กี่ศตวรรษ เนื่องจากในท้องถิ่นเองก็ได้จัดตั้งเครือข่ายการค้าขึ้น และในขณะที่ความสามารถของผู้ปกครองในการจัดตั้งแรงงานภาคพื้นเกษตรในระดับที่ใหญ่ขึ้นก็เพิ่มขึ้น ความเป็นเทวราชาอาจจะได้รับแรงผลักดันทางจิตวิญญาณ เมื่อลัทธิของเทพเจ้าเช่น ฮอรัส, เซต และนิธ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนที่มีชีวิตเริ่มแพร่หลายในดินแดนแห่งนี้[8]

ในช่วงเวลาดังกล่าวเองที่ระบบการเขียนของอียิปต์ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม ในขั้นต้น อักษรอียิปต์โบราณประกอบด้วยสัญลักษณ์ไม่กี่ตัวที่สื่อใจความต่างๆ ในตอนปลายของราชวงศ์ที่สามมีการเพิ่มให้มีสัญลักษณ์มากกว่า 200 แบบ ทั้งแบบตัวเขียนและแบบสัญลักษณ์[7]

ฟาโรห์พระองค์แรกแห่งอียิปต์ แก้

ตามบันทึกของมาเนโธ ฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์บนและอียิปต์ล่างที่รวมอาณาจักรเดียวกันนั้นพระนามว่า เมเนส ซึ่งในปัจจุบันถูกระบุว่าเป็นฟาโรห์นาร์เมอร์ โดยแท้จริงแล้ว ฟาโรห์นาร์เมอร์เป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่หนึ่งที่มีบันทึกไว้ พระองค์ปรากฏครั้งแรกในตราประทับสุสานของฟาโรห์เดนและฟาโรห์กาอา[9][10][11] ซึ่งแสดงให้เห็นว่าฟาโรห์นาร์เมอร์ทรงได้รับการยอมรับจากฟาโรห์ในช่วงราชวงศ์ที่หนึ่งในฐานะผู้สถาปนาที่สำคัญ พระองค์ยังทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกสุดที่มีความเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์แห่งอำนาจเหนือดินแดนทั้งสอง (โดยเฉพาะแผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์ ซึ่งเป็นแผ่นศิลาสลักที่ปรากฏฟาโรห์นาร์เมอร์ทรงสวมมงกุฎของอียิปต์บนและอียิปต์ล่าง) และอาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ทรงสามารถรวมอาณาจักรอียิปต์ได้ ดังนั้น จึงมีความเห็นพ้องต้องกันในปัจจุบัน คือ "ฟาโรห์เมเนส" และ "ฟาโรห์นาร์เมอร์" หมายถึงฟาโรห์พระองค์เดียวกัน[4] ซึ่งมีแนวคิดอีกทางได้ถือว่า ฟาโรห์นาร์เมอร์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของช่วงนะกอดะฮ์ที่ 3[6] และ "ฟาโรห์เมเนส" คือฟาโรห์ฮอร์-อฮา

ชาวอียิปต์ในคานาอันและนิวเบีย แก้

การตั้งถิ่นฐานและการล่าอาณานิคมของอียิปต์ปรากฏขึ้นแล้วตั้งแต่ประมาณ 3,200 ปีก่อนคริสตกาลเป็นต้นไปทั่วพื้นที่ทางตอนใต้ของคานาอัน ซึ่งปรากฏหลักฐานทางโบราณเกือบทุกชนิด เช่น สถาปัตยกรรม (ป้อมปราการ เขื่อนและโครงสร้างอาคาร) เครื่องปั้นดินเผา ภาชนะ เครื่องมือ อาวุธ ตราประทับ ฯลฯ[12][13][14][15] ค้นพบสัญลักษณ์เซเรคจำนวน 20 สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องฟาโรห์นาร์เมอร์ ซึ่งเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกของสมัยราชวงศ์ตอนต้น ได้ถูกพบในคานาอัน[16] นอกจากนี้ยังมีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานและการยึดครองของชาวอียิปต์ในนิวเบียล่าง หลังจากวัฒนธรรมกลุ่มเอในนิวเบียได้ล่มสลายลงไปแล้ว[17][18] ในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์ อาณาจักรอียิปต์คงน่าจะได้ขยายอำนาจไปทางเหนือของกรุงเทลอาวีฟในปัจจุบัน และขยายไปไกลออกไปทางใต้เท่ากับแก่งน้ำตกแห่งที่สองของแม่น้ำไนล์ในนิวเบีย[19]

อ้างอิง แก้

  1. Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt. Blackwell Publishing, 1992, p. 49
  2. Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 479. ISBN 0-19-815034-2.
  3. Carl Roebuck, The World of Ancient Times (Charles Scribner's Sons Publishing: New York, 1966) p. 51.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Carl Roebuck, The World of Ancient Times (Charles Scribner's Sons: New York, 1966) p. 52-53.
  5. Carl Roebuck, The World of Ancient Times (Charles Scribner's Sons Publishers: New York, 1966), p. 53.
  6. 6.0 6.1 Carl Roebuck, The World of Ancient Times, p. 53.
  7. 7.0 7.1 Kinnaer, Jacques. "Early Dynastic Period" (PDF). The Ancient Egypt Site. สืบค้นเมื่อ 4 April 2012.
  8. The Penguin Historical Atlas of Ancient Egypt pg 22-23 (1997) By Bill Manley
  9. Qa'a and Merneith lists http://xoomer.virgilio.it/francescoraf/hesyra/Egyptgallery03.html
  10. The Narmer Catalog http://narmer.org/inscription/1553
  11. The Narmer Catalog http://narmer.org/inscription/4048
  12. Branislav Anđelković, Southern Canaan as an Egyptian Protodynastic Colony
  13. Branislav Anđelković, Hegemony for Beginners: Egyptian Activity in the Southern Levant during the Second Half of the Fourth Millennium B.C.
  14. Naomi Porat (1992). "An Egyptian Colony in Southern Palestine During the Late Predynastic to Early Dynastic". ใน Edwin C. M. van den Brink (บ.ก.). The Nile Delta in Transition: 4th.-3rd. Millennium B.C. : Proceedings of the Seminar Held in Cairo, 21.-24. October 1990, at the Netherlands Institute of Archaeology and Arabic Studies. Van den Brink. pp. 433–440. ISBN 978-965-221-015-9. สืบค้นเมื่อ 24 February 2013.
  15. Ancient Egyptian brewery found in downtown Tel Aviv
  16. Jiménez-Serrano, Alejandro (2007). Los primeros reyes y la unificación de Egipto. Universidad de Jaen. pp. 370, Table 8.
  17. Brian Yare, The Middle Kingdom Egyptian Fortresses in Nubia. 2001
  18. Drower, Margaret 1970: Nubia, A Drowning Land, London, pp. 16-17
  19. Morris, Ellen (2018). Ancient Egyptian Imperialism. John Wiley & Sons. p. 29.

เพิ่มเติม แก้