โองการมุบาฮะละฮ์

โองการมุบาฮะละฮ์ หมายถึง โองการที่ 61 ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน เป็นโองการที่ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับการโต้ทัศนะกันระหว่างท่านศาสดามุฮัมมัด กับอัครมุขนายกของคริสต์[1]

เหตุการณ์ที่มุบาฮะละฮ์
วันที่ตุลาคม ค.ศ. 631
ที่ตั้งมะดีนะฮ์, ฮิญาซ, อาระเบีย

ตัวบทโองการและคำแปล  แก้

  • فَمَنْ حَاجَّكَ فِيهِ مِنْ بَعْدِ مَا جَاءَكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْا نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ وَنِسَاءَنَا وَنِسَاءَكُمْ وَأَنْفُسَنَا وَأَنْفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَلْ لَعْنَتَ اللَّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ سورهٔ آل‌عمران-آیهٔ ۶۱
  • 61. ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้าในเรื่องของเขา (อีซา) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว ก็จงกล่าวเถิดว่า ท่านทั้งหลายจงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาสตรีของเรา และบรรดาสตรีของพวกท่านและตัวของพวกเรา และตัวของพวกท่านและเราก็จะวิงวอนกัน (ต่ออัลลอฮ์) ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้ละฮ์นัด ของอัลลอฮ์พึงประสบ แก่บรรพาผุ้ที่พูดโกหก(61-อาลิอิมรอน)

ความหมายทางรากศัพท์ แก้

มุบาฮะละฮ์ เสียงอ่านของมันตามรูปแบบ มุฟาอะละฮ์ หมายถึงการการกระทำสิ่งใดสิ่งหนุ่งร่วมกันสองฝ่าย รากศัพท์ของมันคือ بهل หมายความพระเจ้าได้สาปแช่งเขาแล้ว .[2][3]

ประวัติ แก้

ท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ)ได้เขียนจดหมายถึงอัครมุขนายกของศาสนาคริสต์ในปีที่สิบปีของฮิจเราะห์สศักราช[4] และเรียกร้องเชิญชวนประชาชนชาวคริสต์ทั้งหมดเข้าสู่ศาสนาอิสลาม. บรรดาตัวแทนของท่านศาสดา(ศ)อาทิ ท่าน อุตบะฮ์ บิน กอซวาน , อับดุลลอฮ์  อิบนิ อบี อุมัยยะฮ์,ฮะดีร อิบนิ อับดุลลอฮ์,และ ศอฮีบ อิบนิ ซินานเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งจดหมายถึงผู้นำศาสนาคริสต์,หลังจากที่เขาได้อ่านจดหมายได้จัดตั้งการประชุมโดยการเข้าร่วมของนักการศาสนาและบุคคลสำคัญอื่นๆและได้บทสรุปว่าจะต้องะเดินทางไปพบกับ มุฮัมหมัด (ศ)ณ นครมะดีนะฮ์ และรับฟังการชี้แจงหลักฐานยืนยันการเป็นศาสนทูตของศาสดามุฮัมหมัดโดยพร้อมกัน.[5]

คณะตัวแทนชาวคริสต์ที่เดินทางไปมีจำนวน 40-60-70 คน อาทิ อบู ฮาริษะฮ์ บิน อัลกอมะฮ์ ซึ่งเป็นอัครมุขนายกของชาวเมืองนัจรอน. เหล่าตัวแทนชาวคริสต์หลังจากที่ได้พบกับท่านศาสดาก็ได้พูดถกกันในปแระเด็นต่างๆรวมถึงเรื่องของพระเยซูบุตรของท่านหญิงมัรยัม(มารีย์)และพระผู้เป็นเจ้าจนในท้ายที่สุดพวกเขาได้กล่าวกับท่านศาสดาว่า(คำพูดของท่านไม่สามารถทำให้เรายอมจำนนได้) และทันใดนั้น ญิบรออีลก็ได้ลงมาพร้อมกับคำตรัสของพระผู้เป็นเจ้าคือโองการ มุบาฮะละฮ์ โดยสั่งให้ท่านศาสดา(ศ)ทำการถกกับกลุ่มชนเหล่านี้ด้วยการ มุบาฮะละฮ์ ตามตัวบทที่อยู่ในโองการดังต่อไปนี้:

: ก็จงกล่าวเถิดว่า ท่านทั้งหลายจงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผุ้หญิงของพวกท่านและตัวของพวกเรา และตัวของพวกท่านและเราก็จะวิงวอนกัน (ต่ออัลลอฮ์) ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้ละฮ์นัด ของอัลลอฮ์พึงประสบ แก่บรรพาผุ้ที่พูดโกหก(61-อาลิอิมรอน).

เหล่าตัวแทนชาวคริสต์ได้ขอประวิงกำหนดการจากท่านศาสดา(ศ)โดยท่านได้กำหนดให้เป็นวันถัดไปและทั้งสองฝ่ายก็ยอมรับในข้อตกลงว่าจะกระทำการนี้ ณ บริเวณนอกเมืองแถบทะเลทรายของนครมะดีนะฮ์.

อัครมุขนายกของชาวคริสต์กล่าวกำชับกับสาวกของพวกเขาว่าจงพิจารนาดูก่อน หาก มุฮัมหมัด มาพร้อมกับบุตร,หลานและเครือญาติไกล้ชิดก็จงหลีกเลี่ยงที่จำเพชิญหน้าการสาปแช่งกับเขาแต่หากเขามากับเหล่าสาวกก็จงกล่าวสาปแช่งร่วมกับเขา.และในวันนั้นศาสดา(ศ)ได้มาพร้อมกับท่านอลี

,ฮะซัน,ฮุเซนและฟาติมะฮ์ ณ ทุ่งทะเลทราย . เมื่อพวกเขาเห็นเช่นนั้นจึงหลีดเลี่ยงที่จะทำการสาปแช่งร่วมกับท่านศาสดา(ศ).  ญารุลลลอฮ์ ซิมัคชะรี (นักตัฟซีรชื่องดังสายอะฮ์ลิซซุนะฮ์)ได้บันทึกเกี่ยวกับ ความประเสริฐของกลุ่มชนใต้ผ้าคลุมครั้นที่อธิบายโองการนี้เอาไว้ในตำราตัฟซีร กัชชาฟ ของเขา [6][7]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • سایت مباهله 
  • เว็บไซต์ มุบาฮิละฮ์ ภาษาอาหรับ-ฟารซี


อ้างอิง แก้

  1. บัรฆุซฺ๊เดะฮ์ ตัฟซีรเนมูเนะฮ์,เล่ม1,หน้า290.
  2. لسان العرب ลิซานุลอะร็อบ,เล่ม1,หน้า522.
  3. فرهنگ لاروس ฟัรแฮงก์ ลารูซ ,เล่ม1,หน้า493.
  4. «تفصیل واقعه تاریخی مباهله» ดูเมื่อวันที่3 เดย์ /1386
  5. مباهله مؤسسه فرهنگی موعود มุบาฮะละฮ์
  6. จารุลลอฮ์,ซฺมัคชะรี, อัลกัชชาฟุ อัน ฮะกอยิกี้ ฆฺอวามิฏิล ตันซฺล,1/193.
  7. ฮะฮ์ลุลบัยต์ตามคำอธิบายของกัชชาฟ.