ฮะดีษษะกอลัยน์ (สิ่งหนักสองสิ่ง) เป็นฮะดีษหนึ่งที่มุตะวาติรของท่านศาสดาแห่งอิสลาม

انی تارک فیکم الثقلین کتاب الله وعترتی ما ان تمسکتم بهما لن تضلوا بعدی: کتاب الله فیه‌الهدی والنور حبل ممدود من السماء الی الارض وعترتی اهل بیتی وان اللطیف الخبیر قد اخبرنی‌انهما لن یفترقا حتی یردا علی الحوض وانظروا کیف تخلفونی فیهما

"แท้จริงฉันฝากฝังสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน คือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ และลูกหลานของฉัน หากพวกท่านยึดสองสิ่งนี้แล้ว พวกท่านจะไม่หลงทางเลยภายหลังจากฉัน คัมภีร์ของอัลลอฮ์นั้นมีทางนำและรัศมีในนั้น คือสายเชือกที่ทอดยาวจากชั้นฟ้าสู่ผืนดิน ส่วนลูกหลานของฉัน คือ ครอบครัว (อะฮ์ลุลบัยต์) ของฉัน แท้จริงพระผู้ทรงอ่อนโยน พระผู้ทรงตระหนักยิ่งได้แจ้งข่าวแก่ฉันว่า แท้จริงทั้งสองสิ่งนี้จะไม่แยกออกจากกันเลยจนกว่าจะพบฉัน ณ บ่อน้ำ แล้วจงดูเถิดพวกท่านจะฝ่าฝืนฉันอย่างไรเกี่ยวกับสองสิ่งนี้"

อุมมุสะละมะฮ์ ก็รายงานฮะดีษหนึ่งที่มีใจความเดียวกับฮะดีษษะกอลัยน์จากท่านศาสดาแห่งอิสลามไว้เช่นกันว่า "อาลีอยู่กับกุรอาน และกุรอานก็อยู่กับอาลี ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกัน จนกว่าจะพบฉัน ณ บ่อน้ำเกาษัร[1][2][3]"

มีรฮามิด ฮุเซน กล่าวชื่อของบุคคลเหล่านี้ไว้ และยังยืนยันถึงความถูกต้องของฮะดีษษะกอลัยน์ไว้ในวารสาร (ดารุตตักรีบ บัยนัลมะษาฮิบิล อิสลามียะติ) ที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับเรื่องไว้ในอียิปต์เมื่อหลายปีก่อน[4]

ฮะดีษษะกอลัยน์ เป็นหนึ่งในกรณีที่พิพาทกันระหว่างชาวซุนนีและชาวชีอะฮ์ โดยชีอะฮ์กล่าวแก่ชาวซุนนีว่า ผู้นำของพวกเขา ท่านอุมัร บิน ค็อฏฏอบ ไม่ให้เกียรติการชี้นำของท่านศาสดาในฮะดีษนี้ ด้วยคำกล่าวที่เป็นที่รู้จักกันของเขาที่ว่า คัมภีร์ของอัลลอฮ์ก็เพียงพอแล้วสำหรับเรา(ฮัสบุนากิตาบั้ลลอฮ์)[5] 

ความหมายของ ษิกล์ แก้

ษิกล์ ในพจนานุกรม หมายถึง สิ่งหนักและขุมทรัพย์[6]

แหล่งอ้างอิง ฮะดีษษะกอลัยน์ แก้

ตำรามากมายทัังของชีอะฮ์และซุนนีที่กล่าวถึงฮะดีษนี้ไว้ แหล่งอ้างอิงบางส่วนของชาวซุนนีที่บันทึกฮะดีษษะกอลัยน์ไว้ ได้แก่:

  • ซอเฮี้ยะห์ติรมีซี เล่ม 5 หน้า 662-663 รายงานจากสาวกกว่า 30 ท่าน
  • มุสตัดร็อก ฮากิม ฟัศล์ "ฟะฎีลัต อัศฮาบ" เล่ม 3 หน้า 109-110 148 และ 533  ท่านระบุว่าฮะดีษนี้ถูกต้องตามทัศนะของเชคทั้งสอง (บุคอรีและมุสลิม)
  • สุนนันอิบนุมาญะฮ์ เล่ม 2 หน้า 432
  • มุสนัด อะห์มัด บิน ฮัมบัล เล่ม 3 หน้า 14 17 26 59 เล่ม 4 หน้า 366 370-372
  • ฟะฎออิล ซอฮาบะฮ์ อะห์มัด บิน ฮัมบัล เล่ม 2 หน้า 585ฮะดีษ 990
  • คอซออิศ นะซาอี หน้า 21  30
  • ซอวาอิกุลมุห์ริเกาะฮ์ อิบนุฮะญัร ฮัยษะมี หมวดที่ 11 ส่วนที่ 1 หน้า 230
  • กะบีร ฏอบรอนี เล่ม 3 หน้า 62-63 137
  • กันซุลอุมมาล มุตตะกี ฮินดี หมวดว่าด้วยเรื่องการยึดมั่นสายเชื่อกแห่งอัลลอฮ์ เล่ม 1 หน้า 
  • ตัฟซีร อิบนุกะษีร เล่ม 4 หน้า 113 ใต้โองการ 23/42
  • ฏอบะกอตุลกุบรอ อิบนุสะอัด เล่ม 2 หน้า 194 พิมพ์เลบานอน 
  • อัลญะมีอุศซอฆีร สุยูฏี เล่ม 1 หน้า 353 และเล่ม 2
  • มัจมะอุซซะวาอิด ฮัยษะมี เล่ม 9 หน้า 163
  • ฟาติฮุลกะบีร เล่ม 1 หน้า 451
  • ญามิอุลอุซูล อิบนุอะษีร เล่ม 1 หน้า 187
  • ตารีค อิบนุ อะซากิร เล่ม 5 หน้า 436
  • ดุรรุลมันษูร ฮาฟิซ สุยูฏี เล่ม 2 หน้า 60
  • ยานาบิอุลมะวัดดะฮ์  กอนดูซี ฮะนะฟี หน้า 38 183เป็นต้น قندوزی Hanafi,PP:۳۸،۱۸۳

อ้างอิง แก้

แม่แบบ:پانویس

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง แก้

การวิเคราะห์เกี่ยวกับฮะดีษษะกอลัยน์

  1. مستدرک حاکم، ج ۳، ص ۱۲۴
  2. صواعق المحرقه، ابن حجر، فصل ۹، بخش ۲، ص ۱۹۱، ۱۹۴
  3. تاریخ الخلفا، جلال الدین سیوطی، ص ۱۷۳
  4. وحدت و انسجام اسلامی از دیدگاه آیت‌الله بروجردی
  5. ۱. صحیح بخاری، باب کتابه العلم من کتاب العلم، ۱/ ۲۲ و مسند احمد حنبل، تحقیق احمد محمد شاکر، حدیث ۲۹۹۲ و طبقات ابن سعد، ۲/ ۲۴۴، چاپ بیروت.
  6. نگاهی به حدیث ثقلین، سید علی میلانی