อีดิลเฆาะดีร (อาหรับ: عید الغدیر) หรือที่ไทยเรียกว่า วันอีดฆอดีรคุม เป็นวันฉลองของชีอะฮ์ที่จัดในวันที่ 18 ซุลฮิจญะฮ์ ในช่วงเวลาที่ศาสดามุฮัมมัดแต่งตั้งให้อะลี อิบน์ อบีฏอลิบ เป็นผู้สืบทอดของท่าน รายงานจากฮะดีษ อีดนี้ถูกตั้งชื่อว่า "อีดุลลอฮุลอักบัร" (เปอร์เซีย:عیدالله الاکبر),[1] "อีด อะฮ์ลุลบัยต์ มุฮัมมัด"[2][3] และอัชร็อฟ อัลอะยาด[4][5]

อีดิลเฆาะดีร
มัสยิดที่โญะฮ์ฟาฮ์ ใกล้กับรอบิฆ, ฮิญาซ, ประเทศซาอุดีอาระเบีย มีรายงานว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในบริเวณนี้
ชื่ออื่นอีดิลเฆาะดีร ; เยามุลมีษาก
จัดขึ้นโดยมุสลิม ส่วนใหญ่เป็นชีอะฮ์
ประเภทอิสลาม
ความสำคัญการแต่งตั้งอะลีเป็นผู้สืบทอดของมุฮัมมัด
การถือปฏิบัติละหมาด, ให้ของขวัญ, กินเลี้ยง, อ่าน ดุอานุดบะฮ์
วันที่18 Dhu al-Hijjah

ต้นกำเนิด แก้

10 ปีหลังการอพยพ (ฮิจเราะฮ์) ศาสดามุฮัมมัดสั่งให้ผู้ศรัทธาเรียกผู้คนทั่วทุกสารทิศเพื่อมมาร่วมฟังท่านในฮัจญ์อำลา นักวิชาการอิสลามเชื่อว่ามีผู้คนมามักกะฮ์เพื่อฟังมุฮัมมัดถึง 70,000 คน ในวันที่ 4 ซุลฮิจญะฮ์ มีมุสลิมมาที่ตัวเมืองกว่า 100,000 คน[6][7] ในขณะกลับจากพิธีฮัจญ์ในวันที่ 18 ซุลฮิจญะะฮ์ ฮ.ศ. 10 (มีนาคม ค.ศ. 632) ณ บริเวณที่รู้จักกันในชื่อเฆาะดีรคุมม์ มุฮัมมัดได้กล่าวคำเทศนา แล้วเรียกอะลี อิบน์ อบีฏอลิบ ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องและลูกเขยของท่าน และกล่าวว่า, "ใครก็ตามที่มีฉันเป็น เมาลา อะลีก็เป็นเมาลาของพวกเขาเช่นกัน" ( مَن کُنتُ مولاه فَهذا علیّ مولاه أللهم والِ من والاه و عادِ من عاداه)[8] ในขณะที่ความหมายของคำว่า เมาลา อาจแปลได้หลายแบบ รวมไปถึง "เพื่อน" หรือ "เจ้านาย" ในมุมมองชีอะฮ์ถือเป็นอันที่สอง และเห็นว่าการเทศาครั้งนั้นคือการยืนยันว่าอะลีเป็นผู้สืบทอดของมุฮัมมัดอย่างเป็นทางการ[9] ผลที่ตามมา วันที่มีการเทศนาถือเป็นวันที่สำตัญของชีอะฮ์ในชื่อ "อีดิลเฆาะดีร"[10][11]

การฉลอง แก้

บรรดาชีอะฮ์จะยึดตามวิถีที่สืบทอดกันมาในการจักงานรื่นเริงในสถานที่ต่างๆ ทั้งมัสยิดต่าง ๆ, ฮุซัยนียะฮ์และที่อื่น ๆ เหมือนกับอีดสำคัญอื่น ๆ เช่น อีดิลฟิตร์, อีดกุรบ่าน ต่างกับนิกานซุนนีที่จะไม่มีการฉลองใด ๆ ในเรื่องนี้และไม่มีความเชื่อว่าหลังจากท่านศาสดาจะมีใครถูกแนะนำให้เป็นตัวแทน[12]

ชีอะฮ์ทั่วโลกฉลองในวันนี้ทุกปี[13][14] ในแต่ละประเทศ ได้แก่ ประเทศอิหร่าน,[15][16][17] อินเดีย, ปากีสถาน, อาเซอร์ไบจาน,[18] อิรัก,[19][20] สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เยเมน, อัฟกานิสถาน, เลบานอน, บาห์เรน และซีเรีย และในแถบยุโรปกับอเมริกา ได้แก่ สหรัฐ, สหราชอาณาจักร, เยอรมัน และฝรั่งเศส[21][22][23][24]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Al-Hurr al-Aamili, Wasā'il al-Shīʿa, V.8, P.89
  2. The celebration of Ghaidr mashreghnews.ir Retrieved 15 Sep 2018
  3. Sayyed Ibn Tawus, Iqbal al-A'mal, V.2, P.261
  4. Eid Ghadir (Ghadeer) yjc.ir
  5. Muhammad ibn Ya'qub al-Kulayni, Kitab al-Kafi, V.4, P.148
  6. Ghadir Khum เก็บถาวร 2020-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน al-islam.org
  7. Event of Ghadir Khumm Irfan.ir
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-22. สืบค้นเมื่อ 2018-02-15.
  9. Vaglieri, Laura Veccia (2012). "G̲h̲adīr K̲h̲umm". Encyclopædia of Islam, Second Edition. Brill Online. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.{{cite encyclopedia}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. Lindsay, James E. (1957). Daily Life in the Medieval Islamic World. Greenwood Press. p. 163. ISBN 9780313322709.
  11. Campo, Juan Eduardo (2009). Encyclopedia of Islam. Infobase Publishing. pp. 257–58. ISBN 9781438126968.
  12. "Eid-ul-Ghadeer". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2018-02-15.
  13. The celebration of the event of Ghadir Khum irna.ir
  14. Eid (feast) Ghadir-Khum afkarnews.com
  15. Ghadir Khum (Eid) เก็บถาวร 2018-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน farsnews.ir
  16. Ghadir celebration, Ahwaz, Iran aparat.com
  17. Ghadir celebration เก็บถาวร 2020-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน irinn.ir Retrieved 22 Sep 2018
  18. Islamic countries, Eid Ghadir Khum hawzah.net
  19. Iraq, Eid Ghadir-Khum alalam.ir Retrieved 22 Sep 2018
  20. Eid Ghadir Khum, Iraq shia-news.com Retrieved 22 Sep 2018
  21. Ghadir Khum, celebration เก็บถาวร 2020-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน alkawthartv.com
  22. Eid Ghadir-Khum, in Georgia เก็บถาวร 2020-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน iribnews.ir
  23. The celebration of Ghadir, in Saudi Arabia shia-news.com
  24. Ghadir celebration in various countries of the world iqna.ir

แหล่งข้อมูลอื่น แก้